พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2780/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ: การรื้อถอนส่วนต่อเติมและการใช้ทางภาระจำยอม
โจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่รื้อส่วนที่เป็นหลังคาซึ่งอยู่เหนือเสาโรงรถออกไป จึงขอไม่วางเงินที่จะต้องชำระแก่จำเลย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า หลังคาโรงรถไม่มีในสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จะอ้างเป็นเหตุไม่ชำระเงินตามข้อตกลงในสัญญาไม่ได้ โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่จำเลยไม่รื้อและปล่อยให้ชายคาและหลังคายื่นล้ำคร่อมทางภาระจำยอมที่จำเลยตกลงยอมให้โจทก์ใช้เป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาตามยอม แต่เป็นการโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นโจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตและภาระจำยอม: ศาลพิจารณาค่าใช้ที่ดินแทนการรื้อถอน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่เช่าและเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยสัญญาเช่าเป็นหลักแห่งข้อหา และอ้างว่าจำเลยไม่ชำระค่าเช่าอันเป็นการผิดข้อตกลงในสัญญาเช่า โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายว่าที่พิพาท 5 ตารางวาตามสัญญาเช่าอยู่ตรงส่วนไหนของที่ดินโจทก์ก็ตาม แต่ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นคู่ความทั้งสองฝ่ายก็ได้ขอให้ศาลสั่งเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครออกไปทำแผนที่พิพาทแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ทายาทในฐานะเจ้าของรวม ปลูกบ้านในที่ดินมรดกซึ่งครอบครองร่วมกันอยู่โดยสุจริต ต่อมามีการแบ่งแยกโฉนดระหว่างทายาทปรากฏว่าบ้านที่ทายาทคนหนึ่งปลูกบางส่วนรุกล้ำที่ดินของทายาทอื่น กรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายมาตราใดบัญญัติไว้โดยตรง ต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามที่มาตรา 4แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดไว้ บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก็คือมาตรา 1312 วรรคแรก ซึ่งให้เจ้าของที่ดินได้ค่าใช้ที่ดินส่วนรุกล้ำและจดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอม (วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่1/2530).
ทายาทในฐานะเจ้าของรวม ปลูกบ้านในที่ดินมรดกซึ่งครอบครองร่วมกันอยู่โดยสุจริต ต่อมามีการแบ่งแยกโฉนดระหว่างทายาทปรากฏว่าบ้านที่ทายาทคนหนึ่งปลูกบางส่วนรุกล้ำที่ดินของทายาทอื่น กรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายมาตราใดบัญญัติไว้โดยตรง ต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามที่มาตรา 4แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดไว้ บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก็คือมาตรา 1312 วรรคแรก ซึ่งให้เจ้าของที่ดินได้ค่าใช้ที่ดินส่วนรุกล้ำและจดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอม (วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่1/2530).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารดัดแปลง ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติเฉพาะ ไม่ใช่การตีความขยายอำนาจ
คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับการดัดแปลงอาคารฝ่าฝืนมาตรา 22 นั้น จะต้องเป็นเรื่องให้ระงับการกระทำ และห้ามการใช้อาคารเท่านั้น มิใช่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารซึ่งมีวิธีการบัญญัติไว้ต่างหากในมาตราอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินและสิทธิภารจำยอม: การใช้บทกฎหมายใกล้เคียงเมื่อมีลักษณะของการรุกล้ำต่อเนื่อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่ดินต่อเติมชายคารุกล้ำที่ดินขอให้ ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอน จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์รื้อกันสาด ที่สร้างใหม่รื้อชายคาส่วนที่สร้างรุกล้ำรื้อท่อน้ำประปากับเครื่องสูบน้ำ ออกไปจากที่พิพาทฟ้องแย้งส่วนนี้เกี่ยวกับฟ้องเดิมแต่ที่ขอให้โจทก์ใช้ ค่าเสียหายเพราะโจทก์ก่อสร้างทำให้กำแพงตึกของจำเลยแตกร้าวกระเบื้อง หน้าตึกแถว เสียหายลูกจ้างของโจทก์ตัดโครงเหล็กเครื่องปรับอากาศของ จำเลยนั้นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมจึงฟ้องแย้งไม่ได้ ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่
ตึกแถวปลูกสร้างตั้งแต่เจ้าของเดิมคนเดียวกันยังไม่แยกโฉนดเมื่อ แยกโฉนดปั้นลมและชายคาจึงรุกล้ำในที่ดินของโจทก์ตั้งแต่เจ้าของเดิม จำเลยรับโอนตึกแถวมากว่า 10 ปี ต้องใช้บทใกล้เคียงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 คือใช้ มาตรา 1312 จำเลย มีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เฉพาะส่วนที่รุกล้ำโจทก์บังคับให้รื้อถอนไม่ได้ แต่จำเลยต้องเสียค่าใช้ที่ดินส่วนนั้นโดยจดทะเบียนเป็นภารจำยอมส่วน ท่อน้ำทิ้งและเครื่องปรับอากาศซึ่งจำเลยติดตั้งไม่เกิน 10 ปีไม่มีภารจำยอมและไม่อยู่ใน มาตรา 1312 วรรคแรก จำเลยต้องรื้อไป
ตึกแถวปลูกสร้างตั้งแต่เจ้าของเดิมคนเดียวกันยังไม่แยกโฉนดเมื่อ แยกโฉนดปั้นลมและชายคาจึงรุกล้ำในที่ดินของโจทก์ตั้งแต่เจ้าของเดิม จำเลยรับโอนตึกแถวมากว่า 10 ปี ต้องใช้บทใกล้เคียงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 คือใช้ มาตรา 1312 จำเลย มีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เฉพาะส่วนที่รุกล้ำโจทก์บังคับให้รื้อถอนไม่ได้ แต่จำเลยต้องเสียค่าใช้ที่ดินส่วนนั้นโดยจดทะเบียนเป็นภารจำยอมส่วน ท่อน้ำทิ้งและเครื่องปรับอากาศซึ่งจำเลยติดตั้งไม่เกิน 10 ปีไม่มีภารจำยอมและไม่อยู่ใน มาตรา 1312 วรรคแรก จำเลยต้องรื้อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097-2098/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า, การดัดแปลงที่ดิน, กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้าง, สิทธิภารจำยอม, การรื้อถอน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินของโจทก์จนหมดอายุสัญญาเช่าแล้วได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไป จำเลยและบริวารไม่ยอมออก เป็นการละเมิดขอให้ขับไล่ เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ไม่จำต้องบรรยายไปถึงว่าจำเลยได้ทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือหรือไม่
สัญญาเช่าบ้านมีข้อความว่า ส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมหรือปลูกสร้างขึ้นนั้นให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้น ย่อมมีความหมายว่า บริเวณที่จำเลยก่อสร้างโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดนั้นอยู่ในขอบเขตของสัญญาทั้งสิ้น ดังนี้ โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่จำเลยก่อสร้างขึ้นจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าตั้งแต่เวลาก่อสร้างขึ้น กรณีไม่เข้าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310, 1312
สัญญาเช่าบ้านมีข้อความว่า ส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมหรือปลูกสร้างขึ้นนั้นให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้น ย่อมมีความหมายว่า บริเวณที่จำเลยก่อสร้างโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดนั้นอยู่ในขอบเขตของสัญญาทั้งสิ้น ดังนี้ โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่จำเลยก่อสร้างขึ้นจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าตั้งแต่เวลาก่อสร้างขึ้น กรณีไม่เข้าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310, 1312
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์เรือนรื้อถอน: จากอสังหาริมทรัพย์เป็นสังหาริมทรัพย์
โรงเรือนที่โดยสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์นั้นถ้าเจ้าของยกให้โดยให้รื้อถอนไปจากที่ดินผู้รับจึงรื้อถอนไปนั้นสภาพของเรือนตอนที่ถูกรื้อโดยคำสั่งของผู้ให้นี้ ไม่อยู่ในลักษณะที่จะเป็นอสังหาริมทรัพย์ต่อไป แต่ได้กลายสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์แล้วแต่บัดนั้น การยกให้แม้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนก็ย่อมสมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966-968/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำทางหลวงและการขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ความผิดตามกฎหมายอาญา
เจ้าพนักงานสั่งให้ผู้รุกล้ำทางหลวงให้รื้อถอนการรุกล้ำได้ ถ้าผู้รุกล้าขัดขืนก็ย่อมมีผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ประมวลวิธีพิจารณาอาญา ม.208 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1132/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการรุกล้ำที่ดิน: สิทธิในการรื้อถอนและการได้กรรมสิทธิ์
ที่ดินแแห่งกรรมสิทธิที่ดินนั้นย่อมกินทั้งเหนือพื้นดินและใต้พื้นดินด้วย แต่เมื่อฝ่ายหนึ่งได้ปลูกสร้างรุกล้ำเข้ามาเหนือที่ดินของอีกฝ่ายหนึ่งและได้กระทำโดยเปิดเผยและฝ่าฝืนขืนขัดต่อกรรมสิทธิของเจ้าของนั้นตลอดมาเป็นเวลาช้านานหลายสิบปีแล้ว เจ้าของที่ดินก็ไม่มีสิทธิที่จะบังคับผู้ครอบครองให้รื้อถอนสิ่งที่รุกล้ำนั้นได้ วิธีพิจารณาความแพ่ง ผู้ฟ้องแย้งที่ตั้งทุนทรัพย์เกินกว่า 2000 บาท ย่อมฎีกาได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: การระบุวันกระทำความผิดและระยะเวลาค่าปรับรายวัน
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 47 ทวิ กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งคำสั่งให้รื้อถอนอาคารโดยทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้ผู้ซึ่งจะต้องรับคำสั่งดังกล่าว ณ ภูมิลำเนาของผู้นั้น และให้ปิดประกาศคำสั่งดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ อาคารหรือบริเวณที่มีการกระทำดังกล่าว และให้ถือว่าผู้ซึ่งจะต้องรับคำสั่งได้ทราบคำสั่งนั้นแล้วเมื่อพ้นกำหนดสามวันนับแต่วันที่ได้มีการปิดประกาศดังกล่าว ดังนั้น วันที่ปิดประกาศคำสั่งจึงเป็นวันเริ่มนับระยะเวลาที่ให้ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวภายในกำหนด อันเป็นวันที่บ่งบอกวันกระทำความผิด คดีนี้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า วันที่ 16 ตุลาคม 2546 นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งควายกินมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และจำเลยทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2546 ซึ่งมิใช่ระยะเวลาเมื่อพ้นกำหนดสามวันนับแต่วันปิดประกาศ อันถือเป็นวันทราบคำสั่งตามกฎหมายดังกล่าว จึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้เมื่อใด จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาที่เกิดการกระทำความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ครบถ้วนแล้ว
การฝ่าฝืนปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21 ย่อมสิ้นสุดลงเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคาร แล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตาม การกระทำของจำเลยต่อจากนั้นที่ไม่ยอมรื้อถอนย่อมเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42, 66 ทวิ แต่ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 21, 65 วรรคสอง อีก ดังนั้นจำเลยจึงต้องชำระค่าปรับรายวันตามมาตรา 21, 65 วรรคสอง ถึงวันก่อนครบกำหนดรื้อถอนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเท่านั้น มิใช่จนถึงวันที่จำเลยรื้อถอนเสร็จสิ้น
การฝ่าฝืนปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21 ย่อมสิ้นสุดลงเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคาร แล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตาม การกระทำของจำเลยต่อจากนั้นที่ไม่ยอมรื้อถอนย่อมเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42, 66 ทวิ แต่ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 21, 65 วรรคสอง อีก ดังนั้นจำเลยจึงต้องชำระค่าปรับรายวันตามมาตรา 21, 65 วรรคสอง ถึงวันก่อนครบกำหนดรื้อถอนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเท่านั้น มิใช่จนถึงวันที่จำเลยรื้อถอนเสร็จสิ้น