คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การตาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7367/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีโมฆกะการสมรส: การสิ้นสุดของสมรสด้วยการตายและผลกระทบต่อสิทธิทายาท
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้มีการตั้งเป็นประเด็นแห่งคดีไว้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) บิดาโจทก์ถึงแก่ความตายไปแล้วก่อนโจทก์ฟ้อง การสมรสระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลยได้ขาดจากกันเพราะเหตุบิดาโจทก์ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 แล้ว การสมรสนั้นจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะทายาทของบิดาคู่สมรสเดิมอันจะก่อให้เกิดสิทธิหรืออำนาจที่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นโมฆะ ทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวแสดงว่าจำเลยได้กระทำสิ่งใดอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ เช่น สิทธิในครอบครัว สิทธิในมรดกของบิดาโจทก์ผู้ตายหรือสิทธิอื่นใด ซึ่งจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ถือว่าตามฟ้องไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเจ้าหนี้ต่อผู้จัดการมรดก: เริ่มนับแต่วันที่รู้ถึงการตายของเจ้ามรดก
ในคดีก่อนโจทก์บรรยายฟ้องว่า น. ภรรยาจำเลยที่ 2ประสบอุบัติเหตุถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2526 แสดงว่าโจทก์รู้ว่า น. ถึงแก่กรรมตั้งแต่ วันที่ 7 ธันวาคม 2526 แล้วดังนั้น การที่โจทก์ในฐานะ เจ้าหนี้ของ น. เพิ่งฟ้องจำเลยที่ 2ในฐานะ ผู้จัดการมรดกของ น. เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2528จึงเกินกำหนด 1 ปี นับแต่รู้ว่าเจ้าของมรดกตาย คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 395/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตายจากอุบัติเหตุและการคุ้มครองประกันชีวิต แม้ข้อเท็จจริงไม่ชัดเจนว่าตายจากอุบัติเหตุหรือถูกทำร้าย
แม้สัญญาประกันชีวิตจะไม่คุ้มครองการทำร้ายหรือฆาตกรรมก็ตามแต่เมื่อข้อเท็จจริงนอกจากจะไม่ปรากฏว่าคนที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้เอาประกันภัยเป็นใครแล้ว ยังฟังไม่ได้แน่ชัดผู้เอาประกันภัยถึงแก่ความตายเพราะถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงหรือเพราะอุบัติเหตุรถยนต์พลิกคว่ำ ดังนั้นจึงนับว่า การตายของผู้เอาประกันภัยเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุ ผู้รับประกันภัยคุ้มครองมรณภัยเนื่องจากอุบัติเหตุจะปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ เมื่อผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันชีวิตได้แจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบถึงอุบัติเหตุและได้ส่งหลักฐานความเสียหายไปให้ผู้รับประกันภัยครบถ้วนแล้ว ผู้รับประกันภัยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ยอมจ่ายเงินให้ผู้รับประโยชน์ ผู้รับประโยชน์จึงมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยของเงินที่ผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับ นับแต่วันผิดนัด ในคดีที่โจทก์ฟ้องและดำเนินคดีอย่างคนอนาถามาโดยตลอดค่าฤชาธรรมเนียมในศาลที่จำเลยจะต้องใช้แทนโจทก์นั้น ศาลต้องสั่งให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 158

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้: ระยะเวลาเริ่มต้นนับจากวันที่รู้ถึงการตายของผู้ตายที่เป็นลูกหนี้
ย. พยานโจทก์ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะอธิการบดีของโจทก์รู้ถึงความตายของ ว. ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน 2527 ทั้งยังปรากฏว่ารองอธิการบดีของโจทก์ในฐานะผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีของโจทก์ได้ มีหนังสือถึงราชเลขาธิการขอพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ศพของ ว. เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2528 แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการตายของ ว. อย่างช้าเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2528 โจทก์ฟ้องทายาทของ ว. ให้ชำระหนี้ของ ว. เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2529 พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงความตายของ ว. ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้: เริ่มนับแต่วันที่รู้ถึงการตายของผู้มีหนี้
ย. พยานโจทก์ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะอธิการบดีของโจทก์รู้ถึงความตายของ ว. ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน 2527 ทั้งยังปรากฏว่ารองอธิการบดีของโจทก์ในฐานะผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีของโจทก์ได้มีหนังสือถึงราชเลขาธิการขอพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ศพของ ว. เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2528 แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการตายของ ว. อย่างช้าเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2528 โจทก์ฟ้องทายาทของว.ให้ชำระหนี้ของว. เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2529 พ้นกำหนด1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงความตายของ ว. ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3384/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดก: การรู้หรือควรรู้ถึงการตายของเจ้ามรดกเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องสืบพยาน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงความตายของเจ้า มรดกเท่านั้น การที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ส. ตายเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2527 เป็นการแสดงข้อเท็จจริงให้ปรากฏว่าเจ้ามรดกตายเมื่อไรอันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะ ทายาทและผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น ส่วนข้อเท็จจริงที่โจทก์ได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงการตายของเจ้ามรดกโจทก์ไม่ได้กล่าวถึง เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงการตายของเจ้ามรดกเมื่อใดเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี โจทก์จำเลยนำสืบได้ การที่ศาลชั้นต้นด่วนสั่งงดสืบพยานโจทก์และวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นโดยยังไม่ทราบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีดังกล่าวจึงไม่ชอบควรให้โจทก์จำเลยสืบพยานในประเด็นแห่งคดีทุกประเด็นให้สิ้นกระแสความก่อนแล้วจึงพิจารณาพิพากษาไปตามรูปคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องฟังว่าการตายเกิดจากการชิงทรัพย์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยมีส่วนกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ของผู้ตายในเวลากลางคืน ไม่พอฟังว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะเหตุถูกชิงทรัพย์และปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสอง โจทก์ไม่อุทธรณ์ว่าจำเลยฆ่าผู้ตายเพื่อสะดวกในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ หรือในการชิงทรัพย์ครั้งนี้เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการตายของผู้ตายจึงต้องฟังตามที่ศาลชั้นต้นฟังว่าผู้ตายมิได้ถึงแก่ความตายเพราะเหตุถูกชิงทรัพย์ครั้งนี้ แม้คดีจะน่าเชื่อว่าจำเลยฆ่าผู้ตายเพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์และได้ชิงเอาเงิน 19,500 บาท ของผู้ตายไปก็จะปรับบทเป็นความผิดตามมาตรา 339 วรรคห้าไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยลักเอาเงินสด 19,500 บาทของผู้ตายไปโดยใช้ไม้ตีและมีดแทงผู้ตายหลายแห่งโดยเจตนาฆ่าเพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์ และนำสืบเช่นนั้น แต่ศาลชั้นต้นฟังพยานหลักฐานของโจทก์แต่เพียงว่าจำเลยมีส่วนในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ และไม่ฟังว่าการตายของผู้ตายเกิดจากการชิงทรัพย์ ซึ่งเป็นการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงของคู่ความว่าจะเชื่อได้เพียงใดมิใช่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังการตายของคู่สมรสกรณีไม่มีสินเดิมและก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ล. ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แม้โจทก์และ ล.แยกกันอยู่แต่ไม่ปรากฏว่าได้หย่าขาดจากกัน ทั้งโจทก์และ ล. ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน ดังนั้นเมื่อ ล. ตายสินสมรสต้องแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โจทก์ได้ 1 ส่วน ล. ได้ 2 ส่วน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 655/2495)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3116/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในความผิดกรรมเดียวกัน แม้มีการตายภายหลังคำพิพากษาเดิม
โจทก์เคยฟ้องจำเลยฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์แม้ต่อมาผู้เสียหายถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลที่ถูกจำเลยทำร้าย โจทก์จะฟ้องจำเลยฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาซึ่งเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวกันในขณะที่คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์อีกไม่ได้เพราะถือว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)(ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 3792/2524)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 170/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าประกันชีวิตกรณีตายจากอุบัติเหตุ: การล้มแล้วศีรษะกระแทกพื้นถือเป็นอุบัติเหตุตามกรมธรรม์
สามีโจทก์เอาประกันชีวิตไว้กับจำเลยโดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันชีวิต มีเงื่อนไขว่า ถ้าสามีโจทก์ถึงแก่ความตายโดยอุบัติเหตุจำเลยจะใช้เงินเป็นจำนวนสองเท่าของจำนวนที่เอาประกัน ระหว่างอายุสัญญา สามีโจทก์เป็นลมล้มลงศีรษะฟาดพื้นสมองได้รับความกระทบกระเทือนถึงแก่ความตายดังนี้เห็นได้ว่าที่ผู้ตายเป็นลมหกล้มเป็นเรื่องเกิดขึ้นโดยบังเอิญปราศจากเจตนาและความคาดหมายของผู้ตาย จึงถือได้ว่าผู้ตายตายเพราะอุบัติเหตุตามกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์สองเท่าตามสัญญา
of 5