คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การพิจารณาคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 246 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2896/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีประหารชีวิต ต้องตรวจสอบความผิดก่อนพิจารณาคำอุทธรณ์เรื่องโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง บัญญัติว่า คำพิพากษาเช่นว่านี้จะยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ศาลอุทธรณ์จะพากษายืน ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาลดโทษและลงโทษสถานเบากว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่ศาลอุทธรณ์ก็จำต้องพิจารณาและวินิจฉัยคดีเสียก่อนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์เพียงพิจารณาตามปัญหาที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการเพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้องที่ฟุ่มเฟือยหรือไม่ชัดเจน แม้ผู้พิพากษาที่ออกคำสั่งจะเปลี่ยนไป
แม้ศาลจะมีคำสั่งรับคำฟ้องซึ่งถือว่าเป็นคำคู่ความแล้ว แต่เมื่อศาลตรวจพบว่าคำฟ้องฟุ่มเฟือย ไม่ชัดเจน ศาลก็มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ให้รับคำฟ้องไปแล้วได้เพราะถือได้ว่าเป็นการเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
ในการเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้ผู้พิพากษาคนอื่นที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของผู้พิพากษาคนก่อน ๆ ที่ไม่ได้พิจารณาคดีแล้ว ดังนั้น แม้เป็นผู้พิพากษาคนอื่นแต่มีอำนาจในการพิจารณาคดีสำนวนนั้น ก็ย่อมมีอำนาจในการเพิกถอนคำสั่งหรือการพิจารณาที่ผิดระเบียบของผู้พิพากษาคนก่อน ๆ ที่ไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดีแล้ว และไม่เป็นการทำลายหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12569/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดการสมรสและการแบ่งทรัพย์สินหลังคู่สมรสถึงแก่กรรมระหว่างการพิจารณาคดี
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ฟ้องหย่าและขอแบ่งทรัพย์สินถึงแก่กรรมในระหว่างการพิจารณา การถึงแก่กรรมของคู่สมรสย่อมทำให้การสมรสสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 และต้องแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่มีชีวิตอยู่นับแต่เวลาที่การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายตามมาตรา 1625 ฉะนั้นคดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยปัญหาตามฟ้องโจทก์ต่อไป ศาลล่างยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์และจำหน่ายคดี จึงเป็นการชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงโดยไม่ต้องเคร่งครัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และการพิจารณาเจตนาในการกระทำผิด
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 กำหนดวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้เป็นพิเศษนอกเหนือจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาโดยทั่ว ๆ ไปการพิจารณาคดีของศาลแขวงจึงแตกต่างจากคดีอาญาอื่น โดยมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้โจทก์ฟ้องด้วยวาจาได้และให้ศาลบันทึกใจความแห่งคำฟ้องไว้เป็นหลักฐาน การฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงจึงไม่ต้องปฏิบัติเคร่งครัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 โดยเฉพาะในอนุมาตรา 5 ว่าด้วยรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการกระทำ เป็นหน้าที่ของศาลที่จะสอบถามรายละเอียดพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี
โจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและศาลชั้นต้นได้บันทึกไว้ว่า โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ช่วยเหลือ ช่วยซ่อนเร้น พ. ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายบาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหายอันมิใช่ความผิดลหุโทษ โดยรับขึ้นรถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับจากที่เกิดเหตุไปส่งยังที่อื่น ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ พ. ถูกจับกุม ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 คำฟ้องดังกล่าวแม้จะไม่ได้บรรยายว่าจำเลยมีเจตนากระทำเพื่อไม่ให้ พ. ต้องโทษก็ตาม แต่การที่จำเลยรับ พ. ขึ้นรถแล้วขับรถไปส่งยังที่อื่นเพื่อไม่ให้ พ. ถูกจับกุม ก็เป็นการแสดงให้เห็นแล้วว่าจำเลยกระทำเพื่อไม่ให้ พ. ต้องรับโทษ คำฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองสิทธิในที่ดินพิพาทระหว่างการพิจารณาคดี: การระงับการออกโฉนดเพื่อป้องกันความเสียหาย
โจทก์กับจำเลยทั้งสี่พิพาทกันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานที่ดินสอบสวนเปรียบเทียบแล้วมีคำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินแก่จำเลยทั้งสี่ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 60 เมื่อจำเลยทั้งสี่ได้รับโฉนดที่ดินแล้วอาจมีการโอนที่ดินพิพาทต่อไป ซึ่งหากศาลพิพากษาในภายหลังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์อาจได้รับความเสียหาย กรณีมีเหตุสมควรกำหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหลังทนายความถูกเพิกถอน และผลกระทบต่อความยุติธรรมในการพิจารณาคดี
ป. เป็นผู้เรียงคำฟ้องและลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องในขณะที่ขาดจากการเป็นทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 แต่โจทก์ก็แต่ง ว. เป็นทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดีแทนโจทก์หลังจากฟ้องเพียง 1 เดือนเศษ และ ว. ดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดมาโดยที่ ป. ไม่ได้เข้ายุ่งเกี่ยวกับคดีทั้งสิ้น เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้แก้ไขคำฟ้องโดยให้โจทก์ทำคำฟ้องขึ้นใหม่และให้โจทก์ลงชื่อในคำฟ้องโดยมีเงื่อนไขให้คำฟ้องใหม่มีข้อความเช่นเดียวกับคำฟ้องเดิม คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ก่อให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางเชิงคดีอันจะทำให้ความยุติธรรมเสื่อมเสียไป จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยความยุติธรรมตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
คำสั่งรับคำฟ้องฉบับใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้นและไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้จึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ตามมาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3204/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคำฟ้องอุทธรณ์ที่มีเนื้อหาก้าวร้าว และการลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาล
การที่ศาลจะอนุญาตให้คู่ความอุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 ต้องประกอบด้วยผู้ขอเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมและต้องแสดงให้เป็นที่พอใจศาลด้วยว่าคดีมีเหตุสมควรที่จะอุทธรณ์ หากศาลชั้นต้นเห็นว่า คดีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์ ก็ย่อมมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้โดยไม่จำต้องไต่สวนเรื่องอนาถา สำหรับเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ได้หรือไม่อาจตรวจดูได้จากคำฟ้องอุทธรณ์ที่ต้องยื่นมาพร้อมกับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ซึ่งเป็นอำนาจตามบทบัญญัติมาตรา 18 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์มีข้อความก้าวร้าว ดูหมิ่น เสียดสีศาล ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้อุทธรณ์แก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์หรือให้ทำอุทธรณ์มายื่นใหม่ได้ โดยไม่จำต้องสั่งคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์ก่อน
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์และผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ซึ่งเป็นทนายโจทก์ร่วมกันนำคำฟ้องอุทธรณ์ยื่นต่อศาลชั้นต้นโดยในคำฟ้องอุทธรณ์มีข้อความว่า ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงอันเป็นนวนิยายที่จำเลยที่ 1 ผูกเรื่องแต่งขึ้น เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดีของประชาชน การพิจารณาของศาลชั้นต้นโน้มเอียงเชื่อจำเลยทั้งหมดโดยไม่ได้พิจารณาตามเหตุผล ขาดทั้งวิจารณญาณขาดสามัญสำนึก ไม่เข้าใจในความละเอียดอ่อนของเรื่องครอบครัวพิจารณาคดีโดยขาดจริยธรรม บิดเบือนข้อเท็จจริงจากที่โจทก์นำสืบผู้หญิงทุกคนเมื่อแต่งงานแล้วต้องอยู่กินแบบผัวเดียวเมียเดียวเท่านั้น ไม่มีใครต้องการให้สามีไปมีใหม่ ถามภริยาท่านผู้พิพากษาคนไหนดูก็ได้ว่าจะยอมหรือไม่และไปสู่ขอให้ด้วย เป็นข้อความที่ไม่จำเป็นต้องกล่าวอ้างในคำฟ้องอุทธรณ์แสดงให้เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองมีเจตนาที่จะก้าวร้าว ดูหมิ่น เสียดสีศาล ถือว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล ย่อมเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2889/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่วางค่าฤชาธรรมเนียมในการอุทธรณ์ส่งผลต่อการพิจารณาคดี ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยขาดนัด จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์ ปรากฏว่าจำเลยมิได้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 229 เช่นนี้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์โดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นแห่งอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยด้วย โดยพิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ จึงมิชอบ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยฎีกาของโจทก์ และพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และยกฎีกาของโจทก์ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาเกิน 200,000 บาท ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสามคนละส่วน รวม 3 ส่วน ใน 6 ส่วน ดังนี้ แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยก็ต้องถือทุนทรัพย์ตามทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตน เมื่อที่ดินพิพาทที่โจทก์ทั้งสามตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันมานั้นมีราคา 1,200,000 บาท ที่ดินพิพาทแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยต่อโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของทนาย, เหตุสมควรยกฟ้อง, การไม่แจ้งศาล, และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ทนายโจทก์ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้วแต่มาถึงศาลชั้นต้นซึ่งเป็นเวลาอันเลยกำหนดนัดไปแล้วหนึ่งชั่วโมงครึ่งเนื่องจากรถยนต์ของทนายโจทก์มีเหตุขัดข้อง ทนายโจทก์สามารถจอดรถไว้ข้างทางแล้วรีบโทรศัพท์แจ้งศาลทราบทันที หรือมิฉะนั้นก็รีบเดินทางมาศาลด้วยรถยนต์รับจ้างได้ แต่ทนายโจทก์มิได้ดำเนินการดังกล่าวแต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่าทนายโจทก์ไม่เอาใจใส่หรือเล็งเห็นถึงความสำคัญในเวลานัดของศาล กรณีไม่มีเหตุสมควรให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่
of 25