พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันทุนการศึกษา: อำนาจผู้ลงนาม, การปฏิบัติตามสัญญา, และขอบเขตการรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ได้รับทุนการศึกษาภายใต้แผนโคลัมโบ ซึ่งเป็นทุนที่รัฐบาลออสเตรเลียมอบให้แก่รัฐบาลไทยเพื่อคัดเลือกบุคคลไปศึกษา รัฐบาลไทยจึงมีส่วนได้เสียในทุนดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยมีอำนาจหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ เมื่อจำเลยที่ 1เป็นผู้สอบคัดเลือกได้และได้ทำสัญญาการรับทุนกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อสัญญา จำเลยที่ 2 ผู้ทำสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จึงต้องรับผิดตามข้อความในสัญญาที่ทำไว้ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและไม่ยอมชดใช้เงินตามข้อตกลงในสัญญา จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ขณะทำสัญญา ผ. เป็นอธิบดีกรมโจทก์ ได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ช. รองอธิบดีรักษาราชการแทน ซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 เรื่อง ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 44 วรรคแรกบัญญัติให้ผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจเช่นเดียวกับผู้ที่ตนแทน ช.จึงมีอำนาจมอบให้ ช. ซึ่งเป็นวิทยากรพิเศษลงลายมือชื่อในสัญญาการรับทุนและสัญญาค้ำประกันแทน ช. จึงลงลายมือชื่อในสัญญาการรับทุนและสัญญาค้ำประกันแทนโจทก์ได้ สัญญาค้ำประกันจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคแรก จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาต่อแม้จะยังคงมีสถานะเป็นข้าราชการและรับเงินเดือนอยู่ก็ตาม แต่ก็มิใช่เป็นการเข้ารับราชการหรือปฏิบัติราชการตามความหมายในสัญญาการรับทุน จึงไม่อาจนำเวลาที่ลาไปศึกษาต่อมารวมกับเวลาที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติราชการจริงได้ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามสัญญาการรับทุนจะต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามสัญญาการรับทุนทั้งหมด เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดและต้องรับผิดในดอกเบี้ยต่อโจทก์นับแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2530 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 777/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยสัญญาซื้อขายไม้แป้นรองมิเตอร์: การปฏิบัติตามสัญญาเป็นพ้นวิสัยต้องพิจารณาจากข้อตกลงและข้อเท็จจริง
สัญญาซื้อขายที่จำเลยทำไว้กับโจทก์มิได้มีข้อความระบุถึงเรื่องให้จำเลยต้องนำไม้ที่จะขายให้โจทก์จากในป่าซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ที่กองทัพภาคที่ 1 ประกาศปิดป่า และในประกาศของกองทัพดังกล่าวก็ระบุไว้แต่เพียงห้ามบุคคลเข้าไปหรืออยู่อาศัยในเขตพื้นที่บางจังหวัดเท่านั้น ทั้งยังประกาศใช้บังคับมาก่อนจำเลยได้เสนอและทำสัญญาขายไม้แป้นรองมิเตอร์ ให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์เลิกสัญญากับจำเลยแล้ว โจทก์ได้จัดให้มีการประมูลใหม่ ผู้ที่ประมูลได้ก็จัดหาไม้แป้นรองมิเตอร์ ตามประเภท ชนิด และขนาดเช่นเดียวกับที่จำเลยทำสัญญาขายให้แก่โจทก์ได้ การที่จำเลยไม่สามารถหาไม้แป้นรองมิเตอร์ มาขายให้โจทก์ได้ตามสัญญา จึงมิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัย ถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์ประกอบกิจการในการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่บุคคลทั่วไปการที่โจทก์ต้องเสียเวลาล่าช้าในการนำไม้แป้นรองมิเตอร์ ที่จำเลยไม่ได้ส่งมอบให้โจทก์ภายในกำหนดเวลาตามสัญญาไปใช้ย่อมทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ที่จะได้จากการจำหน่ายไฟฟ้า ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6312/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การตีความกำหนดเวลา และการปฏิบัติตามสัญญา
