พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้, บังคับคดี, การอายัดทรัพย์: ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดโทษแม้ศาลอุทธรณ์ไม่กำหนด
สัญญากู้ตามฟ้องจำเลยลงชื่อเป็นผู้ให้กู้ กับมี ภ. กับ น. ลงลายมือชื่อในฐานะผู้กู้จริง สัญญากู้ดังกล่าวจึงเป็นเอกสารของจำเลย และเมื่อจำเลยไม่ได้ปลอมว่าเป็นเอกสารของผู้ใด สัญญากู้นั้นจึงไม่ใช่เอกสารปลอม
กรมตำรวจยื่นฟ้องจ่าสิบตำรวจ ภ. กับพวกเป็นจำเลยในคดีแพ่งบังคับให้ชำระเงินฐานทุจริตและละเมิด ระหว่างพิจารณา โจทก์ขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษายึดทรัพย์รถยนต์ของจ่าสิบตำรวจ ภ. ออกขายทอดตลาดโดยเก็บรักษาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้ เมื่อทรัพย์ที่กรมตำรวจขอให้ศาลยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาดังกล่าวนั้น ก็เพื่อป้องกันการจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา ทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลรักษาไว้ในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185
จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่ง แม้จะเป็นหนี้ที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริง จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้และเมื่อศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนี้ การที่จำเลยดำเนินการบังคับคดีแก่จ่าสิบตำรวจภ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยขออายัดเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวที่ผู้เสียหายขอให้ศาลสั่งยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีนั้นมาชำระหนี้จำเลยในคดีนี้จึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีเจตนาเอาทรัพย์ดังกล่าวไปโดยพลการ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265และมาตรา 185,187 ประกอบมาตรา 80,350 เรียงกระทงลงโทษฐานปลอมเอกสารสิทธิจำคุก 1 ปี ฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดี จำคุก 2 ปี รวมจำคุก 3 ปี ข้อหาอื่นให้ยก โจทก์ไม่อุทธรณ์ ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185,187,90 และ 265 เสียด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 เมื่อการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 แต่ศาลชั้นต้นได้กำหนดโทษจำเลยตามข้อหาความผิดฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาลหรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185ซึ่งเป็นบทหนักจึงมิได้กำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 350 ไว้นั้น หากเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 350 เพียงฐานเดียวเช่นนี้ และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคสอง บัญญัติว่าเมื่อศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมาย ให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิด และมาตรา 186(7) และ (8) บัญญัติให้คำพิพากษาต้องมีบทมาตราที่ยกขึ้นปรับ และคำชี้ขาดให้ยกฟ้องหรือลงโทษ ซึ่งหมายความว่า เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมายให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิดโดยอ้างว่ากระทำผิดบทมาตราใด และมีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษไปตามนั้น ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่มีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 จึงเป็นการมิชอบ และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 เพราะมิใช่เป็นกรณีที่ศาลพิพากษาเพิ่มเติมโทษของจำเลยแต่อย่างใดเมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจกำหนดโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้
กรมตำรวจยื่นฟ้องจ่าสิบตำรวจ ภ. กับพวกเป็นจำเลยในคดีแพ่งบังคับให้ชำระเงินฐานทุจริตและละเมิด ระหว่างพิจารณา โจทก์ขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษายึดทรัพย์รถยนต์ของจ่าสิบตำรวจ ภ. ออกขายทอดตลาดโดยเก็บรักษาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้ เมื่อทรัพย์ที่กรมตำรวจขอให้ศาลยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาดังกล่าวนั้น ก็เพื่อป้องกันการจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา ทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลรักษาไว้ในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185
จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่ง แม้จะเป็นหนี้ที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริง จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้และเมื่อศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนี้ การที่จำเลยดำเนินการบังคับคดีแก่จ่าสิบตำรวจภ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยขออายัดเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวที่ผู้เสียหายขอให้ศาลสั่งยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีนั้นมาชำระหนี้จำเลยในคดีนี้จึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีเจตนาเอาทรัพย์ดังกล่าวไปโดยพลการ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265และมาตรา 185,187 ประกอบมาตรา 80,350 เรียงกระทงลงโทษฐานปลอมเอกสารสิทธิจำคุก 1 ปี ฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดี จำคุก 2 ปี รวมจำคุก 3 ปี ข้อหาอื่นให้ยก โจทก์ไม่อุทธรณ์ ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185,187,90 และ 265 เสียด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 เมื่อการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 แต่ศาลชั้นต้นได้กำหนดโทษจำเลยตามข้อหาความผิดฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาลหรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185ซึ่งเป็นบทหนักจึงมิได้กำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 350 ไว้นั้น หากเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 350 เพียงฐานเดียวเช่นนี้ และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคสอง บัญญัติว่าเมื่อศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมาย ให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิด และมาตรา 186(7) และ (8) บัญญัติให้คำพิพากษาต้องมีบทมาตราที่ยกขึ้นปรับ และคำชี้ขาดให้ยกฟ้องหรือลงโทษ ซึ่งหมายความว่า เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมายให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิดโดยอ้างว่ากระทำผิดบทมาตราใด และมีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษไปตามนั้น ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่มีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 จึงเป็นการมิชอบ และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 เพราะมิใช่เป็นกรณีที่ศาลพิพากษาเพิ่มเติมโทษของจำเลยแต่อย่างใดเมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจกำหนดโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7184/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจศาลในการกำหนดโทษปรับตาม พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 50: โทษปรับตายตัว
พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 50 ที่บัญญัติว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 24 ต้องระวางโทษปรับสิบห้าเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิด หรือที่ยังขาดอยู่แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาทฯ นั้น บทบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดโทษปรับไว้ตายตัวว่าจะต้องปรับสิบห้าเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิดฯ ศาลจึงไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดโทษปรับให้น้อยกว่าสิบห้าเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4840/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง: การกำหนดโทษเป็นเดือนหรือปี
ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลย 2 ปี 4 เดือน จำเลยอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุก 28 เดือน เมื่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสองบัญญัติว่า ถ้าระยะเวลาที่คำนวณนั้นกำหนดเป็นเดือนให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือนถ้ากำหนดเป็นปี ให้คำนวณตามปีปฏิทินในราชการ ฉะนั้น ในกรณีกำหนดโทษจำคุกเป็นเดือนในส่วนที่เมื่อรวมกันถึง 12 เดือน ก็จะคิดคำนวณวันที่จำคุกเพียง 360 วัน แต่ถ้าถือว่าการลงโทษจำคุก 12 เดือน เป็นกำหนดโทษจำคุก 1 ปี แล้วจะคิดคำนวณวันที่จำคุกได้ถึง 365 วัน หรือ 366 วัน ย่อมเป็นผลร้ายแก่จำเลยดังนี้ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษจำคุกจำเลยเป็นเดือนจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษและการพิจารณาเลื่อนโทษในคดีอาญา พฤติการณ์ร้ายแรงกระทบต่อการรอการลงโทษ
จำเลยให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นบันทึกคำพิพากษาไว้ในแบบบันทึกคำฟ้องคำรับสารภาพคำพิพากษาซึ่งเป็นแบบพิมพ์คำฟ้องด้วยวาจาว่า"จำเลยผิดตามฟ้องรับลดกึ่งหนึ่งแล้วลงโทษจำคุก6เดือน"จึงชัดแจ้งแล้วว่าเมื่อศาลลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งแล้วคงลงโทษจำเลย6เดือน จำเลยใช้อาวุธมีดขนาดใหญ่ใบมีดยาว19เซนติเมตรกว้าง5เซนติเมตรด้ามมีดยาว53.5เซนติเมตรฟันบริเวณศีรษะอันเป็นอวัยวะส่วนสำคัญของผู้เสียหายมีบาดแผลยาว8.10เซนติเมตรเมื่อผู้เสียหายล้มจำเลยยังฟันซ้ำอีกแต่ด้ามมีดถูกแขนผู้เสียหายพฤติการณ์แห่งคดีร้ายแรงจึงไม่รอการลงโทษให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9378/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการสอบสวนคดีอาญาและการกำหนดโทษพยายามฆ่าเกินอัตราตามกฎหมาย
ตาม ป.วิ.อ. การสอบสวนคดีอาญาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการตามที่เห็นสมควรภายในขอบเขตบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ในการสอบสวนคดีนี้ไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้กระทำผิดกฎหมายหรือผิดหน้าที่อย่างใด ทั้ง ป.วิ.อ.ก็มิได้บัญญัติห้ามมิให้บุคคลอื่นหรือพยานปากอื่นเข้าฟังการสอบสวน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนสอบปากคำพยานโจทก์ทั้งห้าปากพร้อมกัน และพันตำรวจโท อ.พยานโจทก์ปากหนึ่งตรวจดูบันทึกคำให้การพยานโจทก์ชั้นสอบสวนทุกปาก พร้อมทั้งนั่งฟังการสอบสวนด้วยจึงหาทำให้การสอบสวนเสียไปไม่
โทษฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 288 กำหนดโทษไว้เป็น3 ประการ คือ โทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต และจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีโดยให้ศาลเลือกพิจารณาลงโทษตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี ในคดีนี้เป็นการพยายามกระทำความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งศาลชั้นต้นได้พิจารณาเลือกกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยคือโทษตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ฉะนั้นโทษสูงสุดของอัตราโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ 20 ปีดังกล่าวที่สามารถจะลงโทษในข้อหาฐานพยายามได้ในกรณีนี้คือ 13 ปี 4 เดือนการที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยข้อหาฐานพยายามฆ่า 15 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็นการลงโทษเกินสองในสามส่วนของโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สมควรแก้ไขโทษเสียให้เป็นการถูกต้อง
โทษฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 288 กำหนดโทษไว้เป็น3 ประการ คือ โทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต และจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีโดยให้ศาลเลือกพิจารณาลงโทษตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี ในคดีนี้เป็นการพยายามกระทำความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งศาลชั้นต้นได้พิจารณาเลือกกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยคือโทษตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ฉะนั้นโทษสูงสุดของอัตราโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ 20 ปีดังกล่าวที่สามารถจะลงโทษในข้อหาฐานพยายามได้ในกรณีนี้คือ 13 ปี 4 เดือนการที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยข้อหาฐานพยายามฆ่า 15 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็นการลงโทษเกินสองในสามส่วนของโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สมควรแก้ไขโทษเสียให้เป็นการถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์ด้วยสิ่งเทียมอาวุธปืน: การรับฟังพยานหลักฐาน การกระทำความผิด และการกำหนดโทษ
คำเบิกความของผู้เสียหายที่ยืนยันในเบื้องต้นว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ชิงเอาสร้อยคอของผู้เสียหายไปโดยมีสิบตำรวจเอก ป.ผู้จับจำเลยเบิกความสนับสนุนว่าชั้นจับกุมผู้เสียหายได้แจ้งความดังกล่าวให้พยานทราบอีกทั้งผู้เสียหายยังให้การดังกล่าวต่อพนักงานสอบสวนโดยมีสาระสำคัญสอดคล้องกับคำเบิกความซึ่งเป็นการกระทำทันทีหลังจากเกิดเหตุแล้วใหม่ๆโดยไม่มีโอกาสคิดไตร่ตรองเพื่อปรักปรำให้ร้ายจำเลยทั้งการที่ผู้เสียหายลงชื่อรับรองไว้ในบัญชีทรัพย์ถูกประทุษร้ายกับบัญชีทรัพย์ถูกประทุษร้ายได้คืนแสดงว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ยึดสร้อยคอของผู้เสียหายที่ถูกจำเลยชิงเอาไปได้จากจำเลยจริงและให้ผู้เสียหายรับคืนไปโดยเหตุที่สิบตำรวจเอก ป. และพันตำรวจตรี ศ. พนักงานสอบสวนได้ปฏิบัติการไปตามหน้าที่ไม่มีเหตุให้ต้องทำบันทึกตามเอกสารที่กล่าวมาเพื่อกลั่นแกล้งจำเลยพยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักมั่นคงรับฟังลงโทษจำเลยได้แต่ ปืนไฟแช็กที่จำเลยได้ใช้จี้ผู้เสียหายนั้นเป็น สิ่งเทียมอาวุธปืน มิใช่ อาวุธปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯจึงไม่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา340ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5646/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากตัวการเป็นผู้สนับสนุน และการกำหนดโทษที่เหมาะสมในคดีไม้หวงห้าม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสิบเอ็ดได้ร่วมกันทำไม้พยุงอันเป็นไม้หวงห้ามโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย หรือมิฉะนั้นจำเลยทั้งสิบเอ็ดกับพวกได้รับไว้โดยประการใด ซ่อนเร้น จำหน่ายหรือพาเอาไปเสียให้พ้นซึ่งไม้หวงห้ามของกลางดังกล่าว โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นไม้ที่ได้มาโดยการกระทำผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ.2484 เป็นคำฟ้องที่บรรยายครบองค์ประกอบความผิดแล้วหาเป็นคำฟ้องที่ขัดกันเองอันจะทำให้เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการในความผิดฐานใด และทางพิจารณาปรากฏว่าจำเลยได้กระทำผิดเพียงฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดนั้น ศาลก็ย่อมลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ หาจำต้องบรรยายฟ้องว่าเป็นผู้สนับสนุนไม่ และบทบัญญัติแห่ง ป.อ.มาตรา 86 ก็มิใช่บทมาตราที่บัญญัติว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิด จึงหาจำต้องระบุอ้างมาในคำฟ้องไม่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสิบเอ็ดคนร่วมกันมีไม้พยุงเกินกว่า4 ลูกบาศก์เมตร โดยไม้ดังกล่าวยังมิได้แปรรูป อันเป็นข้อหาฐานความผิดตามพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69 วรรคสอง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484มาตรา 69 วรรคหนึ่ง ประกอบกับ ป.อ. มาตรา 86 ตามข้อเท็จจริงที่ฟังได้ในทางพิจารณาซึ่งเป็นความผิดอันรวมอยู่ในความผิดที่โจทก์ขอให้ลงโทษ แต่มีโทษเบากว่า ย่อมเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ยังคงวางโทษเท่ากับโทษที่ศาลชั้นต้นวางมาในฐานเป็นตัวการในความผิดทั้งสองกระทง โดยมิได้กำหนดโทษให้น้อยลงในฐานเป็นผู้สนับสนุน จึงเป็นการวางโทษที่หนักเกินไปศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมและเหตุดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 8 ที่มิได้อุทธรณ์และฎีกา และจำเลยที่ 3 ที่ถอนฎีกาให้ได้ลดโทษดุจจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7ที่ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69 วรรคหนึ่ง และมาตรา73 วรรคสอง จำคุกคนละ 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.อ.มาตรา 86 และมาตรา 73 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 86 ส่วนอัตราโทษยังคงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7 เป็นเพียงลูกจ้างขนไม้ไปตามคำสั่งของนายจ้าง โดยเฉพาะจำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการหากต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจะต้องออกจากราชการ จึงมีเหตุที่ศาลจะรอการลงโทษนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการในความผิดฐานใด และทางพิจารณาปรากฏว่าจำเลยได้กระทำผิดเพียงฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดนั้น ศาลก็ย่อมลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ หาจำต้องบรรยายฟ้องว่าเป็นผู้สนับสนุนไม่ และบทบัญญัติแห่ง ป.อ.มาตรา 86 ก็มิใช่บทมาตราที่บัญญัติว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิด จึงหาจำต้องระบุอ้างมาในคำฟ้องไม่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสิบเอ็ดคนร่วมกันมีไม้พยุงเกินกว่า4 ลูกบาศก์เมตร โดยไม้ดังกล่าวยังมิได้แปรรูป อันเป็นข้อหาฐานความผิดตามพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69 วรรคสอง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484มาตรา 69 วรรคหนึ่ง ประกอบกับ ป.อ. มาตรา 86 ตามข้อเท็จจริงที่ฟังได้ในทางพิจารณาซึ่งเป็นความผิดอันรวมอยู่ในความผิดที่โจทก์ขอให้ลงโทษ แต่มีโทษเบากว่า ย่อมเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ยังคงวางโทษเท่ากับโทษที่ศาลชั้นต้นวางมาในฐานเป็นตัวการในความผิดทั้งสองกระทง โดยมิได้กำหนดโทษให้น้อยลงในฐานเป็นผู้สนับสนุน จึงเป็นการวางโทษที่หนักเกินไปศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมและเหตุดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 8 ที่มิได้อุทธรณ์และฎีกา และจำเลยที่ 3 ที่ถอนฎีกาให้ได้ลดโทษดุจจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7ที่ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69 วรรคหนึ่ง และมาตรา73 วรรคสอง จำคุกคนละ 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.อ.มาตรา 86 และมาตรา 73 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 86 ส่วนอัตราโทษยังคงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7 เป็นเพียงลูกจ้างขนไม้ไปตามคำสั่งของนายจ้าง โดยเฉพาะจำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการหากต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจะต้องออกจากราชการ จึงมีเหตุที่ศาลจะรอการลงโทษนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษความผิดฐานปลอมแปลงเหรียญกษาปณ์: ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุกตามมาตรา 248
การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 240,244 และ 246แล้วให้เรียงกระทงลงโทษจำเลยทั้งสองเป็น 3 กระทง เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 248 ที่บัญญัติว่า "ถ้าผู้กระทำความผิดตามมาตรา 240 มาตรา 241 หรือมาตรา 247 ได้กระทำความผิดตามมาตราอื่นที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้อันเกี่ยวกับสิ่งที่ตนปลอมหรือแปลงนั้นด้วย ให้ลงโทษผู้นั้นตามมาตรา 240 มาตรา 241 หรือมาตรา 247แต่กระทงเดียว กรณีจึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองตามมาตรา 240 เพียงกระทงเดียว ดังนี้คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดตามมาตรา244 มีกำหนด 4 ปี จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง และเนื่องจากปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ทั้งกรณีเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษจำคุกเป็นปีหรือเดือนตาม ป.อ. มาตรา 21 วรรคสอง และการแก้ไขโทษที่ไม่ถูกต้อง
การที่ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยฐานพยายามกระทำชำเราผู้เสียหายกระทงละ 4 ปี 8 เดือน รวม 8 กระทง เป็นโทษจำคุก 37 ปี 4 เดือน นั้นไม่ถูกต้องเพราะการวางโทษจำคุกเป็นปีทำให้จำเลยเสียเปรียบ ต้องรับโทษมากกว่าการวางโทษจำคุกเป็นเดือน ตาม ป.อ. มาตรา 21 วรรคสอง ศาลฎีกาย่อมแก้ไขให้ถูกต้องโดยพิพากษาแก้เป็นว่า จำคุกกระทงละ 4 ปี 8 เดือน รวม8 กระทงเป็นจำคุก 32 ปี 64 เดือน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การระบุบทบัญญัติความผิดและบทกำหนดโทษ
บรรยายฟ้องอ้างมาตราที่บัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด แม้ไม่ได้อ้างบางมาตราที่กำหนดโทษในการกระทำความผิดฟ้องก็สมบูรณ์ครบตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 158(6) แล้ว.