คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การผลิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตสินค้าทางภาษี: การใช้ลวดทำลวดเสียบกระดาษถือเป็นการผลิตสินค้าและเป็นของใช้ที่ต้องเสียภาษี
การที่จะถือว่าผู้ใดเป็นผู้ผลิตตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 77นั้น นอกจากจะหมายถึงว่า ผู้นั้น ทำการเกษตร หรือขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบแปรรูป แปรสภาพสินค้า แล้วยังให้รวมถึงการที่ผู้ใดทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ด้วย ซึ่งการกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าดังกล่าวนั้น มีความหมายว่าทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดสินค้าใหม่ขึ้นมา ซึ่งอาจใช้วัตถุดิบของสินค้าเดิมมาทำเป็นสินค้าใหม่โดยไม่แปรเปลี่ยนสภาพของสินค้าเดิมก็ได้และไม่จำต้องคำนึงว่าสินค้าใหม่นั้นอาจแปรเปลี่ยนกลับคืนมาเป็นสินค้าเดิมได้หรือไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ใช้ลวดซึ่งเป็นสินค้าเดิมที่โจทก์ซื้อมาเข้าเครื่องปั๊มออกมาเป็นลวดเสียบกระดาษซึ่งเป็นสินค้าใหม่โดยลวดซึ่งเป็นวัตถุดิบนั้นยังมีสภาพเป็นลวดเช่นเดิมอยู่ เพียงแต่ใช้เครื่องปั๊มตัดและดัดงอให้อยู่ในสภาพเป็นของใช้เสียบกระดาษตามที่โจทก์ต้องการแล้วนำสินค้าลวดเสียบกระดาษนั้นไปจำหน่ายทั่วไปถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผลิตสินค้าลวดเสียบกระดาษตาม มาตรา 77 ตามบัญชีที่ 1 หมวดที่ 9 ได้กำหนดลักษณะของสินค้าอื่น ๆ ไว้ว่า"เครื่องมือ เครื่องใช้...ของใช้ใด ๆ ทั้งนี้เฉพาะที่ผลิตจาก...โลหะหรือโลหะเคลือบอย่างใดอย่างหนึ่ง..." และคำว่า "ของใช้"นั้น ประมวลรัษฎากรไม่ได้วิเคราะห์ศัพท์ไว้ แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายคำว่าของใช้ไว้ว่า"ของสำหรับใช้" ซึ่งเป็นที่เข้าใจของคนทั่ว ๆ ไปว่า ของใช้ที่ว่านี้ประชาชนทั่วไปที่มีของนั้นอยู่สามารถนำของนั้นไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีโดยลำพัง ไม่ต้องนำไปประกอบกับสิ่งของอื่นเสียก่อนจึงจะนำไปใช้ได้ สำหรับลวดเสียบกระดาษรายนี้ ผู้ใดมีอยู่ในความครอบครองย่อมสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีโดยลำพัง จึงเป็นของใช้ตามบัญชีที่ 1 ดังกล่าว เมื่อได้ความว่าลวดเสียบกระดาษนี้ผลิตจากโลหะเคลือบจึงเป็นของใช้ผลิตจากโลหะเคลือบอันเข้าลักษณะสินค้าอื่น ๆ ในหมวด 9 บัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 54)พ.ศ. 2517 แต่โจทก์ผลิตขายในราชอาณาจักร จึงต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 9 ของรายรับ คดีมีปัญหาวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นผู้ผลิตลวดเสียบกระดาษหรือไม่และลวดเสียบกระดาษเป็นของใช้หรือไม่ เมื่อตามคำฟ้องและคำให้การฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผลิตสินค้าลวดเสียบกระดาษ และคำฟ้องโจทก์กับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญได้ความว่า ลวดเสียบกระดาษรายนี้เป็นของใช้ที่ผลิตจากโลหะเคลือบ เช่นนี้ ข้อเท็จจริงย่อมเพียงพอที่ศาลจะพิพากษาได้แล้ว แม้จะทำการสืบพยานคู่ความต่อไปก็ไม่อาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นเปลี่ยนแปลงไป คดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะทำการสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป ศาลภาษีอากรกลางชอบที่จะสั่งงดสืบพยานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1932/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ชอบธรรมเนื่องจากยุบหน่วยงานเพื่อปรับปรุงการผลิต ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดถึงการพ้นสภาพของพนักงานว่าเนื่องจากเหตุผลของบริษัทหรือเหตุผลอื่นดังต่อไปนี้ ปิดหรือยุบหน่วยงานในกรณีที่บริษัทมีความจำเป็นที่จะต้องปิดหรือยุบหน่วยงานหรือบางส่วนของหน่วยงาน ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าจะต้องเป็นกรณีที่ปิดหรือยุบหน่วยงานเพราะจำเลยประกอบกิจการค้าขาดทุนเท่านั้น หากจำเลยมีความจำเป็นจะต้องปิดหรือยุบหน่วยงานด้วยเหตุผลอื่นที่สมควรก็ย่อมทำได้ การที่จำเลยมีความจำเป็นต้องยุบหน่วยงานกองโรงพิมพ์ที่โจทก์ทำงานอยู่เนื่องจากจำเลยได้ขยายการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นทุกปี เป็นเหตุให้กองโรงพิมพ์ไม่สามารถผลิตของบรรจุสินค้าได้ทันความต้องการ จำต้องแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มเครื่องจักรและหาเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการผลิตของโดยชักชวนบริษัทจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีความชำนาญงานด้านนี้มาร่วมก่อตั้งบริษัทใหม่ขึ้น ย่อมเป็นผลให้ลูกจ้างรวมทั้งโจทก์ต้องพ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ไม่ยอมโอนไปเป็นลูกจ้างในบริษัทใหม่จึงมีเหตุอันสมควรและชอบด้วยระเบียบข้อบังคับดังกล่าว ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3263/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตวัตถุมีพิษปลอมและการกำหนดโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การกระทำของจำเลยตามฟ้องข้อ ข. เป็นการผลิตยากำจัดวัชพืชมีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษธรรมดาเจือปน เพื่อการค้าอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. วัตถุมีพิษฯ มาตรา 11,36 ส่วนตามฟ้องข้อ ค.เป็นการผลิตยาฆ่าปู มีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษร้ายแรงเจือปนเพื่อการค้าอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. วัตถุมีพิษฯ มาตรา12,37 การกระทำความผิดในฟ้องทั้งสองข้อดังกล่าวเป็นการผลิตวัตถุมีพิษต่างชนิดกัน กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ต่างบทมาตรากัน ความผิด 2 ฐานนี้จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน การที่จำเลยผลิตยากำจัดวัชพืชมีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษธรรมดาเจือปนเพื่อการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตวัตถุมีพิษธรรมดาดังกล่าวปลอมโดยได้แสดงชื่อ หรือเครื่องหมายของผู้ผลิตหรือที่ตั้งของสถานที่ผลิตซึ่งมิใช่ความจริงนั้น เป็นกรณีที่จำเลยผลิตวัตถุมีพิษธรรมดาชนิดเดียวกันปลอมโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นกรรมเดียวกันผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดคือตาม พ.ร.บ. วัตถุมีพิษฯ มาตรา13 ตรี(1),13 จัตวา(3),38 ตรี ลงโทษแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 90ส่วนที่จำเลยผลิตยาฆ่าปูมีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษร้ายแรงเจือปนเพื่อการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาต และผลิตวัตถุมีพิษร้ายแรงดังกล่าวปลอม โดยได้แสดงชื่อ หรือเครื่องหมายของผู้ผลิตหรือที่ตั้งของสถานที่ผลิตซึ่งมิใช่เป็นความจริงนั้น เป็นกรณีที่จำเลยผลิตวัตถุมีพิษร้ายแรงชนิดเดียวกันปลอมโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นกรรมเดียวกันผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด คือ ตาม พ.ร.บ. วัตถุมีพิษฯ มาตรา 13 ตรี(1),13 จัตวา(3),38 ตรี ลงโทษแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 90.