พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝากขังและการโต้แย้งสิทธิพื้นฐาน: ศาลยืนคำสั่งอนุญาตฝากขัง แม้มีการอ้างการถูกทำร้าย
ในการขอฝากขังครั้งแรก พนักงานสอบสวนผู้ร้องอ้างเหตุว่าต้องสอบสวนพยานที่เกี่ยวข้อง 10 ปาก ส่วนในการขอฝากขังครั้งที่ 2 ผู้ร้องอ้างเหตุว่าต้องสอบสวนพยานที่เกี่ยวข้องอีก 6 ปาก และในการขอฝากขังทั้งสองครั้งผู้ร้องยังอ้างว่าต้องรอผลการตรวจลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ต้องหาอีกด้วย ซึ่งจำเลยไม่คัดค้าน จึงมีเหตุอันสมควรที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ผู้ร้องควบคุมตัวผู้ต้องหาต่อไปได้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ฝากขังได้ตามขอจึงชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 87 วรรคสี่ แม้ต่อมาภายหลังจะปรากฏว่าผู้ต้องหากล่าวอ้างว่า ผู้ต้องหาถูกทำร้ายขู่เข็ญให้รับสารภาพมาก่อนหน้านั้นก็ไม่มีผลทำให้คำสั่งอนุญาตให้ฝากขังที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ต้องกลับกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายไปไม่ ในกรณีดังกล่าวผู้ต้องหาชอบที่จะดำเนินคดีแก่ผู้ที่ทำร้ายตนตามสิทธิที่มีอยู่ ส่วนคำรับสารภาพของผู้ต้องหาจะรับฟังได้หรือไม่ เพียงใด และการสอบสวนจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพียงใด เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาของศาล จึงไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังทั้งสองครั้ง
เนื้อหาตามคำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้ศาลชั้นต้นส่งข้อโต้แย้งของผู้ต้องหาไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย เมื่อเป็นเรื่องที่ผู้ต้องหากล่าวอ้างว่าการกระทำของพนักงานสอบสวนขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540มาตรา 233, 237 วรรคหนึ่ง, 241 วรรคหนึ่งและวรรคสอง, 243 วรรคหนึ่งและมาตรา 245 วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ แม้ผู้ต้องหากล่าวในคำร้องว่า การกระทำของพนักงานสอบสวนดังกล่าวเห็นได้ว่าบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลอนุญาตให้ผู้ร้องฝากขังผู้ต้องหาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่ตามคำร้องมิได้กล่าวโดยแจ้งชัดว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญบทมาตราใดและเพราะเหตุใด กรณีตามคำร้องย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งคำร้องของผู้ต้องหานี้ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
เนื้อหาตามคำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้ศาลชั้นต้นส่งข้อโต้แย้งของผู้ต้องหาไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย เมื่อเป็นเรื่องที่ผู้ต้องหากล่าวอ้างว่าการกระทำของพนักงานสอบสวนขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540มาตรา 233, 237 วรรคหนึ่ง, 241 วรรคหนึ่งและวรรคสอง, 243 วรรคหนึ่งและมาตรา 245 วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ แม้ผู้ต้องหากล่าวในคำร้องว่า การกระทำของพนักงานสอบสวนดังกล่าวเห็นได้ว่าบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลอนุญาตให้ผู้ร้องฝากขังผู้ต้องหาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่ตามคำร้องมิได้กล่าวโดยแจ้งชัดว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญบทมาตราใดและเพราะเหตุใด กรณีตามคำร้องย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งคำร้องของผู้ต้องหานี้ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝากขังที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีการกล่าวอ้างถึงการละเมิดสิทธิ และการไม่ส่งข้อโต้แย้งไปยังศาลรัฐธรรมนูญ
ในการขอฝากขังครั้งแรก พนักงานสอบสวนผู้ร้องอ้างเหตุว่า ต้องสอบสวนพยานที่เกี่ยวข้อง 10 ปาก ส่วนในการขอฝากขัง ครั้งที่ 2 ผู้ร้องอ้างเหตุว่าต้องสอบสวนพยานที่เกี่ยวข้อง อีก 6 ปาก และในการขอฝากขังทั้งสองครั้งผู้ร้องยังอ้างว่าต้องรอผลการตรวจลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ต้องหาอีกด้วย ซึ่ง จำเลยไม่คัดค้าน จึงมีเหตุอันควรที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ผู้ร้องควบคุมตัวผู้ต้องหาต่อไปได้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ฝากขังได้ตามขอจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 87 วรรคสี่ แม้ต่อมาภายหลังจะปรากฎว่า ผู้ต้องหากล่าวอ้างว่า ผู้ต้องหาถูกทำร้ายขู่เข็ญให้ รับสารภาพมาก่อนหน้านั้นก็ไม่มีผลทำให้คำสั่งอนุญาตให้ฝากขัง ที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ต้องกลับกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายไปไม่ ในกรณีดังกล่าวผู้ต้องหาชอบที่จะดำเนินคดีแก่ผู้ที่ทำร้ายตน ตามสิทธิที่มีอยู่ ส่วนคำรับสารภาพของผู้ต้องหาจะ รับฟังได้หรือไม่ เพียงใด และการสอบสวนจะชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ เพียงใด เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาของศาลจึงไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังทั้งสองครั้ง เนื้อหาตามคำร้อง ของ ผู้ต้องหาที่ขอให้ศาลชั้นต้นส่งข้อโต้แย้งของผู้ต้องหาไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเมื่อเป็นเรื่องที่ผู้ต้องหากล่าวอ้างว่าการกระทำของพนักงานสอบสวนขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 233,237 วรรคหนึ่ง,241 วรรคหนึ่งและวรรคสอง,243 วรรคหนึ่ง และมาตรา 245 วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ แม้ผู้ต้องหากล่าวในคำร้องว่า การกระทำของพนักงานสอบสวนดังกล่าวเห็นได้ว่าบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลอนุญาตให้ผู้ร้องฝากขังผู้ต้องหาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่ตามคำร้องมิได้กล่าว โดยแจ้งชัดว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญบทมาตราใดและเพราะเหตุใด กรณีตามคำร้องย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งคำร้อง ของ ผู้ต้องหานี้ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7628/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องความผิดหลายฐาน: แจ้งข้อหาความผิดหลักเพียงพอต่อการดำเนินคดีความผิดอื่นที่เกี่ยวพัน
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134ที่บังคับให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบเจตนารมณ์ก็เพื่อให้ผู้ต้องหาทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิด และเพื่อให้ผู้ต้องหาเข้าใจถึงการกระทำของตนโดยไม่ต้องระบุอ้างถึงตัวบทกฎหมายที่กระทำผิด และในกรณีที่การกระทำนั้นผิดกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรมต่างกันก็ตามพนักงานสอบสวนก็หาจำต้องระบุถึงกฎหมายที่เป็นความผิดทุกบทมาตราหรือทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไม่ แต่ เมื่อได้แจ้งข้อหา อันเป็นหลักความผิดทั่วไปแล้ว ก็ไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิด อันเกี่ยวพันกันด้วยอีกพนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนความผิด ทุกข้อหาได้ ฉะนั้น การที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลย ว่านำหรือพาของที่ยังมิได้เสียภาษีหรือยังมิได้ผ่านศุลกากร เข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว แม้ไม่แจ้งข้อหาว่ามีไม้สักแปรรูป ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดอีกฐานหนึ่ง อันมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างออกไปและอยู่ในกฎหมายต่างฉบับกัน ก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครอง โดยมิได้รับอนุญาตได้ ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิด ฐานนี้แล้ว พนักงานอัยการโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย ในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ฐานมีไม้สักแปรรูป ไว้ในครอบครองโดยไม่รับอนุญาตได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5583/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะข้อหาที่แจ้งสอบสวน การให้การรับสารภาพไม่ขัดขวางการยกเหตุไม่มีอำนาจฟ้องในชั้นฎีกา
ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 6 ที่ว่า โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และขอให้ลงโทษจำเลยที่ 6 ฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่น การพนันแปดเก้า แต่คดีนี้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 6 เพียงฐานร่วมกันเล่นการพนันมิได้แจ้งข้อหาความผิดตามที่โจทก์ฟ้องดังกล่าว และไม่มีการสอบสวนจำเลยที่ 1 และที่ 6 ในข้อหาความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นแปดเก้าเมื่อไม่มีการสอบสวน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1และที่ 6 ในข้อความผิดดังกล่าวนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง กล่าวคือ เป็นฎีกาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อความผิดตามที่อ้างในฎีกาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 6 หรือไม่ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 6 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและคดีนี้จำเลยที่ 1 และที่ 6 ให้การรับสารภาพว่า ได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้น ทั้งมิได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นเป็นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ ข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นอ้างในฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 6 จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นข้อฎีกาที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเจ้าพนักงานละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ กรณีปลัดอำเภอรับรองบุคคลต่างด้าว และการสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 67กำหนดให้นายอำเภอ ปลัดอำเภอ สมุห์บัญชี รวมเรียกว่ากรมการ อำเภอแม้มีตำแหน่งต่างกันย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมกันในการที่จะให้การปกครองอำเภอนั้นเรียบร้อย กรณีจึงต้อง ถือว่าจำเลยซึ่งมีตำแหน่งปลัดอำเภอมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ร่วมกับนายอำเภอและปลัดอำเภอคนอื่นอยู่ การกระทำของจำเลย ที่ให้คำรับรอง ท. ในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชนทั้ง ๆที่ทราบว่า ท. เป็นบุคคลต่างด้าวจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดย มิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยที่ 1/2509 วางระเบียบ ใน การสอบสวนข้าราชการฝ่ายปกครองว่าต้องมีพนักงานฝ่ายปกครองร่วม กับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจด้วยนั้นก็เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ ของผู้ต้องหาให้การรับสารภาพโดยถูกพนักงานสอบสวนขู่เข็ญ แต่ คดี นี้จำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด สิทธิของจำเลยไม่ได้รับการกระทบกระเทือนแต่อย่างใด การสอบสวนจึงชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7293/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ไม่เป็นสาระ – การยกฟ้องเดิมยืนยัน – การสอบสวนไม่ชอบ – ไม่กระทบผลคำพิพากษา
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 358 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้ใช้รถแทรกเตอร์ดันเสาปูนซีเมนต์ล้มจำนวน 5 ต้น แต่จำเลยกระทำตามคำสั่งของ น.โดยเชื่อว่าจำเลยมีสิทธิทำได้ การกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนา การที่จำเลยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมเบิกความขัดแย้งกัน มีพิรุธและขัดต่อเหตุผลไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้ใช้รถแทรกเตอร์ดันเสาปูนซีเมนต์ของโจทก์ร่วมล้มจำนวน 5 ต้นตามฟ้อง กับอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนก่อนได้รับคำร้องทุกข์ การสอบสวนจึงไม่ชอบ ต้องห้ามมิให้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลตาม ป.วิ.อ.มาตรา 120 เพื่อให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามที่จำเลยอุทธรณ์ ซึ่งแม้ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายจะฟังได้ตามที่จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็พิพากษายกฟ้องอยู่เช่นเดิม ซึ่งไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์จำเลย กรณีจึงมิใช่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ มีผลเท่ากับพิพากษาว่าอุทธรณ์ของจำเลยไม่เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 193 วรรคสอง ดังที่จำเลยฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4657/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่ไม่สมบูรณ์ – พยานประกอบคำรับสารภาพต้องแยกต่างหาก
ในคดีอาญาเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธว่ามิได้กระทำความผิดโจทก์ย่อมมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องเมื่อโจทก์ไม่มีประจักษ์พยานหรือ พยานพฤติเหตุแวดล้อมมาสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันฆ่าผู้ตายคำเบิกความของเจ้าพนักงานผู้จับกุมจำเลยทั้งสองซึ่งอ้างว่าสืบทราบว่าจำเลยทั้งสองเป็นคนร้ายและจำเลยทั้งสองรับสารภาพในชั้นจับกุมกับคำเบิกความของพนักงานสอบสวนผู้สอบสวนจำเลยทั้งสองที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนและนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพในชั้นสอบสวนไม่พอให้รับฟังว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4867/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ไปให้การตามนัดสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ทำให้หมดสิทธิเสนอพยานหลักฐานต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้ขอเลื่อนการสอบสวนตามคำขอรับชำระหนี้ โดยอ้างว่ายังหาเอกสารที่จะใช้ประกอบการสอบสวนไม่พบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เลื่อนวันนัดสอบสวนเจ้าหนี้ไปตามที่เจ้าหนี้ขอ แต่ถึงวันนัดเจ้าหนี้ไม่ไปพบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ย่อมถือได้ว่าเจ้าหนี้ไม่ติดใจให้การสอบสวนและส่งเอกสารประกอบคำให้การ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์งดการสอบสวนพยานหลักฐานของเจ้าหนี้ได้
เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อพิสูจน์ว่าหนี้ดังกล่าวมีอยู่จริง เมื่อเจ้าหนี้ไม่ไปพบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์งดการสอบสวนพยานหลักฐานของเจ้าหนี้โดยชอบแล้ว เจ้าหนี้ย่อมหมดสิทธิเสนอพยานหลักฐาน และในชั้นสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ศาลชั้นต้นย่อมไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะรับพยานหลักฐานนั้นไว้แทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้โดยไม่พิจารณาพยานหลักฐานที่เจ้าหนี้ยื่นไว้ต่อศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อพิสูจน์ว่าหนี้ดังกล่าวมีอยู่จริง เมื่อเจ้าหนี้ไม่ไปพบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์งดการสอบสวนพยานหลักฐานของเจ้าหนี้โดยชอบแล้ว เจ้าหนี้ย่อมหมดสิทธิเสนอพยานหลักฐาน และในชั้นสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ศาลชั้นต้นย่อมไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะรับพยานหลักฐานนั้นไว้แทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้โดยไม่พิจารณาพยานหลักฐานที่เจ้าหนี้ยื่นไว้ต่อศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญา: พิจารณาจากภูมิลำเนาจำเลย และการสอบสวนความผิดต่างกรรม
คดีนี้ไม่ว่าความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำเภอ ดอนสักจังหวัดสุราษฎร์ธานีหรือเกิดในเขตอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชก็ตามแต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยทั้งเจ็ดมีที่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้วพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม ย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดคดีนี้ได้การสอบสวนจึงชอบแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา134นั้นหาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120แล้วทั้งการทำไม้หวงห้ามการแปรรูปไม้ในเขตควบคุมการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองและการมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำอันเป็นความผิดต่างกรรมกันดังนั้นแม้จะมิได้มีการแจ้งข้อหาจำเลยที่4และที่7ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหานี้ด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหานี้แล้วโจทก์มีอำนาจฟ้องศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่4และที่7ในความผิดข้อหานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3266/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนหน่วยเฉพาะกิจ และความชอบด้วยกฎหมายของการสอบสวนคดีค้ามนุษย์
ร้อยตำรวจโทอ. และพันตำรวจโทพ.เป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา18วรรคสองและเป็นเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งกรมตำรวจที่1502/2530เรื่องการจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจป้องกันปราบปรามการปลอมหนังสือเดินทางไปต่างประเทศการล่อลวงหญิงไปเพื่อการค้าประเวณีหรือในทางมิชอบในต่างประเทศการจัดส่งคนงานไปต่างประเทศโดยมิชอบจึงเป็นพนักงานสอบสวนของหน่วยเฉพาะกิจและตามข้อ5.3ของคำสั่งดังกล่าวให้หัวหน้าหน่วยเฉพาะกิจมีอำนาจเสนอขออนุมัติกรมตำรวจให้พนักงานสอบสวนของหน่วยเฉพาะกิจสอบสวนคดีความผิดตามคำสั่งดังกล่าวได้และพันตำรวจโทพ.รักษาราชการแทนหัวหน้าหน่วยเฉพาะกิจได้ขออนุมัติอธิบดีกรมตำรวจให้พันตำรวจโทพ.และร้อยตำรวจโทอ.ทำการสอบสวนคดีความผิดตามคำสั่งดังกล่าวและกรมตำรวจก็ได้อนุมัติแล้วร้อยตำรวจโทอ.และพันตำรวจโทพ.จึงมีอำนาจทำการสอบสวนคดีดังกล่าว การจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจตามคำสั่งกรมตำรวจเป็นเพียงการปฏิบัติงานภายในกรมตำรวจมิใช่เป็นการแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจไม่จำต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา