พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเมื่อสิทธิยังไม่ถูกโต้แย้ง: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหากยังไม่ได้ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่ากรมสรรพากรจำเลยนำยึดที่ดินประกาศขายทอดตลาดเพื่อนำเงินไปชำระค่าภาษีอากรที่ ช. ซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของรวมในที่ดินค้างชำระแก่จำเลย แม้ที่ดินตามโฉนดดังกล่าวเป็นถนนที่โจทก์และประชาชนทั่วไปใช้ประโยชน์ผ่านเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมาตั้งแต่ พ.ศ. 2497 ก็ตาม แต่ตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้ปิดกั้นถนนโจทก์และประชาชนทั่วไปก็คงใช้ถนนได้ตามปกติหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งยังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้คัดค้านการถอนการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย เมื่อมีเหตุเชื่อว่าทรัพย์สินเป็นของลูกหนี้หรือมีส่วนเป็นเจ้าของร่วม
บ.เช่าซื้อรถยนต์คันพิพาทจากโจทก์ ต่อมารถยนต์คันพิพาทถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดเป็นทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีล้มละลายซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้อง ป.เป็นบุคคลล้มละลาย โจทก์ได้ร้องขัดทรัพย์ ในการประชุมเจ้าหนี้คดีล้มละลายจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าหนี้ผู้มีเสียงข้างมากคัดค้านการขอถอนการยึดรถยนต์คันพิพาท เมื่อปรากฏว่า ขณะที่ทำการยึดรถยนต์คันพิพาทอยู่ภายในบ้านของ ป.แม้ ม.อดีตภริยาของ ป.ซึ่งพักอาศัยอยู่ภายในบ้านดังกล่าวในขณะนั้นอ้างว่าเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาท รถยนต์คันพิพาทมิใช่ทรัพย์ของ ป. แต่ ม.ก็มิได้แสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาทต่อเจ้าพนักงานผู้ไปทำการยึด พฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวมีเหตุให้จำเลยที่ 2 เชื่อว่ารถยนต์คันพิพาทเป็นของ ป. หรือ ป.มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอยู่กับ ม.ด้วย จำเลยที่ 2 จึงชอบที่จะใช้สิทธิคัดค้านการขอให้ถอนการยึดรถยนต์คันพิพาทได้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กระทำไปเพียงเพื่อต้องการจะกลั่นแกล้งโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ใช้สิทธิคัดค้านโดยไม่สุจริตจงใจ หรือประมาทเลินเล่อให้โจทก์เสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิคัดค้านการถอนการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย หากมีเหตุผลเชื่อได้ว่าทรัพย์สินเป็นของลูกหนี้ ไม่ถือเป็นการละเมิด
บ.เช่าซื้อรถยนต์คันพิพาทจากโจทก์ ต่อมารถยนต์คันพิพาทถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดเป็นทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีล้มละลายซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้อง ป.เป็นบุคคลล้มละลาย โจทก์ได้ร้องขัดทรัพย์ ในการประชุมเจ้าหนี้คดีล้มละลายจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าหนี้ผู้มีเสียงข้างมากคัดค้านการขอถอนการยึดรถยนต์คันพิพาท เมื่อปรากฏว่า ขณะที่ทำการยึดรถยนต์คันพิพาทอยู่ภายในบ้านของ ป. แม้ ม.อดีตภริยาของ ป. ซึ่งพักอาศัยอยู่ภายในบ้านดังกล่าวในขณะนั้นอ้างว่าเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาท รถยนต์คันพิพาทมิใช่ทรัพย์ของ ป. แต่ ม. ก็มิได้แสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาทต่อเจ้าพนักงานผู้ไปทำการยึด พฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวมีเหตุให้จำเลยที่ 2 เชื่อว่ารถยนต์คันพิพาทเป็นของป. หรือ ป. มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอยู่กับม.ด้วย จำเลยที่ 2 จึงชอบที่จะใช้สิทธิคัดค้านการขอให้ถอนการยึดรถยนต์คันพิพาทได้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กระทำไปเพียงเพื่อต้องการจะกลั่นแกล้งโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ใช้สิทธิคัดค้านโดยไม่สุจริตจงใจ หรือประมาทเลินเล่อให้โจทก์เสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5468/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำแถลงขอถอนการยึดทรัพย์จากความสำคัญผิด ไม่ถือเป็นการสละสิทธิเด็ดขาดในการบังคับคดี
ตัวแทนโจทก์ในการบังคับคดียื่นคำแถลงขอถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยและด้วยความสำคัญผิด ตัวแทนโจทก์ได้ระบุในคำแถลงด้วยว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว ทั้งที่ความจริงจำเลยยังชำระไม่ครบ การยื่นคำแถลงขอถอนการยึดทรัพย์จึงไม่ได้เกิดจากความสมัครใจของโจทก์ ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิเด็ดขาดในการบังคับคดีจำเลย โจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนข้อความที่ระบุว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้วได้เพื่อให้เป็นไปตามความจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์โดยสุจริตในฐานะพ่อค้า vs. การยึดทรัพย์เพื่อดำเนินคดีอาญา: สิทธิและขอบเขตการคุ้มครอง
