พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งกันจดทะเบียน, การเพิกถอน, และสิทธิโดยพฤตินัย
โจทก์จำเลยต่างแย่งกันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปมดซึ่งมีลักษณะเหมือนหรือเกือบเหมือนกัน แม้จำเลยจะถูกนายทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนเนื่องจากไม่ต่ออายุการจดทะเบียนก็ถือได้เพียงว่าจำเลยมิได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามนิตินัยต่อไปเท่านั้น เมื่อจำเลยยัง ใช้เครื่องหมายการค้าอยู่จำเลยยังเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าโดยพฤตินัย เมื่อทั้งโจทก์และจำเลยต่างใช้และเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยพฤตินัยมาด้วยกัน แต่จำเลยใช้มาก่อนจำเลยย่อมมีสิทธิดีกว่า เครื่องหมายการค้าที่ไม่ต่ออายุการจดทะเบียนจนนายทะเบียนเพิกถอนเครื่องหมายการค้าเสียจากทะเบียนนั้นทำให้ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น แต่สิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียนยังคงมีอยู่ อีกทั้งหากมีการแสดงเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียนว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนหรือขายหรือเสนอขายสินค้าซึ่งมีเครื่องหมายการค้าที่ตนรู้อยู่ว่าเป็นความเท็จย่อมมีความผิดและอาจรับโทษตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ได้ ดังนั้น การที่กฎหมาย กำหนดเรื่องอายุการจดทะเบียน การต่ออายุและการจดทะเบียนไว้หาได้ไร้ประโยชน์เสียทีเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2802/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนจำนอง: โจทก์ต้องแสดงว่ามีการโอนสิทธิในที่ดินที่สมบูรณ์จากจำเลยก่อน จึงมีอำนาจฟ้องได้
โจทก์อ้างว่าได้ซื้อที่ดินตามฟ้องมาจากจำเลย โดยตัวแทนของจำเลยนำมาขายให้โจทก์ แต่ตามทางนำสืบของโจทก์กลับได้ความว่าจำเลยมีสิทธิเพียงเป็นผู้จะซื้อและผู้รับจำนองตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายและหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันเท่านั้น สิทธิครอบครองความเป็นเจ้าของในที่ดินตามฟ้องยังมิได้ตกมาเป็นของจำเลยแต่อย่างใด จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะนำมาโอนขายให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจัดการเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินตามคำพิพากษาตามยอม การซื้อขายที่ดินส่วนของผู้อื่นเป็นโมฆะ
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1ที่ 2 และ ร. สามีโจทก์ที่ 3 ที่ตายไปแล้วกับจำเลยที่ 1 ให้แบ่งที่ดินมรดกระหว่างกัน ได้มีการตกลงแบ่งเขตที่ดินกันเป็นส่วนสัดแล้ว จึงตกเป็นของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ร. และจำเลยที่ 1ตามส่วนที่ได้รับแบ่งมา แม้จำเลยที่ 1 จะได้นำที่ดินพิพาททั้งหมดไปออกโฉนดเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวเต็มทั้งแปลงก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในส่วนของโจทก์ที่ 1 ที่ 2และ ร. จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิที่จะยกที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ร.ให้แก่พ. คงมีสิทธิที่จะยกส่วนของตนให้ พ.เท่านั้นเมื่อพ. ตาย จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภรรยาผู้รับมรดกของ พ.จึงไม่มีสิทธิดีไปกว่าพ. การที่จำเลยที่ 2 ขายที่ดินพิพาททั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 3 แต่จำเลยที่ 2มีสิทธิขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนที่ได้รับมาให้แก่จำเลยที่ 3เท่านั้น ไม่มีสิทธิขายที่ดินพิพาททั้งหมดซึ่งเป็นส่วนของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ร. รวมอยู่ด้วยให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเพียงเฉพาะส่วนที่จำเลยที่ 1 ได้รับแบ่งมรดกและต่อมาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 เท่านั้น แต่ศาลพิพากษาเพิกถอนการซื้อขายที่ดินพิพาททั้งแปลงไม่ได้ คงเพิกถอนได้เฉพาะการซื้อขายที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ร.เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณะต้องปฏิบัติตามกม.หวงห้าม หากไม่ปฏิบัติตามสิทธิเดิมของผู้ครอบครองยังคงอยู่
คำว่า "ที่ดินรกร้างว่างเปล่า" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304(1)ตรงกับคำว่า "ที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน"ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 การดำเนินการจัดหาที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทำเป็นที่สาธารณะประจำตำบล และหมู่บ้านตามหนังสือของกระทรวงมหาดไทยถึงคณะกรรมการจังหวัดทุกจังหวัดนั้น จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวกล่าวคือต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อไม่ปรากฏว่า ได้มีการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินฯ ซึ่งมีผลบังคับอยู่ในขณะนั้นแม้จะได้มีการขึ้นทะเบียนที่พิพาทเป็นที่สาธารณะประจำหมู่บ้าน ก็ไม่มีผลให้ที่พิพาทเป็นที่สาธารณะประจำหมู่บ้านไปได้ โจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน ทางราชการได้ออกใบเหยียบย่ำให้ เมื่อประกาศใช้ ป.ที่ดินโจทก์ได้แจ้งการครอบครองไว้แล้ว ทั้งยังครอบครองตลอดมา ที่พิพาทจึงเป็นสิทธิของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักย้ายทรัพย์มรดก: การเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินทับซ้อนกับที่ดินผู้อื่น ไม่ถือเป็นการฉ้อฉล
จำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ขอเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่มีชื่อเจ้ามรดก โดยอ้างต่อเจ้าพนักงานว่าจำเลยมีสิทธิในที่ดินนั้น และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ออกทับที่ดินของบุคคลอื่น ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก เพราะแม้ไม่มีจำเลยหรือผู้ใดร้องขอให้เพิกถอน ทางราชการก็ต้องเพิกถอนอยู่แล้วทั้งนี้เนื่องจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทออกทับที่ของบุคคลอื่น จึงไม่ถือว่าจำเลยกระทำการโดยฉ้อฉล อันเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทและค่าขาดประโยชน์ทำนาในที่ดินพิพาททั้งหมด ศาลฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และเจ้ามรดกซึ่งเป็นบุตรจำเลยทั้งสอง เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรม จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกบางส่วน ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งตามส่วนของตนได้
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทและค่าขาดประโยชน์ทำนาในที่ดินพิพาททั้งหมด ศาลฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และเจ้ามรดกซึ่งเป็นบุตรจำเลยทั้งสอง เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรม จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกบางส่วน ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งตามส่วนของตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้และการเพิกถอนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย พิจารณาความยินยอมของลูกหนี้ก่อนการยื่นล้มละลาย
ธนาคารผู้คัดค้านโอนเงินฝากประจำของลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดลูกหนี้ที่ 1 ไปเข้าบัญชีกระแสรายวันของลูกหนี้ที่ 1 เมื่อวันที่ 28กันยายน 2522 เป็นการชำระหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารเพื่อหักหนี้ เกิดจากหนังสือค้ำประกันยินยอมการหักบัญชีเงินฝากประจำชำระหนี้ระหว่างลูกหนี้ที่ 2 กับธนาคารผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 1ธันวาคม 2520 ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ทั้งสองล้มละลายเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2522 ธนาคารผู้คัดค้านในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ในมูลหนี้ค้ำประกันและเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 ในมูลหนี้เงินฝากประจำที่ธนาคารรับฝากไว้แม้ว่าจะไม่มีข้อตกลงดังกล่าว ธนาคารผู้คัดค้านก็มีสิทธิที่จะหักกลบลบหนี้ระหว่างหนี้ตามสัญญาค้ำประกันกับมูลหนี้เงินฝากประจำนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 102 ทั้งตามมาตรา 115 ใช้คำว่าลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำ มุ่งถึงกิริยาที่ยินยอม มิได้ใช้คำว่าผู้อื่นทำด้วยความยินยอมของลูกหนี้ ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าลูกหนี้ที่ 2 ได้กระทำหรือยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านกระทำการโอนบัญชีและหักหนี้เมื่อวันที่ 28กันยายน 2522 ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยมุ่งหมายให้ธนาคารผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามมาตรา 115เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวไม่ได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่8/2527)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการซื้อขายสินสมรสและสินส่วนตัวที่ทำไปโดยไม่สุจริต และการให้โดยเสน่หาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่1ขณะที่ พ. มีโจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 อยู่แล้ว เป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขแห่งการสมรสและเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 และ 1496 โจทก์คงเป็นภริยาของ พ. แต่ผู้เดียวเดิมที่พิพาทมีชื่อพ. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับบิดาก่อนสมรสกับโจทก์จึงเป็นสินเดิมของ พ. กึ่งหนึ่ง ซึ่งตกเป็นสินส่วนตัวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ อีกกึ่งหนึ่ง พ. ได้รับมรดกของบิดาหลังสมรส จึงตกเป็นสินสมรสของโจทก์และ พ. สามีเมื่อที่พิพาทเป็นสินสมรสและสินส่วนตัวจึงเป็นสินบริคณห์ตาม มาตรา1462 เดิม สิ่งปลูกสร้างบนที่พิพาทย่อมตกเป็นส่วนควบ พ. ทำหนังสือมอบอำนาจให้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้จำเลยทั้งห้า ต้องถือว่าโจทก์ยินยอมให้ขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2896/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินที่เป็นสินสมรสโดยไม่ชอบธรรม การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี และการเพิกถอนนิติกรรม
โจทก์กับ ช. สมรสกัน 60 ปี มาแล้วมีบุตรคนเดียว ต่อมาโจทก์ไปบวชชีโดยไม่ได้หย่ากัน ช. เป็นข้าราชการบำนาญ ออกจากบ้านเดิมไปพักอาศัยอยู่กับจำเลยและมารดา แล้วยกที่พิพาท 4 แปลงอันเป็นสินสมรสให้จำเลยซึ่งไม่ได้เป็นญาติกับโจทก์หรือ ช. โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์และ ช. มีทรัพย์สินมีค่าอย่างอื่นอีก ดังนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 เมื่อปราศจากความยินยอมของโจทก์การให้จึงไม่สมบูรณ์ โจทก์ขอเพิกถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดการสมรสด้วยการตาย และสิทธิฟ้องเพิกถอนการสมรสหลังคู่สมรสเสียชีวิต
เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตายตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 คดีไม่มีความจำเป็นที่โจทก์จะมาฟ้องร้องขอให้เพิกถอนการสมรสนั้นอีกศาลพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าที่ชอบด้วยกฎหมายและการเพิกถอนในคดีล้มละลาย พิจารณาความสุจริตและค่าตอบแทน
สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สินซึ่งมีราคาและถือเอาได้
ผู้ให้เช่า ผู้เช่าเดิมกับผู้เช่าใหม่ตกลงยินยอมกันให้มีผู้เช่าคนใหม่ต่อจากสัญญาเช่าตึกแถวเดิม ผู้เช่าเดิมเลิกสัญญา ดังนี้ เป็นการโอนสิทธิการเช่าชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเพิกถอนการโอนทรัพย์สินที่ลูกหนี้ ทำระหว่าง 3 ปี ก่อนขอให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 ผู้รับโอนมีหน้าที่นำสืบว่าได้ทำโดยสุจริต มีค่าตอบแทน ไม่เหมือนการเพิกถอนการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 ซึ่งผู้ขอต้องนำสืบว่าโอนโดยไม่สุจริต
คดีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเพิกถอนการโอนเป็นคดีคำขอปลดเปลื้องทุกข์คำนวณเป็นราคาเงินไม่ได้
ผู้ให้เช่า ผู้เช่าเดิมกับผู้เช่าใหม่ตกลงยินยอมกันให้มีผู้เช่าคนใหม่ต่อจากสัญญาเช่าตึกแถวเดิม ผู้เช่าเดิมเลิกสัญญา ดังนี้ เป็นการโอนสิทธิการเช่าชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเพิกถอนการโอนทรัพย์สินที่ลูกหนี้ ทำระหว่าง 3 ปี ก่อนขอให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 ผู้รับโอนมีหน้าที่นำสืบว่าได้ทำโดยสุจริต มีค่าตอบแทน ไม่เหมือนการเพิกถอนการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 ซึ่งผู้ขอต้องนำสืบว่าโอนโดยไม่สุจริต
คดีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเพิกถอนการโอนเป็นคดีคำขอปลดเปลื้องทุกข์คำนวณเป็นราคาเงินไม่ได้