พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7851/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายและการห้ามฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อย
ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ได้บรรยายถึงเนื้อหาแห่งคำฟ้อง คำให้การของจำเลย คำพิพากษาศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชัดแจ้ง และเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 246 โจทก์หาจำต้องระบุทางนำสืบของคู่ความแต่ละฝ่ายมาในคำฟ้องอุทธรณ์ด้วยไม่
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์เพิ่มอีก 7,400 บาทเป็นการไม่ชอบ เพราะโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายนั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาว่าเมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว จำเลยมิได้คืนรถยนต์ให้โจทก์โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นจำนวนไม่เกินสองแสนบาท จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์เพิ่มอีก 7,400 บาทเป็นการไม่ชอบ เพราะโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายนั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาว่าเมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว จำเลยมิได้คืนรถยนต์ให้โจทก์โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นจำนวนไม่เกินสองแสนบาท จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการโต้แย้งความเสียหายจากราคาขายทอดตลาดที่ต่ำกว่าราคาตลาด จำเลยอ้างว่าไม่ทราบการบังคับคดี
ตามคำร้องของจำเลยคัดค้านว่าจำเลยเพิ่งทราบว่ามีการยึดที่ดินและนำออกขายทอดตลาด โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่เคยแจ้งการยึดและวันขายทอดตลาดให้จำเลยทราบมาก่อน ทั้งการขายทอดตลาดก็ต่ำกว่าราคาท้องตลาด ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เท่ากับจำเลยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และมีความหมายในเชิงปฏิเสธว่าวันที่ 18 มิถุนายน 2535อันเป็นวันขายทอดตลาดซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนนั้นจำเลยไม่ทราบมาก่อน ส่วนในข้อที่ว่าจำเลยทราบถึงการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนตั้งแต่เมื่อใดนั้น ยังไม่มีข้อเท็จจริงที่ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยข้อกฎหมายในข้อว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องล่วงเลยกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันทราบการฝ่าฝืนนั้นหรือไม่ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 296 วรรคท้าย แห่ง ป.วิ.พ. ทั้งจำเลยฎีกาโต้เถียงอยู่ว่าจำเลยเพิ่งทราบถึงการฝ่าฝืนดังกล่าวในวันยื่นคำร้อง และคดีก็ยังมีประเด็นโต้เถียงกันเรื่องราคาแท้จริงตามราคาท้องตลาดแห่งที่ดินพิพาทอีกด้วย สมควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการไต่สวนคำร้องของจำเลยต่อไปจนสิ้นกระแสความเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1051/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์ในคดีอาญา และการขอลดโทษนอกเหนือคำพิพากษา
ข้อหาความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก25 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง
ฎีกาว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำที่อุกอาจ และจำเลยให้การรับสารภาพเพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน มิได้ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยแก้ฎีกาว่าจำเลยกระทำผิดโดยบันดาลโทสะ มิได้มีเจตนาทำร้ายโจทก์ร่วม จำเลยสำนึกผิดแล้ว ขอให้ลดโทษจำเลยอีก 5 ปีเป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษานอกเหนือคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้องทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกาจะขอมาในคำแก้ฎีกาไม่ได้
ฎีกาว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำที่อุกอาจ และจำเลยให้การรับสารภาพเพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน มิได้ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยแก้ฎีกาว่าจำเลยกระทำผิดโดยบันดาลโทสะ มิได้มีเจตนาทำร้ายโจทก์ร่วม จำเลยสำนึกผิดแล้ว ขอให้ลดโทษจำเลยอีก 5 ปีเป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษานอกเหนือคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้องทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกาจะขอมาในคำแก้ฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดไต่สวนพยานและคำสั่งชั่วคราวก่อนพิพากษา: การโต้แย้งสิทธิอุทธรณ์และการสิ้นสุดของคำสั่ง
