พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ชำระค่าแชร์ของผู้ประมูลและผู้ค้ำประกัน แม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
จำเลยเป็นลูกวงแชร์ได้ประมูลแชร์ในเดือนมีนาคมได้ มีหน้าที่จะต้องชำระค่าแชร์คืนโจทก์ ซึ่งเป็นนายวงเป็นงวดประจำเดือนตั้งแต่เดือนเมษายนถึงกันยายน เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่ชำระค่าแชร์ให้แก่โจทก์ ปัญหาว่าค่าแชร์งวดประจำเดือนมิถุนายนถึงกันยายนจะถึงกำหนดชำระแล้วหรือไม่ จึงไม่สำคัญ จำเลยต้องชำระค่าแชร์งวดประจำเดือนมิถุนายนถึงกันยายนให้แก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บเช็คก่อนกำหนดชำระ และสิทธิในการไล่เบี้ยลูกหนี้ผู้สั่งจ่ายเช็ค
การที่เจ้าหนี้ผู้ทรงเช็ค (โจทก์ ) เป็นแต่เพียงนำเช็คที่จำเลยลูกหนี้เป็นผู้สั่งจ่ายไปเข้าบัญชีของตนที่ธนาคาร ก.ก่อนเช็คถึงกำหนด 1 วัน ซึ่งเจ้าหนี้ผู้ทรงเช็คมีสิทธิที่จะทำเช่นนั้นได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ธนาคารดังกล่าวเรียกเก็บเงินจากธนาคารเจ้าของเช็คเมื่อเช็คถึงกำหนดชำระตามวิธีการของธนาคารนั่นเอง เมื่อธนาคาร ก.ด่วนเรียกเก็บเงินไปยังธนาคารเจ้าของเช็ค และธนาคารเจ้าของเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินอ้างว่าเงินในบัญชีจำเลยลูกหนี้ไม่พอจ่ายในวันเดียวกันนั้นเองนั้นเป็นเรื่องการปฏิบัติงานในระหว่างธนาคารกับธนาคารจะถือว่าผู้ทรงเช็คใช้สิทธิไล่เบี้ยลูกหนี้ผู้สั่งจ่ายก่อนเช็คถึงกำหนดหาได้ไม่ เมื่อธนาคารได้ ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ลูกหนี้ผู้สั่งจ่ายจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คนั้น ทั้งเจ้าหนี้ผู้ทรงเช็คได้ทวงถามให้ลูกหนี้ผู้สั่งจ่ายชำระเงินตามเช็คหลายครั้งแล้ว ลูกหนี้ผู้สั่งจ่ายก็แจ้งว่าไม่มีเงินชำระ ดังนี้ เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามเช็ครายนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเช็คเข้าบัญชีก่อนกำหนด ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิไล่เบี้ยก่อนถึงกำหนด เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระหนี้
การที่เจ้าหนี้ผู้ทรงเช็ค(โจทก์) เป็นแต่เพียงนำเช็คที่จำเลยลูกหนี้เป็นผู้สั่งจ่ายไปเข้าบัญชีของตนที่ธนาคาร ก.ก่อนเช็คถึงกำหนด 1 วัน ซึ่งเจ้าหนี้ผู้ทรงเช็คมีสิทธิที่จะทำเช่นนั้นได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ธนาคารดังกล่าวเรียกเก็บเงินจากธนาคารเจ้าของเช็คเมื่อเช็คถึงกำหนดชำระตามวิธีการของธนาคารนั้นเอง เมื่อธนาคาร ก. ด่วนเรียกเก็บเงินไปยังธนาคารเจ้าของเช็ค และธนาคารเจ้าของเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินอ้างว่าเงินในบัญชีจำเลยลูกหนี้ไม่พอจ่ายในวันเดียวกันนั้นเองนั้น เป็นเรื่องการปฏิบัติงานในระหว่างธนาคารกับธนาคาร จะถือว่าผู้ทรงเช็คใช้สิทธิไล่เบี้ยลูกหนี้ผู้สั่งจ่ายก่อนเช็คถึงกำหนดหาได้ไม่ เมื่อธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ลูกหนี้ผู้สั่งจ่ายจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คนั้น ทั้งเจ้าหนี้ผู้ทรงเช็คได้ทวงถามให้ลูกหนี้ผู้สั่งจ่ายชำระเงินตามเช็คหลายครั้งแล้วลูกหนี้ผู้สั่งจ่ายก็แจ้งว่าไม่มีเงินชำระ ดังนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามเช็ครายนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีซื้อขายสินค้า: เริ่มนับจากวันถึงกำหนดชำระ ไม่ใช่วันหักเครดิตโน้ท
จำเลยซื้อสินค้าเชื่อจากโจทก์ ในใบนำส่งสินค้าแต่ละคราวมีข้อความระบุว่าให้ผู้ซื้อชำระราคาภายใน 30 วัน และโจทก์จำเลยมีข้อตกลงกันว่าถ้าสินค้าชำรุดย่อมให้จำเลยส่งคืนได้ โจทก์จะคิดชดเชยราคาให้ตามส่วนและสภาพของสินค้า โดยโจทก์จะออกใบเครดิตโน้ทให้จำเลย แสดงยอดเงินที่โจทก์คิดชดเชยให้ และโจทก์จะนำยอดเงินในเครดิตโน้ทนั้นไปหักออกจากราคาสินค้าที่จำเลยเป็นหนี้อยู่ ดังนี้ สิทธิเรียกร้องในราคาสินค้าของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับจากวันถึงกำหนดชำระตามใบนำส่งสินค้า มิใช่นับจากวันที่หักราคาสินค้ากับเครดิตโน้ท เมื่อนับจากวันถึงกำหนดชำระตามใบนำส่งสินค้าทุกฉบับจนถึงวันฟ้องเกินกว่า 2 ปีแล้ว คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)
ข้อตกลงเรื่องคืนสินค้าดังกล่าวเป็นการตกลงกันในเรื่องคุณภาพของสินค้า จำเลยจะใช้สิทธิคืนสินค้าหรือไม่ย่อมแล้วแต่ฝ่ายจำเลยจะเลือกปฏิบัติใบ
เครดิตโน้ทที่โจทก์ออกให้เมื่อจำเลยส่งสินค้าชำรุดคืนก็เป็นเพียงหลักฐานที่โจทก์ยินยอมชดเชยราคาให้แก่ฝ่ายจำเลยเอง และเป็นหลักฐานที่โจทก์ฝ่ายเดียวทำขึ้น การที่จำเลยส่งสินค้าคืนเพื่อเรียกค่าชดเชยจากโจทก์จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลยอันจะทำให้อายุความ สะดุดหยุดลง
ข้อตกลงเรื่องคืนสินค้าดังกล่าวเป็นการตกลงกันในเรื่องคุณภาพของสินค้า จำเลยจะใช้สิทธิคืนสินค้าหรือไม่ย่อมแล้วแต่ฝ่ายจำเลยจะเลือกปฏิบัติใบ
เครดิตโน้ทที่โจทก์ออกให้เมื่อจำเลยส่งสินค้าชำรุดคืนก็เป็นเพียงหลักฐานที่โจทก์ยินยอมชดเชยราคาให้แก่ฝ่ายจำเลยเอง และเป็นหลักฐานที่โจทก์ฝ่ายเดียวทำขึ้น การที่จำเลยส่งสินค้าคืนเพื่อเรียกค่าชดเชยจากโจทก์จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลยอันจะทำให้อายุความ สะดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับสิทธิเจ้าหนี้ภาษีอากรในคดีล้มละลาย: ภาษีที่ถึงกำหนดชำระเกิน 6 เดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้หนีภาษีอากรจะเป็นหนี้บุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษและบัญญัติขึ้นภายหลังได้กำหนดลำดับสิทธิในการที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ไว้ตามมาตรา 130 จึงเป็นข้อยกเว้นจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไป ในการขอรับชำระหนี้ภาษีอากร จึงต้องถือตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสำคัญ
ภาษีอากรถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) นั้นคือ ภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระระหว่าง 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั่นเอง มิได้รวมถึงภาษีอากรที่ได้ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างใด หนี้ภาษีการค้าที่ลูกค้าติดค้างอยู่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) เท่านั้น
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84, 85 ทวิ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปมาตรา 86 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 89 ทวิ วรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่ม ฯลฯ ให้เริ่มนับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษี ซึ่งหมายความว่าเงินเพิ่มนั้นจะเริ่มคิดคำนวณทันทีหลังจากที่ลูกหนี้ไม่ชำระภาษีการค้าภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หาใช่นับแต่ภายหลังที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินภาษีไปยังลูกหนี้ แล้วลูกหนี้ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด 30 วัน นับแต่เจ้าหนี้แจ้งการประเมินไม่ ฉะนั้นแม้เจ้าหนี้เพิ่งแจ้งการประเมินภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับผิดในเงินเพิ่มดังกล่าว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี บัญญัติว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือว่าเป็นเงินภาษี และมาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ฉะนั้น เงินเพิ่มที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จึงต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ตอน เงินเพิ่มสำหรับระยะเวลา 6 เดือนก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ รวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) ส่วนเงินเพิ่มและภาษีบำรุงเทศบาลที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน อยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8)
ภาษีอากรถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) นั้นคือ ภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระระหว่าง 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั่นเอง มิได้รวมถึงภาษีอากรที่ได้ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างใด หนี้ภาษีการค้าที่ลูกค้าติดค้างอยู่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) เท่านั้น
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84, 85 ทวิ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปมาตรา 86 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 89 ทวิ วรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่ม ฯลฯ ให้เริ่มนับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษี ซึ่งหมายความว่าเงินเพิ่มนั้นจะเริ่มคิดคำนวณทันทีหลังจากที่ลูกหนี้ไม่ชำระภาษีการค้าภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หาใช่นับแต่ภายหลังที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินภาษีไปยังลูกหนี้ แล้วลูกหนี้ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด 30 วัน นับแต่เจ้าหนี้แจ้งการประเมินไม่ ฉะนั้นแม้เจ้าหนี้เพิ่งแจ้งการประเมินภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับผิดในเงินเพิ่มดังกล่าว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี บัญญัติว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือว่าเป็นเงินภาษี และมาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ฉะนั้น เงินเพิ่มที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จึงต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ตอน เงินเพิ่มสำหรับระยะเวลา 6 เดือนก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ รวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) ส่วนเงินเพิ่มและภาษีบำรุงเทศบาลที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน อยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401-1402/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษี: เริ่มนับจากวันถึงกำหนดชำระภาษี ไม่ใช่เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งหนี้
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องยื่นรายการซึ่งจำต้องใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้ตามแบบต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับชำระภาษีภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ถ้าแบบที่ยื่นไว้แสดงรายการไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ทำให้จำนวนภาษีเงินได้ขาดไปก็ต้องถือว่าหนี้ค่าภาษีจำนวนที่ขาดไปนี้ถึงกำหนดชำระตั้งแต่วันที่ผู้เสียภาษีเงินได้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มิใช่ถึงกำหนดชำระเมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งให้ผู้เสียภาษีเงินได้ชำระค่าภาษี
อายุความเรียกร้องให้ชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้เสียภาษียื่นรายการและชำระค่าภาษี ถ้ามิใช่สิทธิเรียกร้องให้ชำระภายใน 10 ปีขาดอายุความ(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 31/2514)
อายุความเรียกร้องให้ชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้เสียภาษียื่นรายการและชำระค่าภาษี ถ้ามิใช่สิทธิเรียกร้องให้ชำระภายใน 10 ปีขาดอายุความ(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 31/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1885/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาไม่ถือกำหนดชำระเคร่งครัด สัญญาไม่เลิก จำเลยต้องบอกกล่าวทวงหนี้ก่อนเลิกสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของจำเลยโดยมีข้อสัญญาว่า ให้โจทก์ผ่อนชำระราคา 60 เดือน กำหนดให้ชำระภายในวันที่ 5 ของเดือน ถ้าผิดนัดโจทก์ยอมให้จำเลยริบเงินที่ชำระแล้ว โดยไม่ต้องทวงถามกันอีก และให้ถือว่าเป็นการเลิกสัญญาด้วย โจทก์ชำระตามกำหนดเพียง 8 งวด ต่อจากนั้นได้ชำระคลาดเคลื่อนไปจากวันที่กำหนดไว้บ้าง 2 เดือน 3 เดือนชำระครั้งบ้าง แม้กระทั่งค้างชำระอยู่ถึง 10 งวดแล้วจึงชำระในคราวเดียวกัน จำเลยก็ยอมรับชำระตลอดมา แสดงว่าโจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาถือเอากำหนดเวลาชำระเงินค่าที่ดินเคร่งครัดตามข้อสัญญา ต่อมาโจทก์มิได้ชำระเงินอยู่ปีกว่า แล้วจึงส่งเงินที่ยังค้างอยู่ทั้งหมดชำระให้ในคราวเดียวกัน จำเลยจะไม่ยอมรับเงินโดยถือว่าสัญญาได้เลิกกันแล้วและริบเงินที่ได้ชำระแล้วเสีย ดังนี้ หาได้ไม่ เพราะเมื่อไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระเงินเป็นข้อผูกพันซึ่งกันและกันแล้ว เมื่อครบกำหนด 60 เดือนตามสัญญา โจทก์ยังชำระหนี้ไม่ครบ จำเลยมีหน้าที่ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ภายในระยะเวลาพอสมควร หากโจทก์ยังไม่ชำระจำเลยจึงจะมีสิทธิเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน ผู้กู้ผิดนัด เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องเรียกหนี้ได้แม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ให้การว่าจะได้ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกันหรือเปล่าจำไม่ได้สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้อง จำเลยที่ 2 ไม่รับรองและไม่ยืนยันถือว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีข้อต่อสู้ และไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ
กู้เงินโจทก์โดยสัญญาจะชำระดอกเบี้ยให้ทุกเดือน แต่มิได้ชำระให้โจทก์ทวงถามก็ไม่ชำระ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัด เมื่อมีสัญญาระบุว่าถ้าผู้กู้ประพฤติผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดยอมให้โจทก์ฟ้องเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยได้โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องผู้กู้ให้ชำระหนี้ได้แม้เงินต้นยังไม่ถึงกำหนดชำระ และเมื่อผู้กู้ผิดนัด โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686
กู้เงินโจทก์โดยสัญญาจะชำระดอกเบี้ยให้ทุกเดือน แต่มิได้ชำระให้โจทก์ทวงถามก็ไม่ชำระ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัด เมื่อมีสัญญาระบุว่าถ้าผู้กู้ประพฤติผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดยอมให้โจทก์ฟ้องเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยได้โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องผู้กู้ให้ชำระหนี้ได้แม้เงินต้นยังไม่ถึงกำหนดชำระ และเมื่อผู้กู้ผิดนัด โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากรค้างชำระในคดีล้มละลาย: สิทธิในการขอรับชำระหนี้ แม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
เจ้าพนักงานผู้ตรวจภาษี ตรวจพบภายหลังจำเลยผู้ล้มละลายได้ยื่นรายการเสียภาษีต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องเสีย จึงมีหนังสือแจ้งจำนวนเงินที่จะต้องชำระอีกไปยังจำเลยผู้ต้องเสียภาษีเพิ่มเติม โดยอาศัยประมวลรัษฎากร มาตรา 19,20 และ 22 ดังนี้มูลหนี้ย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยยื่นรายงานแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วนนั้น เพราะเจ้าพนักงานย่อมมีสิทธิจะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นนั้นได้ตามกฎหมายดังกล่าวตั้งแต่บัดนั้น เจ้าพนักงานซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ตามนัยแห่งมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 130(6) ที่ว่า"ค่าภาษีอากรฯลฯที่ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์" นั้น ไม่หมายความว่าหนี้นั้นจะต้องถึงกำหนดชำระก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นแต่หมายความว่า ถ้าหนี้นั้นถึงกำหนดชำระก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ก็ต้องถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งดังกล่าว จึงจะเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา 130(6) แต่ถ้าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เช่นในคดีนี้ ที่กำหนดให้ชำระหนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับหนังสือและวันได้รับแจ้งการประเมินตามลำดับ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยนั้น ไม่มีกฎหมายจำกัดไว้ จึงเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา130(6) ด้วย เพราะในคดีล้มละลายนั้น การขอรับชำระหนี้ย่อมขอรับได้รวมทั้งหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเมื่อลูกหนี้ตกเป็นคนล้มละลาย เจ้าหนี้อื่นใดจะฟ้องก็ไม่ได้ได้แต่ขอรับชำระหนี้ ถ้าไม่ยอมให้เจ้าหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดได้รับชำระหนี้ร้องขอชำระหนี้ เจ้าหนี้นั้นก็อาจไม่ได้รับชำระหนี้เลย เพราะพ้นเวลาขอรับชำระหนี้เสียแล้ว ฉะนั้นเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้รายการอันดับ 8-9 ตามมาตรา 130(6)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 130(6) ที่ว่า"ค่าภาษีอากรฯลฯที่ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์" นั้น ไม่หมายความว่าหนี้นั้นจะต้องถึงกำหนดชำระก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นแต่หมายความว่า ถ้าหนี้นั้นถึงกำหนดชำระก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ก็ต้องถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งดังกล่าว จึงจะเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา 130(6) แต่ถ้าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เช่นในคดีนี้ ที่กำหนดให้ชำระหนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับหนังสือและวันได้รับแจ้งการประเมินตามลำดับ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยนั้น ไม่มีกฎหมายจำกัดไว้ จึงเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา130(6) ด้วย เพราะในคดีล้มละลายนั้น การขอรับชำระหนี้ย่อมขอรับได้รวมทั้งหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเมื่อลูกหนี้ตกเป็นคนล้มละลาย เจ้าหนี้อื่นใดจะฟ้องก็ไม่ได้ได้แต่ขอรับชำระหนี้ ถ้าไม่ยอมให้เจ้าหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดได้รับชำระหนี้ร้องขอชำระหนี้ เจ้าหนี้นั้นก็อาจไม่ได้รับชำระหนี้เลย เพราะพ้นเวลาขอรับชำระหนี้เสียแล้ว ฉะนั้นเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้รายการอันดับ 8-9 ตามมาตรา 130(6)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 179/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดชำระค่าเช่าและการมีอำนาจฟ้องขับไล่: การพิจารณาตามกำหนดเวลาในสัญญาเช่า
ตามสัญญาระบุว่าให้ชำระค่าเช่าภายในวันที่ 7 ของเดือนใหม่ ฉะนั้นถ้ายังไม่ถึงวันที่ 7 ของเดือนใหม่ก็ยังไม่ถือว่าค้างชำระค่าเช่า.