คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การชำระหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9082/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเช็คไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อฟ้องแสดงสภาพแห่งข้อหาชัดเจน และการนำสืบการชำระหนี้หลังให้การต่อสู้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ เมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินแก่โจทก์ ตามคำบรรยายฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว จำเลยเองก็สามารถให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่เคยเป็นหนี้โจทก์ และลายมือชื่อในเช็คพิพาทเป็นลายมือชื่อปลอม จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยหาได้หลงต่อสู้ไม่ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยเป็นหนี้โจทก์ และลายมือชื่อในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอม ไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าเป็นหนี้โจทก์และชำระหนี้แล้ว การที่จำเลยนำสืบว่าได้ชำระหนี้แล้วจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดชำระหนี้เมื่อใด? มติที่ประชุมเจ้าหนี้มีผลอย่างไร? การคิดดอกเบี้ยหลังผิดนัด
การที่ผู้ร้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ได้รับการผ่อนผันตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 และที่ 6 โดยตามหลักฐานการชำระหนี้มิได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนตามกำหนดระยะเวลาแต่ผู้คัดค้านก็ยอมรับชำระหนี้ในลักษณะนี้มาโดยตลอดโดยมิได้ทักท้วงย่อมถือได้ว่าผู้คัดค้านได้สละสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากเงื่อนเวลาแล้ว ประกอบกับเมื่อผู้ร้องนำเงินมาชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2534 ยังเหลือหนี้ที่ต้องชำระอีก 95,460.45บาท แต่ผู้คัดค้านยังไม่ถือว่าผู้ร้องผิดนัด โดยขยายเวลาให้ผู้ร้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระภายในวันที่ 5 มิถุนายน 2534 หากไม่นำมาชำระภายในกำหนดจึงจะถือว่าผิดนัด เมื่อผู้ร้องไม่ได้นำเงินไปชำระหนี้ที่เหลือภายในวันดังกล่าวเช่นนี้ ถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534 ตามที่กำหนดไว้ หาใช่ผิดนัดเมื่อครบ 3 ปี ตามกำหนดระยะเวลาเดิมตามที่ผู้คัดค้านอนุมัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 ไม่ มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ให้ยกเลิกมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 ได้ระบุไว้ไม่ให้กระทบถึงลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 และอยู่ในระหว่างผ่อนชำระอยู่ แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ลูกหนี้ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ในการผ่อนชำระหนี้นั้นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 อยู่อีกต่อไป จึงต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ข้อ 1.3 วรรคสอง ตอนท้าย โดยจะต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยทันทีนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอชำระหนี้นั้น เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการผ่อนผันชำระหนี้โดยไม่เสียดอกเบี้ยตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6จนผ่อนชำระเงินต้นไปรวมทั้งสิ้น 149,600 บาท ยังคงค้างชำระอยู่อีก95,460.45 บาท จึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2534ฉะนั้นเงินต้นที่ค้างชำระที่ผู้ร้องจะต้องชำระทันทีตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ดังกล่าว จึงต้องคิด ณ วันที่มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 มีผลบังคับคือวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2534มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังไปลบล้างหรือยกเลิกผลการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ผู้ร้องได้ปฏิบัติมาแล้ว ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 และที่ 6 ก่อนที่จะผิดนัดแต่อย่างใด ผู้ร้องจะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้นที่ยังคงค้างอยู่จำนวน95,460.45 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่ผู้ร้องผิดนัดอันเป็นเวลาที่ผู้ร้องไม่ได้รับการผ่อนผันอีกต่อไป คือตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534 ผู้ร้องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2534เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไข จึงต้องบังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23 เมษายน 2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ การคิดดอกเบี้ย และผลของการผิดนัด
การที่ผู้ร้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ได้รับการผ่อนผันตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2และที่6โดยตามหลักฐานการชำระหนี้มิได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนตามกำหนดระยะเวลาแต่ผู้คัดค้านก็ยอมรับชำระหนี้ในลักษณะนี้มาโดยตลอดโดยมิได้ทักท้วงย่อมถือได้ว่าผู้คัดค้านได้สละสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากเงื่อนเวลาแล้วประกอบกับเมื่อผู้ร้องนำเงินมาชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่22เมษายน2534ยังเหลือหนี้ที่ต้องชำระอีก95,460.45บาทแต่ผู้คัดค้านยังไม่ถือว่าผู้ร้องผิดนัดโดยขยายเวลาให้ผู้ร้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระภายในวันที่5มิถุนายน2534หากไม่นำมาชำระภายในกำหนดจึงจะถือว่าผิดนัดเมื่อผู้ร้องไม่ได้นำเงินไปชำระหนี้ที่เหลือภายในวันดังกล่าวเช่นนี้ถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534ตามที่กำหนดไว้หาใช่ผิดนัดเมื่อครบ3ปีตามกำหนดระยะเวลาเดิมตามที่ผู้คัดค้านอนุมัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2ไม่ มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ให้ยกเลิกมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6ได้ระบุไว้ไม่ให้กระทบถึงลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6และอยู่ในระหว่างผ่อนชำระอยู่แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ลูกหนี้ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ในการผ่อนชำระหนี้นั้นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6อยู่อีกต่อไปจึงต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ข้อ1.3วรรคสองตอนท้ายโดยจะต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยทันทีนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอชำระหนี้นั้นเมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการผ่อนผันชำระหนี้โดยไม่เสียดอกเบี้ยตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6จนผ่อนชำระเงินต้นไปรวมทั้งสิ้น149,600บาทยังคงค้างชำระอยู่อีก95,460.45บาทจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อวันที่5มิถุนายน2534ฉะนั้นเงินต้นที่ค้างชำระที่ผู้ร้องจะต้องชำระทันทีตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ดังกล่าวจึงต้องคิดณวันที่มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12มีผลบังคับคือวันที่21กุมภาพันธ์2534มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังไปลบล้างหรือยกเลิกผลการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ผู้ร้องได้ปฏิบัติมาแล้วตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2และที่6ก่อนที่จะผิดนัดแต่อย่างใดผู้ร้องจะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้นที่ยังคงค้างอยู่จำนวน95,460.45บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ19ต่อปีนับแต่วันที่ผู้ร้องผิดนัดอันเป็นเวลาที่ผู้ร้องไม่ได้รับการผ่อนผันอีกต่อไปคือตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534 ผู้ร้องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23เมษายน2534เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไขจึงต้องบังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23เมษายน2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหลักฐานการชำระหนี้เช็คพิพาท – ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็ค หาใช่ฟ้องจำเลยให้รับผิดชำระเงินตามสัญญากู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสืออันจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว จึงจะรับฟังข้อเท็จจริงได้ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 653 บัญญัติไว้แต่อย่างใดจำเลยย่อมนำสืบด้วยพยานบุคคลว่าได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วได้
ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยคำเบิกความของจำเลยและพยานจำเลยว่ามีน้ำหนักรับฟังได้หรือไม่ โดยอ้างข้อกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 แล้วสรุปว่าฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้เช็คพิพาทให้โจทก์ เป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เสียใหม่โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย-ว่าจ้างก่อสร้าง: ความสัมพันธ์หน้าที่ระหว่างคู่สัญญา และผลของการผิดสัญญา
