พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5758/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายและการพาอาวุธปืนโดยมีเหตุอันสมควร
ผู้ตายกับพวกถือสิ่งของคล้ายอาวุธปืนเดินเข้ามาหาจำเลยในเขตนากุ้งของจำเลยในเวลาค่ำคืน จำเลยร้องห้ามให้วางสิ่งของดังกล่าว แล้วผู้ตายกับพวกกลับจู่โจมเข้ามาใกล้ประมาณ 2-3 เมตรย่อมมีเหตุให้จำเลยอยู่ในภาวะเข้าใจได้ว่าผู้ตายกับพวกจะเข้ามาทำร้ายและถือได้ว่าเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงไปทางผู้ตายกับพวกในภาวะและพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการป้องกันสิทธิของตนโดยชอบด้วยกฎหมายและพอสมควรแก่เหตุ จำเลยนำอาวุธปืนของกลางซึ่งจำเลยได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีไว้ในครอบครองติดตัวไปเฝ้านากุ้งของจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยพาอาวุธปืนของกลางไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร แต่ถือว่าเป็นการพาไปโดยมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ,72 ทวิ วรรคสอง แม้จำเลยมิได้ฎีกาความผิดฐานนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นมาพิจารณาวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3246/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและการเรียกร้องเบี้ยปรับรายวัน: เมื่อใช้สิทธิบอกเลิกแล้ว สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับย่อมสิ้นสุด
จำเลยทำสัญญาขายรถยนต์บรรทุกให้โจทก์ ตามสัญญาข้อ 9กำหนดไว้ว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน ฉะนั้นเมื่อจำเลยผู้ขายไม่ได้ส่งมอบสิ่งของที่ขายให้แก่โจทก์ผู้ซื้อโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกร้องเงินประกันจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกัน ซึ่งธนาคารได้ชำระเงินให้แก่โจทก์แล้วอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 8โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับเป็นรายวันจากจำเลยตามสัญญาข้อ 9 ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1188/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิในทางน้ำโดยชอบธรรมและการยินยอมใช้สิทธิโดยไม่ก่อให้เกิดสิทธิถาวร
การใช้สิทธิที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 นั้น จะต้องเป็นความเสียหายในสิทธิที่บทบัญญัติกฎหมายรับรองไว้ เมื่อทางน้ำพิพาทที่จำเลยที่ 6ในฐานะผู้เช่าที่ดินมาจากจำเลยที่ 4 และที่ 5 ผู้ทรงสิทธิเก็บกินในที่ดินดังกล่าวได้ขุดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยน้ำนั้นมิใช่ทางน้ำสาธารณะ การที่โจทก์ทั้งสี่ขุดทางน้ำต่อจากทางน้ำพิพาทเพื่อชักน้ำให้ไหลเข้าที่ดินของโจทก์ทั้งสี่เพื่อนำไปใช้โดยจำเลยที่ 6 มิได้ทักท้วง เป็นการยินยอมให้โจทก์ทั้งสี่กระทำได้โดยชอบ ไม่เป็นมูลละเมิดต่อจำเลยที่ 6 แต่การชักน้ำดังกล่าวก็มิใช่เป็นสิทธิที่กฎหมายบัญญัติรับรองไว้ และไม่ก่อให้โจทก์ทั้งสี่ได้สิทธิจะใช้ทางน้ำได้ตลอดไป เมื่อจำเลยที่ 6 ปิดทางน้ำของตน จึงมิใช่เป็นการล่วงสิทธิโจทก์ทั้งสี่ตามกฎหมาย แม้โจทก์ทั้งสี่จะเดือดร้อนเพราะการกระทำของจำเลยที่ 6 โจทก์ทั้งสี่ก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องขอให้จำเลยที่ 6 เปิดทางน้ำพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่จำเป็นต้องติดกัน แม้มีคลองคั่นก็อาจเป็นภารจำยอมได้หากมีการใช้สิทธิเกิน 10 ปี
สามยทรัพย์และภารยทรัพย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกันแม้ทางพิพากษาจะมีคลองสาธารณะคันอยู่ก็อาจเป็นภารจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางภาระจำยอมเกิดจากการใช้สิทธิอย่างเปิดเผยและต่อเนื่อง แม้เจ้าของที่ดินทราบเห็น ก็ไม่ถือเป็นการขัดขวาง
โจทก์ใช้ทางพิพาทบนที่ดินของจำเลยเดินผ่านเข้าออกไปสู่ถนนตั้งแต่บิดามารดาโจทก์ซื้อที่ดินมา นับเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว เมื่อจำเลยซื้อที่ดินมาจำเลยก็ทราบว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทเดินเข้า ออกจากบ้านโจทก์ไปสู่ถนนระยะเวลาการใช้ทางพิพาทของโจทก์จึง ไม่สะดุดหยุดลง ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอมตามกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6181/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการสละกรรมสิทธิ์: คดีไม่เป็นอุทลุมเมื่อเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย
คำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์เป็นการร้องขอเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิของตนตามที่กฎหมายกำหนดไว้มิใช่กรณีที่ผู้ร้องมีคำขออย่างใดอย่างหนึ่งในทางที่จะเป็นการบังคับเอากับผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุพการี แม้ผู้คัดค้านจะยื่นคำคัดค้านเข้ามาก็เป็นการกระทำของผู้คัดค้านเอง มิใช่การกระทำของผู้ร้อง ดังนั้น คดีของผู้ร้องจึงไม่เป็นอุทลุม ผู้คัดค้านแสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องและผู้ร้องได้เข้าครอบครองที่ดินนับแต่ที่ผู้คัดค้านได้แสดงเจตนาสละกรรมสิทธิ์ให้จึงเป็นการเข้าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของนับแต่วันนั้น เมื่อผู้ร้องได้ครอบครองมาโดยสงบและเปิดเผยเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีดังนี้ ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3164/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางน้ำร่วมกันระหว่างเพื่อนบ้าน ไม่ถือเป็นการได้ภารจำยอมหากใช้โดยวิสาสะ
โจทก์และจำเลยทั้งสองปลูกบ้านอยู่บนที่ดินซึ่งอยู่ติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวจากด้านทิศเหนือมาทิศใต้ ระหว่างแนวกำแพงบ้านโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นช่องว่างซึ่งมีทางน้ำเก่าดั้งเดิม ใช้มานาน 45 ปี เป็นทางน้ำคู่กันมาเริ่มจากหน้าบ้านถึงจุดที่อยู่ห่างจากหลักโฉนด หน้าบ้าน 21 เมตร จากนั้นจึงเป็นรางน้ำร่วมกันไปจดหลังบ้าน ทางน้ำร่วมกันนี้กว้าง 50 เซนติเมตรลึก 50 เซนติเมตร ยาว 11 เมตร สำหรับทางน้ำคู่กันมาตั้งแต่หน้าบ้านถึงตรงจุด 21 เมตรนั้น เชื่อว่าอยู่ในเขตที่ดินของแต่ละฝ่าย แต่รางน้ำร่วมกันตั้งแต่จุด 21 เมตร ลงมาทางทิศใต้จนจดหลังบ้านปรากฏว่า ชายคา บ้านโจทก์ล้ำเข้าไปในเขตที่ดินจำเลยบางส่วน และมีแนวทางน้ำบางส่วนล้ำเข้าไปในที่ดินจำเลยบางส่วนล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ โดยมีทางน้ำของแต่ละฝ่ายคู่ขนานกันมาแต่ดั้งเดิม ดังนี้ ย่อมเห็นลักษณะการใช้สิทธิของเจ้าของที่ดินแต่ละฝ่ายได้ว่าเป็นการใช้สิทธิในฐานะที่เป็นเพื่อนบ้านกัน เป็นการใช้โดยวิสาสะไม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยสงบเปิดเผย ด้วยเจตนาให้ได้ภารจำยอม ที่ดินจำเลยในส่วนที่แนวรางน้ำล้ำเข้ามาจึงไม่ตกเป็นภารจำยอม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3294/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตนและการครอบครองอาวุธปืนโดยชอบด้วยกฎหมาย
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลา 2 นาฬิกา ผู้ตายกับพวกปล้นเอาทรัพย์สินในบ้านที่เกิดเหตุไปได้หลายอย่าง จากนั้นผู้ตายซึ่งมีอาวุธปืนพกพร้อมกระสุนปืนได้เข้าไปที่มุ้งของจำเลย ในขณะที่จำเลยนอนอยู่ในมุ้งแต่ผู้เดียวในกระท่อมในบริเวณบ้านที่เกิดเหตุ แล้วผู้ตายร้องบอกให้จำเลยนอนเงียบ ๆ จำเลยจึงใช้ปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตนพอสมควรแก่เหตุ
อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่จำเลยใช้ยิงผู้ตายเป็นของ ล. ภริยาจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้โดยชอบด้วยกฎหมาย ล. มอบอาวุธปืนและกระสุนปืนให้จำเลยนำไปเฝ้าคุ้มครองดูแลทรัพย์สินรวมของจำเลยและ ล. ซึ่งอยู่ในบริเวณบ้านของจำเลยและ ล.ในขณะที่ ล. ก็อยู่ที่บ้านด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าการครอบครองอาวุธปืนและกระสุนปืนยังอยู่กับ ล. จำเลยไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ดุจกัน
อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่จำเลยใช้ยิงผู้ตายเป็นของ ล. ภริยาจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้โดยชอบด้วยกฎหมาย ล. มอบอาวุธปืนและกระสุนปืนให้จำเลยนำไปเฝ้าคุ้มครองดูแลทรัพย์สินรวมของจำเลยและ ล. ซึ่งอยู่ในบริเวณบ้านของจำเลยและ ล.ในขณะที่ ล. ก็อยู่ที่บ้านด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าการครอบครองอาวุธปืนและกระสุนปืนยังอยู่กับ ล. จำเลยไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ดุจกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการนัดหยุดงานของลูกจ้าง: การใช้สิทธิหลายครั้งเป็นธรรมได้ ไม่จำกัดเพียงครั้งเดียว
ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 นัดหยุดงานโดยไม่มีข้อเรียกร้องไม่มีข้อพิพาทแรงงาน เป็นการนัดหยุดงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มิได้ตั้งข้อหาและมิได้อาศัยข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 99 แต่ประการใดซึ่งมาตรานี้เป็นบทยกเว้นความรับผิดมิใช่บทบังคับการกระทำ จึงไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องบรรยายฟ้องกล่าวแก้จำเลยเป็นการล่วงหน้าไว้ก่อน หากแต่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะยกบทมาตราดังกล่าวขึ้นต่อสู้ว่าตนไม่ต้องรับผิดเพราะต้องด้วยข้อยกเว้นข้อใดข้อหนึ่งในสี่ประการนั้นจำเลยจะยกมาตรา 99 ขึ้นปรับคดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ได้ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์รวม 10 ข้อ ตกลงกันได้ 3 ข้อ คงเหลือข้อเรียกร้องที่ตกลงกันไม่ได้อีก 7 ข้อ ต้องถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีอยู่ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 22 วรรคสาม การที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธินัดหยุดงานในวันที่ 8 แล้วกลับเข้าทำงานในวันที่ 9 เดือนเดียวกัน โดยลำพังตนมิได้ขอกลับเข้าทำงานต่อฝ่ายบริหารของโจทก์ ไม่ถือว่าเป็นการสละข้อเรียกร้อง และจะถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เป็นอันระงับหรือสิ้นสุดลงด้วยการนัดหยุดงานและกลับเข้าทำงานใหม่ไม่ได้ เพราะไม่มีบทมาตราใดในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์บัญญัติไว้เช่นนั้น สิทธินัดหยุดงานของจำเลยที่1 จึงไม่สิ้นไป
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หามีบทมาตราใดบังคับว่าเมื่อข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เกิดขึ้นแล้ว ลูกจ้างพึงใช้สิทธินัดหยุดงานได้แต่เพียงครั้งเดียวไม่ การแปลกฎหมายว่าลูกจ้างมีสิทธินัดหยุดงานได้ครั้งเดียวทั้งที่ไม่มีบทมาตราใดบัญญัติห้ามไว้โดยชัดแจ้ง เป็นการแปลที่จำกัดสิทธิโดยชอบธรรมของลูกจ้างการนัดหยุดงานเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายของลูกจ้างที่จะให้ได้มาซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามข้อเรียกร้องของตน มิใช่ฝ่ายนายจ้างเท่านั้นที่ได้รับความเสียหายที่กิจการต้องหยุดชะงักงัน ฝ่ายลูกจ้างเองก็ต้องได้รับความเสียหายดุจกันที่ไม่ได้รับค่าจ้าง ดังนั้น ถ้าลูกจ้างสามารถใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งเดียวเป็นเวลายาวนานทำให้ทั้งสองฝ่ายได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมากได้โดยชอบ การนัดหยุดงานเป็นช่วง ๆ เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เป็นการกระตุ้นเตือนให้นายจ้างรู้สำนึกถึงความเดือดร้อนทีละน้อยแล้วจะทวีความรุนแรงขึ้นโดยลำดับ เพื่อให้มีการหันหน้าเข้าเจรจาให้ได้มาซึ่งข้อตกลงร่วมกันจึงกระทำได้ การใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งหลัง ๆ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์.
