พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9570/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม: การไม่ใช้สิทธิขออัตรา 7% ทำให้ต้องเสียภาษีอัตรา 9% และคำแถลงก่อนศาลตัดสินไม่กระทบต่อการพิจารณาคดี
โจทก์ยื่นคำแถลงก่อนวันนัดฟังคำพิพากษาอ้างเพียงว่า พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ของจำเลยที่ 1 เป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์ทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราสูงสุดเท่านั้น โดยมิได้กล่าวโดยแจ้งชัดว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญบทมาตราใด เพราะเหตุใด ประกอบกับท้ายคำแถลงดังกล่าวโจทก์มีคำขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินภาษีตามคำขอท้ายฟ้อง แสดงให้เห็นว่าโจทก์ยื่นคำแถลงดังกล่าวในลักษณะของแถลงการณ์ปิดคดีเพื่อให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการประเมินภาษีตามคำฟ้องเท่านั้น คำแถลงดังกล่าวจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 ประกอบด้วยมาตรา 264 ที่ศาลจะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
โจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่ออกตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 โจทก์จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 9 ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว
โจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่ออกตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 โจทก์จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 9 ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9569/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีอากรต้องรอผลการพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์ก่อน จึงจะสามารถฟ้องต่อศาลภาษีอากรได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 8 ได้วางข้อห้ามมิให้ฟ้องคดีตามมาตรา 7 (1) ต่อศาลภาษีอากรไว้ซึ่งเป็นการห้ามบุคคลทุกคน หามีข้อยกเว้นให้กรมสรรพากรโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีโดยไม่จำต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว และขณะที่โจทก์ฟ้องคดี คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 หนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์แจ้งการประเมิน ซึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ที่เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดจะต้องร่วมรับผิดด้วยอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งหกต่อศาลภาษีอากรกลางตามมาตรา 7 (1) และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และ 246
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับคำอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไว้พิจารณาแล้ว กรณีจะต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมายหรือไม่อย่างไร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย โจทก์ไม่มีสิทธิวินิจฉัยแทนคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับคำอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไว้พิจารณาแล้ว กรณีจะต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมายหรือไม่อย่างไร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย โจทก์ไม่มีสิทธิวินิจฉัยแทนคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล การประมาณการกำไรสุทธิ และเบี้ยปรับ กรณีประมาณการต่ำกว่าความจริงเกิน 25%
บริษัทโจทก์ลงบัญชีย่อยหรือลูกหนี้อื่น ๆ ชื่อบัญชีบริษัท ฟ. รับรู้รายได้ในเดือนสิงหาคม ตุลาคม และพฤศจิกายน 2532 รวมเป็นเงิน2,879,913 บาท เท่ากับค่าจ้างทำของที่โจทก์ได้ทำสัญญาตกแต่งภายในให้แก่บริษัท ฟ. หากต่อมาโจทก์ทำงานไม่แล้วเสร็จและถูกยกเลิกสัญญาจ้าง โดยมีเงินที่บริษัท ฟ. ยังไม่ได้ชำระให้โจทก์ก่อนบอกเลิกสัญญาจำนวน 1,286,488 บาท จริง โจทก์จะต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวไปปรับปรุงลดยอดรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 ที่โจทก์รับรู้รายได้ไว้แล้ว มิใช่นำไปปรับปรุงลดยอดรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534ที่โจทก์มิได้รับรู้รายได้ไว้ อันเป็นการลงบัญชีที่ขัดกับหลักการคำนวณ รายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65