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตอาหารปลอมเกินมาตรฐาน โต้แย้งข้อเท็จจริงหลังรับสารภาพเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปใจความได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตอาหารประเภทเครื่องดื่มเกลือแร่ชนิดแห่งที่ต้องละลายก่อนบริโภคบรรจุซองเพื่อจำหน่ายซึ่งเป็นอาหารควบคุมเฉพาะตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๖๕ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของเครื่องดื่มเกลือแร่ ๑ ลิตร ต้องมีปริมาณโซเดียม ๔๐ มิลลิอิควิวาเลนท์ แต่เครื่องดื่มเกลือแร่ที่จำเลยทั้งสองผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายมีปริมาณโซเดียมมากถึง๑๑๕ มิลลิอิควิวาเลนท์ ต่อเครื่องดื่มเกลือแร่ ๑ ลิตร มีปริมาณโซเดียมเกินกว่าร้อยละ ๑๘๗.๕ จากเกณฑ์สูงสุดตามกฎหมายจึงเป็นอาหารที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามคุณภาพหรือมาตรฐานที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ถึงขนาดส่วนประกอบที่เป็นคุณค่าทางอาหารมีปริมาณเกินกว่าร้อยละ ๓๐ จากเกณฑ์สูงสุดและแตกต่างจากคุณภาพหรือมาตรฐานที่ระบุไว้จนทำให้เกิดโทษหรืออันตรายแก่ร่างกายผู้บริโภค อันเป็นอาหารปลอมโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีจึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้มิได้บรรยายว่าเมื่อบริโภคโซเดียมเข้าสู่ร่างกายมากตามฟ้องแล้วจะทำให้ผู้บริโภคได้รับโทษหรืออันตรายอย่างไร ก็เป็นข้อเท็จจริงที่จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณาหากจำเลยให้การปฏิเสธ
เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์จำเลยทั้งสองจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า โซเดียมจำนวนตามที่โจทก์ฟ้องไม่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกายหรือไม่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ซึ่งมิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อ: พิจารณาภาษีการค้าฐานะผู้ผลิตหรือผู้รับจ้างทำของ โดยพิจารณาจากความสำคัญของวัตถุดิบและการงาน
เมื่อคุณภาพและส่วนผสมของสบู่และเนยที่โจทก์ผลิตตามคำสั่งเฉพาะรายของลูกค้ากับที่โจทก์ผลิตและจำหน่ายเองเหมือนกัน สัมภาระหรือวัตถุที่นำมาใช้ในการผลิตตามคำสั่งเฉพาะรายดังกล่าวจึงมีความสำคัญยิ่งกว่าการงานกรณีเป็นการผลิตและขายให้ลูกค้าผู้สั่ง มิใช่การรับจ้างทำของ ดังนั้นโจทก์ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิต.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5310/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตไม้อัดสักเข้าข่ายการผลิตสินค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องเสียภาษีการค้าในอัตราปกติ
โจทก์นำแผ่นวีเนียร์ที่ได้จากการเฉือนไม้ซุงสักออกเป็นแผ่นบาง ๆ มาวางปิดทับบนไม้อัดยางที่โจทก์ซื้อมา แล้วประสานจนเป็นเนื้อเดียวกันเป็นไม้อัดสักนับว่าเป็นการประกอบสินค้าชนิดใหม่ขึ้น จึงเป็นการผลิตตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77
สินค้าตามบัญชีที่1 หมวด 4(1) ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 เป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้าตามบัญชีที่ 3 หมวด 3(2) ซึ่งเป็นสินค้าสำเร็จรูป เมื่อไม้อัดเป็นสินค้าอย่างหนึ่งที่ระบุในหมวด 4(1) ของบัญชีที่ 1 ไม้อัดจึงเป็นวัตถุดิบ ไม้อัดสักของโจทก์โดยสภาพมิใช่สินค้าสำเร็จรูปและยังเป็นไม้อัดอย่างหนึ่ง จึงเป็นวัตถุดิบและเป็นสินค้าตามบัญชีที่ 1 หมวด 4(1) โจทก์ซึ่งเป็นผู้ผลิตและมิได้ส่งออกนอกราชอาณาจักรจึงต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 9 ของรายรับ มิใช่ร้อยละ 1.5 ของรายรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5310/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตไม้อัดสัก การพิจารณาการเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร และการจำแนกประเภทสินค้า
โจทก์นำแผ่นวีเนียร์ที่ได้จากการเฉือนไม้ซุงสัก ออกเป็นแผ่นบาง ๆ มาวางปิดทับบนไม้อัดยางที่โจทก์ซื้อมา แล้วประสาน จนเป็นเนื้อเดียวกันเป็นไม้อัดสัก นับว่าเป็นการประกอบสินค้าชนิดใหม่ขึ้นจึงเป็นการผลิตตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 สินค้าตามบัญชีที่ 1 หมวด 4(1) ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 เป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้าตามบัญชีที่ 3หมวด 3(2) ซึ่งเป็นสินค้าสำเร็จรูป เมื่อไม้อัดเป็นสินค้าอย่างหนึ่งที่ระบุในหมวด 4(1) ของบัญชีที่ 1 ไม้อัดจึงเป็นวัตถุดิบไม้อัดสัก ของโจทก์โดยสภาพมิใช่สินค้าสำเร็จรูปและยังเป็นไม้อัดอย่างหนึ่ง จึงเป็นวัตถุดิบและเป็นสินค้าตามบัญชีที่ 1 หมวด 4(1)โจทก์ซึ่งเป็นผู้ผลิตและมิได้ส่งออกนอกราชอาณาจักรจึงต้องเสียภาษีการค้า ในอัตราร้อยละ 9 ของรายรับ มิใช่ร้อยละ 1.5 ของรายรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งบรรจุสินค้าที่นำเข้าแล้ว ไม่ถือเป็นการผลิต ต้องเสียภาษีเฉพาะการนำเข้า
โจทก์สั่งซื้อใบชาจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่าย โดยเสียภาษีการค้าในการนำเข้าถูกต้องแล้ว การที่โจทก์นำใบชาดังกล่าวมาแบ่งบรรจุเป็นห่อและกระป๋องเป็นชนิดตามที่ได้แยกไว้แล้วจากต่างประเทศ มิได้นำมาปนกันนั้นเป็นการกระทำเพื่อความสะดวกแก่ผู้ซื้อรายย่อยจะซื้อได้เท่าจำนวนที่ต้องการ และสะดวกในการที่จะนำพาไป การที่มีเครื่องหมายการค้าและตรายี่ห้อของโจทก์ประทับอยู่ด้วย ก็เพื่อให้ผู้ซื้อทราบถึงชนิดของใบชาและทราบว่าเป็นสินค้าของโจทก์นั่นเอง สินค้าใบชาดังกล่าวยังคงมีสภาพเป็นสินค้าใบชาของเดิม มิได้แปรรูปหรือเปลี่ยนสภาพเป็นสินค้าชนิดใหม่ และการกระทำของโจทก์หาใช่เป็นการประกอบหรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ไม่ จึงไม่ใช่การผลิตตามมาตรา 77 โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าเส้นด้ายเพื่อใช้ในการผลิตถุงปูนซิเมนต์ถือเป็นการขายสินค้าตามกฎหมายภาษีอากร
บริษัทโจทก์สั่งซื้อเส้นด้ายใยประดิษฐ์เข้ามาจากต่างประเทศใช้เย็บถุงกระดาษบรรจุผงซิเมนต์ซึ่งโจทก์ผลิตบรรจุถุงขาย มิได้นำเส้นด้ายนี้ไปขาย ไม่เป็นการสั่งเส้นด้ายเข้ามาผลิตปูนซิเมนต์ ไม่ว่าโจทก์จะขายโดยคำนวณต้นทุนรวมถุงด้วยหรือไม่ โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าโดยถือการนำเข้าเป็นการขายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์: การพิจารณาจากวัตถุประสงค์การผลิตและการใช้งานจริง
คำว่า "ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางการแพทย์หรือทันตกรรม" ตามบัญชีที่ 3 หมวด2(4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นและลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่43)พ.ศ.2516 ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับนั้น มิได้มีบทวิเคราะห์ศัพท์ไว้ว่าหมายถึงผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง จึงต้องวินิจฉัยจากสภาพความเป็นจริงของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ว่าได้ผลิตขึ้นมุ่งประสงค์ใช้ในทางการแพทย์หรือทันตกรรมหรือไม่ ส่วนการที่ผู้ใช้บางคนจะนำเอาไปใช้ในกิจการอย่างอื่นผิดปกติวิสัยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง กฎหมายมิได้จำกัดว่าผลิตภัณฑ์ที่จะเข้าข่ายตามบัญชีที่ 3 หมวด 2(4)จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางการแพทย์หรือทันตกรรมโดยเฉพาะใช้ในกิจการอย่างอื่นไม่ได้เลย ดังนั้น ถ้วยยา กล่องใส่เครื่องมือแพทย์ ปากคีบ และจานรูปไต ที่โจทก์ผลิตขึ้นโดยมีลักษณะเฉพาะและใช้วัสดุในการผลิตเป็นพิเศษแสดงให้เห็นว่าผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายเป็นเครื่องใช้สำหรับการแพทย์และทันตกรรมเท่านั้น จึงถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ตามบัญชีที่ 3 หมวด 2(4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
of 3