คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในคดีแพ่ง: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการฟ้องซ้ำและความชอบด้วยกฎหมาย
คดีก่อนจำเลยที่2คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยไว้ว่าจำเลยที่2รับโอนที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริตจำเลยที่2มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทโดยมิได้วินิจฉัยว่าใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์คดีถึงที่สุดแล้วสำหรับประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้มีว่าโจทก์หรือจำเลยที่1เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทหากฟังว่าจำเลยที่1เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนโจทก์จำเลยที่1ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ไม่มีสิทธินำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปโอนให้แก่จำเลยที่2ไม่ว่าจะโอนโดยสุจริตหรือไม่สุจริตและยังมีประเด็นอีกว่าโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2หรือไม่และโจทก์มีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทให้แก่โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นเจ้าของหรือให้ชดใช้ราคาแทนหรือไม่ประเด็นดังกล่าวเป็นคนละประเด็นกันกับที่ศาลอุทธรณ์ภาค3ได้วินิจฉัยไว้ในคดีก่อนการพิจารณาคดีนี้จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้วจึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำส่วนประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค3ได้เคยวินิจฉัยไว้ในคดีก่อนว่าจำเลยที่2ในคดีนี้ได้รับโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไว้โดยไม่สุจริตอันเป็นเหตุให้ฟังได้ว่าจำเลยที่2มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์นั้นหากในคดีนี้ศาลฟังว่ากรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นของจำเลยที่1ในประเด็นต่อไปอาจจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่2รับโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปโดยสุจริตหรือไม่ซึ่งหากจะมีการพิจารณาประเด็นดังกล่าวก็จะเป็นการดำเนินกระบวนการพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้วอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144ประเด็นนี้เพียงประเด็นเดียวที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำทั้งหมดทุกประเด็นจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(2)ประกอบมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมศาลในคดีล้มละลาย: การเปลี่ยนแปลงประเภทคดีจากคำร้องเป็นการฟ้องมีผลต่อค่าธรรมเนียม
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119วรรคสองและวรรคสาม บัญญัติให้บุคคลที่ได้รับแจ้งความยืนยันหนี้คัดค้านต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดเวลาสินสี่วันนับแต่ได้รับแจ้งความยืนยัน และตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมคำร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำตาราง 2(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งกำหนดให้คู่ความเสียค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออื่น ๆ ที่ต้องทำเป็นคำร้องเพียง20 บาท มาใช้บังคับ สำหรับชั้นอุทธรณ์นั้น ตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้คู่ความทำเป็นคำร้อง และตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา179 วรรคท้าย บัญญัติให้คิดอัตราเดียวกับค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเมื่อผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกคำสั่งของผู้คัดค้านที่ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้โดยอ้างว่าไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่ผู้คัดค้านแจ้งยืนยัน หากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดี ทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้องซึ่งมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนหนี้ที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องนั้นอันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง 1 ข้อ (1)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 วรรคท้ายซึ่งผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระ แต่ผู้ร้องไม่ชำระ จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2),246ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามมาตรา 132(1) ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระภายในกำหนดอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายและพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้อง เช่นนี้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ทำให้สิทธิในการรับชำระหนี้สิ้นสุดลง แม้ไม่ทราบการฟ้องล้มละลาย
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และมาตรา 91 เจ้าหนี้ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ก็ตามจะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย-ที่ 1 เด็ดขาดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2529 ในคดีที่ ก. เป็นโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลาย แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา จนศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2532 เพราะหนี้สินของจำเลยที่ 1 ได้ชำระเต็มจำนวนแล้วตามมาตรา 135 (3) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งเป็นผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากบรรดาหนี้สินทั้งปวง โจทก์จะอ้างว่าไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องคดีล้มละลายไม่ได้ เพราะการฟ้องคดีล้มละลายได้กระทำโดยเปิดเผย และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 บัญญัติบังคับไว้แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5721/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเท็จจริงนอกฟ้อง: ศาลวินิจฉัยว่าการนำสืบข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากฟ้องไม่เป็นเหตุให้ยกฟ้อง หากยังคงสาระสำคัญของข้อหาเดิม
แม้ว่าตามคำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่าจำเลยขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อชนรถจักรยานยนต์คันที่ผู้ตายขับซึ่งกำลังจะเลี้ยวขวาเข้าทางแยกแต่ทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่า รถจักรยานยนต์คันที่ผู้ตายขับเกิดเสียหลักล้มคว่ำไถลเข้ามาในช่องเดินรถของจำเลยจึงเฉี่ยวชนกันซึ่งแตกต่างกันก็ตาม แต่ก็หาใช่ข้อสาระสำคัญไม่เพราะโจทก์บรรยายฟ้องด้วยว่าเหตุที่เกิดเฉี่ยวชนกันเพราะจำเลยขับรถด้วยความเร็วสูงทำให้จำเลยไม่สามารถห้ามล้อหยุดรถได้ทันและไม่สามารถควบคุมรถเพื่อไม่ให้เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ของผู้ตายได้ อันเป็นคำฟ้องในส่วนสาระสำคัญ ซึ่งทางพิจารณาโจทก์ก็นำสืบได้ความตามคำฟ้องส่วนนี้ ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ได้ความจากทางนำสืบของโจทก์ จึงหาใช่เป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้องอันศาลจะต้องยกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องหลังโอนกรรมสิทธิ์ & การเข้าเป็นโจทก์ร่วม: แม้โอนกรรมสิทธิ์หลังฟ้อง อำนาจฟ้องยังอยู่ โจทก์ร่วมมีสิทธิขอเข้าเป็นโจทก์ได้
ขณะที่ฟ้องโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งอยู่โดยละเมิดได้ แม้ภายหลังฟ้องแล้วโจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ร่วม อำนาจฟ้องของโจทก์ที่บริบูรณ์อยู่แล้ว ยังคงมีผลอยู่ต่อไป ส่วนโจทก์ร่วมก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีมีสิทธิร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การ: ศาลต้องคำนึงถึงเหตุผลสมควรและโอกาสที่จำเลยจะทราบเรื่องฟ้อง
ขณะที่เจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้จำเลยนั้นจำเลยไปต่างจังหวัด เจ้าพนักงานศาลจึงปิดหมายไว้ที่บ้านจำเลย แต่หมายเรียกและสำเนาคำฟ้องดังกล่าวอาจถูกบุคคลอื่นมาเอาไปหรือหลุดหายไปก่อนจำเลยกลับก็ได้เมื่อจำเลยไม่ได้รับหมายเรียกหรือพบเห็นหมายเรียกที่ปิดไว้ จะถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4760/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันเป็นเรื่องเดียวกับสัญญากู้ยืม ฟ้องได้ที่ภูมิลำเนาจำเลย การให้การไม่ชัดเจนเป็นเหตุให้ศาลไม่ต้องกำหนดประเด็น
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 สัญญาค้ำประกันจะมีได้เมื่อมีสัญญาหรือหนี้อื่นที่ลูกหนี้จะต้องชำระ แล้วคู่กรณีมาตกลงกันให้มีการป้องกันอีกชั้นหนึ่งว่า หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันจะชำระแทน เพื่อที่เจ้าหนี้จะได้มีความมั่นใจว่าจะได้รับชำระหนี้อย่างแน่นอน ดังนั้นมูลความแห่งคดีของหนี้ตามสัญญากู้ยืมและสัญญาค้ำประกันจึงเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องลูกหนี้และผู้ค้ำประกันเป็นจำเลยต่อศาลที่จำเลยคนหนึ่งคนใดมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 5 วรรคสองได้ จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์จะเป็นหญิงมีสามีโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จำเลยไม่รับรอง ส. ผู้ให้ความยินยอมจะเป็นสามีโจทก์หรือไม่ จำเลยไม่รับรอง คำให้การของจำเลยจึงไม่ชัดแจ้ง ขัดต่อป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นไม่กำหนดประเด็นนี้ให้จึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยที่เป็นนิติบุคคลต่างประเทศที่มีสำนักงานสาขาในไทย แม้ใช้ชื่อสาขาฟ้อง ก็ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ระบุชื่อจำเลยในตอนต้นคำฟ้องว่า "สายเดินเรือเมอส์กกรุงเทพฯ" แต่ในคำบรรยายฟ้องโจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าจำเลยหมายถึงบริษัทใด ดำเนินธุรกิจในทางใด จดทะเบียนพาณิชย์ ไว้ในประเทศ ไทย โดยใช้ชื่อว่าอะไร สำนักงานตั้งอยู่แห่งใด จนเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ฟ้องบริษัท ต. กับบริษัท อ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลอยู่ในประเทศ เดนมาร์ก และมีสำนักงานสาขาสำหรับดำเนินธุรกิจซึ่งบริษัททั้งสองทำร่วมกันในประเทศ ไทย โดยใช้ชื่อว่า"สายเดินเรือเมอส์ก สาขากรุงเทพฯ" เป็นจำเลย ดังนี้แม้"สายเดินเรือเมอส์ก สาขากรุงเทพฯ" จะมิได้เป็นนิติบุคคลก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยไม่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญา: การสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่ไม่มีเขตอำนาจ ทำให้การฟ้องคดีไม่ชอบ
การสอบสวนที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา120 ต้องสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(6) ประกอบด้วยมาตรา 18 เมื่อเหตุเกิดในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ ม. เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อย่อมไม่มีอำนาจสอบสวน เมื่อไม่มีเหตุอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคสองที่จะทำให้ ม. มีอำนาจสอบสวนได้ ทั้งถือไม่ได้ว่าเป็นการทำการแทนพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 128 บัญญัติไว้การสอบสวนพยานผู้กล่าวหาของ ม. จึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ จ.พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้จะสอบสวนจำเลย ทำแผนที่เกิดเหตุ ตรวจสถานที่เกิดเหตุและทำบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุ ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยก็ไม่ทำให้การสอบสวนคดีนี้ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ปรากฏว่าจ. เห็นว่าการสอบสวนเฉพาะส่วนของตนเป็นการสอบสวนเสร็จแล้วตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 140 การสอบสวนของ จ. เป็นการสอบสวนเพียงบางส่วนของคดี เมื่อการสอบสวนทั้งคดีรวมการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไว้ด้วย การสอบสวนคดีนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 และไม่เป็นการสอบสวนตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของผู้เสียหายย่อมตกไปด้วย ข้อที่ว่าการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3200/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จต้องเป็นข้อสำคัญในคดี และคดีเดิมต้องมีการฟ้องต่อศาล
การที่จะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 จะต้องได้ความด้วยว่าความเท็จที่เบิกความไปนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี เมื่อปรากฏว่าข้อหาในคดีเดิมที่โจทก์นำมาเป็นมูลในการฟ้องคดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้อง และมิได้ระบุมาตราที่ขอให้ลงโทษ ถือได้ว่าข้อหาที่โจทก์นำมาเป็นมูลในการฟ้องคดีนี้ ยังไม่เคยมีการฟ้องต่อศาลมาก่อน จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าคำเบิกความของจำเลยในคดีนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีอันจะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จหรือไม่คำเบิกความในคดีนั้นของจำเลยจึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดี.
of 6