คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การโอนกรรมสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินวัด: สิทธิความเป็นเจ้าของยั่งยืน แม้มีการครอบครองนานปี
โจทก์เป็นวัดในพระพุทธศาสนา ตราบใดที่ยังมิได้มีพระราชบัญญัติให้โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ของโจทก์ แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทมานานเท่าใด จำเลยก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ทั้งไม่อาจยกระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 ขึ้นเป็นข้อโต้แย้งกับโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส, การแบ่งทรัพย์สิน, มรดก, การโอนกรรมสิทธิ์, สิทธิในทรัพย์สิน
บิดาโจทก์ยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสของบิดาโจทก์กับผู้ตายเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ไปแล้ว ถือได้ว่าบิดาโจทก์กับผู้ตายได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่าย ย่อมทำให้ที่ดินในส่วนที่เหลือหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย ส่วนบ้านนั้นบิดาโจทก์ได้ทำพินัยกรรมยกส่วนของตนครึ่งหนึ่งให้โจทก์แล้วเช่นกัน ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจึงตกเป็นของผู้ตายแต่ผู้เดียว
ผู้ตายไปยื่นคำขอจดทะเบียนนิติกรรมให้บ้านพิพาทในส่วนของตนให้แก่โจทก์ แต่การให้บ้านพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับนั้นจะสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ก็ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติกรรม การให้ดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย กรรมสิทธิ์ในบ้านส่วนที่เป็นของผู้ตายยังคงเป็นของผู้ตายเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300
โจทก์ไม่ได้เป็นทายาท ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดก ย่อมไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์สินที่ดินพิพาทและครึ่งหนึ่งของบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายให้บุคคลอื่นได้
เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชร แหวน เข็มขัดนาก และเครื่องประดับอื่น ๆ ตามฟ้องเป็นเครื่องประดับกายซึ่งรวมกันแล้วมีราคาไม่มาก เมื่อพิจารณาตามฐานะและรายได้ของบิดาโจทก์และผู้ตายแล้ว เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของผู้ตายแม้ผู้ตายได้มาโดยบิดาโจทก์เป็นผู้หามาให้หรือผู้ตายหาเองในระหว่างสมรสก็ตาม ก็เป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองรถยนต์โดยไม่สุจริตของผู้ซื้อรายแรก ทำให้สิทธิในรถยนต์ของผู้ซื้อรายหลังมีน้ำหนักกว่า
โจทก์ทราบอยู่แล้วว่าจำเลยได้ขายรถยนต์พิพาทให้ผู้ร้องสอดแต่กลับรับรถยนต์นั้นไว้ก่อน กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้การครอบครองรถยนต์ไว้โดยสุจริต การที่โจทก์นิ่งเสียไม่แจ้งเรื่องที่โจทก์ได้ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยให้ผู้ร้องสอดทราบในขณะที่ผู้ร้องสอดและจำเลยทำสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทกันยังไม่เสร็จ ย่อมทำให้ผู้ร้องสอดหลงผิดเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทให้ผู้ร้องสอดได้ ดังนี้ โจทก์จะมาอ้างในภายหลังว่ารถยนต์ดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้ว จำเลยไม่มีกรรมสิทธิ์ที่จะโอนให้ผู้ร้องสอดอีก เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3232-3233/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าของเดิมในการโอนกรรมสิทธิ์
จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์จะขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจัดการเพิกถอนชื่อโจทก์แล้วใส่ชื่อจำเลยหาได้ไม่ เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่อย่างใดในทางนิติกรรมที่จะต้องโอนที่พิพาทให้แก่จำเลย เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องดำเนินการให้มีชื่อของตนในโฉนดต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3088/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขาย การปฏิบัติตามสัญญา และผลของการผิดสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันเป็นหนังสือ แม้จะมีการวางมัดจำด้วยก็ถือได้ว่าการวางมัดจำเป็นแต่เพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้น หาใช่ทำสัญญากันด้วยการวางมัดจำไม่ การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อตกลงเพิ่มเติมว่าจำเลยจะต้องรื้อบ้านหรือไถ่ถอนจำนองก่อนจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ จึงเป็นข้อความที่เพิ่มเติมจากสัญญาต้องห้ามมิให้รับฟังและถือไม่ได้ว่ามีข้อตกลงดังกล่าว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1545/2492)
เมื่อระยะเวลาตามสัญญาได้ล่วงพ้นไปแล้ว จำเลยได้กำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ปฏิบัติการชำระหนี้ โดยจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ในการโอนที่ดินให้โจทก์ในวันที่กำหนดตามหนังสือบอกกล่าว จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องมารับโอนและชำระราคาในวันนัด การที่โจทก์ไม่มารับโอนและไม่ชำระราคาโดยไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ตามกฎหมายจึงถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบมัดจำได้ แม้โจทก์จะกำหนดเวลาโอนขึ้นใหม่ในภายหลังก็ไม่มีผล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3910/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การบังคับตามสัญญาต่างตอบแทน และผลของการผิดสัญญา
แม้สัญญาเอกสารหมาย ล.3 ข้อ 10 ระบุไว้ว่า "ข้อตกลงใดที่กระทำด้วยวาจานอกเหนือจากที่บันทึกไว้แล้วนี้ต่อหน้านายพิเชษฐพันธุ์วิชาติกุล ทนายความ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้มอบให้เป็นผู้ดำเนินการประนีประนอมจนเกิดเป็นข้อตกลงนี้ทั้งหมด ให้นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุลเป็นผู้ชี้ขาด" แต่เมื่อสัญญานี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลย อันมีผลให้โจทก์จำเลยต่างได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญาดังกล่าว ดังนั้นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยด้วยวาจาอย่างใดที่มิได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในสัญญานี้คู่ความจะนำพยานบุคคลมาสืบเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาดังกล่าวไม่ได้ เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 (ข)
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งคู่สัญญาจำต้องปฏิบัติต่อกันตามสัญญาที่ระบุไว้ทุกข้อ อันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนนั้นเมื่อฝ่ายหนึ่งยังมิได้ปฏิบัติการชำระหนี้ให้ครบถ้วนตามสัญญา ก็จะหยิบยกข้อตกลงเฉพาะข้อหนึ่งข้อใดมาบังคับเอากับอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อเป็นประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยสุจริต ไม่ผูกพันสิทธิสัญญาเช่าเดิมระหว่างจำเลยกับเจ้าของที่ดิน
การซื้อขายที่ดินเป็นเรื่องโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สิน ผู้มีกรรมสิทธิ์ย่อมมีอำนาจขายได้ สิทธิของจำเลยกับเจ้าของที่ดินตามที่อ้างว่าได้ทำสัญญากันไว้ให้จำเลยมีโอกาสซื้อที่ดินส่วนที่จำเลยเช่าได้ก่อนคนอื่นนั้นไม่ผูกพันโจทก์หากเจ้าของที่ดินผิดสัญญากับจำเลยก็ชอบที่จะว่ากล่าวกันต่างหาก การซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับเจ้าของที่ดินมิใช่กรณีที่มีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่ประการใด นิติกรรมหาเป็นโมฆะกรรมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่านาเดิมก่อนพ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา ใช้บังคับ สิทธิการเช่ายังคงอยู่ แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์
โจทก์ทำสัญญาเช่านาจำเลยก่อนพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาพ.ศ.2517 ใช้บังคับ เมื่อสัญญานี้ยังไม่ระงับ และเป็นสัญญาที่มีกำหนดเวลาต่ำกว่า 6 ปี จึงมีผลให้การเช่ามีกำหนดเวลา 6 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ
การโอนกรรมสิทธิ์นาที่ให้เช่าหาทำให้สัญญาเช่าระงับไปไม่ ผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้ไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
การยกกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดให้แก่กัน แม้จะไม่ได้จดทะเบียนการโอนก็ตาม แต่ถ้าผู้รับให้ได้เข้าครอบครองถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของโดยความสงบและเปิดเผยตลอดมาเมื่อผู้รับให้ถึงแก่กรรม บุตรของผู้รับให้ได้สืบสิทธิครอบครองต่อมาติดต่อรวมกันเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว บุตรของผู้รับให้ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1758-1759/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินวัดเป็นอสังหาริมทรัพย์พิเศษ การได้มาโดยรังวัดออกโฉนดหรือโอนทางทะเบียนใช้ยันวัดไม่ได้ แม้ครอบครองนานก็ไม่เกิดกรรมสิทธิ์
ที่ดินของวัดนั้นกรรมสิทธิ์จะโอนไปได้ก็แต่โดยการออกพระราชบัญญัติเท่านั้น ที่พิพาทอยู่ในเขตพระพุทธบาทซึ่งพระเจ้าทรงธรรมได้อุทิศไว้แต่โบราณกาล โดยมีวัดพระพุทธบาทเป็นผู้ดูแล แม้จำเลยจะได้รับโฉนดสำหรับที่พิพาทมา ก็หาถือได้ว่าเป็นการได้มาโดยการออกเป็นพระราชบัญญัติไม่ จำเลยจึงไม่อาจยกเอาการได้ที่ดินมาโดยการรังวัดออกโฉนดหรือโดยการโอนชื่อทางทะเบียนใช้ยันต่อวัดได้แม้จำเลยจะได้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาเป็นเวลานานเท่าใด ก็ไม่มีทางที่จะแย่งเอากรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเป็นของวัดไปเป็นของตนได้ และแม้ทางวัดจะได้ปล่อยปละละเลยไว้เป็นเวลานานกว่าจะได้ใช้สิทธิติดตามว่ากล่าวเอาจากจำเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินของวัดก็หาระงับสิ้นสุดไม่
โจทก์อ้างเอกสาร พระราชพงศาวดารเกี่ยวกับตำนานพระพุทธบาทเป็นพยานว่า พระพุทธบาทได้ถูกค้นพบในรัชกาลพระเจ้าทรงธรรมระหว่างปี พ.ศ. 2163 - 2271 แล้ว พระเจ้าทรงธรรมทรงโสมนัสศรัทธาจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างมหาเจดีย์สถานมีพระมณฑปสวมรอยพระพุทธบาทและพระสังฆารามที่พระภิกษุสงฆ์อยู่บริบาล และได้ทรงพระราชอุทิศที่โยชน์หนึ่งโดยรอบรอยพระพุทธบาทถวายเป็นพุทธบูชากัลปนาผลนอกจากเอกสาร โจทก์ยังนำสืบผู้ที่สูงอายุเป็นพยานประกอบหลายปากว่าต่างได้รับทราบได้ยินได้ฟังสืบต่อกันมาตรงกันว่า พระเจ้าทรงธรรมได้ทรงอุทิศที่ดินถวายโดยรอบพระพุทธบาทมีอาณาเขตถึงหนึ่งโยชน์โดยรอบ ข้อความที่เล่าสืบกันมาทางประวัติศาสตร์นี้รับฟังประกอบกับหลักฐานพระราชพงศาวดารของทางราชการได้
of 3