คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กำไร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล: การตีราคาหุ้นตามมูลค่าที่ควรจะเป็นถือเป็นกำไรที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี
โจทก์ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยและประกันชีวิต โจทก์ได้นำเงินที่กันไว้ไปลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทอื่นด้วย ถือได้ว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ขายหุ้นแต่ปรากฏในบัญชีงบดุลในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ว่าโจทก์ได้เพิ่มราคาหุ้นตามมูลค่าที่ควรจะเป็นไว้ การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการตีราคาเพิ่มขึ้นตามนัยแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3)
หุ้นมิใช่สินค้าคงเหลือ ราคาหุ้นโจทก์จึงต้องถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินได้ตามปกติ เมื่อโจทก์ประกอบกิจการมีกำไรสุทธิจึงไม่ต้องห้ามมิให้ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3) โจทก์จะตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือก เมื่อโจทก์ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและนำลงไว้ในงบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ โจทก์จึงต้องนำราคาหุ้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2262/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสินจ้างพิเศษจากกำไร: เข้าข่ายมาตรา 165(8) มีอายุความ 2 ปี
โจทก์เป็นลูกจ้างในบริษัทจำเลย เรียกร้องเอาเงินตอบแทนพิเศษจากกำไรสุทธิทางบัญชีตามสัญญาจากจำเลยเป็นเงินเปอร์เซ็นต์ จึงเป็นการเรียกร้องเอาสินจ้างชนิดอื่นเพื่อการงานที่ผู้รับจ้างได้กระทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165 (8) แล้ว มีอายุความ 2 ปี หาใช่อายุความ 10 ปีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2262/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสินจ้างพิเศษจากกำไร: สินจ้างชนิดอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 มีอายุความ 2 ปี
โจทก์เป็นลูกจ้างบริษัทจำเลย เรียกร้องเอาเงินตอบแทนพิเศษจากกำไรสุทธิทางบัญชีตามสัญญาจากจำเลย จึงเป็นการเรียกร้องเอาสินจ้างชนิดอื่นเพื่อการงานที่ผู้รับจ้างได้กระทำตาม ป.พ.พ.มาตรา 165(8) มีอายุความ 2 ปี หาใช่อายุความ 10 ปีไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2262/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสินจ้างพิเศษจากกำไร: สัญญาจ้างงานประเภทนี้มีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 165(8)
โจทก์เป็นลูกจ้างในบริษัทจำเลย เรียกร้องเอาเงินตอบแทนพิเศษจากกำไรสุทธิทางบัญชีตามสัญญาจากจำเลยเป็นเงินเปอร์เซ็นต์จึงเป็นการเรียกร้องเอาสินจ้างชนิดอื่นเพื่อการงานที่ผู้รับจ้างได้กระทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(8)แล้ว มีอายุความ 2 ปี หาใช่อายุความ 10 ปีไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4458/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีจากกำไรจากการขายหุ้น พิจารณาเจตนาในการได้มาซึ่งหุ้น และขอบเขตอำนาจประเมินภาษี
บริษัทย่อมมีวัตถุประสงค์ในการหากำไรมาแบ่งปันกัน ในระหว่างผู้ถือหุ้น การได้หุ้นมาย่อมถือได้ว่าเป็นการได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร รายได้จากการขายหุ้นจึงเป็นเงินได้พึงประเมินในการเสียภาษีเงินได้ เว้นแต่จะมีการพิสูจน์ว่า หุ้นนั้นได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรโดยแท้จริง จึงจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามประมวลกฎหมาย รัษฎากร มาตรา 42(9) เมื่อโจทก์ได้หุ้นมาตั้งแต่เริ่มตั้งบริษัทเนื่องจาก การรับมรดก มิใช่รับโอนหรือซื้อจากผู้ใด แม้หุ้นดังกล่าวจะไม่ใช่มรดก แต่เป็นการได้มาเนื่องจากการแบ่งมรดก หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ได้มา โดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับรายได้จากการจำหน่ายหุ้นจำนวนนี้ตาม มาตรา 42(9)
การเอาที่ดินซึ่งเป็นมรดกโอนให้บริษัท ช. แล้วบริษัทออกหุ้นให้แทน แม้บริษัทจะมีข้อจำกัดในการโอนหุ้นเพื่อสงวนหุ้นไว้กับผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งเป็นคนในตระกูลของโจทก์ก็เป็นเรื่องที่จะสงวนผลประโยชน์ที่เกิดจากกิจการของบริษัท ไว้ให้แก่บุคคลในตระกูลของโจทก์มากกว่าเป็นการรักษาทรัพย์สิน ของตระกูลไว้ ซึ่งเป็นเรื่องของการค้าหากำไรนั้นเอง เมื่อโจทก์ รับโอนหุ้นจำนวนนี้มา จึงไม่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตาม มาตรา 42(9) การที่จะพิจารณาว่าสังหาริมทรัพย์ใดได้มาโดย มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตาม มาตรา 42(9) ต้องพิจารณา ในตอนที่ได้มาว่าเป็นการได้มาเพื่อประโยชน์ในทางการค้าหรือ หากำไรหรือไม่ หุ้นของบริษัท ช.ที่ส. ภริยาโจทก์โอนให้โจทก์เพื่อให้โจทก์ ฟ้องคดีเลิกบริษัท ช.นั้นต้องถือว่าส.ยังเป็นผู้ถือหุ้นที่แท้จริงอยู่ เมื่อ ส. รับโอนหุ้นมาจากผู้อื่นอีกต่อหนึ่ง และไม่ปรากฏว่า ได้หุ้นมา โดยมิได้มุ่งในทางการหรือหากำไร จึงต้องถือว่า เป็นการได้มาโดยมุ่ง ในทางการค้าหรือหากำไร เมื่อมีการ ขายหุ้นดังกล่าวจึงต้องเสีย ภาษีเงินได้โดยไม่ได้รับการยกเว้น ตาม มาตรา42(9) เมื่อโจทก์เป็น สามีโดยชอบด้วยกฎหมาย ของเจ้าของหุ้น โจทก์ก็ต้องรับผิด ในการชำระภาษีตาม มาตรา 57ตรี
แม้ ป. รัษฎากร มาตรา 19 ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่น อันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ พ้นกำหนดนี้แล้วเจ้าพนักงานประเมินจะไม่มีอำนาจออกหมายเรียก หรือคำสั่งดังกล่าวก็ตาม แต่ก็หาได้มีบทบัญญัติกำหนดว่า เจ้าพนักงานประเมินต้องทำการประเมินภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3726/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจ่ายระหว่างสาขาธนาคารต่างประเทศ: รายจ่ายต้องห้ามทางภาษีและจำหน่ายกำไรออกนอกประเทศ
เงินที่ธนาคารสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศรับฝากจากลูกค้าแล้วส่งมาให้สาขาในประเทศไทยลงทุน แม้จะเป็นเงินซึ่งจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝาก ก็เป็นรายจ่ายของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยเงินดังกล่าวเมื่อส่งมาลงทุนในประเทศไทยย่อมถือว่าเป็นทรัพย์สินของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ ดังนั้นดอกเบี้ยที่สาขาในประเทศไทยจ่ายให้แก่สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศย่อมถือได้ว่าเป็นรายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง เป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งตนเป็นเจ้าของเองและใช้เองกับเป็นดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุนของตนเอง จึงเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9)(10) และ (11) ต้องนำไปรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และการจ่ายดอกเบี้ยของสาขาในประเทศไทยดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายเงินกำไรออกจากประเทศไทย ผู้จำหน่ายต้องเป็นผู้ส่งเงินกำไรเอง ไม่ใช่ผู้แทนในการซื้อขาย
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ (ใช้บังคับระหว่างปี พ.ศ. 2509ถึง พ.ศ. 2510) ที่บัญญัติว่า "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดจำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไร หรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไร ออกไปจากประเทศไทย ให้เสียภาษีเงินได้ ฯลฯ" นั้นหมายความว่า ผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรและเงินที่จำหน่ายนั้นต้องเป็นกำไรโดยแท้จริงหรือที่ถือได้ว่าเป็นกำไร โจทก์เป็นเพียงผู้ทำการแทนทำการติดต่อกับลูกค้าในประเทศไทยในการขายสินค้าแทนบริษัทอาตาก้า จำกัด ในประเทศญี่ปุ่น เมื่อติดต่อได้ลูกค้าในประเทศไทยแล้ว โจทก์จะแจ้งให้บริษัทนั้นทราบว่ามีลูกค้าในประเทศไทยต้องการซื้อสินค้าชนิดใด แล้วบริษัทดังกล่าวจะติดต่อทำสัญญากับลูกค้ารับเงินจากลูกค้า และส่งสินค้าให้ลูกค้าเอง โจทก์เพียงแต่ได้รับค่านายหน้าจากผู้ขายเท่านั้น ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของลูกค้า ไม่ถือว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงิน ซึ่งลูกค้าส่งไปเป็นค่าซื้อสินค้าบริษัทอาตาก้า จำกัด ในประเทศญี่ปุ่นเอง อันจะถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายเงินกำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา70 ทวิอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2761/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี: ค่าใช้จ่ายส่วนตัว, ค่าบำเหน็จพนักงาน, และส่วนแบ่งกำไรที่ไม่สามารถหักได้
รายจ่ายของโจทก์สำหรับค่าซื้อบัตรการกุศลต่างๆ เช่น บัตรแสดงดนตรีละครค่าซื้อของขวัญในโอกาสต่างๆ เช่น ในงานวันเกิด วันแต่งงาน วันขึ้นปีใหม่ค่าช่วยงานต่างๆ เช่นงานบวช งานเลี้ยง งานทอดกฐิน มีลักษณะเป็นการส่วนตัวหากจะมีผลตอบแทนในด้านการโฆษณาชื่อเสียงและสินค้าของโจทก์อยู่บ้าง ก็เป็นแต่เพียงผลพลอยได้เท่านั้นบางรายการที่เป็นการกุศลก็มิใช่การกุศลสาธารณะจะนำมาหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
เงินค่าบำเหน็จทดแทนของพนักงานและคนงานที่โจทก์กันเงินไว้เป็นรายจ่ายที่จะต้องจ่ายในอนาคต จึงเป็นเงินสำรองโจทก์ไม่มีสิทธิหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี
เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิเป็นรายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี จะนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
การที่โจทก์นำรายจ่ายซึ่งต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมาหักออกเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจประเมินแจ้งจำนวนเงินภาษีที่จะต้องชำระอีกและให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้จากการจ่ายค่าจ้างให้บริษัทต่างประเทศ: เงินค่าจ้างถือเป็นกำไรที่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 70 ทวิ ไม่เป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อน
โจทก์จ้างบริษัทต่างประเทศเป็นที่ปรึกษา โดยส่งคนมาในประเทศ โจทก์ส่งค่าจ้างไปยังบริษัทต่างประเทศ เงินนี้ถือเป็นเงินกำไร หรือถือเป็นเงินกำไรของบริษัทในต่างประเทศรวมอยู่ด้วย ซึ่งโจทก์ต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ
เจ้าพนักงานประเมินใช้วิธีคำนวณจากภาษีที่โจทก์ชำระไว้แล้ว เป็นกำไรสุทธิเท่าใดแล้วหักภาษีที่ชำระแล้วออก เหลือเท่าใดเป็นเงินกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีร้อยละ 15 เป็นการถูกต้องแล้ว
โจทก์เสียภาษีเงินได้แทนบริษัทในต่างประเทศไปแล้ว เป็นการเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ มาตรา 71(1) การเสียภาษีเงินได้ตาม มาตรา 70 ทวิ เป็นการเสียภาษีในการจำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทย ไม่ใช่เสียภาษีซ้ำซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนซื้อขายช้างทำสัญญากู้เป็นหลักฐานคืนเงินและกำไร สัญญาไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยกู้เงินไปจากโจทก์โดยได้ทำสัญญากู้ไว้เป็นหลักฐาน ทางพิจารณาได้ความว่าเป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยเข้าหุ้นส่วนกันซื้อช้างเพื่อขาย โดยทำสัญญากูกันไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการคืนหุ้นและกำไร ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องส่วนข้อที่ว่าช้างที่เข้าหุ้นส่วนกันซื้อมาถูกคนร้ายลักเอาไปจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างไร โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยเพียงใดหรือไม่ เป็นกรณีที่จะต้องว่ากล่าวกันอีกเรื่องหนึ่ง
of 4