พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการรับเงินของหุ้นส่วนผู้จัดการหลังผู้จัดการอีกคนเสียชีวิต เงินฝากเป็นของห้างฯ
การที่หุ้นส่วนผู้จัดการคนหนึ่งนำเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัดไปฝากไว้กับจำเลย ในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ต่อมาเมื่อหุ้นส่วนผู้จัดการคนดังกล่าวถึงแก่กรรม หุ้นส่วนผู้จัดการผู้มีอำนาจอีกคนหนึ่งย่อมมีอำนาจรับเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรส การโอนกรรมสิทธิ์ และการเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนตัวหลังการเสียชีวิต
การที่คู่สมรสยกกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งเป็นสินสมรสเฉพาะส่วนของตนให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ถือได้ว่าคู่สมรสนั้นได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่าย ย่อมทำให้ที่ดินในส่วนที่เหลือหมดสภาพจากการเป็นสินสมรส และตกเป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง การให้อสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับนั้นจะสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. ก็ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่บ้านพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อทางพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติกรรม การให้ดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายกรรมสิทธิ์ในบ้านยังคงเป็นของผู้ให้ เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชร และเครื่องประดับอื่น ๆ คือสร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวน เข็มขัดนาก ซึ่งเป็นของภรรยามีราคาไม่มากนักเป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะแม้จะได้มาโดยสามีเป็นผู้หามาให้ หรือภรรยาหามาเองในระหว่างสมรสก็ยังคงเป็นสินส่วนตัวของภรรยา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4457/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันภัยยังคงมีผลแม้ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต หากรถยนต์ยังอยู่ในอายุการคุ้มครองและไม่มีการโอน
จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุนสำหรับการใช้รถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 ตามกรมธรรม์ประกันภัยกำหนดเรื่องการโอนรถยนต์ว่า กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับเมื่อผู้เอาประกันภัยได้โอนรถยนต์ให้บุคคลอื่นเว้นแต่รถยนต์ได้เปลี่ยนมือจากผู้เอาประกันภัยโดยพินัยกรรมหรือโดยบัญญัติกฎหมาย ข้อกำหนดดังกล่าวไม่ได้กำหนดเงื่อนไขให้กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับเพราะเหตุผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรม ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะถึงแก่กรรมก่อนเกิดเหตุ แต่ขณะเกิดเหตุ ว. ภรรยาของจำเลยที่ 2 เป็นทายาทและรับมรดกสืบสิทธิจากจำเลยที่ 2 ผู้ตายในฐานะผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 1 ซึ่งเดิมเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จึงยังคงเป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกคันที่เอาประกันภัยไว้โดย ว. ว่าจ้างต่อ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของ ว. ผู้เป็นนายจ้าง ว. จึงมีความผูกพันต้องรับผิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์มรดกจากทายาท: เริ่มนับเมื่อรู้ถึงการเสียชีวิตของเจ้ามรดก
โจทก์เป็นบุตรของเจ้ามรดกซึ่งเกิดกับ ส. แต่ขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายโจทก์ยังไม่คลอด คงมีแต่ ม. มารดาของเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ ม. จึงเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629(2) หลังจาก ส. มารดาโจทก์คลอด โจทก์แล้วโจทก์โดย ส. ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่ว่า ส. มารดาโจทก์กับ ม. มารดาเจ้ามรดก ซึ่งต่างเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ไม่มีอำนาจทำสัญญาแบ่งมรดกของเจ้ามรดก โจทก์จึงขอเรียกทรัพย์มรดกส่วนที่ ม.รับไปคืนจากจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้รับโอน ดังนี้ เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกคืนจากทายาท ต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความ 1 ปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อโจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 เมื่อศาลมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2522 ขณะนั้นโจทก์มี ส.มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมถือได้ว่าโจทก์โดย ส. ได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์มาฟ้องเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2525 เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความจำเลยทั้งสี่เป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกจาก ม. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมย่อมเป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1755.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังการเสียชีวิตของสามี โดยภริยาไม่มีสินเดิม และก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ล. ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แม้โจทก์และ ล.แยกกันอยู่แต่ไม่ปรากฏว่าได้หย่าขาดจากกัน ทั้งโจทก์และ ล. ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน ดังนั้นเมื่อ ล.ตายสินสมรสต้องแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โจทก์ได้ 1 ส่วนล. ได้ 2 ส่วน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 655/2495)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดการสมรสด้วยการตาย และสิทธิฟ้องเพิกถอนการสมรสหลังคู่สมรสเสียชีวิต
เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตายตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 คดีไม่มีความจำเป็นที่โจทก์จะมาฟ้องร้องขอให้เพิกถอนการสมรสนั้นอีกศาลพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843-1844/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจทำหน้าที่เป็นพินัยกรรมได้ หากแสดงเจตนาชัดเจนในการยกทรัพย์สินหลังเสียชีวิต
ผู้ตายเขียนกรอกข้อความในแบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจของกฎหมายที่ดิน แสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนไว้โดยเจตนายกทรัพย์สินของตนให้แก่โรงเรียน วัดมูลนิธิ และบุคคลต่างๆ ตามที่ระบุไว้ เมื่อตนได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว โดยให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการให้เป็นไปตามเจตนาของตน เอกสารนี้จึงเป็นพินัยกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1646
แม้แบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจจะมีข้อความบางตอนพิมพ์อยู่แล้ว แต่ถ้าตัดข้อความตามแบบพิมพ์นี้ออกไป คงเหลือแต่เฉพาะใจความที่ผู้ตายเขียนด้วยมือตนเองก็มีสาระสำคัญครบถ้วนเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับที่สมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657หาเป็นโมฆะไม่
แม้แบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจจะมีข้อความบางตอนพิมพ์อยู่แล้ว แต่ถ้าตัดข้อความตามแบบพิมพ์นี้ออกไป คงเหลือแต่เฉพาะใจความที่ผู้ตายเขียนด้วยมือตนเองก็มีสาระสำคัญครบถ้วนเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับที่สมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657หาเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2701/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลและไม่แจ้งการเสียชีวิตของโจทก์
วันนัดชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มภายในกำหนด 15 วัน โจทก์มิได้เสียตามกำหนด ศาลชั้นต้นจึงสั่งจำหน่ายคดีตามคำแถลงของจำเลยแม้ได้ความว่าตัวโจทก์ถึงแก่กรรมภายหลังวันนัดชี้สองสถานวันเดียว แต่ทนายโจทก์ก็หาได้แจ้งให้ศาลทราบและขอให้ศาลสั่งการเกี่ยวกับคำสั่งนั้นแต่ประการใดไม่ จึงเป็นความผิดของฝ่ายโจทก์เอง การที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(1) แล้ว
ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์ให้มาฟังคำสั่งและกำหนดวันพิจารณาในวันนัดชี้สองสถาน ได้ทราบคำสั่งนั้นถือได้ว่าโจทก์ได้ทราบกำหนดนัดดังกล่าวแล้ว
ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์ให้มาฟังคำสั่งและกำหนดวันพิจารณาในวันนัดชี้สองสถาน ได้ทราบคำสั่งนั้นถือได้ว่าโจทก์ได้ทราบกำหนดนัดดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารยกทรัพย์ระหว่างผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิต ไม่ถือเป็นพินัยกรรมบังคับใช้หลังเสียชีวิต จำเลยมีสิทธิปฏิเสธได้
ผู้ตายทำเอกสารไว้ มีข้อความว่า "กระผม พระรัตน์ โอภาโสขอมอบถวายท่านเจ้าคุณพระสมุทรเมธาจารย์ เรื่องทรัพย์สมบัติทุกอย่างที่มีอยู่ในขณะเป็นพระนี้ทั้งหมดห้ามมิให้ญาติผู้ใดมาเกี่ยวข้องด้วยโดยเด็ดขาด" ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าเป็นการแสดงถึงเจตนาของผู้ตายในการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินให้เกิดผลบังคับเมื่อได้ถึงแก่ความตายไปแล้วเลย จึงมิใช่พินัยกรรมคงเป็นเพียงหนังสือยกทรัพย์ให้ในระหว่างมีชีวิตเท่านั้นการที่ระบุห้ามมิให้ญาติผู้ใดมาเกี่ยวข้องด้วยโดยเด็ดขาดเป็นข้อความเขียนห้ามไว้ตามธรรมดา เพราะได้ยกให้ไปแล้ว จะแปลเลยไปถึงว่ามีความหมายเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินที่จะให้เกิดผลบังคับเมื่อตายหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามพินัยกรรม จำเลยย่อมมีสิทธิปฏิเสธในเรื่องพินัยกรรมที่เป็นมูลฟ้อง อันเป็นการปฏิเสธเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามพินัยกรรม จำเลยย่อมมีสิทธิปฏิเสธในเรื่องพินัยกรรมที่เป็นมูลฟ้อง อันเป็นการปฏิเสธเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาหลังเจ้าของสิทธิเสียชีวิต: ผู้รับมรดกไม่มีอำนาจฟ้องแทน หากการกระทำผิดเกิดขึ้นก่อนได้รับมรดก
จำเลยกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จเกี่ยวกับโฉนดที่ดินในขณะที่มารดาโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินตามโฉนดนั้นยังมีชีวิตอยู่มารดาโจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย แม้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรเป็นทายาทผู้รับมรดกที่ดินตามโฉนดนั้นเพิ่งทราบการกระทำของจำเลยหลังจากที่มารดาโจทก์ตายแล้ว โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137