พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางร่วม: ข้อตกลงส่วนตัวมิใช่ภารจำยอม แม้ใช้ทางต่อเนื่องก็ไม่เกิดสิทธิภารจำยอม
การที่จ. เจ้าของที่ดินเดิมใช้ทางพิพาทร่วมกับจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามข้อตกลงยินยอมอนุญาตให้ใช้ทางร่วมกันมิใช่การใช้ทางโดยเจตนาจะให้ได้ภารจำยอมจึงไม่อาจได้ภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1401เมื่อโจทก์ที่1ซื้อที่ดินจากจ. มาเมื่อปี2534และใช้ทางพิพาทต่อมาจนถึงปี2535จึงไม่ได้ภารจำยอมเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมไม่เกิดจากการใช้ทางของเพียงผู้เช่า แม้ใช้ต่อเนื่องนานปี
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ทั้งสี่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น โดยไม่มีรายละเอียดว่านอกฟ้องนอกประเด็นอย่างไร จึงไม่เป็นฎีกาที่ชัดแจ้ง ทั้งปรากฏว่าศาลอุทธรณ์เห็นชอบกับศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 ไม่มีอะไรให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์อันจะต้องโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงไม่เป็นฎีกาที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัย
ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของสามยทรัพย์ การใช้ทางพิพาทขนส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเพียงผู้เช่าที่ดินของกระทรวงการคลังเท่านั้น มิได้เป็นการใช้แทนหรือทำในนามหรือเพื่อประโยชน์ของกระทรวงการคลังอันจะก่อให้เกิดภาระจำยอมในสามยทรัพย์ การใช้ทางพิพาทของจำเลยที่ 1 จึงไม่เกิดภาระจำยอม แม้จะใช้มาเป็นเวลา 10 ปีเศษจำเลยที่ 1 ผู้เช่าจะอ้างสิทธิว่าได้ใช้ทางพิพาทจนได้ภาระจำยอมแก่เจ้าของที่ดินผู้ให้เช่าหาได้ไม่
ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของสามยทรัพย์ การใช้ทางพิพาทขนส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเพียงผู้เช่าที่ดินของกระทรวงการคลังเท่านั้น มิได้เป็นการใช้แทนหรือทำในนามหรือเพื่อประโยชน์ของกระทรวงการคลังอันจะก่อให้เกิดภาระจำยอมในสามยทรัพย์ การใช้ทางพิพาทของจำเลยที่ 1 จึงไม่เกิดภาระจำยอม แม้จะใช้มาเป็นเวลา 10 ปีเศษจำเลยที่ 1 ผู้เช่าจะอ้างสิทธิว่าได้ใช้ทางพิพาทจนได้ภาระจำยอมแก่เจ้าของที่ดินผู้ให้เช่าหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมเกิดเฉพาะเจ้าของสามยทรัพย์ ผู้เช่าไม่อาจอ้างสิทธิได้ แม้ใช้ทางเกิน 10 ปี
ภารจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของสามยทรัพย์การใช้ทางพิพาทขนส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ของจำเลยที่1ซึ่งเป็นเพียงผู้เช่าที่ดินของกระทรวงการคลังมิได้เป็นการใช้แทนหรือทำในนามหรือเพื่อประโยชน์ของกระทรวงการคลังอันจะก่อให้เกิดภารจำยอมในสามยทรัพย์แม้จะใช้มาเป็นเวลา10ปีเศษก็หาก่อให้เกิดภารจำยอมไม่จำเลยที่1ผู้เช่าจึงไม่อาจอ้างสิทธิว่าได้ใช้ทางพิพาทจนได้ภารจำยอมแก่กระทรวงการคลังเจ้าของที่ดินผู้ให้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมมิอาจเกิดแก่ผู้เช่า การใช้ทางเพื่อประโยชน์ตนเองไม่สร้างภารจำยอมแก่เจ้าของที่ดิน
จำเลยที่2ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยที่2รับผิดต่อโจทก์ทั้งสี่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นโดยไม่มีรายละเอียดว่านอกฟ้องนอกประเด็นอย่างไรจึงไม่เป็นฎีกาที่ชัดแจ้งทั้งปรากฏว่าศาลอุทธรณ์เห็นชอบกับศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องจำเลยที่2ไม่มีอะไรให้จำเลยที่2ต้องรับผิดต่อโจทก์อันจะต้องโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นฎีกาที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัย ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของสามยทรัพย์การใช้ทางพิพาทขนส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ของจำเลยที่1ซึ่งเป็นเพียงผู้เช่าที่ดินของกระทรวงการคลังเท่านั้นมิได้เป็นการใช้แทนหรือทำในนามหรือเพื่อประโยชน์ของกระทรวงการคลังอันจะก่อให้เกิดภาระจำยอมในสามยทรัพย์การใช้ทางพิพาทของจำเลยที่1จึงไม่เกิดภารจำยอมแม้จะใช้มาเป็นเวลา10ปีเศษจำเลยที่1ผู้เช่าจะอ้างสิทธิว่าได้ใช้ทางพิพาทจนได้ภารจำยอมแก่เจ้าของที่ดินผู้ให้เช่าหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้ภาระจำยอมโดยอายุความต้องพิสูจน์การใช้ทางต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ของที่ดินของตนเอง
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ทั้งสองอ้างว่าได้ภาระจำยอมมาโดยอายุความจากการเดินผ่านทางพิพาท ซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 โจทก์ที่ 1 จะต้องใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านออกไปจากที่ดินของโจทก์ที่ 1 หรือผ่านเข้าไปในที่ดินของโจทก์ที่ 1 ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี จึงจะได้ภาระจำยอมในที่ดินของจำเลยตามที่ฟ้อง แต่ปรากฏว่าในคำฟ้องมิได้กล่าวว่า โจทก์ที่ 1ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกในที่ดินของโจทก์ที่ 1 มาครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คงกล่าวมีใจความเพียงว่าทางพิพาทเป็นทางที่ประชาชนและเจ้าของที่ดินบริเวณนั้นใช้มาเป็นเวลาหลายสิบปี มีสภาพเป็นทางภาระจำยอมที่ประชาชนใช้ร่วมกันตามคำฟ้องโจทก์นี้ไม่อาจเข้าใจได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้เดินผ่านหรือใช้ที่ดินของจำเลยมาครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เกี่ยวกับการได้ภาระจำยอมของโจทก์ที่ 1 ดังกล่าวข้างต้น ส่วนประชาชนจะได้ใช้ทางพิพาทนี้อย่างไรย่อมไม่เกี่ยวกับการได้ภาระจำยอมของโจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด สำหรับโจทก์ที่ 2 แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า โจทก์ที่ 2เป็นผู้ใช้เส้นทางภาระจำยอมบนที่ดินของจำเลยเพื่อออกสู่ทะเลเป็นปกติประจำนานเกินกว่า 40 ปี แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 มีที่ดินที่จะได้รับประโยชน์จากทางภาระจำยอมนั้นด้วยหรือไม่ หากโจทก์ที่ 2 ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง โจทก์ที่ 2จะอ้างว่าใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์ในการออกสู่ทะเลไม่ได้ เนื่องจากภาระจำยอมจะเกิดขึ้นต้องเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ มิได้มุ่งเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะ ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงมิได้กล่าวถึงข้ออ้างที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการที่จะบังคับจำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทางพิพาทและไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับทางพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้ภารจำยอมต้องมีหลักฐานการใช้ทางต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ในที่ดินของตนเอง และต้องมีที่ดินเป็นของตนเอง
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ทั้งสองอ้างว่าได้ภารจำยอมมาโดยอายุความจากการเดินผ่านทางพิพาทซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1401ประกอบด้วยมาตรา1382โจทก์ที่1จะต้องใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านออกไปจากที่ดินของโจทก์ที่1หรือผ่านเข้าไปในที่ดินของโจทก์ที่1ติดต่อกันเป็นเวลา10ปีจึงจะได้ภารจำยอมในที่ดินของจำเลยตามที่ฟ้องแต่ปรากฏว่าในคำฟ้องมิได้กล่าวว่าโจทก์ที่1ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกในที่ดินของโจทก์ที่1มาครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้คงกล่าวมีใจความเพียงว่าทางพิพาทเป็นทางที่ประชาชนและเจ้าของที่ดินบริเวณนั้นใช้มาเป็นเวลาหลายสิบปีมีสภาพเป็นทางภารจำยอมที่ประชาชนใช้ร่วมกันตามคำฟ้องโจทก์นี้ไม่อาจเข้าใจได้ว่าโจทก์ที่1ได้เดินผ่านหรือใช้ที่ดินของจำเลยมาครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เกี่ยวกับการได้ภารจำยอมของโจทก์ที่1ดังกล่าวข้างต้นส่วนประชาชนจะได้ใช้ทางพิพาทนี้อย่างไรย่อมไม่เกี่ยวกับการได้ภารจำยอมของโจทก์ที่1แต่อย่างใดสำหรับโจทก์ที่2แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่าโจทก์ที่2เป็นผู้ใช้เส้นทางภารจำยอมบนที่ดินของจำเลยเพื่อออกสู่ทะเลเป็นปกติประจำนานเกินกว่า40ปีแต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่2มีที่ดินที่จะได้รับประโยชน์จากทางภารจำยอมนั้นด้วยหรือไม่หากโจทก์ที่2ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองโจทก์ที่2จะอ้างว่าใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์ในการออกสู่ทะเลไม่ได้เนื่องจากภารจำยอมจะเกิดขึ้นต้องเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์มิได้มุ่งเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะดังนั้นคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงมิได้กล่าวถึงข้ออ้างที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการที่จะบังคับจำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทางพิพาทและไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับทางพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7010/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ: การได้มาซึ่งสิทธิภาระจำยอมโดยการใช้ทางต่อเนื่อง ทั้งเจ้าของเดิมและผู้รับโอน
แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งได้รับโอนที่ดินจาก ม.ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะมาเกินกว่า 10 ปี อันมีผลทำให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในฐานะเป็นเจ้าของที่ดินที่รับโอนมาจาก ม.ได้ภาระจำยอมในการใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 กับทางสาธารณะก็ตาม แต่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินแปลงเดิมที่ได้รับโอนมาจาก ม.ไปแลกเอาที่ดินแปลงใหม่มาจากจำเลยเสียแล้วเมื่อ พ.ศ.2528 ซึ่งระยะเวลาที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงใหม่นับถึงวันฟ้องเป็นเวลา 6 ปีเศษ และโจทก์ที่ 3เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวเมื่อ พ.ศ.2534 นับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเพียง 1 ปีเศษ ดังนั้นแม้จะฟังว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงใหม่ได้ใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินของตนกับทางสาธารณะตลอดมาถึงวันฟ้องด้วยอำนาจปรปักษ์ ก็มีระยะเวลายังไม่ถึง 10 ปีทางพิพาทจึงยังไม่เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินแปลงใหม่
เจ้ามรดกที่ดินที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 ได้รับโอนมรดกมาได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินมรดกกับทางสาธารณะในหมู่บ้านด้วยอำนาจปรปักษ์ต่อเจ้าของทางพิพาทตลอดมาซึ่งเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ครั้นโจทก์ที่ 4ถึงที่ 7 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกสืบต่อมา แม้จะใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินแปลงดังกล่าวกับทางสาธารณะในหมู่บ้านตลอดมาด้วยอำนาจปรปักษ์ต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทางพิพาทมายังไม่ครบ 10 ปีก็ตาม แต่เมื่อนับระยะเวลาที่ ก.เจ้ามรดกได้ใช้ทางพิพาทมาก่อนรวมเข้ากับระยะเวลาที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 ผู้รับมรดกได้ใช้ทางพิพาทต่อมาได้ระยะเวลาครบ 10 ปีแล้ว ที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นภารยทรัพย์ย่อมต้องตกอยู่ในภาระจำยอมในการที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 จะใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นสามยทรัพย์โดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1385
เจ้ามรดกที่ดินที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 ได้รับโอนมรดกมาได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินมรดกกับทางสาธารณะในหมู่บ้านด้วยอำนาจปรปักษ์ต่อเจ้าของทางพิพาทตลอดมาซึ่งเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ครั้นโจทก์ที่ 4ถึงที่ 7 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกสืบต่อมา แม้จะใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินแปลงดังกล่าวกับทางสาธารณะในหมู่บ้านตลอดมาด้วยอำนาจปรปักษ์ต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทางพิพาทมายังไม่ครบ 10 ปีก็ตาม แต่เมื่อนับระยะเวลาที่ ก.เจ้ามรดกได้ใช้ทางพิพาทมาก่อนรวมเข้ากับระยะเวลาที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 ผู้รับมรดกได้ใช้ทางพิพาทต่อมาได้ระยะเวลาครบ 10 ปีแล้ว ที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นภารยทรัพย์ย่อมต้องตกอยู่ในภาระจำยอมในการที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 จะใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นสามยทรัพย์โดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1385
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7010/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความและการใช้ทางร่วมกันของเจ้าของที่ดินหลายช่วง
แม้โจทก์ที่1และที่2ซึ่งได้รับโอนที่ดินจากม.ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะมาเกินกว่า10ปีอันมีผลทำให้โจทก์ที่1และที่2ในฐานะเป็นเจ้าของที่ดินที่รับโอนมาจากม.ได้ภารจำยอมในการใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินของโจทก์ที่1และที่2กับทางสาธารณะก็ตามแต่โจทก์ที่1และที่2นำที่ดินแปลงเดิมที่ได้รับโอนมาจากม. ไปแลกเอาที่ดินแปลงใหม่มาจากจำเลยเสียแล้วเมื่อพ.ศ.2528ซึ่งระยะเวลาที่โจทก์ที่1และที่2เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงใหม่นับถึงวันฟ้องเป็นเวลา6ปีเศษและโจทก์ที่3เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวเมื่อพ.ศ.2534นับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเพียง1ปีเศษดังนั้นแม้จะฟังว่าโจทก์ที่1ถึงที่3ในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงใหม่ได้ใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินของตนกับทางสาธารณะตลอดมาถึงวันฟ้องด้วยอำนาจปรปักษ์ก็มีระยะเวลายังไม่ถึง10ปีทางพิพาทจึงยังไม่เป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินแปลงใหม่ เจ้ามรดกที่ดินที่โจทก์ที่4ถึงที่7ได้รับโอนมรดกมาได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินมรดกกับทางสาธารณะในหมู่บ้านด้วยอำนาจปรปักษ์ต่อเจ้าของทางพิพาทตลอดมาซึ่งเป็นเวลาเกินกว่า10ปีแล้วครั้นโจทก์ที่4ถึงที่7ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกสืบต่อมาแม้จะใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินแปลงดังกล่าวกับทางสาธารณะในหมู่บ้านตลอดมาด้วยอำนาจปรปักษ์ต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทางพิพาทมายังไม่ครบ10ปีก็ตามแต่เมื่อนับระยะเวลาที่ก.เจ้ามรดกได้ใช้ทางพิพาทมาก่อนรวมเข้ากับระยะเวลาที่โจทก์ที่4ถึงที่7ผู้รับมรดกได้ใช้ทางพิพาทต่อมาได้ระยะเวลาครบ10ปีแล้วที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นภารยทรัพย์ย่อมต้องตกอยู่ในภารจำยอมในการที่โจทก์ที่4ถึงที่7จะใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ที่4ถึงที่7ซึ่งเป็นสามยทรัพย์โดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1401ประกอบด้วยมาตรา1385
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5310/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต้องเป็นการกระทำที่เป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดิน ไม่ใช่การเสียค่าตอบแทน
การได้สิทธิในทางภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 ต้องได้ใช้ทางโดยปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินเพื่อให้ได้ทางภาระจำยอม การใช้ทางโดยเสียเงินค่าตอบแทนแก่เจ้าของที่ดินจึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิในทางนั้น โดยการกระทำที่เป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินแม้จะใช้ทางมาเกินกว่า 10 ปี ก็ไม่อาจอ้างว่าได้สิทธิภาระจำยอมตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายจากการยอมให้ใช้ทางสัญจรเป็นเวลานาน
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินคนเดิมยอมให้ประชาชนทั่วไปใช้ทางพิพาทสัญจรไปมาเป็นเวลานานหลายสิบปี ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้อุทิศที่ดินตามทางพิพาทให้เป็นสาธารณะโดยปริยายแล้วทางพิพาทจึงเป็นทางสาธารณะ จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินมาจากจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิปิดกั้นและไม่มีอำนาจห้ามมิให้ประชาชนใช้สัญจรผ่านไปมา.