พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4069/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับพื้นที่อาคารที่ไม่ได้ใช้ในกิจการ แต่ให้ผู้แทนเฝ้ารักษา
นิติบุคคลโจทก์เป็นเจ้าของอาคาร 4 ชั้น ชั้นล่างบางส่วนเป็นสำนักงานของโจทก์และแบ่งให้เช่า ส่วนชั้น 2 และชั้น 3 โจทก์ให้ ว. กรรมการโจทก์อยู่อาศัยโดยมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรม การที่ ว. กรรมการโจทก์อยู่อาศัยแม้จะได้รับความสะดวกจากการอยู่อาศัยติดต่อกับผู้เช่าอาคารชั้นล่าง แต่มิใช่เป็นการอยู่เพื่อดูแลผลประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์โดยแท้ เพราะโจทก์มีสำนักงานอยู่ที่ชั้นล่างบางส่วนอยู่แล้ว โจทก์จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับอาคารชั้น 2 และชั้น 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8952/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้ดอกเบี้ยจากเงินกู้เพื่อลงทุน ไม่ถือเป็นรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน
โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการทำเหมืองแร่ การแต่งแร่และการถลุงแร่สังกะสี การผลิต แปรรูปหรือแปรสภาพโลหะ ZINC ALLOY การผลิตโลหะ CADMIUN ประเภทการถลุงแร่ เช่นนี้ รายได้เงินดอกเบี้ยรับจากตั๋วสัญญาใช้เงิน จากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และจากบัญชีเงินฝากประจำที่โจทก์ได้รับจากสถาบันการเงินอันเป็นรายได้อื่นที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์นำเงินกู้ที่โจทก์กู้ยืมมาเพื่อใช้ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปฝากไว้ กับสถาบันการเงิน จึงมิใช่เงินรายได้จากการประกอบกิจการทำเหมืองแร่ตามที่โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและ มิใช่เป็นรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้หรือเป็นรายได้จากการจำหน่ายสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ตามความในมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520
วัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มีเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนในประเทศ สนองความต้องการ ของประเทศในการเร่งรัดการลงทุนเพื่อประโยชน์ในการสร้างงาน การเพิ่มรายได้ และการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชน โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมการลงทุนในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามบัตรส่งเสริมการลงทุน ดังนั้น การประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จึงต้องหมายถึงการประกอบการงานที่ได้รับ การส่งเสริมตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเท่านั้น รายได้ดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับจากสถาบันการเงินดังกล่าวย่อมถือเป็น รายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการที่โจทก์ได้รับการส่งเสิรมการลงทุน
วัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มีเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนในประเทศ สนองความต้องการ ของประเทศในการเร่งรัดการลงทุนเพื่อประโยชน์ในการสร้างงาน การเพิ่มรายได้ และการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชน โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมการลงทุนในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามบัตรส่งเสริมการลงทุน ดังนั้น การประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จึงต้องหมายถึงการประกอบการงานที่ได้รับ การส่งเสริมตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเท่านั้น รายได้ดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับจากสถาบันการเงินดังกล่าวย่อมถือเป็น รายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการที่โจทก์ได้รับการส่งเสิรมการลงทุน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6488/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการซื้อขายสินค้า: การค้าที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจการของลูกหนี้
การประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมของโจทก์ทั้งสองเป็นประเภทผลิตและจำหน่ายเครื่องปรับอากาศ ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 3 ประกอบการค้าประเภทพัฒนาที่ดิน ปลูกสร้างอาคารและที่อยู่อาศัยจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป ธุรกิจสองประเภทนี้มิได้มีความเกี่ยวข้องหรือต้องสัมพันธ์กันแต่อย่างใด ทั้งเครื่องปรับอากาศก็ไม่ใช่อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมีประจำอาคาร แต่เป็นเพียงเครื่องใช้อย่างหนึ่งที่ติดตั้งขึ้นเพื่อความสบายในความเป็นอยู่ซึ่งจะมีหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น การค้าหรืออุตสาหกรรมของโจทก์ทั้งสองจึงมิได้ทำขึ้นเพื่อกิจการของจำเลยที่ 1 และที่ 3 อันจะตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้ายที่ว่า เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเองสิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองในหนี้สินดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายน้ำมันโดยบริษัทในเครือต่างประเทศ ไม่ถือเป็นกิจการหรือเนื่องจากกิจการของโจทก์ ไม่ต้องเสียภาษี
โจทก์ฟ้องว่า บริษัทในเครือของบริษัท อ.ซึ่งอยู่ต่างประเทศเป็นผู้ขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ในต่างประเทศโดยลำพังตนเอง ไม่ได้ขายแทนโจทก์ จำเลยให้การว่า การขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ในต่างประเทศบริษัทในเครือของบริษัท อ.เป็นผู้กระทำแทนโจทก์ และศาลภาษีอาการกลางกำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่าโจทก์มีรายได้จากการที่กระทำให้บริษัท อ. หรือบริษัทสาขาหรือบริษัทในเครือใด ๆ ของบริษัท อ.มีการขายและส่งมอบน้ำมันให้แก่บริษัท ก.ในต่างประเทศหรือไม่ คำว่า รายได้ในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว หมายถึงรายได้ซึ่งเป็นฐานในการคำนวณหากำไรสุทธิอันเป็นเงินได้ที่จะต้องเสียภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งต้องเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำ ดังนั้น ที่ศาลภาษีอากรกลางหยิบยกปัญหาว่า การขายและส่งมอบน้ำมันให้แก่บริษัท ก.ในต่างประเทศเป็นกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำของโจทก์หรือไม่ขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทหาได้เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบไม่
ตามสัญญาระหว่างโจทก์และบริษัท ก. ได้ตกลงให้อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายแห่งประเทศไทย และมีข้อสัญญาระบุว่า กรรมสิทธิ์ในน้ำมันเป็นของผู้ซื้อ เมื่อได้ผ่านเข้าระบบเชื้อเพลิงใต้ปีกเครื่องบินแล้ว ซึ่งต้องมีการตวงวัดปริมาณน้ำมัน เพื่อให้รู้กำหนดราคาน้ำมันที่แน่นอนแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แต่เป็นสัญญาซื้อขายที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายจะโอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้มีการตวงวัดปริมาณน้ำมันเพื่อให้รู้กำหนดราคาทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ.มาตรา 460 วรรคสอง เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อความในตอนต้นของสัญญาที่ว่า ผู้ขายตกลงที่จะขายและส่งมอบหรือกระทำให้มีการส่งมอบโดยอีกฝ่ายหนึ่งตามที่ผู้ขายจะเลือก กับข้อความในสัญญาดังกล่าวที่ว่า สัญญานี้ผู้ขายอาจมอบหมายทั้งหมดหรือบางส่วนให้แก่ฝ่ายใด ๆ ตามที่ตนจะกำหนด และข้อความในตอนต้นของสัญญาที่ว่าผู้ขายตกลงที่จะขายและส่งมอบหรือกระทำให้มีการขายและส่งมอบ ซึ่งเชื้อเพลิงอากาศยานเทอร์โบกับข้อความในสัญญาอีกข้อหนึ่งที่ว่าผู้ขายอาจโอนสิทธิของตนภายใต้สัญญานี้ทั้งหมดหรือบางส่วน และ/หรือกระทำให้ข้อผูกพันของตนข้อหนึ่งข้อใดหรือทั้งหมดได้รับการปฏิบัติตามโดยผู้อื่นแล้ว แสดงว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายตามสัญญามีสิทธิที่จะขายหรือส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ด้วยตนเองให้ตัวแทนส่งมอบ หรือจะให้บุคคลอื่นเป็นผู้ขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ก็ได้
