พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6868/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินที่เป็นสินสมรสโดยผู้รับโอนรู้อยู่แล้วว่าเป็นการโอนจากคู่สมรสโดยไม่สุจริต สิทธิในการเพิกถอนนิติกรรม
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วย กฎหมาย ที่ดินและบ้านพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ และติดจำนองธนาคารเป็น ประกันหนี้เงินกู้จำนวน 1,000,000 บาท ต่อมา จำเลยที่ 1 ไถ่ถอนจำนองและขายที่ดินกับบ้าน ดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 ราคา 1,300,000 บาท ปัญหาจึงมีว่าคำพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ที่วินิจฉัยว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จะมีผลผูกพันและใช้ยันจำเลยที่ 2ได้หรือไม่ และโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทของจำเลยทั้งสองหรือไม่ ซึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคสอง(2)บัญญัติว่าคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงมีภาระการพิสูจน์ที่จะต้องแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 มีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทดีกว่าโจทก์ หากจำเลยที่ 2 ไม่สามารถพิสูจน์แสดงสิทธิที่ดีกว่าได้ คำพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางดังกล่าว ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 รู้จักคุ้นเคยใกล้ชิดสนิทสนมกันมาเป็นเวลานานนับ 10 ปี โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้แนะนำให้โจทก์รู้จักจำเลยที่ 1 จนกระทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1เป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองประกอบธุรกิจด้วยกัน โจทก์อาศัยอยู่ในบ้านที่พิพาทเพียงลำพังคนเดียวและใช้บ้านพิพาทเป็นที่ตั้งบริษัทประกอบธุรกิจของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ออกไปอาศัยอยู่ที่อื่นต่างหากและจำเลยทั้งสองได้พูดคุยเกี่ยวกับการฟ้องหย่ากับโจทก์จึงมีเหตุผลเชื่อว่าจำเลยที่ 2 ทราบถึงฐานะและความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มาโดยตลอดและทราบว่าโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาทด้วย ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินและบ้านพิพาทมาโดยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงไม่อาจอ้างได้ว่าตนมีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทดีกว่าโจทก์คำพิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจึงผูกพันจำเลยที่ 2การที่จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1โดยโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอมด้วย จึงเป็นการรับโอนโดย ไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขาย ที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5422/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในเช็คยังไม่โอน การยึดเช็คไว้ไม่เป็นลักทรัพย์
โจทก์รับจ้างซ่อมเครื่องถ่ายเอกสารให้บริษัท ส.ต่อมาโจทก์ได้ให้ น. ลูกจ้างโจทก์ไปรับเงินค่าซ่อมเครื่องถ่ายเอกสารจากบริษัท ส. น. ไปพบจำเลยซึ่งนั่งอยู่ที่ห้องฝ่ายการเงิน จำเลยให้ น. ลงชื่อในเอกสารเพื่อรับเช็คแล้วจำเลยไม่ยอมส่งมอบเช็คให้แก่ น. โดยอ้างว่าจำเลยจะติดต่อโจทก์เอง ดังนี้ แม้เช็คพิพาทเป็นเช็คที่บริษัท ส. ออกให้เพื่อชำระค่าซ่อมเครื่องถ่ายเอกสารให้แก่โจทก์ก็ตามแต่จำเลยยังไม่ได้ส่งมอบเช็คให้โจทก์อีกทั้ง น. ลูกจ้างของโจทก์ ก็ยังไม่ได้เข้ายึดถือครอบครองเอาเช็คพิพาทไว้ โจทก์จึงยังไม่เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ในเช็คพิพาทยังอยู่ในความครอบครองของ บริษัท ส.การที่จำเลยให้ น.ลงชื่อในเอกสารว่าได้รับเช็คพิพาทแต่จำเลยก็ยึดถือเช็คพิพาทไว้ ไม่ส่งมอบให้น.ตัวแทนโจทก์ก็ยังไม่ถือว่าการครอบครองในเช็คพิพาทได้ผ่านมือไปยังโจทก์โดยแท้จริงแน่นอน เพราะเช็คพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ส.ซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยอยู่ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการเอาทรัพย์ ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5051/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกและการโอนให้ผู้อื่น สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดก
ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ค. เมื่อ ค.ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก แล้วจำเลยที่ 1 ได้ใส่ชื่อของตนในฐานะผู้จัดการมรดกลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินทรัพย์มรดก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นทุกคน เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นเช่นเดียวกัน โจทก์ในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ค.จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่พิพาทได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง โดยไม่มีอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนระหว่างจำเลยทั้งสาม และให้จำเลยทั้งสามแบ่งที่พิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสามให้การตอนแรกว่า ที่พิพาทตกเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งได้รับยกให้จากค.ก่อนตาย แต่ให้การตอนหลังว่า หากที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้แย่งการครอบครองที่พิพาท เช่นนี้เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งและขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง แต่คำให้การดังกล่าวเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง ทั้งการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ดังนี้ คดีจึงยังคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ แต่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง
คดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง และเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งชี้ขาดว่า ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองจำเลยทั้งสามก็ไม่โต้แย้งคัดค้าน จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าโจทก์สิ้นสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครอง
โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนระหว่างจำเลยทั้งสาม และให้จำเลยทั้งสามแบ่งที่พิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสามให้การตอนแรกว่า ที่พิพาทตกเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งได้รับยกให้จากค.ก่อนตาย แต่ให้การตอนหลังว่า หากที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้แย่งการครอบครองที่พิพาท เช่นนี้เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งและขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง แต่คำให้การดังกล่าวเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง ทั้งการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ดังนี้ คดีจึงยังคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ แต่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง
คดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง และเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งชี้ขาดว่า ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองจำเลยทั้งสามก็ไม่โต้แย้งคัดค้าน จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าโจทก์สิ้นสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5051/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกและการโอนให้ผู้อื่น ผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกของทายาท
ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ค.เมื่อค. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้ง จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก แล้วจำเลยที่ 1 ได้ใส่ชื่อ ของตนในฐานะผู้จัดการมรดกลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ที่ดินทรัพย์มรดก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองที่พิพาทแทน ทายาทอื่นทุกคน เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่พิพาท จากจำเลยที่ 1 ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ครอบครอง ที่พิพาทแทนทายาทอื่นเช่นเดียวกัน โจทก์ในฐานะทายาท ผู้มีสิทธิรับมรดกของ ค. จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่พิพาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง โดยไม่มีอายุความ โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนระหว่างจำเลยทั้งสาม และให้จำเลยทั้งสามแบ่งที่พิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสามให้การตอนแรกว่าที่พิพาทตกเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งได้รับยกให้จากค. ก่อนตาย แต่ให้การตอนหลังว่า หากที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้แย่งการครอบครองที่พิพาท เช่นนี้เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งและขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองแต่คำให้การดังกล่าวเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง ทั้งการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ดังนี้ คดีจึงยังคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ แต่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง คดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองและเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งชี้ขาดว่า ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองจำเลยทั้งสามก็ไม่โต้แย้งคัดค้าน จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าโจทก์สิ้นสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเป็นสาธารณสมบัติ แม้ด้วยวาจา ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย และจำกัดสิทธิการโอน/ใช้ประโยชน์
การสละที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ว่า จะเป็นการแสดงเจตนายกให้ด้วยวาจา ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายเมื่อที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ย่อมไม่สามารถโอนให้แก่กันได้โดยทางนิติกรรม ช. เจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนสามารถใช้ร่วมกันไปแล้วแม้จำเลยจะได้รับโอนที่ดินพิพาทจาก ช. เจ้าของเดิม จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และไม่มีสิทธิขัดขวางมิให้โจทก์และราษฎรคนอื่นเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2)ศาลจึงไม่อาจห้ามจำเลยมิให้เข้าไปเกี่ยวข้องเสียทั้งหมดได้เพราะเป็นการขัดวัตถุประสงค์ของการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทนี้ ศาลจึงห้ามได้เฉพาะกรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยที่มิใช่เป็นไปเพื่อการใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้โฉนดไม่ชอบและมีการโอนทางทะเบียน สิทธิครอบครองปรปักษ์ยังคงมีผล
ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 2 ไร่ 49 ตารางวา รวมอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 ของน.บิดาจำเลย โดยน.ออกโฉนดรังวัดทับที่ดินโจทก์ ซึ่งเป็นการออกโฉนดโดยมิชอบ ต่อมา น.บิดาจำเลยได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย และจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา เกิน 10 ปีแล้ว จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โดยทางครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แม้จำเลย ยังมิได้จดทะเบียนการได้ที่ดินพิพาทโดยทางครอบครองปรปักษ์อันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ น. บิดาจำเลยได้มาโดยไม่ชอบและจำเลยได้รับโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวมาโดยการยกให้ทางทะเบียนได้ก็ตามแต่การเพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าวคงมีผลเฉพาะเป็นการเพิกถอนโฉนดที่ดินทางทะเบียนเท่านั้นเป็นผล ให้จำเลยไม่มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ตามโฉนดที่ดินโดยการยกให้ แต่ไม่เป็นเหตุให้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยซึ่งได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยทางครอบครองปรปักษ์ สิทธิของจำเลยซึ่งยังมิได้จดทะเบียนนั้นจำเลยย่อมยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ ไม่ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสองเพราะโจทก์มิใช่เป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดย เสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7329/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อนาของผู้เช่าเมื่อผู้ให้เช่าขายโดยไม่แจ้งตามกฎหมาย: นับระยะเวลาจากครั้งแรกที่โอน
กรณีผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 53 วรรคหนึ่งกล่าวคือ มิได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบ โดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนาพร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธาน คชก. ตำบลเพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวัน ไม่ว่านานั้นจะถูกโอนต่อไปยังผู้ใด ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอน แต่ผู้เช่านาจะต้องใช้สิทธิซื้อนาดังกล่าวภายในกำหนดสองปีนับแต่วันที่ผู้เช่านารู้หรือควรจะรู้หรือภายในกำหนดสามปีนับแต่ผู้ให้เช่านาโอนนานั้นและผู้เช่านาจะต้องใช้สิทธิซื้อนาภายในกำหนดดังกล่าว นับแต่ผู้ให้เช่านาโอนนาเป็นครั้งแรก เพราะผู้เช่านามีสิทธิใช้สิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนตามบทบัญญัติดังกล่าวทันทีมิใช่มีสิทธิใช้สิทธิซื้อนาทุกครั้งที่มีการโอนนาให้แก่ผู้รับโอนรายต่อ ๆ มา มิฉะนั้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็จะไม่มีโอกาสได้ใช้ เนื่องจากต้องนับระยะเวลาใหม่ตลอดเวลาที่มีการโอนต่อ ๆ ไป
ช. ได้ขายนาแปลงพิพาทนี้ให้ อ. ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2527 โดยจำเลยที่ 1ผู้เช่านาจาก ช. มิได้ใช้สิทธิซื้อที่นาดังกล่าวจาก อ. ภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่ช. โอนที่นาแปลงนี้ให้ อ. การที่จำเลยที่ 1 มายื่นคำร้องต่อ คชก. แขวงลำต้อยติ่งอ้างว่า อ. ขายนาแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ และ จ. ต่อมาโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ขอให้โจทก์ผู้รับโอนขายนาให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้เช่านาเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535 ซึ่งล่วงเลยเวลาที่ ช. ขายนาแปลงนี้ให้แก่ อ. ประมาณ 7 ปี จำเลยที่ 1 จึงหมดสิทธิซื้อที่นาดังกล่าวตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ช. ได้ขายนาแปลงพิพาทนี้ให้ อ. ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2527 โดยจำเลยที่ 1ผู้เช่านาจาก ช. มิได้ใช้สิทธิซื้อที่นาดังกล่าวจาก อ. ภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่ช. โอนที่นาแปลงนี้ให้ อ. การที่จำเลยที่ 1 มายื่นคำร้องต่อ คชก. แขวงลำต้อยติ่งอ้างว่า อ. ขายนาแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ และ จ. ต่อมาโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ขอให้โจทก์ผู้รับโอนขายนาให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้เช่านาเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535 ซึ่งล่วงเลยเวลาที่ ช. ขายนาแปลงนี้ให้แก่ อ. ประมาณ 7 ปี จำเลยที่ 1 จึงหมดสิทธิซื้อที่นาดังกล่าวตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7329/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อนาของผู้เช่าเมื่อผู้ให้เช่าขายโดยไม่แจ้งตามกฎหมาย: นับระยะเวลาตั้งแต่การโอนครั้งแรก
กรณีผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 53 วรรคหนึ่งกล่าวคือ มิได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบ โดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนาพร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธาน คชก. ตำบลเพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวัน ไม่ว่านานั้นจะถูกโอนต่อไปยังผู้ใด ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอน แต่ผู้เช่านาจะต้องใช้สิทธิซื้อนาดังกล่าวภายในกำหนดสองปีนับแต่วันที่ผู้เช่านารู้หรือควรจะรู้หรือภายในกำหนดสามปีนับแต่ผู้ให้เช่านาโอนนานั้นและผู้เช่านาจะต้องใช้สิทธิซื้อนาภายในกำหนดดังกล่าว นับแต่ผู้ให้เช่านาโอนนาเป็นครั้งแรก เพราะผู้เช่านามีสิทธิใช้สิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนตามบทบัญญัติดังกล่าวทันทีมิใช่มีสิทธิใช้สิทธิซื้อนาทุกครั้งที่มีการโอนนาให้แก่ผู้รับโอนรายต่อ ๆ มา มิฉะนั้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็จะไม่มีโอกาสได้ใช้ เนื่องจากต้องนับระยะเวลาใหม่ตลอดเวลาที่มีการโอนต่อ ๆ ไป
ช.ได้ขายนาแปลงพิพาทนี้ให้อ. ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2527 โดยจำเลยที่ 1ผู้เช่านาจาก ช.มิได้ใช้สิทธิซื้อที่นาดังกล่าวจากอ. ภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่ช.โอนที่นาแปลงนี้ให้อ.การที่จำเลยที่1มายื่นคำร้องต่อคชก.แขวงลำต้อยติ่งอ้างว่า อ. ขายนาแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ และ จ. ต่อมาโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ขอให้โจทก์ผู้รับโอนขายนาให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้เช่านาเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535 ซึ่งล่วงเลยเวลาที่ ช.ขายนาแปลงนี้ให้แก่อ. ประมาณ 7 ปี จำเลยที่ 1 จึงหมดสิทธิซื้อที่นาดังกล่าวตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ช.ได้ขายนาแปลงพิพาทนี้ให้อ. ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2527 โดยจำเลยที่ 1ผู้เช่านาจาก ช.มิได้ใช้สิทธิซื้อที่นาดังกล่าวจากอ. ภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่ช.โอนที่นาแปลงนี้ให้อ.การที่จำเลยที่1มายื่นคำร้องต่อคชก.แขวงลำต้อยติ่งอ้างว่า อ. ขายนาแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ และ จ. ต่อมาโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ขอให้โจทก์ผู้รับโอนขายนาให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้เช่านาเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535 ซึ่งล่วงเลยเวลาที่ ช.ขายนาแปลงนี้ให้แก่อ. ประมาณ 7 ปี จำเลยที่ 1 จึงหมดสิทธิซื้อที่นาดังกล่าวตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดก: สิทธิของผู้รับโอนโดยสุจริต
แม้การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกอยู่ในฐานะครอบครองทรัพย์มรดกคือที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีโฉนดแทนทายาทได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเปลี่ยนแปลงฐานะผู้จัดการมรดกเป็นฐานะส่วนตัวแต่เพียงผู้เดียว จำเลยที่ 1 ยังคงไม่ได้สิทธิในส่วนมรดกของโจทก์ทั้งสองก็ตาม แต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยที่ 1 โอนขายทรัพย์มรดกพิพาทนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยมีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้จดทะเบียนรับโอนสิทธิมาโดยสุจริต กรณีย่อมต้องด้วยข้อยกเว้นตามป.พ.พ.มาตรา 1300 ซึ่งคุ้มครองเป็นพิเศษ สิทธิของจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนจึงดีกว่าจำเลยที่ 1 ผู้โอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5238/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: ค่าธรรมเนียมการโอนและอำนาจศาลในการห้ามเกี่ยวข้องกับที่ดิน
โจทก์และห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ตกลงจะซื้อขายที่ดินพิพาทตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายโดยไม่ได้ตกลงในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นพิเศษแตกต่างไปจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยที่ 1 ผู้จะขายจึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสิ้นแทนโจทก์อันจะทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3ผู้เป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1เช่นนั้นด้วย โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์มิใช่ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามออกจากที่ดินพิพาทของโจทก์หรือฟ้องเรียกที่ดินพิพาทของโจทก์คืนจากจำเลยทั้งสาม ศาลจึงไม่มีอำนาจพิพากษาห้ามจำเลยทั้งสามและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท