คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การอนุญาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาฐานกีดขวางทางสาธารณะ จำเป็นต้องระบุรายละเอียดการกระทำผิดและขออนุญาตหรือไม่
การฟ้องขอให้ลงโทษตามก.ม.อาญา ม.336(2) นั้นโจทก์จะต้องบรรยายในฟ้องด้วยว่า จำเลยมิได้รับอนุญาตอันชอบด้วย ก.ม.มิฉนันย่อมจะเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ลงโทษจำเลยไม่ได้
ที่ชายทะเลซึ่งน้ำท่วมถึงนั้นหาเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินหรือทางสาธารณะเสมอไปไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต การพิจารณา 'โรงงาน' ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
จำเลยทำการแปรรูปไม้ที่ในสวนกล้วย โดยตั้งเป็นโรง 2 ห้อง ทำค้างเลื่อยให้คนเลื่อยไม่ได้ 4 คู่ ทำการเลื่อยไม้แล้วเป็นอันมาก ที่ส่งออกไปที่อื่นเจ้าพนักงานจับได้เป็นไม้กระดาน 103 แผ่น ยังมีปึกไม้อยู่ตามบริเวณโรงงานอีกกว่า 200 แผ่น ไม้เหลี่ยม 6 เหลี่ยม ไม้สักกว่า 20 ท่อน ดังนี้ ต้องถือว่าที่ทำการเลื่อยไม้ของจำเลยเป็น " โรงงานแปรรูปไม้ " ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 มาตรา 4 (13) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมการซื้อขายโคกระบือ: การกระทำความผิดแม้ยังไม่โอนเอกสาร
ประกาศคณะกรมการจังหวัดออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคฯ ควบคุมมิให้มีการลอบซื้อลอบขายโคกระบือโดยมิได้รับอนุญาต แม้แต่เพียงย้ายหรือเปลี่ยนสภาพก็ยังควบคุมและบังคับว่าต้องรับอนุญาตก่อน ดังนี้ เมื่อจำเลยได้ขายโคไปโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้ว จำเลยจะยกเหตุว่ายังไม่ได้ทำตั๋วพิมพ์รูปพรรณและแก้ทะเบียนมาเป็นข้อแก้ตัวย่อมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์องค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์: ข้อโต้แย้งเรื่องการอนุญาตและความถูกต้องของข้อเท็จจริง
การกระทำของจำเลยจำครบองค์เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยอาศัยข้อเท็จจริงอย่างเดียวกับฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตนำเงินตราต่างประเทศเข้าภายหลังการฟ้องร้อง ทำให้จำเลยไม่มีความผิด
ประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 7 กันยายน 2482 จำเลยถูกฟ้องและศาลชั้นต้นก็ได้พิพากษาลงโทษจำเลยฐานนำเงินตราต่างประเทศเข้าในราชอาณาจักร ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ขออนุญาตนำเงินตราต่างประเทศนั้นเข้ามาในราชอาณาจักร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอนุญาตแล้วดังนี้ ถือว่าจำเลยไม่มีความผิดอยู่อีกเพราะได้รับอนุญาตแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาขัดกับเจตนาจำเลย ศาลต้องสอบถามก่อนอนุญาต การไม่สอบถามทำให้คดีถึงที่สุด
แม้ ป. ทนายความของจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาและยื่นฎีกาแทนจำเลยที่ 2 ตามที่ระบุไว้ในใบแต่งทนายความ แต่เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ก่อนที่ทนายความของจำเลยที่ 2 จะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาฉบับลงวันที่ 26 เมษายน 2549 จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 ไม่ประสงค์ต่อสู้คดีในชั้นศาลฎีกาและขอให้ออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้จำเลยที่ 2 ด้วย หลังจากนั้นทนายความของจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลยที่ 2 อีกสองฉบับ และยื่นฎีกาของจำเลยที่ 2 ซึ่งขัดแย้งกับความประสงค์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งทนายความตามที่ระบุไว้ในคำร้องของจำเลยที่ 2 ฉบับดังกล่าว ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ทนายความของจำเลยที่ 2 ขยายระยะเวลายื่นฎีกาและสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 โดยไม่สอบถามจำเลยที่ 2 ก่อน จึงเป็นการไม่ชอบตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 223 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ประสงค์ฎีกาและวันที่ครบกำหนดฎีกาวันที่ 21 พฤษภาคม 2549 เป็นวันอาทิตย์หยุดราชการ คดีของจำเลยที่ 2 จึงถึงที่สุดในวันที่ 22 พฤษภาคม 2549 ซึ่งเป็นวันที่ระยะเวลาฎีกาได้สิ้นสุดลงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6666/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปาล์มน้ำมันในป่าสงวน: ผลผลิตเป็นของป่า แม้ปลูกโดยได้รับอนุญาต
แม้ปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตผลปาล์มน้ำมันของกลางจะเกิดจากการเพาะปลูกของบริษัท บ. ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐ แต่ต้นปาล์มน้ำมันดังกล่าวเป็นไม้ยืนต้นที่ปลูกบนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่รัฐอนุญาตแล้ว ไม่ปรากฏว่ารัฐหรือบริษัท บ. ได้ดำเนินการให้รื้อถอนต้นปาล์มออกไป แสดงว่าต่างมีความประสงค์ให้ต้นปาล์มน้ำมันเป็นส่วนควบของผืนป่า และเป็นส่วนหนึ่งของต้นไม้ที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าว ผลปาล์มน้ำมันของกลางที่เกิดจากต้นปาล์มน้ำมันนั้น จึงเป็นดอกผลที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในป่า ผลปาล์มน้ำมันจึงเป็นของป่า จำเลยเข้าไปเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมันของกลาง การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิด อันเป็นความผิดฐานเก็บของป่าตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และผลปาล์มน้ำมันของกลางย่อมเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดจึงต้องริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2249-2250/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแพ่งหลังศาลรับคำร้องฟูกิจการ: ต้องได้รับอนุญาตจากศาลล้มละลายก่อน
เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์แล้ว การดำเนินการต่าง ๆ อันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินของโจทก์ในฐานะลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการจึงอยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 90/13 และมาตรา 90/14 นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาจนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผนหรือวันที่ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผนหรือวันที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอหรือจำหน่ายคดีหรือยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการหรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการหรือพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตามความในหมวดนี้... (9) ห้ามมิให้ลูกหนี้ จำหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า ชำระหนี้ ก่อหนี้ หรือกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สิน นอกจากเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ เว้นแต่ศาลที่รับคำร้องขอจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น..." บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าภายหลังจากศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการแล้ว ลูกหนี้จะดำเนินกิจการได้เฉพาะการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ แต่หากลูกหนี้จะดำเนินการจำหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า ชำระหนี้ ก่อหนี้ หรือกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินที่มิใช่การดำเนินธุรกิจตามปกติทางการค้าของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลล้มละลายกลางและศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตแล้วเท่านั้น
คดีทั้งสองสำนวนนี้ โจทก์ฟ้องคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 398/2561 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 และศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องของโจทก์วันที่ 9 กันยายน 2557 ส่วนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 399/2561 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2557 เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์วันที่ 26 สิงหาคม 2557 และศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ไว้ในวันเดียวกัน การฟ้องคดีของโจทก์ทั้งสองสำนวนจึงเป็นการยื่นคำฟ้องหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์แล้ว จึงตกอยู่ในบังคับตามมาตรา 90/12 (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งเก้าชำระเงินคืนโจทก์ 119,020,000 บาท และ 9,522,533,049.50 บาท การฟ้องคดีดังกล่าวหากโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีก็อาจมีผลกระทบต่อกองทรัพย์สินของโจทก์ หรือโจทก์อาจต้องชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนฝ่ายจำเลยทั้งเก้า จึงมิได้เป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของโจทก์สามารถดำเนินต่อไปได้ แต่เป็นการกระทำที่อาจก่อให้เกิดภาระแก่ทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการได้ แม้คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 398/2561 โจทก์จะยื่นฟ้องในวันเดียวกันกับวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องฟื้นฟูกิจการของโจทก์ในวันเดียวกัน สภาวะการพักชำระหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 (9) ย่อมเกิดขึ้นในวันดังกล่าว ส่วนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 399/2561 โจทก์ยื่นฟ้องภายหลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ เมื่อทั้งสองสำนวนโจทก์ยื่นฟ้องโดยไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาลล้มละลายกลางและศาลล้มละลายกลางไม่ได้มีคำสั่งอนุญาต จึงเป็นการฟ้องคดีต่อศาลโดยไม่มีอำนาจ ซึ่งการพิจารณาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาถึงอำนาจฟ้องในขณะยื่นคำฟ้องเป็นสำคัญ แม้ภายหลังศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการโจทก์ และอำนาจในการบริหารกิจการของโจทก์กลับคืนมาตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/75 และมาตรา 90/76 ก็ตาม แต่หามีผลทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ซึ่งไม่มีในขณะยื่นคำฟ้องกลับมีขึ้นในภายหลังได้ไม่ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
of 2