การที่บริษัท อ.ในต่างประเทศขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ในต่างประเทศ เป็นการที่ขายด้วยตนเอง มิได้กระทำในฐานะตัวแทนของโจทก์ และโจทก์มิได้รับผลประโยชน์จากกรณีดังกล่าว การขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.จึงมิใช่กิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่ต้องเสียภาษีส่งเงินได้นิติบุคคลจากการขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ในต่างประเทศ
ตามสัญญาระหว่างโจทก์และบริษัท ก. ได้ตกลงให้อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายแห่งประเทศไทย และมีข้อสัญญาระบุว่า กรรมสิทธิ์ในน้ำมันเป็นของผู้ซื้อ เมื่อได้ผ่านเข้าระบบเชื้อเพลิงใต้ปีกเครื่องบินแล้ว ซึ่งต้องมีการตวงวัดปริมาณน้ำมัน เพื่อให้รู้กำหนดราคาน้ำมันที่แน่นอนแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แต่เป็นสัญญาซื้อขายที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายจะโอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้มีการตวงวัดปริมาณน้ำมันเพื่อให้รู้กำหนดราคาทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ.มาตรา 460 วรรคสอง เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อความในตอนต้นของสัญญาที่ว่า ผู้ขายตกลงที่จะขายและส่งมอบหรือกระทำให้มีการส่งมอบโดยอีกฝ่ายหนึ่งตามที่ผู้ขายจะเลือก กับข้อความในสัญญาดังกล่าวที่ว่า สัญญานี้ผู้ขายอาจมอบหมายทั้งหมดหรือบางส่วนให้แก่ฝ่ายใด ๆ ตามที่ตนจะกำหนด และข้อความในตอนต้นของสัญญาที่ว่าผู้ขายตกลงที่จะขายและส่งมอบหรือกระทำให้มีการขายและส่งมอบ ซึ่งเชื้อเพลิงอากาศยานเทอร์โบกับข้อความในสัญญาอีกข้อหนึ่งที่ว่าผู้ขายอาจโอนสิทธิของตนภายใต้สัญญานี้ทั้งหมดหรือบางส่วน และ/หรือกระทำให้ข้อผูกพันของตนข้อหนึ่งข้อใดหรือทั้งหมดได้รับการปฏิบัติตามโดยผู้อื่นแล้ว แสดงว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายตามสัญญามีสิทธิที่จะขายหรือส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ด้วยตนเองให้ตัวแทนส่งมอบ หรือจะให้บุคคลอื่นเป็นผู้ขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ก็ได้
การที่บริษัท อ.ในต่างประเทศขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ในต่างประเทศ เป็นการที่ขายด้วยตนเอง มิได้กระทำในฐานะตัวแทนของโจทก์ และโจทก์มิได้รับผลประโยชน์จากกรณีดังกล่าว การขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.จึงมิใช่กิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่ต้องเสียภาษีส่งเงินได้นิติบุคคลจากการขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ในต่างประเทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะจากการเลิกกิจการและการขายทรัพย์สิน
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1(8)(ฉ) "ขาย" หมายความว่าจำหน่าย จ่าย โอนสินค้าไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ และให้หมายความรวมถึงมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณวันเลิกประกอบกิจการ ดังนั้น ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เลิกประกอบกิจการจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าคงเหลือหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันเลิกประกอบกิจการตามมาตราดังกล่าวซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อเลิกประกอบกิจการหรือแจ้งเลิกประกอบกิจการการที่โจทก์ขายทรัพย์สินที่โจทก์มีไว้ในการประกอบกิจการไปเป็นเงิน 305,500 บาทนั้น ถือว่าเป็นการขายตามมาตราดังกล่าวแล้ว จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ทั้งนี้แม้ว่ากิจการของโจทก์ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามป.รัษฎากร มาตรา 81(1)(ข) ก็ตาม แต่เมื่อการขายทรัพย์สินดังกล่าวของโจทก์เป็นการขายทรัพย์สินที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มโจทก์ก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2(6) บัญญัติให้การประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่กำหนดโดย พ.ร.ฎ.