พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5050/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบังคับโดยวิธีปิดและการยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่เกินกำหนด
เจ้าพนักงานศาลส่งคำบังคับให้จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับตามคำสั่งศาลที่ภูมิลำเนาของจำเลยเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2537 ถือได้ว่าเป็นการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยชอบแล้ว เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ก็จะต้องยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ 12 ธันวาคม2537 ซึ่งเป็นวันที่การส่งคำบังคับให้แก่จำเลยมีผลตามนัยแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 208วรรคหนึ่ง คือจำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายในวันที่ 27 ธันวาคม2537 แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งเกินกำหนด 15 วัน ล่วงพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้ และการที่จำเลยได้หลบหนีคดีอาญาไปเสียจากภูมิลำเนาของจำเลยเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยเอง จึงจะนำมาอ้างว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้หาได้ไม่ แม้จำเลยจะอ้างว่าเพิ่งทราบว่าถูกฟ้องและมีการส่งคำบังคับให้จำเลยเมื่อถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยแล้ว ซึ่งนับแต่เมื่อทราบดังกล่าวถึงวันยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ยังไม่ครบกำหนด 15 วัน ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวไม่เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้เสียแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่โดยเหตุนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6907/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การพิจารณาหลักฐานประกอบหนี้และการยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงว่า แม้ชั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้ได้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2521 ซึ่งเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว เป็นหลักฐานประกอบหนี้ แต่ความจริงเมื่อพิจารณาจากบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้สินด้านหลังคำขอรับชำระหนี้ในช่องหลักฐานประกอบหนี้แล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่28 มีนาคม 2527 หาใช่มูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม2521 ที่มีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้วไม่ น่าเชื่อว่าเจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีผิดพลาด ถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 ภายในกำหนดสองเดือน เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฎีกาว่า หนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ เจ้าหนี้ต้องนำมูลหนี้นั้นไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดสองเดือน การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยแนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2521 ซึ่งได้มีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้วเป็นหลักฐานประกอบหนี้ และได้นำมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 ซึ่งไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดสองเดือนมาให้การสอบสวน ทำให้เจ้าหนี้อื่นไม่สามารถตรวจสอบหลักฐานประกอบหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 ได้ จึงขัดต่อมาตรา 94และมาตรา 91 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เป็นมูลหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ ฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในปัญหาที่ว่า ตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เป็นการขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2521 มิใช่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28มีนาคม 2527 และเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด อันจะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ฟังข้อเท็จจริงว่าการที่เจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม2521 มาท้ายคำขอรับชำระหนี้เป็นการผิดพลาดความจริงแล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 และถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28มีนาคม 2527 ภายในกำหนดสองเดือนแล้วซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ประกอบกับ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153หากแต่เป็นฎีกาข้อกฎหมายในปัญหาที่ว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 นั้นเป็นการชอบด้วยมาตรา 91 และมาตรา 94 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483หรือไม่ เมื่อคดีนี้เป็นคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหาเช่นว่านี้ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238 และมาตรา 247 ประกอบกับ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยพยานหลักฐานของเจ้าหนี้แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า การที่เจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5ตุลาคม 2521 เป็นหลักฐานประกอบหนี้มาท้ายคำขอรับชำระหนี้ เป็นการผิดพลาดความจริงแล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 ซึ่งถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับดังกล่าวภายในกำหนดสองเดือนแล้ว ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ยังเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับดังกล่าวอยู่แก่เจ้าหนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่าเป็นมูลหนี้ที่ฝ่าฝืนข้อต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้
ตามสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้นอกจากเจ้าหนี้ได้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2521 เป็นหลักฐานประกอบหนี้แล้ว เจ้าหนี้ยังได้แนบสำเนารายการบัญชีเดินสะพัดเป็นหลักฐานประกอบหนี้และเป็นรายการบัญชีเดินสะพัดที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 มาด้วยแล้ว เช่นนี้ย่อมนับเป็นหลักฐานประกอบหนี้เพียงพอที่เจ้าหนี้อื่นสามารถตรวจสอบได้ หาได้เป็นการฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยมาตรา91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พะ.ศ.2483 แต่อย่างใดไม่
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยพยานหลักฐานของเจ้าหนี้แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า การที่เจ้าหนี้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5ตุลาคม 2521 เป็นหลักฐานประกอบหนี้มาท้ายคำขอรับชำระหนี้ เป็นการผิดพลาดความจริงแล้วมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คือมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 ซึ่งถือว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับดังกล่าวภายในกำหนดสองเดือนแล้ว ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ยังเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับดังกล่าวอยู่แก่เจ้าหนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่าเป็นมูลหนี้ที่ฝ่าฝืนข้อต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้
ตามสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้นอกจากเจ้าหนี้ได้แนบสำเนาสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2521 เป็นหลักฐานประกอบหนี้แล้ว เจ้าหนี้ยังได้แนบสำเนารายการบัญชีเดินสะพัดเป็นหลักฐานประกอบหนี้และเป็นรายการบัญชีเดินสะพัดที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับลงวันที่ 28 มีนาคม 2527 มาด้วยแล้ว เช่นนี้ย่อมนับเป็นหลักฐานประกอบหนี้เพียงพอที่เจ้าหนี้อื่นสามารถตรวจสอบได้ หาได้เป็นการฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยมาตรา91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พะ.ศ.2483 แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6760/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดจำนวนกรรมความผิดฐานรับของโจรโดยพิจารณาจากช่วงเวลาการกระทำความผิดตามฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจรในระหว่างวันที่22ตุลาคม2536เวลากลางวันถึงวันที่18มิถุนายน2537เวลากลางคืนหลังเที่ยงกรรมหนึ่งกับกระทำความผิดฐานรับของโจรในระหว่างวันที่2เมษายน2537เวลากลางวันถึงวันที่18มิถุนายน2537เวลากลางคืนหลังเที่ยงอีกกรรมหนึ่งเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจรและคดีไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องสืบพยานโจทก์อีกข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจร2กรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาเกินกำหนดหลังศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ทำให้ฎีกาไม่รับพิจารณา
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 30 ธันวาคม 2535ที่วินิจฉัยในคดีที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ว่า ผู้ร้องได้อ่านหรือทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดฉบับลงวันที่ 31 มกราคม 2534 แล้ว ตั้งแต่วันที่25 ธันวาคม 2534 จึงให้ถือว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 31 มกราคม 2534 ให้ผู้ร้องฟังแล้วนับแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2534ผู้ร้องไม่ได้ฎีกาคัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบอย่างไรหรือไม่จึงต้องถือเป็นยุติตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์นั้นว่า ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 31 มกราคม 2534 ให้ผู้ร้องฟังแล้วตั้งแต่วันที่ 25ธันวาคม 2534 การที่ผู้ร้องยื่นฎีกาฉบับลงวันที่ 8 เมษายน 2536 คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 31 มกราคม 2534 มาดังกล่าว จึงเป็นการยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟัง ฎีกาของผู้ร้องเป็นฎีกาที่ไม่ชอบจะรับไว้พิจารณาตามป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4979/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาเกินกำหนด - เหตุผลความไม่ทราบวันนัดเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ตามคำร้องจำเลยอ้างว่า จำเลยย้ายออกจากบ้านที่เจ้าพนักงานศาลไปปิดหมาย โดยให้ญาติเป็นผู้ดูแลบ้านดังกล่าว จำเลยจึงไม่ทราบนัดและมิได้มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพิ่งทราบการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่จะยื่นฎีกาแล้ว ขออนุญาตยื่นฎีกา โดยให้ศาลกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ในคำร้องจำเลยมิได้โต้แย้งว่า การส่งหมายนัดไม่ชอบแต่ประการใด เท่ากับเป็นการยอมรับว่าการส่งหมายนัดโดยวิธีปิดหมายชอบแล้วการที่จำเลยมิได้อยู่บ้านจึงไม่ทราบวันนัด มาทราบภายหลังเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดยื่นฎีกา จึงขออนุญาตฎีกา ย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยประสงค์ยื่นฎีกาโดยให้ศาลกำหนดเวลาให้จำเลย เท่ากับเป็นการขอขยายระยะเวลาในการยื่นฎีกา ซึ่งต้องพิจารณาคำร้องขอของจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ซึ่งกำหนดให้ศาลมีอำนาจขยายระยะเวลาได้ แต่พึงกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย สำหรับกรณีของจำเลยปรากฏว่าเมื่อมีการส่งหมายนัดโดยชอบแล้วถือว่าจำเลยทราบวันนัด ที่จำเลยอ้างมาว่าไม่ทราบวันนัดเป็นการอ้างในเรื่องส่วนตัวของจำเลยเอง ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยจึงไม่มีความจำเป็นอันใดที่ศาลจะต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยและชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4894/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาเกินกำหนด แม้ศาลชั้นต้นรับรองเหตุฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ ผู้ฎีกาต้องยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบด้วยมาตรา 248 วรรคสี่ การที่จำเลยเคยยื่นคำฟ้องฎีกาภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับแล้ว คำฟ้องฎีกาของจำเลยจึงตกไป แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นคำฟ้องฎีกาฉบับใหม่พร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาและผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งรับคำฟ้องฎีกาของจำเลยก็ตาม ก็เป็นคำฟ้องฎีกาที่ยื่นพ้นกำหนด1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3865/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งเอกสารภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำฟ้องว่า นัดไต่สวนมูลฟ้องให้โจทก์นำส่งสำเนาคำฟ้องและหมายนัดให้จำเลย ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้อง กำหนด 7 วัน ดังกล่าวแม้จะไม่ระบุให้ชัดว่านับแต่วันใด ก็มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่าให้แถลงใน 7 วัน นับแต่วันส่งสำเนาคำฟ้องและหมายนัดไม่ได้ หาใช่นับแต่วันที่เจ้าพนักงานเดินหมายรายงานผลการส่งหมายต่อศาลไม่ เมื่อโจทก์ไม่แถลงต่อศาลใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ตามคำสั่งศาล จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้จำหน่ายคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1) ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3781/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องเกินกำหนด: ศาลต้องไต่สวนก่อนตัดสิน
เมื่อตามคำร้องไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้ทราบการฝ่าฝืนกฎหมายเมื่อใดข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องได้ยื่นคำร้องเกินกำหนด 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์แห่งการฝ่าฝืนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสองหรือไม่ ศาลชั้นต้นชอบที่จะทำการไต่สวนเสียก่อน ที่ศาลชั้นต้นด่วนยกคำร้องของผู้ร้องโดยไม่ได้ทำการไต่สวนเสียก่อนจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2632/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงท้าตรวจลายมือชื่อและการงดการส่งเอกสารตรวจพิสูจน์ก่อนถึงกำหนด
ในวันนัดสืบพยานโจทก์คู่ความตกลงท้ากันว่า ขอให้ส่งหนังสือสัญญาซื้อขายไปตรวจพิสูจน์ว่า ลายมือชื่อในช่องผู้ขายเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของ ส.หรือไม่ หากเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงฝ่ายจำเลยยอมแพ้ ถ้าหากไม่ใช่ลายมือชื่อที่แท้จริงโจทก์ยอมแพ้ ทั้งสองฝ่ายจะออกค่าใช้จ่ายคนละครึ่ง หากฝ่ายใดไม่ยินยอมออกค่าใช้จ่ายให้ถือว่าฝ่ายนั้นยอมแพ้โดยไม่จำเป็นต้องตรวจพิสูจน์ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เป็นไปตามที่คู่ความท้ากันและมีคำสั่งให้โจทก์จำเลยนำเงินค่าตรวจพิสูจน์มาวางต่อศาลภายในวันที่ 21 ธันวาคม 2532 หากไม่นำมา ศาลจะถือว่าฝ่ายนั้นยอมแพ้ตามรายงานกระบวนพิจารณาที่คู่ความท้ากัน ครั้นถึงกำหนดจำเลยได้นำเงินค่าตรวจพิสูจน์มาวางต่อศาลชั้นต้นเพียงฝ่ายเดียว ดังนี้ แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้นำเงินค่าตรวจพิสูจน์มาวางศาลภายในกำหนดก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้ส่งเอกสารไปตรวจพิสูจน์เพราะยังอยู่ในระหว่างรวบรวมเอกสาร ทั้งยังไม่ทราบค่าตรวจพิสูจน์ว่าเป็นจำนวนเท่าใด การที่โจทก์ยังไม่ได้วางเงินค่าตรวจพิสูจน์ต่อศาลชั้นต้นจึงมิใช่ข้อที่บ่งชี้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดข้อตกลงโดยผิดเงื่อนไขตามคำท้าแต่เป็นกรณีที่ยังไม่ถึงขั้นตอนที่จะต้องวางเงินค่าตรวจพิสูจน์ การที่ศาลชั้นต้นด่วนงดการส่งเอกสารไปตรวจพิสูจน์และวินิจฉัยว่าโจทก์แพ้คดีตามคำท้านั้นจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับขยายเวลาอุทธรณ์ต้องยื่นภายในกำหนด หากพ้นกำหนดแล้วฎีกาต้องห้าม
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 24สิงหาคม 2533 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องอ้างว่าล่วงเลยกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้วจำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 3 กันยายน 2533โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ซึ่งตามกฎหมายไม่จำต้องกระทำการปฏิบัติของจำเลยดังกล่าวจึงไม่มีผลตามกฎหมาย วันที่ 2 ตุลาคม 2533 จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เป็นการยื่นอุทธรณ์คำสั่งเมื่อพ้นกำหนด 1 เดือน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 229 ศาลชั้นต้นรับเป็นอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าฎีกาของจำเลยเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249