พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของการไฟฟ้าทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต และสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของบุตร
สายไฟฟ้าซึ่งเป็นสายดินจะต้องต่อลงดินทุก ๆ ระยะ 200 เมตรและปลายสายจะต้องต่อลงดินด้วย เพื่อให้สายดินมีค่าเป็นศูนย์จริง ๆกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเข้าไม่ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าขณะเกิดเหตุสายไฟฟ้าที่พาด เสา ไฟฟ้าทั้ง 22 ต้น เป็นระยะทางถึง 840 เมตรมีสายดินต่อลงดินเพียงแห่งเดียวคือที่เสาไฟฟ้าต้นที่ 22 จึงไม่ทำให้สายดินมีค่าเป็นศูนย์ กระแสไฟฟ้าย่อมไหลผ่านเข้าไปได้ การที่สายไฟฟ้าซึ่งเป็นสายดินพาด ระหว่างเสาไฟฟ้าต้นที่ 17 กับต้นที่ 18ปักอยู่ในสวนของผู้ตายได้ขาดตกลงมาในท้องร่อง ซึ่งมีน้ำขัง ผู้ตายไปเปิดน้ำเข้าสวนถูกกระแสไฟฟ้าดูดถึงแก่ความตาย จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ทำการพาด สายไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐาน โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย มีบุตรด้วยกัน 3 คน ขณะผู้ตายยังมีชีวิตอยู่เป็นผู้อุปการะโจทก์และบุตร การที่จำเลยทำละเมิดเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายทำให้บุตรโจทก์ขาดไร้อุปการะ จึงขอเรียกค่าขาดไร้อุปการะของบุตรโจทก์เช่นนี้ มีความหมายพอเป็นที่เข้าใจได้ว่าบุตรโจทก์ขอเรียกค่าสินไหมทดแทนตามสิทธิของตนนั่นเอง แต่เพราะเหตุที่บุตรโจทก์ทั้งสามเป็นผู้เยาว์ยังฟ้องคดีเองไม่ได้ โจทก์ซึ่งเป็นมารดาและผู้แทนโดยชอบธรรมจึงฟ้องแทน ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องทั้งในนามตนเองและในนามบุตรทั้งสามโดยปริยาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่ากระแสไฟฟ้า: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่ใช่พ่อค้า, ใช้ อายุความ 10 ปี
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินกิจการสาธารณูปโภคตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2503 มิใช่เป็นพ่อค้าตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) การเรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าจึงไม่ใช่มีอายุความเพียง 2 ปี และโดยที่ค่ากระแสไฟฟ้าประจำเดือนมิใช่จำนวนเงินที่ตกลงกันไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา กรณีก็ไม่ต้องด้วยอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 166 จึงต้องนำอายุความทั่วไปมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 164 มาใช้บังคับในเรื่องสิทธิเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องค่าไฟฟ้าไม่เคลือบคลุม อายุความ 10 ปี เหตุเป็นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่ใช่พ่อค้า
ฟ้องเรียกเงินค่ากระแสไฟฟ้าที่ค้างชำระ แม้ไม่บรรยายว่าจำเลย ใช้ไฟฟ้าจากเลขวัดหน่วยที่เท่าใดถึงหน่วยที่เท่าใด ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุมเพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์ดำเนินกิจการสาธารณูปโภคซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ประโยชน์ของรัฐและประชาชน ดังที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพ.ศ.2503 มาตรา 6,8,41 หาใช่เป็นการประกอบกิจการค้าหากำไรตามปกติไม่ โจทก์จึงมิใช่เป็นพ่อค้าตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) สิทธิเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้าของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี และโดยที่ค่ากระแสไฟฟ้าประจำเดือนมิใช่จำนวนเงินที่ตกลงไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลากรณีก็ไม่ต้องด้วยอายุความห้าปีตามมาตรา 166 จึงต้องนำอายุความทั่วไปซึ่งมีกำหนดสิบปีตามมาตรา 164มาใช้บังคับ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์ดำเนินกิจการสาธารณูปโภคซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ประโยชน์ของรัฐและประชาชน ดังที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพ.ศ.2503 มาตรา 6,8,41 หาใช่เป็นการประกอบกิจการค้าหากำไรตามปกติไม่ โจทก์จึงมิใช่เป็นพ่อค้าตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) สิทธิเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้าของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี และโดยที่ค่ากระแสไฟฟ้าประจำเดือนมิใช่จำนวนเงินที่ตกลงไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลากรณีก็ไม่ต้องด้วยอายุความห้าปีตามมาตรา 166 จึงต้องนำอายุความทั่วไปซึ่งมีกำหนดสิบปีตามมาตรา 164มาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของตัวแทนตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ และการนับอายุความละเมิดจากวันที่ทราบผลสอบสวน
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยยกขึ้นฎีกาโดยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ศาลก็รับวินิจฉัยได้
ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีอำนาจเป็นผู้กระทำการในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก และเป็นผู้กระทำการแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเพื่อการนี้ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะมอบอำนาจให้บุคคลใดๆ ปฏิบัติกิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ ตามความในมาตรา 30 แห่ง พระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2503 มิใช่เป็นเรื่องแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิ่งของที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยมีหลายอย่างของที่ขาดหายไปยังไม่อาจทราบได้ว่าอะไรขาดหายไปอย่างไรบ้าง และใครบ้างจะเป็นผู้รับผิดชอบหรือไม่ โจทก์จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนเพื่อรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คณะกรรมการทำการสอบสวนแล้วรายงานให้โจทก์ทราบ ดังนั้น การนับอายุความละเมิดจึงต้องถือเอาวันที่โจทก์รับทราบผลการสอบสวนเป็นวันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน มิใช่นับแต่วันที่โจทก์มีคำสั่งให้พักราชการจำเลย
ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีอำนาจเป็นผู้กระทำการในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก และเป็นผู้กระทำการแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเพื่อการนี้ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะมอบอำนาจให้บุคคลใดๆ ปฏิบัติกิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ ตามความในมาตรา 30 แห่ง พระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2503 มิใช่เป็นเรื่องแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิ่งของที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยมีหลายอย่างของที่ขาดหายไปยังไม่อาจทราบได้ว่าอะไรขาดหายไปอย่างไรบ้าง และใครบ้างจะเป็นผู้รับผิดชอบหรือไม่ โจทก์จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนเพื่อรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คณะกรรมการทำการสอบสวนแล้วรายงานให้โจทก์ทราบ ดังนั้น การนับอายุความละเมิดจึงต้องถือเอาวันที่โจทก์รับทราบผลการสอบสวนเป็นวันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน มิใช่นับแต่วันที่โจทก์มีคำสั่งให้พักราชการจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของการไฟฟ้าต่ออันตรายจากสายไฟฟ้าในที่ดินส่วนบุคคล
สายไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ ช. เป็นสายไฟฟ้าภายในช่วงที่ต่อจากหม้อวัดไฟเข้าไปยังบ้านของ จ. ผู้ขอใช้ไฟ และอยู่ในเขตที่ดินของ จ. และทางเดินที่ ช. เดินไปก็มิใช่ทางสาธารณะเพราะเป็นทางเดินตามคันสวนในที่ดินส่วนบุคคลที่เจ้าของที่ดินมิได้หวงห้ามกีดกันมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดใช้เดินผ่านไปมาในที่ของตนดังนั้น จึงถือไม่ได้ว่าสายไฟฟ้าซึ่งเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพนั้นอยู่ในความครอบครองของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 วรรคสองจำเลย (การไฟฟ้านครหลวง) จึงไม่ต้องรับผิดสำหรับการตายของ ช.เนื่องจากถูกกระแสไฟฟ้าดูด (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 31/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของการไฟฟ้าฯ ต่ออันตรายจากสายไฟฟ้าในที่ดินส่วนบุคคล
สายไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ ช. เป็นสายไฟฟ้าภายในช่วงที่ต่อจากหม้อวัดไฟเข้าไปยังบ้านของ จ. ผู้ขอใช้ไฟ และอยู่ในเขตที่ดินของ จ. และทางเดินที่ ช. เดินไปก็มิใช่ทางสาธารณะเพราะเป็นทางเดินตามคันสวนในที่ดินส่วนบุคคลที่เจ้าของที่ดินมิได้หวงห้ามกีดกันมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดใช้เดินผ่านไปมาในที่ของตนดังนั้น จึงถือไม่ได้ว่าสายไฟฟ้าซึ่งเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพนั้นอยู่ในความครอบครองของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 วรรคสอง จำเลย (การไฟฟ้านครหลวง) จึงไม่ต้องรับผิดสำหรับการตายของ ช. เนื่องจากถูกกระแสไฟฟ้าดูด (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 31/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของการไฟฟ้าทำให้เกิดไฟรั่วช็อตผู้เสียหาย จำเลยต้องรับผิด
การที่เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าของจำเลยประมาทเลินเล่อไม่ตรวจตราดูแล ปล่อยให้ไม้คอนพาดสายไฟแรงสูงผุหักจนสายไฟแรงสูงหลุดจากคอนตกลงมาปะทะสายไปแรงต่ำกระแสไฟแรงสูงจึงรั่วไหลไปตามสายไฟแรงต่ำเข้าสู้บ้านของโจทก์ ไฟจึง+ลุกขึ้นนั้น หากโจทก์เข้าไปชะโงกดูเพื่อแก้ไขเหตุการณ์ร้ายเฉพาะหน้าซึ่งเกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วนเป็นเหตุให้โจทก์ถูกไฟฟ้าช๊อตดูดเอามีบาดแผลไหม้หลายแห่งแล้ว จำเลยก็ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของการไฟฟ้าทำให้เกิดไฟช็อต ผู้เสียหายไม่ต้องรับผิดจากการพยายามแก้ไขเหตุร้ายเฉพาะหน้า
การที่เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าของจำเลยประมาทเลินเล่อไม่ตรวจตราดูแลปล่อยให้ไม้คอนพาดสายไฟแรงสูงผุหักจนสายไฟแรงสูงหลุดจากคอนตกลงมาปะทะสายไฟแรงต่ำ กระแสไฟแรงสูงจึงรั่วไหลไปตามสายไฟแรงต่ำเข้าสู่บ้านของโจทก์ ไฟจึงช็อตลุกขึ้นนั้นหากโจทก์เข้าไปชะโงกดูเพื่อแก้ไขเหตุการณ์ร้ายเฉพาะหน้าซึ่งเกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วน เป็นเหตุให้โจทก์ถูกไฟฟ้าช็อตดูดเอามีบาดแผลไหม้หลายแห่งแล้ว จำเลยก็ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2748/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ พิจารณาหลักเกณฑ์จาก พ.ร.บ.เวนคืนฯ และสภาพที่ดิน
พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 มาตรา 30 บัญญัติไว้กว้างๆ ว่า ให้จำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนตามความเป็นธรรม ไม่ได้บัญญัติถึงรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่จะนำมาใช้คำนึงถึงในการกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนอย่างเป็นธรรมไว้เหมือนดังเช่น พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ในการกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนตามความเป็นธรรมตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 มาตรา 30 ได้นั้น จึงควรคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) ทุกอนุมาตราประกอบกัน เพื่อใช้เป็นฐานในการกำหนดเงินทดแทนการใช้ที่ดินให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน โดยวันอันเป็นฐานที่ตั้งในการพิจารณาราคาของอสังหาริมทรัพย์และสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในแนวเขตเดินสายส่งไฟฟ้าคือ วันที่ประกาศกำหนดเขตสำรวจทั่วไปเพื่อเลือกแนวหรือที่ตั้งระบบไฟฟ้าในโครงการนี้ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 28 (2) แห่ง พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ ควรกำหนดตามหลักเกณฑ์เดียวกับ พ.ร.บ.เวนคืนฯ และดอกเบี้ยนับจากวันที่วางเงิน
พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ (มาตรา 30 บัญญัติไว้แต่เพียงว่าให้จำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนตามความเป็นธรรมแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินโดยมิได้บัญญัติรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่จะให้นำมาใช้คำนึงในการกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนอย่างเป็นธรรมเช่นที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) แต่เนื่องจาก พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับนี้มีเจตนารมณ์ที่จะจ่ายเงินค่าทดแทนที่เป็นธรรมแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินและทรัพย์สินอื่น ดังนั้น การที่จะพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตามความเป็นธรรมตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ก็ควรคำนึงถึงหลักเกณฑ์ทำนองเดียวกันที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5)
พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ทวิ วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายเงิน วางหรือฝากเงินค่าทดแทนนั้น" เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 13 กันยายน 2542 แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ระบุให้ไปรับวันใด แต่ได้ความว่าจำเลยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2542 วันดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นวันที่จำเลยวางหรือฝากเงินค่าทดแทนโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนส่วนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ 13 กันยายน 2542 เป็นต้นไป
พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ทวิ วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายเงิน วางหรือฝากเงินค่าทดแทนนั้น" เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 13 กันยายน 2542 แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ระบุให้ไปรับวันใด แต่ได้ความว่าจำเลยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2542 วันดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นวันที่จำเลยวางหรือฝากเงินค่าทดแทนโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนส่วนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ 13 กันยายน 2542 เป็นต้นไป