คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การตีความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2813/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย: การพิจารณาเจตนาของนายจ้าง และการตีความประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46กำหนดบทนิยามคำว่าการเลิกจ้างไว้เพื่อให้ใช้แก่เรื่องค่าชดเชยตามประกาศนี้เท่านั้นมิได้มุ่งหมายให้นำไปใช้แก่เรื่องอื่นหรือกฎหมายอื่นเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องนี้มีเพื่อเป็นการช่วยเหลือให้ลูกจ้างมีเงินในระหว่างหางานใหม่เนื่องจากต้องออกจากงานโดยไม่รู้ตัวส่วนจะมีความผิดทางอาญาตามประกาศของคณะปฎิวัติฉบับที่103ลงวันที่16มีนาคม2515หรือไม่นั้นต้องพิเคราะห์ถึงเจตนาของจำเลยว่าได้กระทำไปโดยมีเจตนาไล่ผู้เสียหายออกจากงานและมีเจตนาไม่จ่ายค่าชดเชยแก่ผู้เสียหายในฐานะเป็นลูกจ้างหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7718/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความระเบียบมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ และสิทธิของนักศึกษา
ระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยวิทยานิพนธ์ พ.ศ. 2522ข้อ 4 วรรค 2 ระบุว่า "ในการประชุมพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ให้นักศึกษามาชี้แจงข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ต่อคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ด้วย" นั้น มีความหมายว่า ในวันที่คณะกรรมการกลั่นกรองข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ประชุมพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาผู้ใด นักศึกษาผู้นั้นจะต้องมาเพื่อชี้แจงข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ของตนต่อคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ในกรณีที่คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ มีข้อที่จะสอบถามเท่านั้น แต่หากไม่มีข้อจะสอบถาม นักศึกษาผู้นั้นไม่จำเป็นต้องชี้แจง กรณีตามระเบียบดังกล่าวจึงมิใช่ข้อบังคับว่า คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ จะต้องให้นักศึกษาชี้แจงข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ของตนต่อคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ เสมอไป
การจะนัดคณะกรรมการกลั่นกรองข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์จะต้องพิจารณาวันและเวลาที่คณะกรรมการดังกล่าวแต่ละคนจะมีวันว่างพอที่จะมาร่วมประชุมด้วย และการไม่มาประชุมของจำเลยที่ 5 เป็นกรณีมีเหตุจำเป็นที่จำเลยที่ 1มิได้แต่งตั้งให้บุคคลอื่นเป็นประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ แทนจำเลยที่ 5 กรณีอาจเป็นเรื่องกะทันหันไม่ทราบว่าจำเลยที่ 5 จะมีเหตุขัดข้องไม่สามารถมาได้ และตามคำฟ้องไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่จะส่อแสดงได้ว่าจำเลยทั้งเก้ามีเจตนาจะกลั่นแกล้งโจทก์ จึงฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยทั้งเก้าเป็นการใช้สิทธิซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายและเป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์นอกจากจะเป็นคำขอที่ให้โจทก์ได้รับสิทธิพิเศษผิดไปจากนักศึกษาระดับชั้นปริญญาโททั่วไปแล้ว ยังเป็นคำขอที่อยู่นอกเหนือข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาโท พ.ศ. 2520 ข้อ 6และนอกเหนือระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยวิทยานิพนธ์ พ.ศ. 2522ข้อ 4 อีกด้วย จึงเป็นคำขอที่ศาลไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3834/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความประกาศกรมศุลกากรเกี่ยวกับยาใช้ภายนอกและยาใช้เฉพาะที่ และผลต่อการลดอัตราอากร
ตามพระราชบัญญัติยา(ฉบับที่5)พ.ศ.2530ให้คำนิยามคำว่ายาใช้ภายนอกและยาใช้เฉพาะที่แบ่งแยกกันไว้โดยเฉพาะโดยยาใช้ภายนอกจะไม่รวมถึงยาใช้เฉพาะที่ซึ่งแตกต่างไปจากคำนิยามตามพระราชบัญญัติ ยาพ.ศ.2510ซึ่งจะมียาที่เป็นทั้งสำหรับใช้ภายนอกและใช้เฉพาะที่ในขณะเดียวกันได้ฉะนั้นภายหลังใช้พระราชบัญญัติยา(ฉบับที่5)พ.ศ.2530แล้วจะไม่มียาที่เป็นทั้งสำหรับใช้ภายนอกและใช้เฉพาะที่ในขณะเดียวกันได้เลยดังนั้นหากจะแปลความหมายของประกาศกรมศุลกากรที่46/2531ลำดับที่60ที่กำหนดว่าจะต้องเป็นยาที่มีสารออกฤทธิ์4ตัวคือ แคมเฟอร์ น้ำมัน ยูคาลิปตัส เมนทอลและ เมทิลซาลิซิเลต ชนิดครีมชนิดขี้ผึ้งชนิดน้ำสำหรับใช้ภายนอกและเฉพาะที่ซึ่งประกาศใช้ภายหลังพระราชบัญญัติยา(ฉบับที่5)พ.ศ.2530ว่าเป็นยาน้ำสำหรับใช้ภายนอกและใช้เฉพาะที่ด้วยก็จะไม่มียาชนิดใดตรงตามประกาศข้อนี้จะทำให้ประกาศข้อนี้ไม่มีผลใช้บังคับเลยความมุ่งหมายของประกาศกรมศุลกากรดังกล่าวมีความหมายว่าเป็นยาน้ำสำหรับใช้ภายนอกชนิดหนึ่งและเป็นยาน้ำสำหรับใช้เฉพาะที่อีกชนิดหนึ่งหาได้มีความหมายว่าต้องเป็นทั้งยาน้ำสำหรับใช้ภายนอกและใช้เฉพาะที่ในขณะเดียวกันไม่เมื่อยาน้ำมัน กวางลุ้งของโจทก์เป็นยาน้ำสำหรับใช้ภายนอกจึงต้องตามประกาศกรมศุลกากรดังกล่าวอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับลดอัตราอากรตามประกาศกระทรวงการคลังที่ศก.1/2528,ศก.1/2531และศก.7/2531

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2930/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายภาษีแผ่นลูกฟูก: การตีความและขอบเขตการจัดเก็บภาษีตามพระราชกฤษฎีกา
ตามพระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่54)พ.ศ.2517เดิมนั้นกำหนดว่าสินค้าตามบัญชีที่1หมวด8(9)ได้แก่"กระดาษทุกชนิดรวมทั้งกระดาษแข็งนอกจากกระดาษ คราฟทและกระดาษ คราฟทที่ทำเป็นลูกฟูกไม่ว่าจะปิดด้วยแผ่นเรียบหรือไม่ก็ตาม"ส่วนสินค้าตามบัญชีที่3หมวด5(2)เดิมได้แก่"กระดาษคาร์บอนเครื่องใช้เครื่องประดับของเล่นของใช้ใดๆเฉพาะที่ผลิตจากกระดาษทุกชนิดรวมทั้งกระดาษแข็งและหรือกระดาษ คราฟท หรือกระดาษ คราฟทที่ทำเป็นลูกฟูกไม่ว่าจะปิดด้วยแผ่นเรียบหรือไม่ก็ตามที่ผู้ผลิตมิใช่เป็นผู้ผลิตสินค้าตามหมวด8(9)ของบัญชีที่1ทั้งนี้เฉพาะที่ผลิตในราชอาณาจักร"จะเห็นได้ว่าก่อนใช้พระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่156)พ.ศ.2528แผ่นลูกฟูกอยู่ในบัญชี3หมวด5(2)ไม่จัดอยู่ในบัญชี1หมวด8(9) แต่เมื่อได้ใช้พระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่156)พ.ศ.2528ระบุสินค้าในบัญชีที่1หมวด8(9)คือ"กระดาษทุกชนิดรวมทั้งกระดาษแข็งนอกจากกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์"ไม่มีข้อความว่านอกจากกระดาษ คราฟทหรือกระดาษ คราฟทที่ทำเป็นแผ่นลูกฟูกแสดงว่าที่เคยยกเว้นว่าไม่อยู่ในบัญชี1หมวด8(9)แต่ให้อยู่ในบัญชี3หมวด5(2)นั้นเป็นอันยกเลิกไปกล่าวคือกฎหมายต้องการให้แผ่นลูกฟูกเสียภาษีอย่างเดียวกันกับสินค้าในบัญชี1หมวด8(9)เมื่อกรณีเป็นปัญหาเกี่ยวกับภาษีในปี2529จึงต้องใช้พระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่156)พ.ศ.2528พิจารณา การตีความคำว่า"กระดาษ"โดยใช้ความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานความหมายตามทางวิชาการหรือที่กำหนดในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรมจะนำมาใช้กับกรณีอันเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษีอากรที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันการทำงาน - ลูกหนี้ร่วม - การตีความสัญญาค้ำประกันตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองต่างยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันการทำงานของด. ต่อโจทก์ซึ่งเป็นหนี้รายเดียวกันแต่ค้ำประกันต่างวาระและสัญญาคนละฉบับกันก็ต้องอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา682วรรคสองจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันโจทก์จะอ้างว่าคู่กรณีมีเจตนาต้องการให้จำเลยทั้งสองแยกรับผิดเป็นคนละจำนวนกันซึ่งให้มีผลบังคับเป็นอย่างอื่นจากบทบัญญัติของกฎหมายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ: การบรรยายฟ้องตามมาตรา 42 พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ และการตีความคำว่า 'ประเทศ' แทน 'กฎหมาย'
แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องโดยใช้ข้อความตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ว่า "...และกฎหมายของประเทศนั้นได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว..." แต่ใช้คำว่า "ประเทศ" แทนคำว่า "กฎหมาย" ก็พอที่จะแปลความหมายตามฟ้องของโจทก์ ได้ว่ารวมถึงกฎหมายของประเทศนั้นด้วย มิใช่กรณีที่โจทก์ไม่ได้ กล่าวในฟ้องเสียเลยว่ากฎหมายของประเทศนั้นได้ให้ความคุ้มครอง แก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ ฟ้องของโจทก์จึงมีสาระสำคัญ ที่แสดงให้เห็นว่างานตามฟ้องเข้าหลักเกณฑ์ที่อาจได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา 42 ดังกล่าว และเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3721/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคุณสมบัติสินค้าเพื่อจัดประเภทอัตราอากร กรณีสารเคมีมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดสนิมและปฏิกิริยาออกซิเดชัน
สินค้าพิพาท โจทก์ซื้อจากประเทศสิงคโปร์ ประเทศในภาคีอาเซียน และเป็นสินค้าที่จัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรที่ 38.14 ปรากฏว่า สินค้าพิพาทนอกจากจะมีคุณสมบัติกันการเป็นสนิมแล้ว ยังมีคุณสมบัติป้องกันปฏิกิริยาออกซิเดชันและป้องกันการกัดกร่อน ด้วย ดังนั้นสินค้าพิพาทจึงไม่ใช่สินค้าในรายการ "เฉพาะสิ่งปรุงแต่ง ที่ใช้สำหรับกันการเป็นสนิม" ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก. 10/2527 ที่จะได้ลดอัตราศุลกากรลงเหลือร้อยละ 60 ของอัตราที่เรียกเก็บ หรือเสียอากรขาเข้าร้อยละ 18 ของราคา แต่เป็นสินค้าในรายการ "อื่น ๆ" ในบัญชีท้ายประกาศดังกล่าว ซึ่งได้รับ ลดอัตราอากรลงเหลือร้อยละ 80 หรือต้องเสียอากรร้อยละ 24 ของราคา เมื่อการเรียกเก็บอากรขาเข้าถูกต้องแล้ว ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่จำเลยที่ 1 เรียกเก็บแทนจำเลยที่ 2 จึง ถูกต้องด้วย ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ก่อนหรือไม่ต่อไป เพราะไม่เป็น ประโยชน์แก่คดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1787/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สินค้าเป็นชุดอุปกรณ์ครบชุดหรือไม่ และการประเมินอากรที่ถูกต้อง
สินค้าที่จำเลยนำเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องอุปกรณ์ควบคุมการจราจรด้วยไฟฟ้าสำหรับใช้กับรถไฟ จึงเป็นชุดของเครื่องอุปกรณ์ควบคุมการจราจรด้วยไฟฟ้าสำหรับใช้กับรถไฟ ซึ่งตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ภาค 1 หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร ข้อ 6 บัญญัติว่า ของครบชุดสมบูรณ์หรือของซึ่งมีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญที่ทำให้เห็นได้ว่าเป็นของครบชุด ที่นำเข้ามาโดยแยกออกจากกันหรือมิได้ประกอบเข้าด้วยกัน แม้จะแยกนำเข้าต่างวาระกันก็ตาม ให้จัดเข้าในประเภทที่ว่าด้วยของครบชุดสมบูรณ์ได้ เมื่อเครื่องอุปกรณ์ควบคุมการจราจรด้วยไฟฟ้าสำหรับใช้กับรถไฟเป็นสินค้าประเภทพิกัดที่ 85.16 จึงต้องจัดสินค้าที่จำเลยนำเข้าเข้าในประเภทพิกัดที่ 85.16 ด้วย ที่เจ้าพนักงานกรมศุลกากรโจทก์จัดสินค้าดังกล่าวเข้าในประเภทพิกัดที่ 85.19 ในฐานะเป็นเครื่องไฟฟ้าสำหรับต่อและตัดวงจรไฟฟ้าจึงไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแรงงาน และการคำนวณดอกเบี้ยค่าจ้าง
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับเงินดังกล่าวก็ได้ทำบันทึกว่า ไม่ติดใจเรื่องใด ๆ จากจำเลยหรือนำความขึ้นร้องเรียนจำเลยอีก บันทึกนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เท่านั้นหาเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องเงินประเภทอื่น ๆจากจำเลยตามกฎหมายไม่
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยเมื่อเลิกจ้าง ส่วนดอกเบี้ยในเงินค่าจ้างค้างจ่ายนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามเมื่อใด จึงต้องจ่ายนับแต่วันฟ้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำเลยให้การต่อสู้ไว้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกามิอาจวินิจฉัยเองได้ ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดประชุมในโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต: การตีความ 'การประชุม' ตามระเบียบบริษัท
ระเบียบของผู้ร้องมีข้อห้ามเปิดประชุมในบริเวณโรงงานก่อนได้รับอนุญาตจากผู้ร้อง ได้ความว่า ขณะที่พนักงานของผู้ร้องมารวมกันเพื่อรับประทานอาหารในระหว่างพักแม้มิใช่การมาร่วมกันเพื่อปรึกษาหารือกันก็ตาม แต่ก็เป็นการชุมนุมอย่างหนึ่ง ซึ่งอยู่ในความหมายของ "ประชุม" เมื่อผู้คัดค้านได้แถลงข้อเท็จจริงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ต่อพนักงานดังกล่าว เช่นนี้ พฤติการณ์ของผู้คัดค้านถือเป็นการเปิดประชุมแล้ว ผู้ร้องชอบที่จะลงโทษผู้คัดค้านได้ตามระเบียบดังกล่าวของตน.
of 5