โจทก์ให้บริษัทในเครือกู้เงินในปี 2534 จำนวน 121,000,000 บาทอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี โดยยกยอดเงินกู้มาจากรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 จำนวน 60,000,000 บาท ซึ่งเป็นเงินทุนของโจทก์มิใช่เงินที่โจทก์ไปกู้บุคคลอื่นมา ส่วนอีกจำนวน 61,000,000 บาท เป็นเงินทุนหมุนเวียนของโจทก์ส่วนหนึ่งและเงินที่โจทก์กู้ยืมจากสถาบันการเงินมาใช้เป็นทุนหมุนเวียนในส่วนเงินจำนวน 61,000,000 บาท นั้น เป็นกรณีที่โจทก์ให้กู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาด แม้บริษัทที่กู้ยืมจะเป็นบริษัทในเครือ แต่การที่โจทก์กู้ยืมจากสถาบันการเงินในอัตราร้อยละ 13 ถึง17 ต่อปี มาให้กู้โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 10 ต่อปี เพื่อ ช่วยเหลือบริษัทในเครือให้มีกำไรย่อมเป็นเหตุไม่สมควรเพราะมิใช่ ปกติวิสัยของผู้ทำการค้าทั่วไป การที่เจ้าพนักงานประเมินคิดดอกเบี้ย ร้อยละ 15.495 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราเฉลี่ยของดอกเบี้ยที่โจทก์ไปกู้ บุคคลอื่นมา จึงชอบแล้ว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ทวิ บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามมาตรา 68หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควรจะต้องรับผิดตามมาตรา 67 ตรีโดยต้องเสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ(1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาดแล้วแต่กรณีจึงถือได้ว่าการฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ทั้งเป็นเรื่องของการประมาณการซึ่งหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินจะทราบและประเมินให้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อมีการยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และมาตรา 69 ตอนสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี กรณีจึงมิใช่เรื่องการยื่นรายการตามแบบไม่ถูกต้องและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจสอบตามมาตรา 19 และ 20เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22
โจทก์ให้บริษัทในเครือกู้เงินในปี 2534 จำนวน 121,000,000 บาทอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี โดยยกยอดเงินกู้มาจากรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 จำนวน 60,000,000 บาท ซึ่งเป็นเงินทุนของโจทก์มิใช่เงินที่โจทก์ไปกู้บุคคลอื่นมา ส่วนอีกจำนวน 61,000,000 บาท เป็นเงินทุนหมุนเวียนของโจทก์ส่วนหนึ่งและเงินที่โจทก์กู้ยืมจากสถาบันการเงินมาใช้เป็นทุนหมุนเวียนในส่วนเงินจำนวน 61,000,000 บาท นั้น เป็นกรณีที่โจทก์ให้กู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาด แม้บริษัทที่กู้ยืมจะเป็นบริษัทในเครือ แต่การที่โจทก์กู้ยืมจากสถาบันการเงินในอัตราร้อยละ 13 ถึง17 ต่อปี มาให้กู้โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 10 ต่อปี เพื่อ ช่วยเหลือบริษัทในเครือให้มีกำไรย่อมเป็นเหตุไม่สมควรเพราะมิใช่ ปกติวิสัยของผู้ทำการค้าทั่วไป การที่เจ้าพนักงานประเมินคิดดอกเบี้ย ร้อยละ 15.495 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราเฉลี่ยของดอกเบี้ยที่โจทก์ไปกู้ บุคคลอื่นมา จึงชอบแล้ว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ทวิ บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามมาตรา 68หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควรจะต้องรับผิดตามมาตรา 67 ตรีโดยต้องเสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ(1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาดแล้วแต่กรณีจึงถือได้ว่าการฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ทั้งเป็นเรื่องของการประมาณการซึ่งหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินจะทราบและประเมินให้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อมีการยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และมาตรา 69 ตอนสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี กรณีจึงมิใช่เรื่องการยื่นรายการตามแบบไม่ถูกต้องและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจสอบตามมาตรา 19 และ 20เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน การสืบพยานโดยศาล และการคิดดอกเบี้ยจากเงินที่ต้องคืน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคท้ายประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2518 มาตรา 17 ให้อำนาจศาลที่จะนำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเองได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม การที่ ศาลภาษีอากรกลางเรียกพยานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบโดยพยานเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินภาษีโจทก์เพื่อให้การกำหนดค่ารายปีและค่าภาษีเป็นไปโดยถูกต้องเที่ยงธรรมจึงชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวแล้วแม้โจทก์จะมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดและไม่มีสิทธิ นำพยานเข้าสืบก็ตาม
โจทก์ได้รับแจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่จากกรุงเทพมหานครจำเลย เมื่อวันที่ 7มิถุนายน 2542 และนำคดีมาฟ้องวันที่ 7 กรกฎาคม 2542 ซึ่งการนับ ระยะเวลานั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสองบัญญัติว่า "ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นวันสัปดาห์ เดือนหรือปี มิให้นับ วันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน" ดังนั้นวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้อง จึงเป็นวันครบสามสิบวันพอดี เป็นการฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง
หนี้ที่กรุงเทพมหานครจำเลยต้องชำระคืนแก่โจทก์เป็นหนี้เงิน ปกติโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งการที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 39วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าศาลตัดสินให้ลดค่าภาษี ท่านให้คืนเงินส่วนที่ลดนั้นภายในสามเดือน โดยไม่คิดค่าอย่างใด" จึงเป็นบทยกเว้นความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่จะต้องชำระแก่โจทก์แต่มีระยะเวลาเพียงสามเดือน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้ว จำเลยยังไม่ชำระ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีได้
โจทก์ได้รับแจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่จากกรุงเทพมหานครจำเลย เมื่อวันที่ 7มิถุนายน 2542 และนำคดีมาฟ้องวันที่ 7 กรกฎาคม 2542 ซึ่งการนับ ระยะเวลานั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสองบัญญัติว่า "ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นวันสัปดาห์ เดือนหรือปี มิให้นับ วันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน" ดังนั้นวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้อง จึงเป็นวันครบสามสิบวันพอดี เป็นการฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง
หนี้ที่กรุงเทพมหานครจำเลยต้องชำระคืนแก่โจทก์เป็นหนี้เงิน ปกติโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งการที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 39วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าศาลตัดสินให้ลดค่าภาษี ท่านให้คืนเงินส่วนที่ลดนั้นภายในสามเดือน โดยไม่คิดค่าอย่างใด" จึงเป็นบทยกเว้นความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่จะต้องชำระแก่โจทก์แต่มีระยะเวลาเพียงสามเดือน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้ว จำเลยยังไม่ชำระ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'อาคาร' ใน พ.ร.บ.ภาษีป้าย และการแจ้งประเมินภาษีป้ายที่ถูกต้องตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 ไม่มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "อาคาร" แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร หากจะต้องตีความเพราะตัวบทกฎหมายไม่ชัดแจ้ง ก็ต้องตีความโดยเคร่งครัดในทางที่ไม่เป็นโทษแก่ราษฎรผู้ที่จะต้องเสียภาษีอากร คำว่า "อาคาร" ตามพจนานุกรมได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายความถึง เรือน โรง สิ่งที่ก่อสร้างขึ้นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น สถานีบริการน้ำมันโดยปกติแล้วจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ตัวอาคารที่เป็นที่ทำการตู้จำหน่ายน้ำมันและหลังคาที่ปกคลุมตู้จำหน่ายน้ำมัน รวมทั้งจะต้องเปิดโล่งให้รถยนต์เข้าไปเติมน้ำมันได้ ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้รวมกันเป็นสถานีบริการน้ำมัน จึงถือว่าเป็นอาคาร
ป้ายที่มีข้อความว่า "ซูพรีม 97 ซูพรีม 92" และ "ESSO รูปเสือ" อยู่ใต้หลังคาที่ปกคลุมตู้จำหน่ายน้ำมัน เป็นป้ายที่อยู่ภายในอาคารของสถานีบริการน้ำมันที่ใช้ประกอบการค้า ทั้งเป็นป้ายที่มีพื้นที่ไม่เกินหนึ่งตารางเมตร ย่อมเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ. ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 8 (5) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 มาตรา 6 จึงไม่ต้องเสียภาษีป้าย
ป้ายที่มีข้อความว่า "AMERICAN EXPRESS" ซึ่งติดตั้งอยู่ในอาคารของโจทก์ ไม่ใช่ป้ายที่โจทก์เป็นเจ้าของ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของเทศบาลจำเลยไม่ได้สืบหาเจ้าของป้ายผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย จึงเป็นการไม่ปฎิบัติตาม พ.ร.บ. ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 18 พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงไม่มีอำนาจแจ้งการประเมินภาษีป้ายดังกล่าวไปยังโจทก์
ป้ายที่มีข้อความว่า "ซูพรีม 97 ซูพรีม 92" และ "ESSO รูปเสือ" อยู่ใต้หลังคาที่ปกคลุมตู้จำหน่ายน้ำมัน เป็นป้ายที่อยู่ภายในอาคารของสถานีบริการน้ำมันที่ใช้ประกอบการค้า ทั้งเป็นป้ายที่มีพื้นที่ไม่เกินหนึ่งตารางเมตร ย่อมเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ. ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 8 (5) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 มาตรา 6 จึงไม่ต้องเสียภาษีป้าย