คำสั่งให้งดการไต่สวนพยานจำเลยที่ 1 ในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา หากคู่ความฝ่ายใดไม่เห็นด้วยและประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นในภายหลังจะต้องโต้แย้งคำสั่งให้ศาลจดลงไว้ในรายงาน คู่ความฝ่ายที่โต้แย้งจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 แต่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นสั่งงดไต่สวนเมื่อวันที่21 กุมภาพันธ์ 2534 และนัดฟังคำสั่งในวันรุ่งขึ้นเวลา 9 นาฬิกาทนายโจทก์ได้ทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว ดังนั้น ในช่วงเวลาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะอ่านคำสั่ง ย่อมมีเวลาเพียงพอที่โจทก์จะโต้แย้งคัดค้านได้ แต่ก็หาได้มีการโต้แย้งคัดค้านไม่ โจทก์จึงหมดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว อีกทั้งไม่อาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นข้อฎีกาได้ เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกาตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก (เดิม)แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาข้อนี้ของโจทก์ขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องคดีพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ศาลนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้โดยยื่นคำร้องขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉินรวมเข้ามาด้วยกรณีจึงเป็นไปตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 267 ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นำวิธีการชั่วคราวในกรณีมีเหตุฉุกเฉินมาใช้บังคับตามคำขอของโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอโดยพลันให้ศาลชั้นต้นยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเสีย ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วได้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเดิมตามคำขอของจำเลยที่ 1 คำสั่งดังกล่าว ย่อมเป็นที่สุด ทั้งนี้โดยมิพักต้องคำนึงถึงว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือพิจารณาฝ่ายเดียวหรือสองฝ่ายหรือไม่ เพราะแม้จะได้ความว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1 ในกรณีธรรมดาเพราะไม่มีเหตุฉุกเฉิน หรือพิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1 ชนิดสองฝ่ายก็ตาม คำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมของศาลชั้นต้นก็เป็นการสั่งตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง ที่บัญญัติว่าคำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุดอยู่นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชัดแจ้ง: การโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต้องระบุเหตุขัดแย้งที่ชัดเจน
จำเลยที่ 1 ฎีกาเฉพาะเรื่องค่าเสียหายโดยยกเอาคำวินิจฉัยตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มาเป็นข้อบรรยายแล้วสรุปว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ต้องด้วยคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เองเป็นทำนองว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีข้อความขัดแย้งกันเอง แต่ไม่มีข้อความบรรยายให้ปรากฏชัดว่าขัดแย้งในเรื่องใด เพราะเหตุใดจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3998/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: ศาลไม่สามารถพิพากษาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน หากจำเลยไม่ได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์นั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินเนื้อที่ประมาณ 28 ไร่ ตั้งอยู่บ้านโพนงานโคก ตำบลนาแก้วอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร โดยบิดามารดาของโจทก์ยกให้ เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2526 โจทก์ยื่นคำร้องขอจับจองที่ดินดังกล่าวต่อนายอำเภอเมืองสกลนคร จำเลยทั้งสิบโต้แย้งว่าเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดอรุณแสงทอง จึงขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง ดังนี้ แม้หากข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยทั้งสิบกระทำการตามฟ้องโจทก์จริง ก็ไม่อาจจะพิพากษาว่าที่ดินเป็นของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ เพราะจำเลยทั้งสิบมิได้แย้งว่าเป็นเจ้าของที่ดินที่แย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับอำนาจฟ้องศาลชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2561/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความครอบครองปรปักษ์: การครอบครองต่อเนื่องและการโต้แย้งสิทธิเดิมทำให้เกิดอายุความ
โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานรังวัดที่ดินพิพาทเพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แม้จำเลยได้ลงชื่อรับรองแนวเขตที่ดินในฐานะเจ้าของที่ดินข้างเคียงซึ่งเป็นการยอมรับสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์แล้วก็ตาม แต่อีกสองเดือนถัดมาจำเลยก็ได้คัดค้าการที่ทางราชการจะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในที่ดินพิพาท และจำเลยได้เข้าครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทตลอดมาเช่นนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนภายใน 1 ปีย่อมหมดสิทธิฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากโจทก์โต้เถียงเฉพาะข้อเท็จจริง โดยไม่คัดค้านคำวินิจฉัยข้อกฎหมายของศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเงินที่โจทก์ฝากไว้กับจำเลยย่อมตกเป็นของจำเลย การที่จำเลยโอนเงินที่รับฝากไว้ไปให้บุคคลอื่นจึงเป็นเรื่องที่โจทก์จะเรียกร้องเอาจากจำเลยในทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดฐานยักยอกแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ อันเป็นการยกฟ้องโดยอาศัยข้อกฎหมาย ดังนี้ โจทก์จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแต่เมื่อฎีกาของโจทก์คงโต้เถียงเฉพาะปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตหรือไม่เท่านั้น มิได้คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากรถร่วม: สำเนาเอกสารใช้ได้หากไม่มีการโต้แย้ง
สำเนาเอกสารจะคัดหรือถ่ายจากต้นฉบับหรือจากสำเนาไม่ใช่ข้อสำคัญข้อสำคัญอยู่ที่ว่าข้อความตามสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องตรงกับต้นฉบับหรือไม่เมื่อจำเลยไม่คัดค้านว่าเอกสารที่โจทก์ส่งศาลเป็นสำเนาที่ไม่ถูกต้องกับต้นฉบับทั้งมิได้คัดค้านว่าผู้รับรองความถูกต้องไม่มีอำนาจรับรองศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารได้ จำเลยที่3ยอมให้จำเลยที่1นำรถยนต์โดยสารเข้ามาเดินในเส้นทางที่ตนได้รับสัมปทานและทำสัญญารถร่วมต่อกันรถยนต์โดยสารของจำเลยที่1ที่เดินรับส่งผู้โดยสารในเส้นทางย่อมถือว่าเป็นกิจการของจำเลยที่3ด้วยต่อมาสัญญารถร่วมระหว่างจำเลยที่1และที่3หมดอายุลงแต่จำเลยที่3ยังยอมให้จำเลยที่1นำรถยนต์โดยสารมาเดินรับส่งผู้โดยสารในเส้นทางอีกจนเกิดเหตุละเมิดขึ้นจำเลยที่3ย่อมจะต้องรับผิดในผลละเมิดซึ่งเกิดจากการกระทำของจำเลยที่2ลูกจ้างของจำเลยที่1ซึ่งขับรถในทางการที่จ้างของจำเลยที่1ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งข้อเท็จจริงในชั้นฎีกาและการพิจารณาบาดแผลสาหัสเพื่อลงโทษอาญา
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยแทงผู้เสียหายก่อน ผู้เสียหายแย่งมีด จำเลยสะบัดหลุด แล้วแทงหน้าท้องผู้เสียหายและดึงปืนไปจากเอวผู้เสียหายและวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน การที่จำเลยฎีกาว่า ผู้เสียหายชักปืนออกก่อนแล้วกระชากลูกเลื่อน จำเลยจึงเข้ากอดปล้ำและแทงหน้าท้องผู้เสียหายเป็นการป้องกัน จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จำเลยจึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ผู้เสียหายถูกจำเลยใช้มีดพกปลายแหลมยาวประมาณ 1 ฟุต แทงมีบาดแผล 3 แห่ง คือ ที่ชายโครงขวา 2 แผล ขอบเรียบ 5 เซนติเมตร ลึกกล้ามเนื้อขาดเป็นรูปปากฉลาม ที่ด้านหลังซ้ายขอบเรียบ 1 เซนติเมตร แผลลึกที่หัวไหล่ซ้ายขอบเรียบ 1 เซนติเมตร แผลตื้นแพทย์ผู้ตรวจรักษาเบิกความว่า บาดแผลที่ 1 ลึกมากเป็นแผลสำคัญ ถูกกล้ามเนื้อและเส้นเลือด มีอาการเลือดออกมาก ผู้เสียหายรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 7 - 8 วัน ก็ไปรักษาตัวต่อที่บ้าน ระหว่างรักษาตัวผู้เสียหายว่า ไม่สามารถไปทำนาได้ตามปกติผู้เสียหายไปให้การในชั้นสอบสวนหลังเกิดเหตุ 25 วัน ว่าบาดแผลภายนอกหายแล้วแต่ยังรู้สึกเจ็บข้างในแถวลิ้นปี่กับเอว เชื่อว่าผู้เสียหายมีอาการป่วยเจ็บจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน ซึ่งเป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297
ผู้เสียหายถูกจำเลยใช้มีดพกปลายแหลมยาวประมาณ 1 ฟุต แทงมีบาดแผล 3 แห่ง คือ ที่ชายโครงขวา 2 แผล ขอบเรียบ 5 เซนติเมตร ลึกกล้ามเนื้อขาดเป็นรูปปากฉลาม ที่ด้านหลังซ้ายขอบเรียบ 1 เซนติเมตร แผลลึกที่หัวไหล่ซ้ายขอบเรียบ 1 เซนติเมตร แผลตื้นแพทย์ผู้ตรวจรักษาเบิกความว่า บาดแผลที่ 1 ลึกมากเป็นแผลสำคัญ ถูกกล้ามเนื้อและเส้นเลือด มีอาการเลือดออกมาก ผู้เสียหายรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 7 - 8 วัน ก็ไปรักษาตัวต่อที่บ้าน ระหว่างรักษาตัวผู้เสียหายว่า ไม่สามารถไปทำนาได้ตามปกติผู้เสียหายไปให้การในชั้นสอบสวนหลังเกิดเหตุ 25 วัน ว่าบาดแผลภายนอกหายแล้วแต่ยังรู้สึกเจ็บข้างในแถวลิ้นปี่กับเอว เชื่อว่าผู้เสียหายมีอาการป่วยเจ็บจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน ซึ่งเป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297