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์รวม 10 ข้อ ตกลงกันได้ 3 ข้อ คงเหลือข้อเรียกร้องที่ตกลงกันไม่ได้อีก 7 ข้อ ต้องถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีอยู่ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 22 วรรคสาม การที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธินัดหยุดงานในวันที่ 8 แล้วกลับเข้าทำงานในวันที่ 9 เดือนเดียวกัน โดยลำพังตนมิได้ขอกลับเข้าทำงานต่อฝ่ายบริหารของโจทก์ ไม่ถือว่าเป็นการสละข้อเรียกร้อง และจะถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เป็นอันระงับหรือสิ้นสุดลงด้วยการนัดหยุดงานและกลับเข้าทำงานใหม่ไม่ได้ เพราะไม่มีบทมาตราใดในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์บัญญัติไว้เช่นนั้น สิทธินัดหยุดงานของจำเลยที่1 จึงไม่สิ้นไป
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หามีบทมาตราใดบังคับว่าเมื่อข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เกิดขึ้นแล้ว ลูกจ้างพึงใช้สิทธินัดหยุดงานได้แต่เพียงครั้งเดียวไม่ การแปลกฎหมายว่าลูกจ้างมีสิทธินัดหยุดงานได้ครั้งเดียวทั้งที่ไม่มีบทมาตราใดบัญญัติห้ามไว้โดยชัดแจ้ง เป็นการแปลที่จำกัดสิทธิโดยชอบธรรมของลูกจ้างการนัดหยุดงานเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายของลูกจ้างที่จะให้ได้มาซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามข้อเรียกร้องของตน มิใช่ฝ่ายนายจ้างเท่านั้นที่ได้รับความเสียหายที่กิจการต้องหยุดชะงักงัน ฝ่ายลูกจ้างเองก็ต้องได้รับความเสียหายดุจกันที่ไม่ได้รับค่าจ้าง ดังนั้น ถ้าลูกจ้างสามารถใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งเดียวเป็นเวลายาวนานทำให้ทั้งสองฝ่ายได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมากได้โดยชอบ การนัดหยุดงานเป็นช่วง ๆ เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เป็นการกระตุ้นเตือนให้นายจ้างรู้สำนึกถึงความเดือดร้อนทีละน้อยแล้วจะทวีความรุนแรงขึ้นโดยลำดับ เพื่อให้มีการหันหน้าเข้าเจรจาให้ได้มาซึ่งข้อตกลงร่วมกันจึงกระทำได้ การใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งหลัง ๆ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมเกิดขึ้นจากการใช้สิทธิโดยต่อเนื่อง และการกระทำละเมิดต่อภารจำยอม
ที่ดินจำเลยเป็นที่ดินมีโฉนดแปลงใหญ่ แล้วจำเลยแบ่งขายเป็นแปลงเล็ก ๆ โดยเว้นที่ดินตรงกลางไว้เป็นถนนพิพาท พวกที่ซื้อที่ดินจากจำเลยเท่านั้นที่ใช้ถนนพิพาท ส่วนประชาชนทั่วไปไม่ได้ร่วมใช้ถนนพิพาทด้วยเพราะเป็นทางตัน แม้ขณะเมื่อซื้อที่ดินจำเลยบอกว่าให้ถนนพิพาทเป็นทางสาธารณะก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้อุทิศโดยตรงหรือโดยปริยายให้ถนนพิพาทเป็นทางสาธารณะแต่โจทก์และผู้ซื้อที่ดินได้ใช้ถนนพิพาทด้วยการใช้สัญจรไปมาและนำรถยนต์เข้าออกโดยไม่ปรากฏว่าต้องขออนุญาตจากจำเลยและโจทก์ได้ใช้ติดต่อกันมาเกิน 10 ปีแล้วถนนพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์
การที่จำเลยปักเสาสูงจากพื้นดิน 1 เมตรเศษ บนถนนพิพาทเป็นเหตุให้รถยนต์ส่วนตัวของโจทก์และของผู้อื่นแล่นสวนกันไม่ได้สะดวกเหมือนเมื่อครั้งยังไม่มีการปักเสา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกโจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยถอนเสาดังกล่าวออกไปได้
การที่จำเลยปักเสาสูงจากพื้นดิน 1 เมตรเศษ บนถนนพิพาทเป็นเหตุให้รถยนต์ส่วนตัวของโจทก์และของผู้อื่นแล่นสวนกันไม่ได้สะดวกเหมือนเมื่อครั้งยังไม่มีการปักเสา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกโจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยถอนเสาดังกล่าวออกไปได้