พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: คำฟ้องเพียงพอ ศาลไม่ต้องรอการนำสืบ
ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาบอกเลิกจ้างโจทก์ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ขอให้จ่ายเงินต่าง ๆ ตามสิทธิที่โจทก์จะได้รับ รวมทั้งค่าเสียหายที่จำเลยเลิกจ้างโดยผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย ย่อมเป็นการเพียงพอที่จะถือได้ว่าคำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องที่กล่าวอ้างถึงการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วยแล้ว โจทก์หาจำต้องกล่าวหรือบรรยายมาในฟ้องโดยชัดแจ้งหรือต้องนำสืบถึงการกระทำอื่นใดว่าไม่เป็นธรรมอย่างไรอีกไม่ ฉะนั้นที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า ยังไม่มีเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์จึงชอบแล้วมิได้ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3018/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้ และการฟังข้อเท็จจริงที่ฝ่าฝืนกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามสัญญากู้รวม 3 ฉบับ จำนวนเงินฉบับละ 50,000 บาท 40,000 บาท และ 110,000 บาทตามลำดับ รวมแล้วเป็นเงินต้น 200,000 บาท จำเลยที่ 3 ให้การว่า จำเลยที่ 1กู้เงินโจทก์เพียง 100,000 บาท และจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินกู้ครบตามสัญญาเพราะโจทก์หักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า 6,000 บาท เป็นคำให้การปฏิเสธที่ไม่ชัดแจ้ง จึงไม่มีข้อต่อสู้ที่จำเลยที่ 3 จะนำสืบว่าหนี้ไม่สมบูรณ์ การที่จำเลยที่ 3 นำสืบว่าได้รับเงินจริงจากโจทก์เพียง 94,000 บาท จึงนำสืบไม่ได้
คำฟ้องของโจทก์ระบุชัดว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้ทั้ง 3 ฉบับ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อไว้ในสัญญากู้แต่ละฉบับในฐานะผู้กู้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธ จำเลยที่ 2 และที่ 3จะนำสืบว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้ เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
ศาลจะฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำสืบดังกล่าวว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้เพราะเป็นการฟังข้อเท็จจริงที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และแม้ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้จะต้องห้ามมิให้ฎีกาแต่เมื่อมีปัญหาข้อกฎหมายมาสู่ศาลฎีกาตามฎีกาของโจทก์ว่า การที่จำเลยนำสืบว่าได้รับเงินจากโจทก์เพียงบางส่วน และจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 หรือไม่ศาลฎีกาก็มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงที่ชอบด้วยกฎหมายเสียใหม่ได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นอีก
คำฟ้องของโจทก์ระบุชัดว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้ทั้ง 3 ฉบับ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อไว้ในสัญญากู้แต่ละฉบับในฐานะผู้กู้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธ จำเลยที่ 2 และที่ 3จะนำสืบว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้ เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
ศาลจะฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำสืบดังกล่าวว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้เพราะเป็นการฟังข้อเท็จจริงที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และแม้ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้จะต้องห้ามมิให้ฎีกาแต่เมื่อมีปัญหาข้อกฎหมายมาสู่ศาลฎีกาตามฎีกาของโจทก์ว่า การที่จำเลยนำสืบว่าได้รับเงินจากโจทก์เพียงบางส่วน และจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 หรือไม่ศาลฎีกาก็มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงที่ชอบด้วยกฎหมายเสียใหม่ได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3018/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร, การนำสืบหลักฐาน, สัญญาเงินกู้, ความรับผิดของผู้กู้ร่วม, การฟังข้อเท็จจริงตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามสัญญากู้รวม 3 ฉบับ จำนวนเงินฉบับละ 50,000 บาท40,000 บาท และ 110,000 บาท ตามลำดับ รวมแล้วเป็นเงินต้น200,000 บาท จำเลยที่ 3 ให้การว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์เพียง 100,000 บาท และจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินกู้ครบตามสัญญาเพราะโจทก์หักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า 6,000 บาทเป็นคำให้การปฏิเสธที่ไม่ชัดแจ้ง จึงไม่มีข้อต่อสู้ที่จำเลยที่ 3 จะนำสืบว่าหนี้ไม่สมบูรณ์ การที่จำเลยที่ 3นำสืบว่าได้รับเงินจริงจากโจทก์เพียง 94,000 บาทจึงนำสืบไม่ได้ คำฟ้องของโจทก์ระบุชัดว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้ทั้ง 3 ฉบับ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อไว้ในสัญญากู้แต่ละฉบับในฐานะผู้กู้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะนำสืบว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ศาลจะฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำสืบดังกล่าวว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3เป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้เพราะเป็นการฟังข้อเท็จจริงที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และแม้ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้จะต้องห้ามมิให้ฎีกา แต่เมื่อมีปัญหาข้อกฎหมายมาสู่ศาลฎีกาตามฎีกาของโจทก์ว่า การที่จำเลยนำสืบว่าได้รับเงินจากโจทก์เพียงบางส่วน และจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 หรือไม่ ศาลฎีกาก็มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงที่ชอบด้วยกฎหมายเสียใหม่โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบความเป็นมาของกรรมสิทธิ์ที่ดิน: ไม่เป็นการแก้ไขเอกสาร, ข้อตกลงไม่จดทะเบียน
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระบุว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อ การที่โจทก์จะนำสืบว่า จำเลยทำแทนหรือถือกรรมสิทธิ์แทนก็เพื่อแสดงถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นของ ส. จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินแทน ส. การนำสืบเช่นนี้เป็นการนำสืบถึงการเป็นตัวการตัวแทนอีกส่วนหนึ่ง หาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารไม่ กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
ที่จำเลยฎีกาว่า บันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.4เป็นคำมั่นจะให้ ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะบังคับได้นั้น จำเลยมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า บันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.4เป็นคำมั่นจะให้ ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะบังคับได้นั้น จำเลยมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์มรดก: การซื้อที่ดินแทนบุคคลอื่น การแบ่งทรัพย์มรดก และการนำสืบพยานเพื่อแสดงความเป็นมาของทรัพย์สิน
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระบุว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อการที่โจทก์จะนำสืบว่าจำเลยทำแทนหรือถือกรรมสิทธิ์แทนก็เพื่อแสดงถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของส. จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินแทนส. การนำสืบเช่นนี้เป็นการนำสืบถึงการเป็นตัวการตัวแทนอีกส่วนหนึ่งหาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารไม่กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข) ที่จำเลยฎีกาว่าบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมายจ.4เป็นคำมั่นจะให้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะบังคับได้นั้นจำเลยมิได้ให้การไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5911/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่สมบูรณ์จากกลฉ้อฉล การนำสืบถึงเหตุผลการทำสัญญาไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงเอกสาร
การที่โจทก์นำสืบว่า ห. พวกของจำเลยหลอกลวงสามีโจทก์บุตรโจทก์และบุคคลอื่น ๆ ว่าสามารถจัดส่งบุคคลดังกล่าวไปทำงาน ที่ประเทศญี่ปุ่นได้ โดยเรียกเก็บเงินค่านายหน้าจัดหางานโจทก์ไม่มีเงิน พวกของจำเลยจึงให้โจทก์นำที่ดินพิพาทไปขายฝากแก่ จำเลยในราคาเท่ากับจำนวนค่านายหน้า โดยโจทก์ไม่ได้รับเงินตามสัญญา เมื่อ ห. ไม่สามารถส่งคนไปทำงานตามที่อวดอ้างไว้ได้โจทก์ได้บอกล้างสัญญาขายฝากแล้วโจทก์และสามีโจทก์ให้พวกของจำเลยไปนำโฉนดที่ดินคืนมา แต่มิได้ดำเนินการให้นอกจากเป็นการนำสืบถึงที่มาหรือมูลเหตุแห่งการทำสัญญาขายฝากแล้ว ยังเป็นการนำสืบว่าสัญญาขายฝากไม่สมบูรณ์ด้วยมิใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5115/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สิทธิในที่ดินโดยครอบครองปรปักษ์: การแก้ไขคำร้องและหน้าที่การนำสืบ
คำร้องขอของผู้ร้องบรรยายว่า ผู้ร้องได้เข้าไปปลูกบ้านในที่ดินโฉนดตามฟ้อง คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 2 งาน โดยผู้ร้องครอบครองที่ดินส่วนดังกล่าวด้วยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อนานเกินกว่า 10 ปี แล้ว และผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว เฉพาะส่วนของผู้ร้องเนื้อที่ประมาณ 2 งาน97 ตารางวา โดยการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมาย ก่อนวันนัดสืบพยานผู้ร้องผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำร้องขอเฉพาะข้อความเดิมที่ว่า "คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ2 งาน" เป็นเนื้อที่ประมาณ 2 งาน 97 ตารางวา ศาลชั้นต้นได้อนุญาตตามขอดังนั้น คำร้องขอของผู้ร้องในส่วนเกี่ยวกับจำนวนเนื้อที่ดินที่ครอบครองได้สิทธินั้นจึงไม่เคลือบคลุม และชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
คดีนี้ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบก่อน แต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านแถลงรับข้อเท็จจริงกันแล้วไม่ติดใจสืบพยานทั้งสองฝ่าย กรณีเช่นนี้ถือว่าผู้ร้องได้นำสืบข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของตนในคำร้องขอแล้ว ศาลย่อมพิจารณาพิพากษาไปตามเนื้อหาในสำนวนคดี และเมื่อฟังได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทได้สิทธิการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 แล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้สิทธิในที่ดินนั้นได้
คดีนี้ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบก่อน แต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านแถลงรับข้อเท็จจริงกันแล้วไม่ติดใจสืบพยานทั้งสองฝ่าย กรณีเช่นนี้ถือว่าผู้ร้องได้นำสืบข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของตนในคำร้องขอแล้ว ศาลย่อมพิจารณาพิพากษาไปตามเนื้อหาในสำนวนคดี และเมื่อฟังได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทได้สิทธิการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 แล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้สิทธิในที่ดินนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5115/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์: การแก้ไขคำร้องขอเนื้อที่ และการนำสืบข้อเท็จจริง
คำร้องขอของผู้ร้องบรรยายว่าผู้ร้องได้เข้าไปปลูกบ้านในที่ดินโฉนดตามฟ้องคิดเป็นเนื้อที่ประมาณ2งานโดยผู้ร้องครอบครองที่ดินส่วนดังกล่าวด้วยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อนานเกินกว่า10ปีแล้วและผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของผู้ร้องเนื้อที่ประมาณ2งาน97ตารางวาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมายก่อนวันนัดสืบพยานผู้ร้องผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำร้องขอเฉพาะข้อความเดิมที่ว่า"คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ2งาน"เป็นเนื้อที่ประมาณ2งาน97ตารางวาศาลชั้นต้นได้อนุญาตตามขอดังนั้นคำร้องขอของผู้ร้องในส่วนเกี่ยวกับจำนวนเนื้อที่ดินที่ครอบครองได้สิทธินั้นจึงไม่เคลือบคลุมและชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้ว คดีนี้ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบก่อนแต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านแถลงรับข้อเท็จจริงกันแล้วไม่ติดใจสืบพยานทั้งสองฝ่ายกรณีเช่นนี้ถือว่าผู้ร้องได้นำสืบข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของตนในคำร้องขอแล้วศาลย่อมพิจารณาพิพากษาไปตามเนื้อหาในสำนวนคดีและเมื่อฟังได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทได้สิทธิการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382แล้วศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้สิทธิในที่ดินนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4833/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบต่างจากคำให้การไม่กระทบประเด็นครอบครองปรปักษ์ หากเป็นการอ้างสิทธิในฐานะผู้ซื้อ
แม้ทางนำสืบของจำเลยจะแตกต่างกับคำให้การของจำเลยในเรื่องจำเลยซื้อที่พิพาทจาก ก. หรือซื้อจาก ย. ผ่าน ก. แต่ประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดมีว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ ไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยซื้อที่พิพาทจาก ก. หรือไม่ ข้อที่โจทก์กับจำเลยโต้แย้งกันคือ จำเลยเข้าอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ก. หรืออาศัยสิทธิของจำเลยเองในฐานะผู้ซื้อที่พิพาท ดังนั้นไม่ว่าจำเลยจะซื้อที่พิพาทจาก ย. โดยชำระเงินผ่าน ก. หรือ ก. ซื้อที่ดินจาก ย. แล้วแบ่งที่พิพาทขายให้จำเลย ก็เป็นกรณีที่จำเลยนำสืบอ้างว่าได้เข้าอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยเองในฐานะผู้ซื้อที่พิพาทเช่นกัน การนำสืบของจำเลยจึงอยู่ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไม่ถึงกับเป็นเหตุให้รับฟังไม่ได้ ส่วนจะมีน้ำหนักน่าเชื่อหรือไม่เพียงใดเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบต้องอยู่ภายใต้กรอบคำฟ้อง หากโจทก์มิได้บรรยายถึงการประมาทของจำเลย การนำสืบในส่วนดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำโดยประมาทขับรถล้ำเส้นแบ่งกลางถนนเข้าไปชนรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับในช่องเดินรถของผู้ตายแต่อย่างใด การที่โจทก์ร่วมนำสืบไปในทำนองเช่นนั้นจึงเป็นการนำสืบนอกคำฟ้องไม่อาจรับฟังได้
ผู้ตายเป็นฝ่ายขับรถจักรยานยนต์ล้ำเส้นแบ่งกลางถนนเข้ามาชนกับรถยนต์กระบะที่จำเลยขับในช่องเดินรถของจำเลย เมื่อไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง ย่อมไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย
ผู้ตายเป็นฝ่ายขับรถจักรยานยนต์ล้ำเส้นแบ่งกลางถนนเข้ามาชนกับรถยนต์กระบะที่จำเลยขับในช่องเดินรถของจำเลย เมื่อไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง ย่อมไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย