คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การนับเวลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเมืองโดยมิชอบ และความผิดต่อเนื่องตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง การนับอายุความ
การที่จำเลยซึ่งเป็นคนต่างด้าวแสดงตัวเป็น ช. ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเช่นกันและผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองในนามของ ช.อันเป็นความเท็จนั้น มีผลเท่ากับจำเลยได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้ผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยมีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 มาตรา 21 ที่จะต้องไปรายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองที่ใกล้ที่สุดในทางที่เข้ามาโดยมิชักช้า ถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตาม การอยู่ต่อมาในราชอาณาจักรไทยของจำเลยก็เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นความผิดต่อเนื่องตลอดมา เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าจำเลยได้อยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่วันที่จำเลยเข้ามาในราชอาณาจักรตลอดมาจนถึงวันฟ้อง คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12037/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาทำงานเพื่อคำนวณค่าชดเชย กรณีลูกจ้างขาดงานโดยไม่ลา
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 19 บัญญัติว่า เพื่อประโยชน์ในการคำนวณระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นับวันหยุด วันลา วันที่นายจ้างอนุญาตให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของลูกจ้าง และวันที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง รวมเป็นระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างด้วย ซึ่งวันหยุดและวันลาดังกล่าวตามมาตรา 5 ให้คำจำกัดความว่า วันหยุด หมายความว่า วันที่กำหนดให้ลูกจ้างหยุดประจำสัปดาห์หยุดตามประเพณี หรือหยุดพักผ่อนประจำปี วันลา หมายความว่า วันที่ลูกจ้างลาป่วย ลาเพื่อทำหมัน ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น ลาเพื่อรับราชการทหาร ลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ ความสามารถ หรือลาเพื่อคลอดบุตร จึงเห็นได้ว่า การที่โจทก์ขาดงานไปโดยมิได้ลา ทั้งมิใช่วันที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง จึงไม่อาจนำเวลาที่ขาดงาน ซึ่งนายจ้างไม่ได้ประโยชน์จากการทำงานของลูกจ้างมารวมเป็นระยะเวลาทำงานของลูกจ้างได้ เมื่อโจทก์ขาดงานไปโดยมิได้ลาให้ถูกต้องตามระเบียบ โจทก์จึงไม่ได้ทำงานติดต่อครบสามปีที่จะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันแต่อย่างใด เพียงแต่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน
of 2