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์ โจทก์รับซื้อรถยนต์พิพาทไว้จาก ส. ซึ่งนำมาขายให้แก่โจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ไม่ได้ความว่าที่ทำการของโจทก์เป็นท้องตลาด การที่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์นั้นไม่ได้ทำให้ที่ทำการของโจทก์มีสภาพเป็นท้องตลาดสำหรับขายรถยนต์ไปด้วย โจทก์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญาสืบสวนสอบสวนได้ความว่ารถยนต์พิพาทเป็นรถยนต์ของบริษัท ค. ซึ่งถูกคนร้ายปล้นไป จำเลยทั้งหกย่อมมีอำนาจยึดรถยนต์พิพาทไว้เพื่อประกอบคดีฐานปล้นทรัพย์และคืนให้แก่เจ้าของที่แท้จริงได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนการยึดทรัพย์: ไม่ต้องสอบสวนพยานผู้คัดค้านเสมอไป
ตามบทบัญญัติในมาตรา 158 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีดุลพินิจที่จะพิจารณาว่า พยานหลักฐานที่ ได้สอบสวนแล้วพอที่จะมีคำสั่งได้แล้วหรือไม่ โดยพิจารณาพยานหลักฐานและพฤติการณ์ที่เพียงพอจะทราบความจริง ได้ว่า ทรัพย์ที่ยึด มา นั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิยึด หรือไม่ ก็ย่อมถือได้แล้วว่า เป็นการสอบสวนตามความหมายในมาตรา 158 แล้วไม่จำต้องสอบสวนพยานหลักฐานของผู้ร้องต่อไปให้ล่าช้า ผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลาย อัน เป็นกฎหมายพิเศษซึ่ง ต้องการให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยด่วน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6367/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องขัดทรัพย์ต้องมีสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึด ณ เวลาที่ยึด แม้มีฟ้องแย้งสิทธิยังไม่เกิด
ขณะที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยศาลยังมิได้พิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีตามที่ผู้ร้องได้ฟ้องแย้งทรัพย์สินดังกล่าวยังเป็นของจำเลยอยู่ การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์สินของจำเลยจึงหาได้โต้แย้งสิทธิของผู้ร้องไม่ ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขัดทรัพย์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สามีร่วมรู้เห็นการยักยอกเงินซื้อทรัพย์สิน จึงไม่มีสิทธิขอรับส่วนแบ่งจากการยึดทรัพย์
ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีของจำเลยได้ร่วมรู้เห็นในการที่จำเลยยักยอกเงินของโจทก์แล้วนำไปซื้อที่ดิน (พร้อมสิ่งปลูกสร้าง) และเครื่องอิเล็กโทนที่โจทก์นำยึดไว้มาโดยตลอด จึงไม่อาจอ้างได้ว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินอันชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องตามส่วนที่พึงได้รับตามกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม เมื่อโจทก์นำยึดทรัพย์ดังกล่าว แล้วผู้ร้องมาขอกันส่วนเงินอันได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์นั้น จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอพิจารณาใหม่ต้องอาศัยสำนวนคดี การเดินทางไปต่างจังหวัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
ในการขอให้พิจารณาใหม่จำเป็นที่ต้อง ตรวจ ดู สำนวนคดีเพื่อทราบคำฟ้องและกระบวนพิจารณาคดีตลอดจนคำพิพากษาของศาลเสียก่อนดังนั้น เมื่อปรากฏว่า การได้รับสำเนาสำนวนคดีจากเจ้าพนักงานศาลล่าช้า ทำให้ไม่สามารถตรวจ ดู สำนวนคดีคำฟ้องและกระบวนพิจารณาตลอดจนคำพิพากษาของศาลได้ ถือได้ว่ากรณีดังกล่าวเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จำเลยยื่นคำร้องขอให้มีการพิจารณาใหม่ วันที่ 6 สิงหาคม 2530อ้างว่าจำเลยรู้ว่าถูก ยึดทรัพย์เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2530 รุ่งขึ้นจำเลยเดินทางไปต่างจังหวัด และกลับถึงบ้านวันที่ 19 กรกฎาคม 2530วันที่ 20 กรกฎาคม 2530 จำเลยติดต่อ ขอคัดสำเนาสำนวนคดีเจ้าพนักงานศาลถ่าย สำเนาคดีให้จำเลยได้ ภายใน 8 วัน และเกี่ยวกับทะเบียนบ้านเจ้าหน้าที่เขตก็สามารถตรวจสอบแจ้งให้จำเลยทราบผลภายใน 3 วัน หากจำเลยไม่ปล่อยปละละเลยไปต่างจังหวัดเสีย 11 วัน จำเลยก็สามารถยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้ ทันภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ วันที่ทราบว่าถูก ยึดทรัพย์ การที่จำเลยเดินทางไปต่างจังหวัด แม้จะเป็นความจริงก็หาเป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติการณ์นอกเหนือที่ไม่อาจบังคับได้ไม่ ความล่าช้าที่เกิดขึ้นจึงเป็นความบกพร่องของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบังคับคดี: การยื่นคำขอภายใน 10 ปีนับจากวันพิพากษา เพียงพอ แม้การยึดทรัพย์เกิน 10 ปี
ป.วิ.พ. มาตรา 271 บังคับให้ฝ่ายชนะคดียื่นคำร้องขอบังคับคดีภายใน 10 ปี หาใช่บังคับคดีให้เสร็จภายใน 10 ปีไม่ เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอหมายบังคับคดีภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษาแล้ว แม้จะมีการยึดทรัพย์หลังจากล่วงพ้นระยะเวลา 10 ปีเนื่องจากหาที่ดินที่จำเลยจำนองไว้ไม่พบ ก็ยังคงอยู่ในระหว่างดำเนินการบังคับคดี สิทธิของโจทก์ในการที่จะให้มีการบังคับคดียังคงมีอยู่จนกว่าจะมีการบังคับคดีเสร็จสิ้น จำเลยจึงไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนการบังคับคดีได้.(ที่มา-ส่งเสริม)