พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5652/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายดอกเบี้ยกู้จากบริษัทในเครือ ถือเป็นรายจ่ายคำนวณกำไรสุทธิได้ และนำเงินภาษีที่ชำระแล้วมาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระได้
โจทก์กู้เงินจากบริษัทในเครือของโจทก์เพื่อนำเงินมาประกอบกิจการโดยต้องเสียดอกเบี้ยให้บริษัทในเครือจริง จึงเป็นรายจ่ายที่นำมาคำนวณกำไรสุทธิได้ มิใช่รายจ่ายซึ่งโจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริงตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (9) การที่โจทก์ชำระหนี้ค่าภาษีบางส่วนให้แก่จำเลยแล้ว ศาลย่อมมีคำพิพากษาให้นำเงินภาษีบางส่วนที่โจทก์ชำระแล้วมาหักออกจากเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระทั้งหมดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4550/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายสำนักงานใหญ่ของบริษัทต่างประเทศเป็นค่าใช้จ่ายในประเทศไทย: หลักเกณฑ์การคำนวณกำไรสุทธิและภาษี
รายจ่ายต่าง ๆ ของโจทก์เกี่ยวกับเงินเดือนสำนักงานใหญ่เบี้ยเลี้ยงเงินที่จ่ายในการหยุดพักร้อน เงินบำนาญพนักงานชาวต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและตรวจสำนักงานสาขาของสำนักงานใหญ่ ค่าโฆษณาทั่วไป ค่าเครื่องเขียนและแบบพิมพ์ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ค่าใช้จ่ายอาคารสำนักงานใหญ่ค่าตอบแทนกรรมการและค่าตรวจสอบบัญชี โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่า ได้ใช้จ่ายเพื่อประโยชน์แก่กิจการของสาขาในประเทศไทยอย่างไร เพียงแต่โจทก์ใช้หลักเกณฑ์ในการเฉลี่ยโดยนำรายได้ของสำนักงานสาขาในประเทศไทยมาหารด้วยรายได้รวมของสำนักงานใหญ่และทุกสาขาของโจทก์ แล้วคูณด้วยรายจ่ายส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานซึ่งสำนักงานใหญ่ได้จ่ายไปและถือว่าผลลัพธ์เป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะเป็นหลักเกณฑ์ที่โจทก์ถือปฏิบัติและกำหนดเอาเอง โดยไม่มีหลักฐานใดชี้ให้เห็นว่า ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะจำนวนเท่าใด เพียงแต่คิดว่ารายจ่ายเหล่านี้เกิดประโยชน์แก่สาขาในประเทศไทยด้วยเท่านั้น กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ จะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ เมื่อโจทก์นำค่าใช้จ่ายเหล่านั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิจึงต้องนำยอดค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปรวมเป็นรายได้ในการคำนวณเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ๆ เป็นผลให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นตามจำนวนค่าใช้จ่ายที่นำกลับไปรวมนั้น เมื่อสาขาของโจทก์ในประเทศไทยส่งเงินส่วนเฉลี่ยค่าใช้จ่ายซึ่งมิให้ถือเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะไปยังสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศเงินจำนวนนี้จึงเป็นเงินรายได้ซึ่งจะต้องนำกลับเข้ามารวมคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และต้องถือว่าสาขาของโจทก์ในประเทศไทยได้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ฉะนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4012/2536 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาสินค้าคงเหลือต่ำกว่าทุนและผลกระทบต่อกำไรสุทธิภายใต้ประมวลรัษฎากร
โจทก์ตีราคาสินค้าคงเหลือที่ซื้อมาเกิน 3 ปี ให้ต่ำกว่าทุนโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ 15 ของราคาทุน แล้วคำนวณกำไรสุทธิโดยถือราคาสินค้าคงเหลือตามราคาตลาดซึ่งน้อยกว่าราคาทุนในรอบระยะเวลาบัญชีของปีนั้น ซึ่งราคาสินค้าคงเหลือนี้เป็นราคาที่บริษัทตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย เคยรับซื้อคืนจากตัวแทนจำหน่ายเป็นการกำหนดราคาจากวิธีคำนวณตามวิชาสถิติการจำหน่าย มิใช่หลักเกณฑ์ที่โจทก์กำหนดเองต้องตามเงื่อนไขในประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (6) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2213/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายซื้อข้าวโพดชดเชยขาดสต๊อก เป็นรายจ่ายจริงในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษี
โจทก์ประกอบธุรกิจรับอบข้าวโพดที่จะส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศเมื่อลูกค้านำข้าวโพดมาส่งให้โจทก์ โจทก์จะชั่งน้ำหนักและวัดความชื้นไว้แล้วใช้สูตรมาตรฐานคำนวณว่าเมื่อนำข้าวโพดมาแยกวัสดุเจือปนออกและอบให้ได้ความชื้น ร้อยละ 14.5 แล้วจะเหลือน้ำหนักเท่าใด โจทก์ก็จะออกใบรับตามจำนวนน้ำหนักที่คำนวณจากสูตรมาตรฐานนั้นให้ลูกค้าเพื่อนำมารับข้าวโพดคืน ข้าวโพดที่ลูกค้ามารับคืนไม่จำต้องเป็นจำนวนเดียวกันกับที่ลูกค้านำมาอบ ลูกค้าเป็นผู้รับผิดชอบการสูญเสียน้ำหนักเอง ข้าวโพดที่ผ่านการอบแล้วบางส่วนจะมีความชื้นเหลือน้อยกว่าร้อยละ 14.5 ทำให้สูญเสียน้ำหนักไปเกินกว่าที่คำนวณไว้โดยสูตรมาตรฐานดังกล่าว และยังมีการสูญเสียน้ำหนักภายหลังอบแล้วด้วยเหตุอื่นอีก เช่นความชื้นลดลงอีกตามธรรมชาติและการขนถ่ายข้าวโพดลงเรือซึ่งโจทก์ไม่สามารถปัดให้เป็นความรับผิดของลูกค้าได้ โจทก์ต้องส่งมอบข้าวโพดที่อบแล้วตามจำนวนน้ำหนักที่ได้คำนวณด้วยสูตรมาตรฐานให้แก่ลูกค้าแต่ละรายที่ได้ออกใบรับให้ไว้ ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการซื้อข้าวโพดมาชดเชยจำนวนข้าวโพดที่สูญเสียน้ำหนักไปซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดชอบต่อลูกค้า จึงเป็นรายจ่ายที่มีการจ่ายจริงนำมาคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้ ส่วนค่าใช้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรเจ้าหน้าที่มาตรฐานสินค้าและเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสินค้าที่มาควบคุมการขนถ่ายสินค้าจากไซโล ลงเรือโจทก์จ่ายไปเพื่อประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ แต่มิได้ระบุว่าจ่ายให้แก่ผู้ใด จึงเป็นรายจ่ายที่โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 65 ตรี (18).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ: ค่ากรรมการและค่าซื้อน้ำมันเตา ที่พิสูจน์ได้ ถือเป็นรายจ่ายที่นำมาหักลดหย่อนได้
การที่บริษัท อ. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของโจทก์ได้ส่งกรรมการ 2 คน มาปฏิบัติงานให้โจทก์ตามข้อตกลงในสัญญามูลฐานการลงทุนร่วม แม้ในสัญญาดังกล่าวจะมิได้กำหนดว่าโจทก์ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่กรรมการดังกล่าวคนละเท่าใด แต่เห็นได้ว่าการทำงานของกรรมการนั้นย่อมมีค่าตอบแทน กรรมการทั้งสองเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการบริหารและการตลาดมาทำงานเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์ โดยเฉพาะ การที่โจทก์จ่ายให้กรรมการคนละ 7,500 บาท ต่อเดือน จึงเป็นจำนวนตามสมควร และถือเป็นค่าใช้จ่าย ในอันที่จะนำมาคำนวณกำไรสุทธิได้ ส่วนค่าซื้อนำมันเตาจากบริษัท ซ. นั้น แม้โจทก์จะมีเพียงใบเสร็จรับเงินชั่วคราวมาแสดง แต่ก็มีชื่อและที่อยู่ของบริษัท ซ. ปรากฏอยู่ในใบเสร็จนั้น ทั้งมีลายมือชื่อของพนักงานบริษัทดังกล่าวลงชื่อเป็นผู้รับเงิน และระบุว่าได้ชำระเงินด้วยเช็ค ซึ่งเรียกเก็บเงินจากบัญชีของโจทก์แล้วกรณีรายจ่ายนี้โจทก์พิสูจน์ตัวผู้รับเงินได้ จึงเป็นรายจ่ายที่สามารถนำมาคำนวณกำไรสุทธิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3583/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล: การปรับปรุงกำไรสุทธิ, การหักค่าสูญเสียน้ำหนักสินค้า, และการพิจารณาคำพิพากษาศาลในคดีก่อนหน้า
ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ทวิ(2) แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้หักได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาดังนั้น ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2518 จึงต้องคิดหักตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2509 อันเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว แต่รายการหักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินของโจทก์นั้น โจทก์หาได้ใช้หลักเกณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวไม่ แต่โจทก์คิดหักตามวิธีการทางบัญชีของโจทก์ซึ่งเป็นการคิดหักโดยไม่มีหลักเกณฑ์ เป็นเหตุให้เมื่อรวมทุกรายการแล้วมีค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินมากกว่าการคิดตามหลักเกณฑ์ในพระราชกฤษฎีกา ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินที่โจทก์คิดหักเกินไปเช่นนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2509 มาตรา 5 ยอมให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามวิธีการทางบัญชีซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใช้อยู่ก็ต่อเมื่อการหักตามวิธีการทางบัญชีที่ใช้อยู่นั้น หักต่ำกว่าอัตราตามพระราชกฤษฎีกาเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินที่คิดหักตามวิธีการทางบัญชีของโจทก์เกินกว่าการคิดหักตามหลักเกณฑ์ในพระราชกฤษฎีกา ก็จะต้องคิดหักตามพระราชกฤษฎีกาจะคิดหักตามวิธีการทางบัญชีของโจทก์ไม่ได้ โจทก์เป็นนิติบุคคล กฎหมายกำหนดให้ทำบัญชีและเก็บรักษาเอกสารต่าง ๆ ที่ลงบัญชีไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบ แต่โจทก์ใช้จ่ายเงินไปโดยไม่มีหลักฐานประกอบหรืออ้างอิง ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายซึ่งโจทก์ผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65ตรี (18) การคิดคำนวณการสูญเสียน้ำหนักมันสำปะหลังก่อนนำมาผลิตจนถึงขั้นผลิตเป็นมันอัดเม็ดแล้วส่งถึงมือผู้ซื้อในต่างประเทศจะมีการสูญเสียน้ำหนักไปตามธรรมชาติ เช่น สภาวะอากาศขณะทำการผลิตและขนส่ง ระยะเวลาการเก็บรักษาก่อนผลิตหรือหลังผลิตตลอดจนฝุ่นและมันอัดเม็ดที่ปลิวฟุ้งหรือตกหล่นในทะเลระหว่างการขนส่งด้วยจึงไม่อาจกำหนดกฎเกณฑ์ความสูญเสียของน้ำหนักให้แน่นอนหรือตายตัวได้ จะต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป คดีนี้จำเลยยอมให้โจทก์หักความสูญเสียของน้ำหนักตั้งแต่ก่อนผลิตจนถึงขั้นผลิตเป็นมันอัดเม็ดแล้ว แต่ไม่ยอมหักความสูญเสียของน้ำหนักมันอัดเม็ดระหว่างการขนส่งจากประเทศไทยไปจนถึงมือผู้ซื้อในต่างประเทศซึ่งเป็นความสูญเสียของน้ำหนักมันอัดเม็ดตามธรรมดาและโดยธรรมชาติย่อมจะเกิดขึ้นให้แก่โจทก์ด้วยนั้น ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 39ประกอบด้วยมาตรา 65 เพราะโจทก์มิได้รับเงินจากผู้ซื้อตามน้ำหนักของมันอัดเม็ดที่สูญเสียไปดังกล่าว แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลใช้ดุลพินิจงดหรือลดเงินเพิ่มด้วยก็ตาม แต่ประเด็นข้อนี้ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้ในชั้นชี้สองสถานโจทก์ก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือได้ว่าโจทก์สละประเด็นดังกล่าวแล้วฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงมิได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ คดีก่อนเป็นคดีระหว่างโจทก์และจำเลยในคดีนี้ ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ในรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2515 ถึง 2516โจทก์ไม่มีกำไรสุทธิอันจะต้องเสียภาษีเงินได้ คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงเกี่ยวกับคดีนี้และย่อมมีผลผูกพันจำเลยด้วย ดังนั้น การที่จำเลยคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2518 โดยตั้งฐานคำนวณว่า ในรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2515 และ 2516 โจทก์มีกำไรสุทธิอันจะต้องเสียภาษีเงินได้ จึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์และจำเลยต่างฎีกา โดยโจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่โจทก์ไม่เห็นพ้องด้วย เป็นจำนวนเงิน1,296,949.36 บาท โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาในจำนวนทุนทรัพย์โจทก์ฎีกา มิใช่ต้องถือทุนทรัพย์ตามที่จำเลยฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3410/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินกองทุนสะสมของพนักงานถือเป็นสิทธิของพนักงาน ไม่ใช่ของนายจ้าง จึงเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
ตามระเบียบเงินกองทุนสะสมกำหนดให้โจทก์จ่ายเงินเข้ากองทุนให้แก่พนักงานโดยฝากไว้ต่อธนาคาร ระบุรายชื่อพนักงานแต่ละคนมีสิทธิในเงินกองทุน ดอกเบี้ยที่ธนาคารจ่ายให้แก่เงินฝากตามกองทุนก็ตกเป็นของพนักงาน มิใช่ตกแก่โจทก์ อีกทั้งตามระเบียบเงินกองทุนไม่มีข้อกำหนดให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเบิกเงินจากกองทุน และไม่มีเงื่อนไขกำหนดให้เงินที่โจทก์จ่ายเข้ากองทุนแล้วกลับคืนเป็นของโจทก์อีก เงินกองทุนจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของพนักงาน ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (2) แม้โจทก์จะเป็นผู้เบิกเงินกองทุนจากธนาคารมาจ่ายแก่พนักงาน และมีสิทธิหักเงินที่เบิกมาชำระหนี้ได้ก่อน อีกทั้งพนักงานยังไม่ได้รับเงินจากโจทก์จนกว่าจะพ้นสภาพลูกจ้างก็ตาม ก็หาใช่ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในเงินกองทุนอยู่อีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3410/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินเข้ากองทุนสะสมพนักงานถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ หากจ่ายโดยเด็ดขาด
การที่โจทก์จ่ายเงินเข้ากองทุนให้แก่พนักงานในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี โดยฝากไว้ต่อธนาคารในนามของเงินกองทุนสะสมพนักงานบริษัทโจทก์และมีรายชื่อ พนักงานแต่ละคนเป็นผู้มีสิทธิในเงินกองทุนนั้น ทั้งโจทก์แจ้งยอด เงินสะสมให้พนักงานทราบทุกงวดที่จ่ายเงินสะสมและให้ธนาคารแจ้งยอด เงินสะสมทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยให้พนักงานทราบทุก 6 เดือน ดอกเบี้ยที่ธนาคารจ่ายให้แก่เงินฝากตามกองทุนนั้นก็ตก ได้แก่พนักงานแต่ละคน โดยไม่มีข้อกำหนดให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเบิกเงินจากกองทุนไปใช้เพื่อประโยชน์ของโจทก์และไม่มีเงื่อนไขกำหนดให้เงินดังกล่าวกลับคืนเป็นของโจทก์อีก ดังนั้นเมื่อโจทก์จ่ายเงินเข้ากองทุนให้เป็นกรรมสิทธิ์ของพนักงาน โดยโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในเงินกองทุนนั้นแล้ว จึงเป็นการที่โจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่พนักงานอันเป็นลูกจ้างของโจทก์ไปโดยเด็ด ขาด ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3410/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินกองทุนสะสมพนักงานเป็นสิทธิของลูกจ้าง ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
ตามระเบียบเงินกองทุนสะสมกำหนดให้โจทก์จ่ายเงินเข้ากองทุนให้แก่พนักงานโดยฝากไว้ต่อธนาคาร ระบุรายชื่อพนักงานแต่ละคนมีสิทธิในเงินกองทุน ดอกเบี้ยที่ธนาคารจ่ายให้แก่เงินฝากตาม กองทุนก็ตกเป็นของพนักงาน มิใช่ตกแก่โจทก์ อีกทั้งตามระเบียบ เงินกองทุนไม่มีข้อกำหนดให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเบิกเงินจากกองทุน และไม่มีเงื่อนไขกำหนดให้เงินที่โจทก์จ่ายเข้ากองทุนแล้วกลับคืน เป็นของโจทก์อีกเงินกองทุนจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของพนักงาน ถือเป็น รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (2) แม้โจทก์จะเป็นผู้เบิกเงินกองทุนจากธนาคารมาจ่ายแก่พนักงาน และมีสิทธิหักเงิน ที่เบิกมาชำระหนี้ได้ก่อน อีกทั้งพนักงาน ยังไม่ได้รับเงินจากโจทก์จนกว่าจะพ้นสภาพลูกจ้างก็ตาม ก็หาใช่ ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในเงินกองทุนอยู่อีกไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณกำไรสุทธิและค่าใช้จ่ายในการต่อเรือตามประมวลรัษฎากร การหักค่าใช้จ่ายต้องเป็นของรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน
ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ บัญญัติว่า "การคำนวณกำไรสุทธิฯลฯ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1. รายการที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ตรี ไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย ฯลฯ" ดังนั้น รายจ่ายอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 ตรีย่อมถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ แต่รายจ่ายนั้น ๆ จะต้องเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีที่คำนวณกำไรสุทธินั่นเองเมื่อปรากฎว่าต้นทุนการต่อเรือ 4,632,314.33 บาท เท่านั้นที่เป็นรายจ่ายของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2520ส่วนค่าใช้จ่ายอย่างอื่นที่ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการต่อเรือสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2520 จึงนำค่าใช้จ่ายอื่นดังกล่าวนั้นมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้