แม้ว่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมจะระบุว่าผู้ร้องกับพวกจะต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกให้เสร็จภายในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีอีกเรื่องหนึ่งก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาคดีนั้นและออกคำบังคับโดยวิธีปิดหมายซึ่งจะมีผลบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาต่อเมื่อกำหนด 15 วันได้ล่วงพ้นไปแล้วดังนี้ เมื่อผู้ร้องได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาที่คำบังคับมีผล จึงถือว่าผู้ร้องได้ปฏิบัติตามกำหนดเวลาในสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายน้ำมัน: สัญญาเกิดขึ้นเมื่อตกลงซื้อขาย แม้มีวิกฤตการณ์น้ำมันก็ต้องปฏิบัติตามสัญญา
จำเลยแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นของจำเลย โจทก์ได้ทำใบสั่งซื้อน้ำมันชนิดต่างๆ จากจำเลย ใบสั่งซื้อจึงเป็นคำเสนอของโจทก์ เมื่อจำเลยมีหนังสือตอบโจทก์ว่าสินค้าที่โจทก์สั่งซื้อและยังขนไปไม่หมดนั้น จำเลยยินดีให้ราคาเก่าถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2522 ทั้งต่อมายังได้มีหนังสือถึงโจทก์อีกว่า จำเลยพร้อมจะให้โจทก์รับสินค้าไปได้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2522 แม้จะมีอุปสรรคเกี่ยวกับภาชนะบรรจุอยู่บ้าง จำเลยก็จะผลิตน้ำมันส่วนที่โจทก์ต้องการให้ถึงที่สุดดังนี้ สัญญาซื้อขายน้ำมันระหว่างโจทก์จำเลยได้เกิดขึ้นแล้ว
เมื่อสัญญาซื้อขายน้ำมันเกิดขึ้นแล้ว ผู้ขายจำต้องส่งมอบทรัพย์ที่ขายให้แก่ผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 461จำเลยจะอ้างประเพณีการค้าว่าบริษัทผู้ขายน้ำมันไม่จำต้องผูกพันว่าจะต้องขายน้ำมันให้แก่ผู้ซื้อโดยผู้ขายมีสิทธิคืนเงินราคาที่ชำระแล้วแก่ผู้ซื้อหรือเพราะเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันขึ้นทั่วโลกมาเป็นข้อบอกปัดไม่ขายน้ำมันให้แก่โจทก์หาได้ไม่
เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การไม่ส่งมอบนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215,222
เมื่อสัญญาซื้อขายน้ำมันเกิดขึ้นแล้ว ผู้ขายจำต้องส่งมอบทรัพย์ที่ขายให้แก่ผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 461จำเลยจะอ้างประเพณีการค้าว่าบริษัทผู้ขายน้ำมันไม่จำต้องผูกพันว่าจะต้องขายน้ำมันให้แก่ผู้ซื้อโดยผู้ขายมีสิทธิคืนเงินราคาที่ชำระแล้วแก่ผู้ซื้อหรือเพราะเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันขึ้นทั่วโลกมาเป็นข้อบอกปัดไม่ขายน้ำมันให้แก่โจทก์หาได้ไม่
เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การไม่ส่งมอบนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215,222
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3872/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพัน, การปฏิบัติตามสัญญา, และผลกระทบต่อข้อพิพาทที่ระงับแล้ว
เมื่อได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว ข้อพิพาทซึ่งได้ฟ้องร้องกันไว้ก่อนทำสัญญาย่อมระงับสิ้นไปด้วย เว้นแต่จะได้ระบุเป็นข้อยกเว้นไว้
เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความแต่ละข้อมีความสมบูรณ์เป็นเอกเทศต่างหากจากกัน มิได้เป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตอบแทนกัน แม้ฝ่ายหนึ่งปฏิบัติผิดสัญญาข้อหนึ่งก็หาเป็นผลให้ข้อพิพาทซึ่งระงับสิ้นไปแล้วตามสัญญาอีกข้อหนึ่งยังไม่ระงับไปไม่
เมื่อศาลได้วินิจฉัยถึงเนื้อหาแห่งคดีเห็นว่า สิทธิในการดำเนินคดีต่อไป หรืออำนาจฟ้องของโจทก์ระงับสิ้นลงโดยผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์จำเลยได้ตกลงกันทำขึ้นภายหลังฟ้องคดี ซึ่งศาลไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ จึงชอบที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์
เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความแต่ละข้อมีความสมบูรณ์เป็นเอกเทศต่างหากจากกัน มิได้เป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตอบแทนกัน แม้ฝ่ายหนึ่งปฏิบัติผิดสัญญาข้อหนึ่งก็หาเป็นผลให้ข้อพิพาทซึ่งระงับสิ้นไปแล้วตามสัญญาอีกข้อหนึ่งยังไม่ระงับไปไม่
เมื่อศาลได้วินิจฉัยถึงเนื้อหาแห่งคดีเห็นว่า สิทธิในการดำเนินคดีต่อไป หรืออำนาจฟ้องของโจทก์ระงับสิ้นลงโดยผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์จำเลยได้ตกลงกันทำขึ้นภายหลังฟ้องคดี ซึ่งศาลไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ จึงชอบที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ - การปฏิบัติตามสัญญา - การโอนรถยนต์
เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความมีเพียงว่า หากโจทก์จำเลยจะอยู่กินฉันสามีภริยากันต่อไปโจทก์จะโอนรถยนต์ให้แก่จำเลย โดยมิได้ตกลงว่าจะต้องอยู่กินกันตลอดไปแล้วการที่โจทก์กับจำเลยได้กลับไปอยู่กินฉันสามีภริยากันภายหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นนับว่าจำเลยได้ปฏิบัติตรงตามสัญญาดังกล่าวแล้ว หาจำต้องอยู่กันตลอดไปไม่โจทก์จึงต้องโอนรถยนต์ให้จำเลยตามสัญญาโจทก์ไม่มีสิทธิในฐานะเจ้าของในรถยนต์นั้นอีกการชำระค่าเช่าซื้อไม่ใช่เงื่อนไขของสัญญา เป็นคนละตอนกับข้อตกลงให้รถยนต์เป็นของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1754/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: การอยู่กินฉันสามีภรรยาโดยลำพัง ไม่จำกัดเฉพาะเรือนหลังใหญ่
ยอมความว่า จำเลยยอมไปอยู่กินกับโจทก์ที่บ้านโจทก์โดยลำพังนับแต่วันจดทะเบียนสมรสไม่ได้ระบุว่าต้องอยู่ที่เรือนใหญ่โจทก์ปลูกเรือนเพื่ออยู่ด้วยกันตามลำพังอีกหลังหนึ่ง เป็นการตรงตามสัญญายอมแล้ว จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสและไปอยู่กับโจทก์ผิดสัญญายอม โจทก์ยึดทรัพย์ใช้ค่าเสียหายตามยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเหมาเจาะบ่อน้ำบาดาล: การรับประกันคุณภาพน้ำและการบอกเลิกสัญญาเมื่อไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้
ข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยนั้น. จะต้องเป็นข้อสัญญาที่ผู้ให้สัญญาไม่มีทางปฏิบัติได้เลย.
จำเลยทำสัญญารับจ้างเหมาโจทก์เจาะบ่อน้ำบาดาล เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อสัญญาที่ให้รับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนดเวลา 4 ปีนั้น. เป็นเงื่อนไขที่สามารถปฏิบัติได้. หาเป็นการพ้นวิสัยไม่. การที่จำเลยไม่สามารถเจาะบ่อน้ำบาดาลให้โจทก์ใช้ได้ถึง 4 ปีตามสัญญา. จึงไม่ใช่กรณีการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย.
ตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 13 ถือว่ารายการแนบท้ายหมายจ.5, จ.6 เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย และในรายการแนบท้ายดังกล่าว ข้อ 6(14)(15). ผู้รับจ้างคือจำเลย ก็ได้สัญญาให้โจทก์ได้ใช้น้ำในประมาณตามที่กำหนด. และรับรองให้โจทก์ได้ใช้น้ำบริโภคได้เป็นกำหนดเวลา 4 ปีนับแต่วันที่คณะกรรมการของโจทก์รับมอบงานงวดสุดท้าย.และในรายการแนบท้าย ข้อ 6(16) ก็ได้ระบุว่า ถ้าหากการดำเนินการของผู้รับจ้างได้ผลเป็นที่พอใจของผู้ว่าจ้างตามข้อ (14)และ (15). ผู้ว่าจ้างจะถือว่าผู้รับจ้างได้กระทำการให้ผู้ว่าจ้างถูกต้องเรียบร้อยเสร็จบริบูรณ์แล้ว. ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา.ไม่สามารถจะให้โจทก์ได้ใช้น้ำจนครบกำหนด 4 ปี. โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 5 ได้. เพราะในสัญญาข้อนี้ได้ระบุไว้ว่า 'ฯลฯหรือผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดก็ดี ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้ได้ ฯลฯ'. ซึ่งข้อความนี้หาได้จำกัดเฉพาะสัญญาข้อ 5 ก. ข. ค. ไม่.
โจทก์จ้างจำเลยขุดบ่อน้ำบาดาล จำเลยรับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนด 4 ปี. เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391. การให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจะต้องคืนเงินค่าจ้างเหมาที่ได้รับไปแล้วแก่โจทก์. ส่วนโจทก์ก็จะต้องคืนสิ่งของต่างๆ ที่จำเลยนำมาติดตั้งให้โจทก์แก่จำเลย.แต่ได้ปรากฏว่าสิ่งของต่างๆ ที่จะต้องคืนให้แก่จำเลยนั้น โจทก์ได้นำไปใช้แล้วเป็นเวลาถึง 18 เดือน. ทั้งจำเลยก็ได้ลงทุนลงแรงขุดเจาะน้ำบาดาลจนให้โจทก์มีน้ำใช้บริโภคได้. การคืนเงินของจำเลยแก่โจทก์.จึงต้องหักจำนวนเงินค่าเสื่อมราคาสิ่งของเพื่อชดเชยให้กลับคืนสู่สภาพเดิม กับค่าการงานในการติดตั้งให้จำเลย.
จำเลยทำสัญญารับจ้างเหมาโจทก์เจาะบ่อน้ำบาดาล เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อสัญญาที่ให้รับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนดเวลา 4 ปีนั้น. เป็นเงื่อนไขที่สามารถปฏิบัติได้. หาเป็นการพ้นวิสัยไม่. การที่จำเลยไม่สามารถเจาะบ่อน้ำบาดาลให้โจทก์ใช้ได้ถึง 4 ปีตามสัญญา. จึงไม่ใช่กรณีการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย.
ตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 13 ถือว่ารายการแนบท้ายหมายจ.5, จ.6 เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย และในรายการแนบท้ายดังกล่าว ข้อ 6(14)(15). ผู้รับจ้างคือจำเลย ก็ได้สัญญาให้โจทก์ได้ใช้น้ำในประมาณตามที่กำหนด. และรับรองให้โจทก์ได้ใช้น้ำบริโภคได้เป็นกำหนดเวลา 4 ปีนับแต่วันที่คณะกรรมการของโจทก์รับมอบงานงวดสุดท้าย.และในรายการแนบท้าย ข้อ 6(16) ก็ได้ระบุว่า ถ้าหากการดำเนินการของผู้รับจ้างได้ผลเป็นที่พอใจของผู้ว่าจ้างตามข้อ (14)และ (15). ผู้ว่าจ้างจะถือว่าผู้รับจ้างได้กระทำการให้ผู้ว่าจ้างถูกต้องเรียบร้อยเสร็จบริบูรณ์แล้ว. ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา.ไม่สามารถจะให้โจทก์ได้ใช้น้ำจนครบกำหนด 4 ปี. โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 5 ได้. เพราะในสัญญาข้อนี้ได้ระบุไว้ว่า 'ฯลฯหรือผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดก็ดี ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้ได้ ฯลฯ'. ซึ่งข้อความนี้หาได้จำกัดเฉพาะสัญญาข้อ 5 ก. ข. ค. ไม่.
โจทก์จ้างจำเลยขุดบ่อน้ำบาดาล จำเลยรับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนด 4 ปี. เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391. การให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจะต้องคืนเงินค่าจ้างเหมาที่ได้รับไปแล้วแก่โจทก์. ส่วนโจทก์ก็จะต้องคืนสิ่งของต่างๆ ที่จำเลยนำมาติดตั้งให้โจทก์แก่จำเลย.แต่ได้ปรากฏว่าสิ่งของต่างๆ ที่จะต้องคืนให้แก่จำเลยนั้น โจทก์ได้นำไปใช้แล้วเป็นเวลาถึง 18 เดือน. ทั้งจำเลยก็ได้ลงทุนลงแรงขุดเจาะน้ำบาดาลจนให้โจทก์มีน้ำใช้บริโภคได้. การคืนเงินของจำเลยแก่โจทก์.จึงต้องหักจำนวนเงินค่าเสื่อมราคาสิ่งของเพื่อชดเชยให้กลับคืนสู่สภาพเดิม กับค่าการงานในการติดตั้งให้จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสวนและการปฏิบัติตามสัญญา: หน้าที่ของผู้เช่าในการปลูกทุเรียนตามวัตถุประสงค์ของสัญญา
จำเลยทำสัญญาเช่าสวนส้มของโจทก์มีกำหนด 12 ปี ค่าเช่าปีละ 10 บาท โดยมีข้อสัญญาว่าจำเลยจะต้องปลูกทุเรียนจนเต็มเนื้อที่โดยออกค่าใช้จ่ายเอง และในระหว่างอายุสัญญาเช่า ดอกผลที่ได้จากทุเรียนจะต้องแบ่งกันคนละครึ่งระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์สงวนสิทธิเก็บดอกผลของต้นไม้บางต้น นอกนั้นยอมให้จำเลยเก็บได้ทั้งสิ้น แม้ตามสัญญาจะมิได้กำหนดว่าจะต้องเริ่มปลูกทุเรียนเมื่อใด แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงความประสงค์ของคู่สัญญาประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368 แล้ว จำเลยจะต้องปลูกทุเรียนโดยเร็ว ในระยะแรกที่พอปลูกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินเพื่อปลูกทุเรียน: การปฏิบัติตามสัญญาและสิทธิบอกเลิกสัญญา
จำเลยทำสัญญาเช่าสวนส้มของโจทก์มีกำหนด 12 ปี ค่าเช่าปีละ 10 บาท โดยมีข้อสัญญาว่าจำเลยจะต้องปลูกทุเรียนจนเต็มเนื้อที่โดยออกค่าใช้จ่ายเอง และในระหว่างอายุสัญญาเช่า ดอกผลที่ได้จากทุเรียนจะต้องแบ่งกันคนละครึ่งระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์สงวนสิทธิเก็บดอกผลของต้นไม้บางต้น นอกนั้นยอมให้จำเลยเก็บได้ทั้งสิ้น แม้ตามสัญญาจะมิได้กำหนดว่าจะต้องเริ่มปลูกทุเรียนเมื่อใดแต่เมื่อพิเคราะห์ถึงความประสงค์ของคู่สัญญาประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368 แล้ว จำเลยจะต้องปลูกทุเรียนโดยเร็วในระยะแรกที่พอปลูกได้