และ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร(ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3(5) ได้กำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ แต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในการเกษตรกรรมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่โจทก์ขายไปนั้นเป็นที่ดินที่ใช้ในการเกษตรกรรม ดังนั้น การขายที่ดินที่โจทก์มีไว้ในการประกอบการเกษตรกรรมซึ่งเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 3(5) แห่ง พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว จึงย่อมได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่พ.ร.ฎ.ดังกล่าวยกเว้นให้เฉพาะที่ดินเท่านั้น ไม่รวมถึงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเมื่อโจทก์ขายที่ดินรวมทั้งอาคารบนที่ดินนั้น การขายเช่นนี้โจทก์จึงต้องนำรายรับของราคาอาคารมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2(6) บัญญัติให้การประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่กำหนดโดย พ.ร.ฎ.และ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร(ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3(5) ได้กำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ แต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในการเกษตรกรรมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่โจทก์ขายไปนั้นเป็นที่ดินที่ใช้ในการเกษตรกรรม ดังนั้น การขายที่ดินที่โจทก์มีไว้ในการประกอบการเกษตรกรรมซึ่งเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 3(5) แห่ง พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว จึงย่อมได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่พ.ร.ฎ.ดังกล่าวยกเว้นให้เฉพาะที่ดินเท่านั้น ไม่รวมถึงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเมื่อโจทก์ขายที่ดินรวมทั้งอาคารบนที่ดินนั้น การขายเช่นนี้โจทก์จึงต้องนำรายรับของราคาอาคารมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีและการซื้อขายทรัพย์สินเพื่อใช้ในกิจการ มิใช่เพื่อค้ากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษี
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้และคดีหมายเลขดำที่ 13/2539ของศาลภาษีอากรกลางพร้อมกับโดยมอบอำนาจให้ อ.เป็นผู้ฟ้องคดีแทนทั้งสองเรื่อง แต่ด้วยความสับสนและผิดหลงได้ติดหนังสือมอบอำนาจทั้งสองฉบับสลับสำนวนกัน และในการยื่นคำคู่ความต่อ ๆ มา เจ้าหน้าที่ศาลก็ยังเผลอติดคำคู่ความสลับสำนวนกันอีก ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้อง ศาลจึงอนุญาตให้นำหนังสือมอบอำนาจที่สลับสำนวนกันมาติดใหม่ให้ถูกต้อง ซึ่งหนังสือมอบอำนาจท้ายสำนวนก็ปรากฏข้อความว่า กรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ได้มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขได้ก็เป็นการอนุญาตให้แก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงชอบที่ศาลจะอนุญาตได้ แม้บริษัทโจทก์จะจัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประกอบกิจการค้าหรือหากำไรก็ตาม แต่การค้าขายโดยปกติของโจทก์เป็นการค้าปูนซิเมนต์และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆในการก่อสร้าง มิใช่เป็นการค้าขายที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างโจทก์ซื้อที่ดินและอาคารมาโดยมีความมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการค้า ต่อมาเมื่อหมดความจำเป็นจึงขายไปและแม้จะขายได้ราคาสูงกว่าราคาที่ซื้อมาเป็นจำนวนมากก็เป็นไปตามปกติของราคาที่ดินและอาคารที่สูงขึ้นตามกาลเวลาของราคาตลาด หาใช่มีลักษณะเป็นทางการค้าหรือหากำไรจึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ขายที่ดินและอาคารตามฟ้องไปเป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่จำต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการซื้อขายสินค้าเพื่อกิจการของลูกหนี้: 5 ปี, การยอมรับหนี้ทำให้สะดุด
โจทก์เป็นบริษัทจำกัด ประกอบกิจการโรงงานผลิตอาหารสัตว์ทุกชนิดเพื่อจำหน่าย ส่วนจำเลยมีอาชีพตั้งฟาร์มเลี้ยงกุ้ง และเป็นลูกค้าโจทก์ โดยซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์การเลี้ยงกุ้งจากโจทก์เพื่อนำไปเลี้ยงกุ้ง เมื่อจำเลยซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์การเลี้ยงกุ้งไปเพื่อเลี้ยงกุ้งจำหน่าย หาได้ซื้อไปเพื่อเลี้ยงกุ้งไว้บริโภคเอง กรณีจึงตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1) ตอนท้ายที่ว่าเว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง ดังนั้น อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ จึงมีกำหนด 5 ปี หาใช่ 2 ปี ไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ลงชื่อยอมรับยอดหนี้ตามบันทึกลงวันที่ 1 ตุลาคม 2533 อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง เมื่อนับระยะเวลาจากวันดังกล่าวถึงวันที่ 23 เมษายน 2536ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สหกรณ์แสวงหากำไร: การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
แม้จำเลยเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.สหกรณ์แห่งประเทศไทยพ.ศ.2511 มาตรา 105 และปรากฏตามมาตรา 104 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวว่าจำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าแก่กิจการสหกรณ์ทุกประเภททั่วราชอาณาจักร อันมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้แบ่งปันกันก็ตาม แต่ตามมาตรา 106 (5) จำเลยยังมีอำนาจซื้อ จัดหา จำหน่าย ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครองหรือทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน และอาจมีรายได้จากค่าตอบแทนในการบริการตลอดถึงผลประโยชน์จากทรัพย์สินของตนเองตามมาตรา 107 (5) และในทางปฏิบัติจำเลยมีงบรายได้และรายจ่าย หากรายได้สูงกว่ารายจ่ายจะตกเป็นทุนในการดำเนิน-งานต่อไป เช่นนี้ แสดงว่าการดำเนินกิจการของจำเลยมีลักษณะแสวงหาประโยชน์จากกิจการเหล่านั้น โดยมิใช่เป็นกิจการให้เปล่า กิจการของจำเลยจึงเป็นกิจการที่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กิจการสหกรณ์แสวงหากำไรต้องอยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน แม้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสหกรณ์
แม้จำเลยเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสหกรณ์แห่งประเทศไทยพ.ศ.2511มาตรา105และตามมาตรา104แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวปรากฏว่าจำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าแก่กิจการสหกรณ์ทุกประเภททั่วราชอาณาจักรอันมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้แบ่งปันก็ตามแต่ตามมาตรา160(5)จำเลยยังมีอำนาจซื้อจัดหาจำหน่ายถือกรรมสิทธิ์ครอบครองหรือทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินและอาจมีรายได้จากค่าตอบแทนในการบริการตลอดถึงผลประโยชน์จากทรัพย์สินของตนเองตามมาตรา107(5)ในทางปฏิบัติจำเลยมีงบรายได้และค่าใช้จ่ายหากรายได้สูงกว่ารายจ่ายจะตกเป็นทุนในการดำเนินงานต่อไปแสดงว่าการดำเนินกิจการของจำเลยมีลักษณะแสวงหาประโยชน์จากกิจการเหล่านั้นมิใช่กิจการให้เปล่ากิจการของจำเลยจึงเป็นกิจการที่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลวิกลจริตและการเป็นคนไร้ความสามารถตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำว่า "บุคคลวิกลจริต" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 เดิม (มาตรา 28 ใหม่) นั้นมิได้หมายเฉพาะถึงบุคคลผู้มีจิตผิดปกติหรือตามที่เข้าใจกันทั่ว ๆ ไปว่าเป็นบ้า เท่านั้น แต่หมายรวมถึงบุคคลผู้มีกิริยาอาการผิดปกติเพราะสติวิปลาส คือ ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึก และขาดความรับผิดชอบด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวนี้ไม่สามารถประกอบกิจการของตนหรือประกอบกิจการส่วนตัวของตนได้ จ. ไม่รู้สึกตัวเองและพูดจารู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้างซึ่งแพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองฝ่อ หรือสมองเสื่อมขั้นรุนแรงไม่สามารถรักษาให้หายได้ ตลอดจนไม่อาจปฏิบัติภารกิจส่วนตัวได้แสดงให้เห็นว่า จ. เป็นคนไม่มีสติสัมปชัญญะไร้ความสามารถที่จะดำเนินกิจการทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตนเองได้ พอถือได้ว่าเป็นบุคคลวิกลจริตตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 เดิม(มาตรา 28 ใหม่) แล้ว