ป้ายที่มีข้อความว่า "AMERICAN EXPRESS" ซึ่งติดตั้งอยู่ในอาคารของโจทก์ ไม่ใช่ป้ายที่โจทก์เป็นเจ้าของ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของเทศบาลจำเลยไม่ได้สืบหาเจ้าของป้ายผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย จึงเป็นการไม่ปฎิบัติตาม พ.ร.บ. ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 18 พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงไม่มีอำนาจแจ้งการประเมินภาษีป้ายดังกล่าวไปยังโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4275/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี, การหักค่าใช้จ่าย, และข้อยกเว้นเบี้ยปรับตามประกาศกระทรวงการคลัง ต้องมีการชำระภาษีครบถ้วนและให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ซึ่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามมาตรา 3 อัฎฐวรรคสองแห่ง ประมวลรัษฎากร ข้อ 2 และ 5 ระบุว่า ถ้าได้ยื่นรายการและชำระภาษีอากร หรือนำส่งภาษีอากรตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2535 ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ฉะนั้น ผู้ที่จะได้รับประโยชน์โดยได้รับ ยกเว้นเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวจะต้อง ชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่จำเลยจนครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ ประกาศกระทรวงการคลังกำหนด เมื่อโจทก์ทั้งสองยังมิได้ชำระหนี้ ค่าภาษีอากรแก่จำเลยจนครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ประกาศกระทรวงการคลังกำหนด โจทก์ทั้งสองย่อมไม่ได้รับยกเว้นเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตาม ประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว
ในชั้นตรวจสอบและชั้นพิจารณาอุทธรณ์ เจ้าพนักงานของจำเลยได้มีหนังสือเชิญโจทก์ทั้งสองเพื่อให้ชี้แจงและส่งมอบเอกสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แต่โจทก์ทั้งสองก็มิได้ส่งมอบเอกสารค่าใช้จ่ายต่าง ๆให้แก่จำเลยในชั้นตรวจสอบ เพิ่งมานำส่งในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ในชั้นพิจารณาอุทธรณ์เจ้าพนักงานของจำเลยมีหนังสือเชิญโจทก์ที่ 1ไปพบ เพื่อให้โจทก์ที่ 1 ชี้แจงเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายค่าออกแบบอาคารและรากฐานถึงสองครั้ง แต่โจทก์ที่ 1 เพิกเฉย เห็นได้ว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบการเสียภาษีอากรของโจทก์ทั้งสองแก่จำเลย กรณีจึงยังไม่มีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ทั้งสอง
ในชั้นตรวจสอบและชั้นพิจารณาอุทธรณ์ เจ้าพนักงานของจำเลยได้มีหนังสือเชิญโจทก์ทั้งสองเพื่อให้ชี้แจงและส่งมอบเอกสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แต่โจทก์ทั้งสองก็มิได้ส่งมอบเอกสารค่าใช้จ่ายต่าง ๆให้แก่จำเลยในชั้นตรวจสอบ เพิ่งมานำส่งในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ในชั้นพิจารณาอุทธรณ์เจ้าพนักงานของจำเลยมีหนังสือเชิญโจทก์ที่ 1ไปพบ เพื่อให้โจทก์ที่ 1 ชี้แจงเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายค่าออกแบบอาคารและรากฐานถึงสองครั้ง แต่โจทก์ที่ 1 เพิกเฉย เห็นได้ว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบการเสียภาษีอากรของโจทก์ทั้งสองแก่จำเลย กรณีจึงยังไม่มีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6652/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: กรณีสามีไม่มีเงินได้ และหน้าที่ในการยื่นรายการภาษี
ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี วรรคแรก เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่สามีและภริยาต่างมีเงินได้โดยให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี แต่หากภริยาเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมิน ส่วนสามีไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมา ก็ไม่อยู่ในบังคับให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีที่สามีจะต้องรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีตามมาตรา 57 ตรี วรรคแรก แต่อย่างใด เมื่อสามีของโจทก์ไม่มีเงินได้พึงประเมินและไม่เคยยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีประกอบกับไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในมาตรา 57 ตรี มาใช้บังคับได้กรณีจึงต้องเป็นไปตามประมวลรัษฎาก มาตรา 56 วรรคแรก ที่กำหนดให้บุคคลทุกคน มีหน้าที่ในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับเกิน 60,000 บาทในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินประมาณ 4 ล้านเศษโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นรายการและชำระภาษี เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ภาษีและการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: ข้อจำกัดการอุทธรณ์และการประเมินภาษี
เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินแก่โจทก์โดยแยกเป็นเรื่องแจ้งการประเมินเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย 1 ฉบับภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ฉบับ ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย 1 ฉบับ และภาษีการค้า 2 ฉบับ รวมเป็น 7 ฉบับ แต่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รวมมาในฉบับเดียวกัน โดยข้อความในอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวล้วนเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับภาษีการค้า ส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โจทก์ได้กล่าวโต้แย้งไว้ในอุทธรณ์แต่เพียงว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ แต่มิได้กล่าวว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ทั้งไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์โต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) (9) (13) (18) แห่งป.รัษฎากร จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในประเด็นเรื่องรายจ่ายต้องห้ามต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นนี้ ก็หามีผลให้อุทธรณ์ในประเด็นนี้กลายเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำประเด็นนี้มาฟ้องต่อศาล
มาตรา 67 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามมาตรา 68 จึงให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดทำประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วยื่นรายการเพื่อชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยให้ยื่นชำระภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว และหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควรก็จะต้องรับผิดตามมาตรา 67 ตรีซึ่งกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาด แล้วแต่กรณี จึงถือได้ว่าการฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้วอีกประการหนึ่งมาตรา 67 ทวิ นี้เป็นเรื่องของการประมาณการและหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินจะทราบและประเมินให้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบภงด.50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 กรณีจึงมิใช่เรื่องแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19 และมาตรา 20เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22
มาตรา 67 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามมาตรา 68 จึงให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดทำประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วยื่นรายการเพื่อชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยให้ยื่นชำระภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว และหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควรก็จะต้องรับผิดตามมาตรา 67 ตรีซึ่งกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาด แล้วแต่กรณี จึงถือได้ว่าการฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้วอีกประการหนึ่งมาตรา 67 ทวิ นี้เป็นเรื่องของการประมาณการและหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินจะทราบและประเมินให้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบภงด.50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 กรณีจึงมิใช่เรื่องแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19 และมาตรา 20เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7623/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: ศาลภาษีอากรมีอำนาจวินิจฉัยความถูกต้องของการประเมิน
ตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเดือนกันยายน ตุลาคม และพฤศจิกายน 2536 โจทก์ลงรายการในช่องภาษีที่ชำระเกินยกมาเป็นจำนวนเงิน157,989.33 บาท ผิดโดยลงซ้ำทั้งสามเดือน และโจทก์อ้างว่าฐานภาษีซื้อของโจทก์ในเดือนมิถุนายนและตุลาคม 2535 โจทก์ใช้ราคาสินค้าตามความจริงโดยมิได้นำราคาที่เจ้าพนักงานศุลกากรประเมินเพิ่มมาเป็นฐานภาษี ในระหว่างอุทธรณ์การประเมินโจทก์ได้เสนอเอกสารใบกำกับภาษีซื้อ ภาษีขาย รายงานภาษี แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อประกอบการพิจารณาด้วยแล้ว การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพียงแต่พิจารณาหลักฐานรายงานภาษีขายและภาษีซื้อเดือนพฤศจิกายน 2536 โดยมิได้นำเอกสารดังกล่าวมาพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่าการประเมินชอบแล้ว เห็นได้ว่าเป็นการนำข้อมูลจากรายงานภาษีขายและภาษีซื้อของโจทก์ในเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งโจทก์นำสืบว่าโจทก์ลงไว้ผิดมาวินิจฉัย โดยมิได้ตรวจสอบจากเอกสารที่โจทก์นำมาส่งให้เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย การประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
