คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การลงโทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9301/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลต้องเกิดขึ้นในศาลชั้นต้นเท่านั้น การกระทำหลังมีคำพิพากษาไม่ถือเป็นละเมิดอำนาจศาล
จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง แต่เข้ามายอมรับว่าเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนผู้ตายแทนผู้อื่น เพื่อประโยชน์ที่บิดามารดาของผู้ตายจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยผู้รับประกันภัยรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุ เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลชั้นต้น อันถือว่ากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลชั้นต้นเท่านั้น แม้ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยจะได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9จะลงโทษจำเลยฐานละเมิดอำนาจศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7333/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลและการออกข้อกำหนดห้ามเข้าพื้นที่
ผู้ถูกกล่าวหาอ้างตนเองว่าเป็นอัยการและหลอกลวงผู้กล่าวหาในบริเวณศาลชั้นต้น ทั้งมีการรับเงินที่โรงอาหารซึ่งอยู่ภายในบริเวณศาลชั้นต้นด้วย แม้เหตุจะมิได้เกิดขึ้นต่อหน้าศาลแต่ก็เกิดในบริเวณศาล การกระทำของผู้ถูกกล่าวหา จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นการกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษผู้ถูกกล่าวหาได้โดยหาจำต้องดำเนินการทางพนักงานสอบสวนดังที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้างไม่
การที่ศาลจะออกข้อกำหนดใด ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30ได้จะต้องเป็นกรณีที่จำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล และเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็วด้วย แต่การออกข้อกำหนดห้ามผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาในบริเวณศาลตามคำสั่งของศาลล่างทั้งสองไม่ปรากฏว่า กระทำเพื่อให้กระบวนพิจารณาเรื่องใดดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็ว กรณีจึงไม่ต้องตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6590/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะและอาวุธปืน การลงโทษความผิดฐานปล้นทรัพย์ การแยกความผิดฐานอื่น
เจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี มุ่งหมายที่จะลงโทษผู้กระทำผิดให้หนักขึ้นเฉพาะผู้ที่มีหรือใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์เท่านั้น มิใช่ว่าผู้ที่ร่วมกระทำการปล้นทรัพย์รายเดียวกันจะต้องระวางโทษหนักขึ้นทุกคน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีและใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์เท่านั้น โดยจำเลยที่ 3 เพียงแต่รู้เห็นร่วมในการปล้นทรัพย์ด้วย จึงถือมิได้ว่าจำเลยที่ 3 มีหรือใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี
หลังจากที่จำเลยทั้งสามลวงผู้เสียหายขับรถยนต์มาแล้วระหว่างทางได้ใช้อาวุธปืนจี้บังคับผู้เสียหายและร่วมกันใช้กระดาษกาวปิดปากและใช้เชือกผู้ข้อมือและเท้าทั้งสองข้างของผู้เสียหายติดกับต้นไม้กับล้วงเอาเงินของผู้เสียหายไป แสดงว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายเพื่อสะดวกแก่การปล้นทรัพย์และพาทรัพย์นั้นไป และให้พ้นจากการจับกุมในขณะที่การปล้นทรัพย์ยังไม่ขาดตอนจากกันอันเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำในองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์หาใช่ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังกรรมหนึ่งและทำร้ายร่างกายอีกบทหนึ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8802/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการลงโทษฐานพยายามลักทรัพย์เมื่อข้อเท็จจริงต่างจากฟ้อง และการลงโทษฐานบุกรุกเคหสถาน
โจทก์กล่าวในฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันงัดกุญแจประตูหน้าบ้านพักอาศัยอันเป็นเคหสถานของผู้เสียหายและเข้าไปในเคหสถานงัดประตูห้องนอนของผู้เสียหาย แล้วร่วมกันลักสายยู 1 อันราคา 300 บาท ซึ่งใช้ล่ามบานประตูให้ติดกับกุญแจของผู้เสียหายซึ่งเก็บรักษาไว้ในเคหสถานไปโดยทุจริต ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าจำเลยพยายามเข้าไปลักทรัพย์ที่มิใช่สายยูที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องในเคหสถานของผู้เสียหาย จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องและข้อแตกต่างนี้เป็นข้อสาระสำคัญในความผิดฐานลักทรัพย์เพราะโจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายเพื่อลักทรัพย์ที่อยู่ในเคหสถานนั้นด้วย ทั้งไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานพยายามลักทรัพย์อย่างอื่นของผู้เสียหาย จึงลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานนี้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสี่
เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยต้องกันมายังเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 365 ประกอบด้วยมาตรา 364 รวมอยู่ด้วย ซึ่งโจทก์ได้กล่าวมาในฟ้องด้วยแล้ว ทั้งมีอัตราโทษเบากว่าความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ตามที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยทั้งสองมา ศาลฎีกาจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7351/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน: การพิเคราะห์ตัวการร่วมและการลงโทษ
จำเลยที่ 1 ได้ตรวจนับเงินที่พลตำรวจ ส. จะใช้ซื้อ เมทแอมเฟตามีน ก่อนจะโทรศัพท์บอกให้จำเลยที่ 2 นำเมทแอมเฟตามีนมาส่งมอบ กับได้ตกลงขายและส่งมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยที่ 2 และที่ 3นำมาให้แก่พลตำรวจ ส. แม้พลตำรวจ ส. จะยังมิได้ชำระเงินแก่จำเลยที่ 1แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็เป็นความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนสำเร็จแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3003/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา และการพิจารณาลงโทษผู้ร่วมกระทำผิดในคดีแยกฟ้อง
ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้างได้แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลล่างทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันใช้เก้าอี้และใช้ของแข็งตีทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 ถูกบริเวณร่างกายทำให้ได้รับบาดเจ็บอย่างไรบ้าง เช่นนี้ เพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ต้องเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาในคดีนี้จะพิพากษายกฟ้องจำเลยคนหนึ่งซึ่งอุทธรณ์หรือฎีกาเพียงผู้เดียวใช้อำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยอื่นที่ไม่ได้อุทธรณ์หรือฎีกามิให้ต้องถูกรับโทษเช่นเดียวกับจำเลยผู้อุทธรณ์หรือฎีกา แต่การที่ผู้ร่วมกระทำผิดถูกแยกฟ้องเป็นหลายคดี การที่พยานหลักฐานโจทก์เพียงพอจะรับฟังลงโทษจำเลยคนใดที่ร่วมกระทำผิดได้หรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยแต่ละคนเป็นการเฉพาะตัวเป็นราย ๆ ไปเฉพาะคดีนั้น ๆ ซึ่งพยานหลักฐานของโจทก์อาจพาดพิงถึงจำเลยแต่ละคดีมากน้อยต่างกันได้ คดีที่พยานโจทก์มีน้ำหนักเพียงพอก็ลงโทษไป คดีที่พยานโจทก์มีน้ำหนักเบาบางก็ต้องยกฟ้องตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากทางนำสืบเป็นรายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 850/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องคดีอาญา: โจทก์จำกัดการลงโทษเฉพาะความผิดตามที่บรรยายฟ้อง แม้มีหลักฐานการกระทำผิดอื่น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดเมื่อ วันที่ 7 กันยายน 2537 ในข้อหามีเฮโรอีนจำนวน 1 ห่อหนัก 0.13 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และได้จำหน่ายเฮโรอีนจำนวนดังกล่าวให้ช. ไปในราคา 90 บาท ต่อมาวันที่ 16 กันยายน 2537 เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลย ได้ในคดีอื่น แสดงว่า โจทก์มีความประสงค์จะให้ศาลลงโทษจำเลยเฉพาะการกระทำของจำเลยเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2537เท่านั้น เฮโรอีนของกลางคดีนี้ไม่ใช่เฮโรอีนจำนวน 3 หลอดที่เจ้าพนักงานยึดได้จากบ้านจำเลยในวันที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดคดีนี้ ดังนี้ จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษในข้อหามีเฮโรอีนจำนวน 3 หลอดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรกและไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4040/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร: การลงโทษตามกรรมต่างวาระและขอบเขตคำฟ้อง
การกระทำของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เป็นการกระทำเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหาล่อไปหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิง อายุ 18 ปีเศษ 2 คน อายุ 15 ปีเศษ 1 คน เป็นการกระทำที่มีเจตนาจะให้เกิดผลต่างกรรมกัน แม้จะพาผู้เสียหายทั้งสามไปในคราวเดียวกัน ก็เป็นการกระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนโดยเฉพาะ การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความผิดฐานพาหญิงไปเพื่ออนาจารตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคแรก 2 กรรม และ มาตรา 282 วรรคสอง 1 กรรม แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้ง 3 ตาม ป.อ. มาตรา 282, 83 โดยไม่มีรายละเอียดให้เห็นว่า โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษทุกกรรม ศาลจะลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในแต่ละกรรมนอกเหนือจากคำฟ้องและคำขอของโจทก์หาได้ไม่ จึงลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคสองกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการกระทำความผิดทางอาญา: การประเมินผลร้ายแรงของบาดแผลต่อการลงโทษ
ผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลเพียง 2 แห่ง ที่กลางหลังและที่ขาข้างซ้าย บาดแผลที่กลางหลังมีลักษณะถูกดินระเบิด บาดแผลกลมถลอกพอมีเลือดซึมเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ส่วนที่ขาข้างซ้ายบวมแดง สันนิษฐานว่าถูกของแข็งไม่มีคม บาดแผลดังกล่าวรักษา 7 วันหาย ผู้เสียหายที่ 2 จึงได้รับอันตรายแก่กายเพียงเล็กน้อย ทั้ง ๆ ที่จุดระเบิดอยู่ห่างจากผู้เสียหายที่ 2 เพียงประมาณไม่เกิน2 เมตร แสดงว่าวัตถุระเบิดที่จำเลยกับพวกใช้นั้น ไม่อาจทำให้ผู้เสียหายที่ 2ถึงแก่ชีวิตได้ แม้จำเลยกับพวกจะเล็งเห็นผลของการกระทำว่าสะเก็ดระเบิดอาจทำให้ผู้อื่นถึงตายได้ แต่การกระทำของจำเลยกับพวกเมื่อไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 288, 81 และ 83 หาใช่มาตรา 288, 80และ 83 ไม่
คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุม และศาลชั้นต้นก็ยกเอาคำให้การดังกล่าวขึ้นมารับฟังประกอบการวินิจฉัยคดีด้วย ถือได้ว่าคำให้การของจำเลยในชั้นจับกุมเป็นการให้ความรู้แก่ศาล อันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาเป็นเหตุบรรเทาโทษ ถึงแม้จำเลยจะมิได้ฎีกาปัญหาข้อนี้ขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจลดโทษให้จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลาง: แม้ไม่ลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ ยังริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 32
ของกลางวัตถุออกฤทธิ์ที่ศาลจะสั่งริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 116 ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ได้นั้น ต้องเป็นกรณีมีการลงโทษตามมาตรา 89 แต่คดีนี้ศาลพิพากษายกฟ้อง จึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่กระทรวงสาธารณสุข ตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ แต่เมื่อการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเป็นความผิด ซึ่งตาม ป.อ.มาตรา 32 ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิดและมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลาง ตาม ป.อ.มาตรา 32
of 13