หนังสือสัญญาว่าจ้างก่อสร้างบ้านพิพาทซึ่งทำในวันเดียวกันกับวันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ว่าจ้าง น.เป็นผู้รับจ้างจำเลยที่ 2 ได้จัดทำสัญญามาเรียบร้อยแล้วนำมาให้โจทก์ลงชื่อโดย น.ไม่ได้อยู่ด้วย จำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างบ้านพิพาท ในการซื้อที่ดินและบ้านพิพาทได้ตกลงกันว่า เมื่อจะโอนที่ดินและบ้านต้องเอาที่ดินและบ้านพิพาทจำนองธนาคารก่อน แล้วเอาเงินจากธนาคารมาชำระค่าที่ดินและบ้านส่วนที่ยังเหลือแก่จำเลยที่ 1 จากนั้นโจทก์จะเป็นผู้ผ่อนชำระหนี้ต่อธนาคารที่ยังชำระค่าบ้านไม่ครบเพราะยังสร้างบ้านไม่เสร็จ ข้อความต่าง ๆ ในหนังสือสัญญาว่าจ้างก่อสร้างบ้านพิพาท โจทก์ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย แต่จำเลยที่ 2 ในนามของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ตกลงว่าจ้าง น.ทำการก่อสร้าง การระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างก่อสร้างบ้านจึงถือว่ากระทำในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ดังนั้น บ้านพิพาทที่ น.รับจ้างก่อสร้างจึงเป็นบ้านของจำเลยที่ 1 ที่ตกลงจะขายให้แก่โจทก์
การก่อสร้างบ้านพิพาทแล้วเสร็จก่อนโจทก์ฟ้องราวปีเศษและโจทก์ยังค้างชำระค่าก่อสร้างบ้านพิพาทอีกประมาณ 200,000 บาท เมื่อโจทก์เข้าไปอยู่ในบ้านพิพาทแล้ว จำเลยที่ 2 ได้ทวงถามให้โจทก์ชำระค่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นเงิน 300,000 บาท การที่โจทก์ได้ไปสำนักงานที่ดินในวันนัดจดทะเบียนโอน แต่เตรียมเงินไปเพียง 70,000 บาท ซึ่งไม่พอชำระค่าที่ดินและบ้านพิพาทถือว่าโจทก์มิได้อยู่ในฐานะที่จะสามารถชำระหนี้ได้ แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ไปที่สำนักงานที่ดินในวันนัดดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดหรือผิดสัญญา
โจทก์ได้ตกลงทำสัญญาจะซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 และยังค้างชำระราคาค่าที่ดินและบ้านพิพาทจำเลยที่ 1 เป็นเงินจำนวน300,000 บาท โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องแย้งซึ่งถือว่าโจทก์ผิดนัดแล้ว และเมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนด้วยจำเลยทั้งสองยินยอมให้โจทก์เข้าไปอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาท การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการละเมิดจำเลยทั้งสอง ส่วนในกรณีที่หากโจทก์ไม่ชำระเงินค่าที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ก็เป็นเรื่องของการผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาท จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายอย่างไร ก็ชอบที่จะเรียกร้องเอาจากโจทก์เป็นอีกกรณีหนึ่ง ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ทำละเมิดต่อจำเลยที่ 1อันจะทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ตามที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6922/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกเงินตามเช็ค: แม้ไม่ได้บรรยายรายละเอียดการได้มาซึ่งเช็ค ก็ไม่ถือเป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คผู้ถือให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ โจทก์นำเช็คดังกล่าวไปขายลดแก่ธนาคาร ถึงกำหนดจ่ายเงินตามเช็คธนาคารผู้ซื้อเช็ค เรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็คไม่ได้ จึงได้หักจากบัญชีของโจทก์ ตามจำนวนเงินในเช็คแล้วมอบเช็คคืนแก่โจทก์ โจทก์จึงกลับเป็นผู้ทรงเช็คตามกฎหมาย และได้ทวงถามจำเลยให้ชำระเงินตามเช็คแล้วจำเลยไม่ชำระขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่า จำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คจะต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินที่จำเลยเป็นผู้สั่งจ่าย อันเป็นข้ออ้างให้จำเลยร้บผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 914 ประกอบด้วยมาตรา 989 กับมีคำขอบังคับครบถ้วนสมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาอย่างไร เมื่อใด และไม่ได้บรรยายถึงวันที่โจทก์เข้ายึดถือเช็คและใช้เงินตามเช็คนั้น ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์ที่สมบูรณ์แล้วกลับเป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาซื้อขายและการไม่มีสิทธิเรียกร้องเช็คหลังสัญญาเลิกสิ้นแล้ว
โจทก์ขายรถขุดแม็คโครให้จำเลยซึ่งจำเลยจะต้องชำระค่าเช่าซื้อให้ผู้ให้เช่าซื้ออีก โจทก์ส่งมอบรถขุดแม็คโครให้จำเลย จำเลยชำระเงินสดบางส่วนและสั่งจ่ายเช็ค 3 ฉบับให้โจทก์ ต่อมาจำเลยนำเงินสดไปแลกเช็คคืน 2 ฉบับ ส่วนฉบับที่ 3 ได้เปลี่ยนเช็คใหม่เป็นเช็คพิพาท สัญญาเช่าซื้อรถขุดแม็คโครระหว่างผู้ให้เช่าซื้อกับโจทก์ผู้เช่าซื้อยังไม่เปลี่ยนเป็นชื่อจำเลย จำเลยขาดส่งค่าเช่าซื้อให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ ต่อมาโจทก์ได้ยึดรถขุดแม็คโครจากจำเลยไป ถือว่าโจทก์เลิกสัญญาซื้อขายกับจำเลยแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระราคาตามเช็คพิพาทแม้เช็คนั้นจำเลยจะได้สั่งจ่ายไว้ก่อนสัญญาซื้อขายเลิกกัน โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะนำคดีมาฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่โจทก์ แม้มีการอายัดเงินแต่สิทธิเรียกร้องได้โอนไปแล้ว การชำระเงินจึงไม่เป็นการละเมิด
การที่จำเลยที่ 3 ฟ้องจำเลยที่ 2 และขอให้ศาลอายัดเงินที่จำเลยที่ 2 จะได้รับจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างทำของไว้ก่อนพิพากษา และศาลมีคำสั่งให้อายัดไว้ก่อนพิพากษาตามคำขอของจำเลยที่ 3 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ส่งเงินค่าจ้างทำของไปยังศาลตามหมายอายัดชั่วคราว และในที่สุดจำเลยที่ 3 ได้รับเงินดังกล่าวไปจากศาลนั้น เมื่อปรากฏว่าเงินค่าจ้างทำของนี้เดิมเป็นสิทธิเรียกร้องของห้างหุ้นส่วนจำกัดบุญลาภและบุตร ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาจ้างทำของกับจำเลยที่ 1 และต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัดบุญลาภและบุตรโดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการได้โอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้แก่โจทก์ไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งให้อายัดแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัดบุญลาภและบุตรและจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต่อจำเลยที่ 1 อีกต่อไป คำสั่งให้อายัดจึงไม่มีผลบังคับจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิเสธหรือโต้แย้งหนี้ตามคำสั่งให้อายัดแต่กลับส่งเงินไปยังศาลก็เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าวของตนเอง หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าจ้างทำของจากจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์ได้รับโอนมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัดบุญลาภและบุตร ต้องเสื่อมเสียไปแต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยดังกล่าวมาไม่ทำให้โจทก์เสียหายจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดเป็นการขอให้ชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4243/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความใบเสร็จรับเงิน การสืบอธิบายความหมายเอกสารไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
ใบเสร็จรับเงินที่ออกในการรับชำระหนี้กู้ยืมเงินระบุแต่เพียงว่าได้รับเงิน โดยไม่ระบุแยกแยะว่าเป็นเงินอะไรบ้าง การนำสืบความหมายของใบเสร็จดังกล่าวว่าเป็นการชำระต้นเงินและดอกเบี้ยอย่างใดสามารถทำได้ เพราะเป็นการสืบอธิบายข้อความในเอกสาร มิใช่สืบเปลี่ยนแปลงแก้ไข ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการชำระหนี้หลังล้มละลาย: การให้ได้เปรียบเจ้าหนี้รายอื่นขัดต่อกฎหมาย
การที่จำเลยชำระหนี้เงินกู้ให้ผู้คัดค้านจำนวน 48,100 บาทหลังจากที่จำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายแล้ว โดยจำเลยเป็นหนี้เจ้าหนี้อื่นอีก 5 ราย ที่ยื่นขอรับชำระหนี้ไว้ถึง 11 ล้านบาทเศษการนำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระให้แก่ผู้คัดค้านเพียงรายเดียว โดยเจ้าหนี้อื่นมิได้รับการแบ่งชำระด้วย จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นการมุ่งให้ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้รายอื่น เข้าหลักเกณฑ์ที่จะให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 ได้ โดยมิต้องคำนึงว่าผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้ไว้โดยสุจริตหรือไม่ การเพิกถอนการชำระหนี้เป็นผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการชำระหนี้ ก็ยังถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบ กรณีถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดตั้งแต่วันยื่นคำร้องผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการชำระหนี้ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้เอง
of 6