พบผลลัพธ์ทั้งหมด 176 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3100/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพในชั้นสอบสวนและการพิสูจน์ความผิดทางอาญา จำเป็นต้องมีพยานหลักฐานประกอบอื่นเพื่อยืนยันความผิด
โจทก์มีประจักษ์พยานเพียงปากเดียว คือ เด็กหญิง ด. ผู้เสียหาย แต่โจทก์ไม่สามารถนำผู้เสียหายมาเบิกความในชั้นพิจารณา คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเป็นเพียงพยานบอกเล่า มิได้ทำต่อหน้าศาลและต่อหน้าจำเลย เป็นคำให้การที่พยานมิได้สาบานตนตามลัทธิศาสนาต่อหน้าศาล มิได้ผ่านการถามค้านเพื่อหาความจริงโดยละเอียดตามกระบวนการ คำให้การดังกล่าวจึงมีน้ำหนักน้อยที่จะรับฟังลงโทษจำเลย
โจทก์คงมีพยานในข้อว่าจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนดังพยานได้สอบสวนไว้เท่านั้น เมื่อในชั้นพิจารณาจำเลยให้การปฏิเสธ การรับฟังคำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยดังกล่าวเพื่อลงโทษจำเลย โจทก์ต้องมีพยานประกอบว่าจำเลยกระทำผิดจริง โดยพยานประกอบนั้นต้องมิใช่คำของเจ้าพนักงานตำรวจผู้สอบสวน คำรับสารภาพนั้นเอง ส่วนบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและภาพถ่ายประกอบการนำชี้ที่เกิดเหตุนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนเช่นเดียวกัน ไม่ใช่พยานหลักฐานที่จะนำมารับฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนเพื่อให้เห็นว่าจำเลยกระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้อง โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสืบประกอบคำรับดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณา และนำสืบปฏิเสธคำรับดังกล่าวว่าพนักงานสอบสวนได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยถูกขู่เข็ญบังคับไม่สมัครใจให้การรับสารภาพ พยานโจทก์จึงมีน้ำหนักน้อย ไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังลงโทษจำเลยได้ตามฟ้อง
โจทก์คงมีพยานในข้อว่าจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนดังพยานได้สอบสวนไว้เท่านั้น เมื่อในชั้นพิจารณาจำเลยให้การปฏิเสธ การรับฟังคำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยดังกล่าวเพื่อลงโทษจำเลย โจทก์ต้องมีพยานประกอบว่าจำเลยกระทำผิดจริง โดยพยานประกอบนั้นต้องมิใช่คำของเจ้าพนักงานตำรวจผู้สอบสวน คำรับสารภาพนั้นเอง ส่วนบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและภาพถ่ายประกอบการนำชี้ที่เกิดเหตุนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนเช่นเดียวกัน ไม่ใช่พยานหลักฐานที่จะนำมารับฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนเพื่อให้เห็นว่าจำเลยกระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้อง โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสืบประกอบคำรับดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณา และนำสืบปฏิเสธคำรับดังกล่าวว่าพนักงานสอบสวนได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยถูกขู่เข็ญบังคับไม่สมัครใจให้การรับสารภาพ พยานโจทก์จึงมีน้ำหนักน้อย ไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังลงโทษจำเลยได้ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2524-2525/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณประโยชน์-การฟ้องอาญา: การพิสูจน์สถานะที่ดินและเอกสารหลักฐานที่ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
ที่ดินที่จะต้องออกเป็น พ.ร.ฎ. และประกาศราชกิจจานุเบกษาก่อนขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 มาตรา 5 จำกัดเฉพาะ ที่ดินรกร้างว่างเปล่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) เท่านั้น แต่ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องขึ้นทะเบียนและออกเป็น พ.ร.ฎ. แต่อย่างใด
แม้หนังสือที่นายอำเภอมีไปถึงสารวัตรใหญ่มิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ก็ตาม แต่ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้รับฟังเอกสารเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีอาญาด้วย ศาลย่อมรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226
แม้หนังสือที่นายอำเภอมีไปถึงสารวัตรใหญ่มิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ก็ตาม แต่ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้รับฟังเอกสารเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีอาญาด้วย ศาลย่อมรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7733/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการใช้อาวุธปืนยิง การพิสูจน์เจตนาจากพฤติการณ์และบาดแผล
พยาน 3 ปากเบิกความยืนยันสอดคล้องกันว่าไม่มีกรณีป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ เบิกความว่าผู้เสียหายคุยกับจำเลย ห่างประมาณ 1 ศอก แล้วจำเลยชักอาวุธปืนออกมาจากเอวด้านหลังพร้อมทั้งใช้อาวุธปืนนั้นยิงผู้เสียหาย จำเลยมอบตัวต่อเจ้าพนักงานตำรวจหลังเกิดเหตุให้การรับสารภาพโดยไม่ได้กล่าวอ้างข้อต่อสู้ป้องกันตัว ข้อเท็จจริงรับฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย1 นัด อันปราศจากเหตุที่จะอ้างว่าป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ปืนเป็นอาวุธร้ายแรง เมื่อใช้อาวุธปืนยิงผู้อื่นหากไม่มีเหตุผลพิเศษอันควรรับฟัง ย่อมแสดงว่ายิงด้วยมีเจตนาฆ่า จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายที่ท้อง กระสุนปืนถูกอวัยวะสำคัญภายในฉีกขาด คือลำไส้ใหญ่และม้าม นับว่าเป็นบาดแผลฉกรรจ์ เห็นได้ว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาฆ่า การที่ ไม่ได้ยิงซ้ำทั้ง ๆ ที่ยังมีกระสุนปืนอีก 1 นัด ได้ความว่าอาวุธปืนของจำเลยยิงได้ทีละนัด หากจะยิงซ้ำต้องหักลำกล้องเอาปลอกกระสุนเก่าออกแล้วใส่กระสุนใหม่ ดังนี้แม้จำเลย ประสงค์จะยิงซ้ำก็ไม่อาจทำได้โดยง่าย ลำพังข้อเท็จจริงที่ยิงเพียงนัดเดียวหาได้แสดงว่าไม่มีเจตนาฆ่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 429/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ต้องแสดงเจตนาประวิงหนี้หรือหลีกเลี่ยงการชำระหนี้
ข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 8(4) ข้อ ข. บัญญัติเพื่อให้คาดคะเนไว้ก่อนว่าหากจำเลยมีพฤติการณ์ต่าง ๆ ดังที่บัญญัติไว้แสดงว่าจำเลยน่าจะไม่สามารถจะชำระหนี้ของตนได้ และตกเป็น ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งโจทก์จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้เข้ากับข้อสันนิษฐานดังกล่าวว่าจำเลยกระทำการโดยเจตนาที่จะประวิงการชำระหนี้หรือไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้ การที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่าไปรษณีย์ตอบรับแจ้งว่าย้ายไม่ทราบที่อยู่ใหม่ และทราบความ จากน้องชายจำเลยว่า จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีกหลายราย ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ยังไม่พอฟังตามข้อสันนิษฐาน ดังกล่าวข้างต้นว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารที่ไม่แล้วเสร็จตามคำพิพากษาศาล และการพิสูจน์การปฏิบัติตามคำสั่ง
ศาลพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4,21,22,40,42,65,66 ทวิ,69,70,71เรียงกระทงลงโทษตามมาตรา 91 ฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตลงโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 2 เดือนและปรับจำเลยทั้งสองคนละ 40,000 บาท และปรับอีกวันละคนละ 1,000 บาท ฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานลงโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 1 ปี และปรับจำเลยทั้งสองคนละ80,000 บาท และปรับอีกวันละคนละ 10,000 บาท รวมโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 1 ปี 2 เดือน และปรับจำเลยทั้งสองคนละ 120,000 บาท และปรับวันละคนละ 11,000 บาทจนกว่าจะรื้อถอนลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงเหลือโทษจำเลยที่ 2จำคุก 7 เดือน และปรับจำเลยทั้งสองคนละ 60,000 บาทและปรับรายวันอีกวันละคนละ 5,500 บาท นับแต่วันที่5 มิถุนายน 2538 จนกว่าจะรื้อถอน ให้รอการลงโทษ จำคุกจำเลยที่ 2 ไว้มีกำหนด 2 ปี ถ้าไม่ชำระค่าปรับ ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29,30 การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 ขอยื่นหลักฐาน การรื้อถอนอาคารเพื่อชำระค่าปรับตามคำพิพากษา โดยได้พยายามติดต่อขอเอกสารจากเขตราชเทวี เป็นเวลานาน แต่ไม่ได้รับความร่วมมือ จึงขอยื่นหลักฐาน เท่าที่จำเลยที่ 2 มี เป็นหลักฐานรับรองการรื้อถอนอาคาร เพื่อพิจารณา เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ทุบ ผนังอาคารออกทุกด้าน รื้อบันไดเวียน ด้านหลังออก ทำให้ ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้แล้ว แต่จำเลยที่ 2 ยังไม่ได้รื้อถอนส่วนที่เป็นโครงเหล็กหลังคาออก แต่เมื่อการรื้อถอนอาคารตามคำพิพากษามีความหมายว่า ต้องรื้อถอนส่วนอันเป็นโครงสร้างของอาคารที่ต่อ เกินจากทั้งหมดให้กลับสู่สภาพเดิม เมื่อปรากฏว่ายังมีโครงเหล็กหลังคาเหลืออยู่จะถือว่าจำเลยทั้งสองได้รื้อถอนเสร็จแล้วยังไม่ได้ ส่วนที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ออกตามความใน พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 2 กฎกระทรวงดังกล่าวเป็นบทบัญญัติสำหรับให้ผู้จะ รื้อถอนอาคารจะต้องขออนุญาตมิใช่บทบัญญัติที่ให้ถือว่า จำเลยที่ 2 ได้รื้อถอนอาคารเสร็จแล้วแต่อย่างใดดังนี้จำเลยที่ 2 จะขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งแสดงว่าโครงเหล็กหลังคาส่วนที่เหลืออยู่ได้รื้อถอนเสร็จสิ้นไปแล้วไม่ได้ แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นไต่สวน มาแล้วในคดีนี้ยังไม่พอแก่การวินิจฉัยเพราะจำเลยที่ 2เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์คำสั่ง จึงชอบที่จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อไต่สวนในกรณีนี้ต่อไปที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 2 ยังรื้อถอนอาคารไม่หมดนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง การพิสูจน์หนังสือเตือน และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
คำตักเตือนเป็นหนังสือตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4)ไม่ได้กำหนดแบบไว้ว่าจะต้องมีรูปแบบและข้อความเป็นอย่างไร แต่หนังสือตักเตือนนั้นจะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างตักเตือนลูกจ้างที่ได้กระทำผิดฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างมิให้กระทำผิดเช่นว่านั้นซ้ำอีก หากกระทำจะต้องถูกลงโทษ แต่ตามใบเตือนของจำเลยคงระบุแต่เพียงว่าโจทก์กระทำผิดมาทำงานสายเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยเท่านั้น มิได้มีข้อความที่เป็นคำตักเตือนของนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างกระทำผิดเช่นนั้นซ้ำอีกและหากกระทำผิดอีกต้องถูกลงโทษไว้ ใบเตือนของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือตักเตือนตามกฎหมาย กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 45,47(4) เพราะเหตุที่โจทก์กระทำผิดซ้ำ โจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยมาทำงานสายหลายครั้งและหลังจากจำเลยมีใบเตือนแล้ว โจทก์ก็ยังคงมาสายอยู่เป็นประจำอีก ทั้งยังกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยเรื่องอื่น ๆ เช่นนี้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้และโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 ในวันพิจารณาโจทก์ได้แถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลแรงงานว่าในการทำงานกับจำเลยโจทก์มาทำงานสายเป็นประจำและจำเลยได้มีหนังสือเตือนตามเอกสารท้ายคำให้การจริง อันเป็นการยอมรับว่าใบเตือนดังกล่าวได้ออกโดยจำเลย ซึ่งศาลแรงงานก็ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มาทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนเป็นหนังสือ ส. จึงบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์จริง ฉะนั้น ที่โจทก์อุทธรณ์โต้เถียงว่า ใบเตือนดังกล่าวของจำเลยจึงออกโดยผู้มีอำนาจหรือไม่ไม่ปรากฏ จึงเป็นการออกใบเตือนโดยไม่ชอบนั้นย่อมเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7229/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่? ความเสียหายจากอุบัติเหตุรถชนท้าย การพิสูจน์ความเสียหายและผลของการชนต่อเนื่อง
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้ว่า การกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้รถยนต์ของโจทก์เสียหายรวม207,167.69 บาท โดยแนบสำเนาใบเสนอราคาค่าซ่อมใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสดแนบท้ายฟ้องมาด้วย ซึ่งระบุรายการซ่อม มาชัดแจ้ง ดังนั้นสภาพแห่งความเสียหายที่เกิดแก่รถยนต์ ของโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดนั้นจึงแจ้งชัด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม รถยนต์ของโจทก์ถูกรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับมาชนท้ายก่อนแล้ว จึงได้กระดอนไถลไปชนท้าย รถยนต์ ที่จอดรอเลี้ยวขวาอยู่ข้างหน้า เป็นเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหาย ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 จะชนท้าย รถยนต์ ของโจทก์ในขณะที่รถยนต์ของโจทก์ จอดนิ่งแล้วหรือไม่ และรุนแรงเพียงใดนั้น ย่อมไม่ใช่ข้อเท็จจริง ที่จะฟังเปลี่ยนแปลงผลแห่งความเสียหายที่เกิดจากการกระทำ ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5218/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์เงินในบัญชีไม่พอจ่ายเป็นสาระสำคัญในการลงโทษคดีเช็ค การนำสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมที่ไม่เคยยกขึ้นในศาลล่างไม่รับวินิจฉัย
การที่จะลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็คได้นั้น โจทก์จะต้องนำสืบแสดงให้ปรากฏ ชัดว่าในวันที่ 5 กรกฎาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ร่วมนำ เช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินนั้น เงินในบัญชีของจำเลย ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดใช้เงิน มีไม่พอจ่ายแต่ตามทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วม ไม่ปรากฏ ข้อเท็จจริงเช่นนั้น จึงลงโทษจำเลยไม่ได้ กรณีจึงไม่ต้อง วินิจฉัยว่าวันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดใช้เงินจะเป็นวันหยุด ของทางราชการและธนาคารหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงส่วนสำเนาภาพถ่ายคำเบิกความและบัญชีกระแสรายวัน ของจำเลยซึ่งแนบท้ายฎีกาของโจทก์ร่วมนั้นเป็นข้อเท็จจริง ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสองไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกสาธารณสมบัติของแผ่นดินและการพิสูจน์การครอบครองหลังประกาศ คณะปฏิวัติ
ความผิดฐานบุกรุกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2)(3) ประกอบมาตรา 362 กฎหมายมุ่งลงโทษผู้ที่บุกรุกเข้าไปใน อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น ไม่ใช่เป็นบทบัญญัติที่จะลงโทษผู้บุกรุก ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแต่อย่างใด ส่วนการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9(1) และมีโทษตามมาตรา 108 ทวิ วรรคสอง นั้นจะต้องเป็นการฝ่าฝืนนับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96ใช้บังคับ คือวันที่ 4 มีนาคม 2515 เป็นต้นไป เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะฟังว่า จำเลยที่ 1 ได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ภายหลังวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 มีผลใช้บังคับ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9(1) ประกอบมาตรา 108 ทวิ วรรคสอง ได้ โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องด้วยว่าพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย หรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบ และพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ฟ้องของโจทก์จึงขาดสาระสำคัญไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินตามมาตรา 9(1),108 ที่จะลงโทษจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4683/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานฆ่าและย้ายศพ จำเลยต้องได้รับการพิสูจน์ทั้งองค์ประกอบความผิดและพยานหลักฐานสนับสนุน
จำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามฟ้องโจทก์ แต่ความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน โจทก์นำสืบแต่เพียงว่า จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพ โดยโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนหรือไม่ และอาวุธปืนดังกล่าวมีเครื่องหมายของเจ้าพนักงานประทับหรือไม่ เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณา พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักพอลงโทษจำเลยในฐานนี้
สำหรับความผิดฐานย้ายศพเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตายข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ว่า ศพของผู้ตายถูกเคลื่อนย้ายไปเพียง20 เมตร และย้ายไปอยู่ในที่เปิดเผยสามารถถูกพบได้โดยง่าย จึงไม่มีลักษณะเป็นการย้ายเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตายอันจะเป็นความผิดในฐานนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดในฐานนี้
สำหรับความผิดฐานย้ายศพเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตายข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ว่า ศพของผู้ตายถูกเคลื่อนย้ายไปเพียง20 เมตร และย้ายไปอยู่ในที่เปิดเผยสามารถถูกพบได้โดยง่าย จึงไม่มีลักษณะเป็นการย้ายเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตายอันจะเป็นความผิดในฐานนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดในฐานนี้