พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมอาคารชุด: การเทียบเคียงกฎหมายและกำหนดระยะเวลา
ตาม พ.ร.บ. อาคารชุด พ.ศ. 2522 มิได้กำหนดเวลาร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม อันผิดระเบียบไว้ เหตุนี้จำต้องวินิจฉัยคดีอาศัยเทียบเคียงกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 ในกรณีนี้ได้แก่ ป.พ.พ. มาตรา 1195 ที่ให้การร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นต้องร้องขอภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมตินั้น ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้การจัดการนิติบุคคลอาคารชุดเป็นไปได้โดยรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพตรงตามความประสงค์ของเจ้าของร่วมทั้งหลาย ทั้งกำหนดเวลาดังกล่าวมิใช่กำหนดอายุความที่ใช้บังคับแก่สิทธิเรียกร้อง จะนำกำหนดอายุความทั่วไปสิบปีมาใช้แก่คดีนี้มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8175/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาฎีกาที่ศาลอนุญาตโดยเริ่มนับวันจากวันหยุดราชการ ทำให้การยื่นฎีกาเกินกำหนด
คดีอาญาเรื่องนี้ครบกำหนดฎีกาในวันที่ 12 มิถุนายน 2542 แต่ในวันที่ 9 มิถุนายน 2542 ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอขยายระยะเวลาฎีกาออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามขอ ระยะเวลาที่ขอขยายออกไปจึงให้เริ่มนับแต่วันที่ครบกำหนดฎีกาคือวันที่ 12 มิถุนายน 2542โดยเริ่มนับ 1 ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2542 แม้ว่าวันดังกล่าวจะเป็นวันหยุดราชการก็ตาม ดังนั้น จำเลยจึงมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 12กรกฎาคม 2542 แต่ปรากฏว่าจำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้รับรองฎีกาและยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2542 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่พ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้ ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5180/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีสิทธิบอกเลิกได้ไม่เข้าข้อยกเว้นค่าชดเชย
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนซึ่งจะเข้าข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสาม จะต้องเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดสัญญาเอาไว้แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และจะต้องเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นด้วย
กฎหมายเรื่องค่าชดเชยเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงดูเจตนาของคู่สัญญาประกอบการตีความเจตนาไม่ได้
สัญญาจ้างแรงงานฉบับพิพาท กำหนดให้โจทก์และจำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้โดยบอกกล่าวให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้า 2 เดือน สัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดสัญญา จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118
กฎหมายเรื่องค่าชดเชยเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงดูเจตนาของคู่สัญญาประกอบการตีความเจตนาไม่ได้
สัญญาจ้างแรงงานฉบับพิพาท กำหนดให้โจทก์และจำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้โดยบอกกล่าวให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้า 2 เดือน สัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดสัญญา จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5180/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา แต่มีข้อตกลงเลิกจ้างล่วงหน้า 2 เดือน ไม่เข้าข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนซึ่งจะเข้าข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 118 วรรคสาม จะต้องเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดสัญญาเอาไว้แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และจะต้องเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นด้วย
กฎหมายเรื่องค่าชดเชยเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงดูเจตนาของคู่สัญญาประกอบการตีความเจตนาไม่ได้
สัญญาจ้างแรงงานฉบับพิพาท กำหนดให้โจทก์และจำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้โดยบอกกล่าวให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้า 2 เดือน สัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดสัญญา จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118
กฎหมายเรื่องค่าชดเชยเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงดูเจตนาของคู่สัญญาประกอบการตีความเจตนาไม่ได้
สัญญาจ้างแรงงานฉบับพิพาท กำหนดให้โจทก์และจำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้โดยบอกกล่าวให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้า 2 เดือน สัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดสัญญา จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5180/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแต่สามารถบอกเลิกได้ก่อนกำหนด ไม่เข้าข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนซึ่งจะเข้าข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสาม จะต้องเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดสัญญาเอาไว้แน่นอนไม่มีการเปลี่ยนแปลงและจะต้องเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นด้วย กฎหมายเรื่องค่าชดเชยเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจะดูเจตนาของคู่สัญญาประกอบด้วยไม่ได้เมื่อสัญญาจ้างกำหนดให้โจทก์และจำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้โดยบอกกล่าวให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้า สัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดสัญญาจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3995/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาต้องทำเป็นหนังสือตั้งแต่เริ่มจ้าง หากไม่เป็นไปตามนั้นนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
++ คดีแดงที่ 3995-4017/2542 ++
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้าง จำต้องมีลักษณะเข้าข้อกำหนดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสี่ด้วย กล่าวคือนายจ้างและลูกจ้างจะต้องทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง
จำเลยไม่ได้ทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นหนังสือตั้งแต่แรกที่เริ่มจ้างแต่เพิ่งจะมาทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือฉบับแรกในภายหลังจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 46 วรรค 4ดังนี้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้างซึ่งเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ การเลิกจ้างที่จะต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นการจ้างที่คู่สัญญาไม่ได้กำหนดลงไว้ในสัญญาว่าจะจ้างกันนานเท่าไร จำเลยจ้างโจทก์โดยทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือมีกำหนดระยะเวลาจ้างไว้และจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ในวันที่ครบกำหนดในสัญญาจ้าง จึงเป็นกรณีที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญาจ้างจำเลยจึงไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้าง จำต้องมีลักษณะเข้าข้อกำหนดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสี่ด้วย กล่าวคือนายจ้างและลูกจ้างจะต้องทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง
จำเลยไม่ได้ทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นหนังสือตั้งแต่แรกที่เริ่มจ้างแต่เพิ่งจะมาทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือฉบับแรกในภายหลังจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 46 วรรค 4ดังนี้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้างซึ่งเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ การเลิกจ้างที่จะต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นการจ้างที่คู่สัญญาไม่ได้กำหนดลงไว้ในสัญญาว่าจะจ้างกันนานเท่าไร จำเลยจ้างโจทก์โดยทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือมีกำหนดระยะเวลาจ้างไว้และจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ในวันที่ครบกำหนดในสัญญาจ้าง จึงเป็นกรณีที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญาจ้างจำเลยจึงไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3995-4017/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาต้องทำเป็นหนังสือตั้งแต่เริ่มจ้าง จึงจะได้รับการยกเว้นค่าชดเชย
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างนั้น ต้องมีลักษณะเข้าข้อกำหนดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสี่ คือนายจ้างและลูกจ้างจะต้องทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือตั้งแต่แรกที่เริ่มจ้าง ดังนั้น การที่โจทก์และจำเลยเพิ่งจะมาทำสัญญาจ้างฉบับแรกภายหลังลงมือทำงานแล้ว 1 เดือน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอนเมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้างซึ่งเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ การเลิกจ้างที่จะต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 วรรคหนึ่ง นั้นจะต้องเป็นการจ้างที่คู่สัญญาไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญาว่าจะจ้างกันนานเท่าไร เมื่อจำเลยจ้างโจทก์โดยทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือมีกำหนดระยะเวลาจ้างไว้และจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ในวันที่ครบกำหนดในสัญญาจ้างจึงเป็นกรณีที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญาจ้างดังกล่าวไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7567/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์เนื่องจากไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาภายในกำหนด
การเขียนอุทธรณ์ของโจทก์จะต้องตรวจดูถ้อยคำต่าง ๆในคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยละเอียดเพื่อหาข้อโต้แย้งทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นวินิจฉัยมิฉะนั้นอาจไม่เป็นอุทธรณ์ตามกฎหมาย โจทก์จึงจำต้องมีสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้ประกอบการเขียนอุทธรณ์และโจทก์ก็ยื่นคำแถลงขอคัดสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลชั้นต้นแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นไม่สามารถจัดการให้โจทก์ได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในกำหนดระยะเวลา อุทธรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือการบังคับของโจทก์ การที่ โจทก์ยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ศาลชอบที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเกินกำหนดระยะเวลา ศาลฎีกาให้ส่งสำนวนกลับไปพิจารณาใหม่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 3 ลักษณะ 2ว่าด้วยฎีกามิได้บัญญัติถึงวิธีปฏิบัติในการยื่นคำร้องเพื่อที่จะได้รับอนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงต้องนำบทบัญญัติตามมาตรา 230 วรรคสาม ในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 247 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาการที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้รับรองฎีกาเกินกำหนดระยะเวลาฎีกา จึงไม่รับรองฎีกาให้นั้นเป็นการไม่ชอบและถือว่ายังไม่ได้พิจารณาสั่งคำร้องของจำเลยทั้งสอง ศาลฎีกาย่อมให้ศาลชั้นต้นจัดส่งสำนวนและคำร้องดังกล่าวไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อพิจารณาสั่งต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8238/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ทันกำหนดระยะเวลา ทำให้ต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย จำเลยอาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่ง ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา156 วรรคท้าย แต่จำเลยกลับยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อเกินกำหนดระยะเวลา7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ยกคำร้องดังกล่าว จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว