คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การแก้ไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย & การแก้ไขรายงานพิจารณา
เจ้าหนี้เดิมได้บอกกล่าวการโอนให้จำเลยทราบแล้ว ย่อมเป็นการโอนที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะมีข้อโต้เถียงกันอยู่ลูกหนี้ก็ยกขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนได้ต่อไป
หนี้ที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ หากจะมีการปลดหนี้เช่นไม่ต้องเสียดอกเบี้ยต่อไป ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย
จำเลยขอแก้รายงานพิจารณาโดยอ้างว่าทนายแถลงรับเรื่องจำนวนหนี้เกินจำนวนที่เป็นจริงไม่ตรงกับคำให้การ มิได้อ้างว่าทนายทำไปโดยนอกเหนืออำนาจ ดั่งนี้ศาลไม่อนุญาตให้แก้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีควบคุมการก่อสร้างและการนับอายุความเริ่มเมื่อใด
พระราชกฤษฎีกาให้ใช้ พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างในเขตต์เพลิงไหม้ ตำบลสะแกกรัง พ.ศ.2479,ความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างในเขตต์เพลิงไหม้นั้น อัยยการมีอำนาจจะฟ้องร้องผู้กระทำผิดได้โดยไม่ต้องมีผู้มอบหมาย,ความผิดในการก่อสร้างผิดแบบแปลนนั้น ไม่ใช่เริ่มนับอายุความในวันลงมือก่อสร้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรม: ข้อกำหนดรูปแบบ, การแก้ไข, และการยกทรัพย์เพื่อการทำบุญ
พะยานผู้รับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการทำพินัยกรรม์ พ.ศ.2475 นั้นไม่จำต้องเขียนข้อความรับรองหรือลงวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรม์ด้วยตนเองอ้างฎีกาที่ 579/2479 แล 1036/2479 พินัยกรรม์ที่ประกอบด้วยเอกสารหลายแผ่นนั้นถ้าในแผ่นแรกมีข้อความพินัยกรรม์ ลายมือชื่อผู้ทำและลายมือชื่อพะยานอีก 2 คนก็นับว่าเป็นพินัยกรรม์สมบูรณ์แล้ว แม้จะมีพะยานเซ็นชื่อรับรองในกระดาษอีกแผ่น 1 ด้วยก็ไม่สำคัญ การขุดลบแก้ไขเพิ่มเติมในพินัยกรรม์นั้นถ้าหากมิใช่เป็นในข้อสาระสำคัญแห่งพินัยกรรม์หามีผลทำให้พินัยกรรม์นั้นเสียไปไม่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ม.13 พินัยกรรม์ที่มีข้อความยกทรัพย์ไว้เป็นกลางให้คน+แลญาติอาศัยกับให้ทำบุญนั้น ไม่เป็นการ่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15722/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อจำเลยในชั้นบังคับคดี: ไม่ถือเป็นการแก้ไขคำฟ้องใหม่ หากเป็นบุคคลเดียวกัน
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่านายสมเกียรติ คล้ายทอง กับนายสมเกียรติ์ คล้ายทอง เป็นบุคคลคนเดียวกัน การขอแก้ไขเพิ่มเติมชื่อนายสมเกียรติ์ เข้ามา จึงมิใช่เป็นกรณีฟ้องจำเลยที่ 3 ผิดตัวหรือฟ้องคดีต่างบุคคลกันและมิใช่เป็นการเพิ่มเติมข้อหาใหม่ หากแต่เป็นการเพิ่มเติมในรายละเอียดให้ชัดเจนถูกต้องตรงตามความเป็นจริง แม้จะอยู่ในชั้นบังคับคดี แต่ก็มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาหรือเป็นการบังคับคดีนอกเหนือไปจากคำพิพากษาอย่างใด ทั้งกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ฉะนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 180 และมาตรา 181 ที่จะต้องถูกจำกัดระยะเวลาการยื่นคำร้องว่าต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน และไม่จำต้องส่งสำเนาคำร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6022/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงโทษและขอบเขตการอุทธรณ์: ศาลฎีกาแก้ไขให้ชัดเจนว่าไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขัง
ศาลชั้นต้นเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังจำเลยแทน แม้โทษที่จะรอการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 56 ได้จะต้องเป็นโทษจำคุกเท่านั้นก็ตาม แต่การที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษจำคุกก็เท่ากับเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ (1) ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่ง และให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้มีกำหนด 2 ปี โดยไม่ได้กล่าวไว้ในคำพิพากษาว่าไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังก็หาได้เป็นคำพิพากษาที่มิชอบไม่ แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ชัดเจนโดยไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5481/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ต้องเป็นไปตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 108 บังคับให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และมาตรา 110 บัญญัติเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยให้นายจ้างประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น แต่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ ไม่ได้บัญญัติถึงกระบวนการที่นายจ้างและลูกจ้างต้องปฏิบัติเพื่อให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่กระบวนการดังกล่าวได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 10 วรรคสาม ซึ่งบัญญัติให้ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าในสถานประกอบกิจการมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือไม่ให้ถือว่าข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ดังนั้น หากผู้ร้องประสงค์จะแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง ผู้ร้องต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือมิฉะนั้นผู้ร้องจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 13 จนมีการเจรจาตกลงกันหรือหากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฯ ต่อไป
of 2