ป.รัษฎากร มาตรา 83/4 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการยื่นแบบและชำระภาษีและเป็นทางแก้กรณีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนและให้โอกาสผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษียื่นเพิ่มเติมใหม่เพื่อให้ถูกต้องครบถ้วนได้ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติห้ามมิให้ศาลภาษีอากรเข้าไปวินิจฉัยว่าการประเมินภาษีหรือคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของเจ้าพนักงานประเมินหรือของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถูกต้องหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรมีคำวินิจฉัยในเรื่องนี้จึงมิใช่เป็นการลัดขั้นตอนของกฎหมายหรือเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ป.รัษฎากร มาตรา 83/4 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการยื่นแบบและชำระภาษีและเป็นทางแก้กรณีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนและให้โอกาสผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษียื่นเพิ่มเติมใหม่เพื่อให้ถูกต้องครบถ้วนได้ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติห้ามมิให้ศาลภาษีอากรเข้าไปวินิจฉัยว่าการประเมินภาษีหรือคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของเจ้าพนักงานประเมินหรือของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถูกต้องหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรมีคำวินิจฉัยในเรื่องนี้จึงมิใช่เป็นการลัดขั้นตอนของกฎหมายหรือเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7623/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มที่มิชอบ กรณีเจ้าพนักงานประเมินละเลยเอกสารสำคัญที่ผู้เสียภาษีนำเสนอเพื่อประกอบการพิจารณา
ตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเดือนกันยายน ตุลาคม และพฤศจิกายน2536 โจทก์ลงรายการในช่องภาษีที่ชำระเกินยกมาเป็นจำนวนเงิน 157,989.33 บาท ผิดโดยลงซ้ำทั้งสามเดือน และโจทก์อ้างว่าฐานภาษีซื้อของโจทก์ในเดือนมิถุนายนและตุลาคม 2535 โจทก์ใช้ราคาสินค้าตามความจริงโดยมิได้นำราคาที่เจ้าพนักงานศุลกากรประเมินเพิ่มมาเป็นฐานภาษี ในระหว่างอุทธรณ์การประเมินโจทก์ได้เสนอเอกสารใบกำกับภาษีซื้อ ภาษีขาย รายงานภาษี แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อประกอบการพิจารณาด้วยแล้ว การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพียงแต่พิจารณาหลักฐานรายงานภาษีขายและภาษีซื้อเดือนพฤศจิกายน 2536 โดยมิได้นำเอกสารดังกล่าวมาพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่าการประเมินชอบแล้ว เห็นได้ว่าเป็นการนำข้อมูลจากรายงานภาษีขายและภาษีซื้อของโจทก์ในเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งโจทก์นำสืบว่าโจทก์ลงไว้ผิดมาวินิจฉัย โดยมิได้ตรวจสอบจากเอกสารที่โจทก์นำมาส่งให้เพื่อประกอบการพิจารณาด้วยการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 83/4 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการยื่นแบบและชำระภาษีและเป็นทางแก้กรณีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนและให้โอกาสผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษียื่นเพิ่มเติมใหม่เพื่อให้ถูกต้องครบถ้วนได้ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติห้ามมิให้ศาลภาษีอากรเข้าไปวินิจฉัยว่าการประเมินภาษีหรือคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของเจ้าพนักงานประเมินหรือของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถูกต้องหรือไม่การที่ศาลภาษีอากรมีคำวินิจฉัยในเรื่องนี้จึงมิใช่เป็นการลัดขั้นตอนของกฎหมายหรือเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ประมวลรัษฎากร มาตรา 83/4 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการยื่นแบบและชำระภาษีและเป็นทางแก้กรณีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนและให้โอกาสผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษียื่นเพิ่มเติมใหม่เพื่อให้ถูกต้องครบถ้วนได้ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติห้ามมิให้ศาลภาษีอากรเข้าไปวินิจฉัยว่าการประเมินภาษีหรือคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของเจ้าพนักงานประเมินหรือของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถูกต้องหรือไม่การที่ศาลภาษีอากรมีคำวินิจฉัยในเรื่องนี้จึงมิใช่เป็นการลัดขั้นตอนของกฎหมายหรือเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น