คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กู้เงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยตามสัญญา กู้เงินไม่ใช่เบี้ยปรับ ศาลฎีกาวินิจฉัยดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีเป็นดอกผลนิตินัย
โจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ19ต่อปีได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยไว้ในสัญญากู้เงินโดยแจ้งชัดให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าวการคิดดอกเบี้ยของโจทก์นี้จึงเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา148วรรคสามกรณีหาใช่เป็นเรื่องที่ลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรเมื่อลูกหนี้ผิดนัดอันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลลดจำนวนลงดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าอัตราดอกเบี้ยร้อยละ19ต่อปีตามสำเนากู้เงินเป็นเบี้ยปรับนั้นจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2814/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียวจากการปลอมเอกสารกู้เงินและเช็ค แม้มีหลายบทกฎหมาย
แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้เป็นให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้อันเป็นการแก้ไขมาก แต่ศาลอุทธรณ์ยังลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท ย่อมห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219 ดังนี้ ที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คดีนี้เป็นคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งโจทก์ฎีกาว่า การที่จำเลยปลอมเอกสารต่าง ๆ เพื่อกู้เงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการกระทรวง-ศึกษาธิการ จำกัด กับการปลอมเช็คเพื่อนำเข้าบัญชีของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ไม่ใช่ความผิดกรรมเดียวกัน การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน
การที่จำเลยปลอมเอกสารต่าง ๆ เพื่อกู้เงินและปลอมเช็คเพื่อนำเงินเข้าบัญชีของจำเลยเป็นการกระทำต่อเนื่องโดยเจตนาเดียวกันเพื่อให้จำเลยได้เงินกู้จากสหกรณ์ในนามของผู้เสียหาย การที่สหกรณ์จ่ายเงินให้เป็นเช็คจำเลยจะยังไม่ได้เงินจนกว่าจะได้รับเงินตามเช็ค ดังนี้ การที่จำเลยปลอมเช็คก็เพื่อให้ได้รับเงินมาเป็นของจำเลยสมดังเจตนาที่วางไว้แต่ต้นทั้งหมดนั่นเองการกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2814/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท ปลอมเอกสารกู้เงินและเช็คเพื่อหวังผลประโยชน์เดียวกัน
แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้เป็นให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้อันเป็นการแก้ไขมากแต่ศาลอุทธรณ์ยังลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน2ปีและปรับไม่เกิน40,000บาทย่อมห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา219ดังนี้ที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้นจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยคดีนี้เป็นคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายซึ่งโจทก์ฎีกาว่าการที่จำเลยปลอมเอกสารต่างๆเพื่อกู้เงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการจำกัดกับการปลอมเช็คเพื่อนำเข้าบัญชีของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันไม่ใช่ความผิดกรรมเดียวกันการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน การที่จำเลยปลอมเอกสารต่างๆเพื่อกู้เงินและปลอมเช็คเพื่อนำเงินเข้าบัญชีของจำเลยเป็นการกระทำต่อเนื่องโดยเจตนาเดียวกันเพื่อให้จำเลยได้เงินกู้จากสหกรณ์ในนามของผู้เสียหายการที่สหกรณ์จ่ายเงินให้เป็นเช็คจำเลยจะยังไม่ได้เงินจนกว่าจะได้รับเงินตามเช็คดังนี้การที่จำเลยปลอมเช็คก็เพื่อให้ได้รับเงินมาเป็นของจำเลยสมดังเจตนาที่วางไว้แต่ต้นทั้งหมดนั่นเองการกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงิน, จำนอง, ค้ำประกัน: ศาลยืนยึดสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนองตามสัญญา
หนี้ตามสัญญากู้เงินระบุวันครบกำหนดสัญญาไว้ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทินจำเลยทั้งสามจะอ้างว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ให้โจทก์เป็นผู้รับเงินค่าซื้อตึกแถวจากผู้ซื้อตึกแถวหักชำระหนี้โดยจำเลยที่1ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยเป็นงวดและไม่มีกำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนและนำพยานบุคคลมาสืบตามข้ออ้างดังกล่าวเพื่อที่จะให้ศาลรับฟังว่าหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระจำเลยทั้งสามไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่เพราะเป็นการสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข) ปัญหาที่ว่าม. ทนายความได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์แต่โจทก์ไม่มีหนังสือมอบอำนาจที่ให้ม.มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา728เป็นปัญหาที่จำเลยมิได้ยกต่อสู้ไว้ในคำให้การและมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคแรก โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ของสถาบันการเงินพ.ศ.2523อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษโดยมีอัตราสูงกว่าที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา654ร้อยละ15ต่อปีจำเลยทั้งสามให้การในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยแต่เพียงว่าดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องร้องสูงกว่ากฎหมายกำหนดไว้ซึ่งจำเลยที่1เห็นว่าไม่ควรเกินร้อยละ15ต่อปีคำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องสูงกว่ากฎหมายอะไรและเพราะเหตุใดจึงไม่ควรเกินร้อยละ15ต่อปีเป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5161/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุหย่า: การกู้เงินใช้จ่ายครอบครัว, การทะเลาะวิวาท, และความสัมพันธ์ชู้สาว ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องหย่าได้
จำเลยกู้ยืมเงินคนอื่นเพื่อใช้จ่ายในคดีที่โจทก์ถูกจับฐานพกอาวุธปืนและเพื่อใช้จ่ายสำหรับการศึกษาของบุตรหนี้สินทั้งหมดจึงเกิดจากการนำมาใช้จ่ายในครอบครัวระหว่างโจทก์จำเลยและบุตรมิใช่เกิดขึ้นเพราะจำเลยนำไปเล่นสลากกินรวบดังที่โจทก์อ้างการกระทำของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการประพฤติชั่วอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(2) การที่จำเลยหึงหวงและโกรธที่โจทก์หนีไปมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับหญิงอื่นจึงด่าโจทก์และบุพการีว่ามึงมันเลวเหมือนโคตรมึงนั้นไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์หรือบุพการีของโจทก์เป็นการร้ายแรงเพราะเป็นเพียงถ้อยคำที่จำเลยกล่าวด้วยความน้อยใจการกระทำของจำเลยต่อโจทก์ดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะโจทก์เป็นผู้ก่อขึ้นถือว่าเป็นเรื่องกระทบกระทั่งกันระหว่างสามีภริยาทั่วไปไม่ร้ายแรงถึงกับเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(3) หลังจากทำทัณฑ์บนแล้วโจทก์ยังมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับหญิงอื่นจำเลยจึงดุด่าและทำร้ายโจทก์อีกการกระทำของจำเลยมีสาเหตุจากการกระทำของโจทก์จึงยังไม่ถือว่าเป็นการประพฤติผิดทัณฑ์บนที่ให้ไว้อันจะเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6966/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงขอกู้เงินโดยใช้เอกสารสิทธิปลอมเพื่อเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
จำเลยกับพวกหลอกลวงโจทก์ร่วมว่าพวกของจำเลยชื่อ ก.และขอกู้ยืมเงินโจทก์ร่วมโดยพวกของจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินลงชื่อก. กับมอบโฉนดที่ดิน ซึ่งมีชื่อ ก. ให้โจทก์ร่วมยึดถือไว้การกระทำของจำเลยกับพวกมีเจตนาทุจริตเพื่อให้ได้เงินจากโจทก์ร่วมและมิให้โจทก์ร่วมใช้สัญญากู้ยืมเงินนั้นเป็นหลักฐานฟ้องร้องเรียกเงินคืน ทำให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหาย จำเลยกับพวกจึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิ เมื่อจำเลยกับพวกได้มอบสัญญากู้ยืมเงินนั้นให้โจทก์ร่วมยึดถือไว้ จำเลยกับพวกจึงมีความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมอีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับหนี้จากการกู้เงินทดแทนและการคิดดอกเบี้ยเมื่อมีการชำระหนี้ต้นเงิน
ลูกหนี้ที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 7,000,000 บาท จากเจ้าหนี้และเจ้าหนี้ได้กู้ยืมเงินจำนวนเท่ากันจากธนาคาร อ. โดยปรากฏในรายงานการประชุมบริษัทของเจ้าหนี้ว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้เสนอต่อเจ้าหนี้ว่ากำลังเจรจาซื้อหุ้นโรงแรม ม. จำนวนหนึ่งเพื่อนำมาขายให้เจ้าหนี้ ที่ประชุมของบริษัทเจ้าหนี้มีมติตกลงรับซื้อ และให้ลูกหนี้ที่ 1 กู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้จำนวน 7,000,000 บาท ก่อน โดยมีโฉนดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นประกัน เมื่อขายหุ้นได้แล้วให้เอาเงินค่าหุ้นชำระคืนให้เจ้าหนี้พร้อมดอกเบี้ย แต่ที่ประชุมบริษัทของเจ้าหนี้เห็นว่า การที่ลูกหนี้ที่ 1 จะซื้อหุ้นโรงแรมดังกล่าวมาขายให้เจ้าหนี้และการจะเรียกให้ลูกหนี้ที่ 1 ชำระหนี้คงมีปัญหาจึงมีมติให้เจ้าหนี้ติดต่อขอกู้เงินจำนวน 7,000,000 บาท จากธนาคาร อ. โดยให้ใช้ที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นหลักประกันและให้แจ้งลูกหนี้ที่ 1 ทราบ ต่อมาวันที่21 มกราคม 2529 ลูกหนี้ที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันเงินกู้ของเจ้าหนี้จำนวน 7,000,000 บาท ต่อธนาคาร อ. แม้หนี้เงินกู้ทั้งสองรายจะเป็นหนี้คนละส่วนกัน แต่สาเหตุแห่งการกู้ยืมเงินมีส่วนเกี่ยวพันกัน และลูกหนี้ที่ 1ได้แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบว่าไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้แก่เจ้าหนี้ได้ เพราะได้นำเงินไปซื้อหุ้นหมดแล้ว และยังขายหุ้นไม่ได้ การที่เจ้าหนี้ได้ขอกู้เงินจากธนาคาร อ.เท่าจำนวนเงินที่ลูกหนี้ที่ 1 กู้จากเจ้าหนี้ โดยให้ลูกหนี้ที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเป็นประกันเงินกู้ของเจ้าหนี้ต่อธนาคาร อ. ทั้งตามข้อตกลงในสัญญากู้ระบุว่า ถ้าลูกหนี้ที่ 1 ผิดสัญญากู้ยืมเงินก็ให้เจ้าหนี้จัดการจดทะเบียนโอนโฉนดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ทันทีหรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรตามหนังสือมอบอำนาจของลูกหนี้ที่ 1 ที่ให้ไว้ ประกอบกับสัญญากู้มีกำหนดเวลาชำระหนี้ 1 ปี ซึ่งครบกำหนดชำระในวันที่ 16 กรกฎาคม 2529 แต่เจ้าหนี้ได้กู้เงินจากธนาคาร อ. เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2529 ก่อนวันที่หนี้เงินกู้ของลูกหนี้ที่ 1 ถึงกำหนดชำระ แสดงว่าเมื่อลูกหนี้ที่ 1 ไม่สามารถชำระได้แทนที่เจ้าหนี้จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของตนตามข้อตกลงในสัญญากู้หรือให้ลูกหนี้ที่ 1 กู้ยืมเงินจากธนาคารเองโดยจำนองที่ดินเป็นประกันแล้วเอาเงินมาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ เจ้าหนี้กลับเลือกเอาทางไปกู้ยืมเงินจากธนาคาร อ. เอง โดยให้ลูกหนี้ที่ 1 จำนองที่ดินเป็นประกันเช่นนี้จึงต้องฟังว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จำนวน 7,000,000 บาท ที่ลูกหนี้ที่ 1กู้ยืมไปจากเจ้าหนี้ตามสัญญากู้แล้วตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2529 หนี้ต้นเงินกู้จำนวน 7,000,000 บาท จึงระงับไป ส่วนดอกเบี้ยในต้นเงินจำนวน7,000,000 บาท อัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามสัญญากู้นั้น ลูกหนี้ที่ 1 ไม่เคยชำระแก่เจ้าหนี้เลย ลูกหนี้ที่ 1 จึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ในต้นเงินจำนวน 7,000,000 บาท นับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2528 ซึ่งเป็นวันกู้จนถึงวันที่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ต้นเงินกู้คืนคือวันที่ 21 มกราคม 2529 ส่วนดอกเบี้ยภายหลังจากนั้นจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตามพระราช-บัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 100 เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิได้รับเพราะหนี้ต้นเงินกู้ได้ระงับไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับหนี้จากการกู้เงินซ้ำซ้อนและการชำระหนี้โดยทางอ้อม แม้เป็นการกู้คนละส่วนกัน แต่มีวัตถุประสงค์เชื่อมโยง
ลูกหนี้ที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 7,000,000 บาท จากเจ้าหนี้และเจ้าหนี้ได้กู้ยืมเงินจำนวนเท่ากันจากธนาคาร อ.โดยปรากฏในรายงานการประชุมบริษัทของเจ้าหนี้ว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้เสนอต่อเจ้าหนี้ว่ากำลังเจรจาซื้อหุ้นโรงแรม ม. จำนวนหนึ่งเพื่อนำมาขายให้เจ้าหนี้ ที่ประชุมของบริษัทเจ้าหนี้มีมติตกลงรับซื้อ และให้ลูกหนี้ที่ 1 กู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้จำนวน 7,000,000 บาท ก่อนโดยมีโฉนดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นประกัน เมื่อขายหุ้นได้แล้วให้เอาเงินค่าหุ้นชำระคืนให้เจ้าหนี้พร้อมดอกเบี้ย แต่ที่ประชุมบริษัทของเจ้าหนี้เห็นว่า การที่ลูกหนี้ที่ 1 จะซื้อหุ้นโรงแรมดังกล่าวมาขายให้เจ้าหนี้และการจะเรียกให้ลูกหนี้ที่ 1 ชำระหนี้คงมีปัญหาจึงมีมติให้เจ้าหนี้ติดต่อขอกู้เงินจำนวน 7,000,000 บาท จากธนาคาร อ. โดยให้ใช้ที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นหลักประกันและให้แจ้งลูกหนี้ที่ 1 ทราบ ต่อมาวันที่ 21 มกราคม 2529 ลูกหนี้ที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันเงินกู้ของเจ้าหนี้จำนวน7,000,000 บาท ต่อธนาคาร อ. แม้หนี้เงินกู้ทั้งสองรายจะเป็นหนี้คนละส่วนกัน แต่สาเหตุแห่งการกู้ยืมเงินมีส่วนเกี่ยวพันกันและลูกหนี้ที่ 1 ได้แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบว่าไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้แก่เจ้าหนี้ได้ เพราะได้นำเงินไปซื้อหุ้นหมดแล้ว และยังขายหุ้นไม่ได้ การที่เจ้าหนี้ได้ขอกู้เงินจากธนาคาร อ.เท่าจำนวนเงินที่ลูกหนี้ที่ 1 กู้จากเจ้าหนี้ โดยให้ลูกหนี้ที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเป็นประกันเงินกู้ของเจ้าหนี้ต่อธนาคาร อ.ทั้งตามข้อตกลงในสัญญากู้ระบุว่า ถ้าลูกหนี้ที่ 1 ผิดสัญญากู้ยืมเงินก็ให้เจ้าหนี้จัดการจดทะเบียนโอนโฉนดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ทันทีหรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรตามหนังสือมอบอำนาจของลูกหนี้ที่ 1 ที่ให้ไว้ ประกอบกับสัญญากู้มีกำหนดเวลาชำระหนี้ 1 ปี ซึ่งครบกำหนดชำระในวันที่16 กรกฎาคม 2529 แต่เจ้าหนี้ได้กู้เงินจากธนาคาร อ.เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2529 ก่อนวันที่หนี้เงินกู้ของลูกหนี้ที่ 1 ถึงกำหนดชำระ แสดงว่าเมื่อลูกหนี้ที่ 1 ไม่สามารถชำระได้แทนที่เจ้าหนี้จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของตนตามข้อตกลงในสัญญากู้หรือให้ลูกหนี้ที่ 1กู้ยืมเงินจากธนาคารเองโดยจำนองที่ดินเป้นประกันแล้วเอาเงินมาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ เจ้าหนี้กลับเลือกเอาทางไปกู้ยืมเงินจากธนาคาร อ. เอง โดยให้ลูกหนี้ที่ 1 จำนองที่ดินเป็นประกันเช่นนี้จึงต้องฟังว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จำนวน 7,000,000 บาทที่ลูกหนี้ที่ 1 กู้ยืมไปจากเจ้าหนี้ตามสัญญากู้แล้วตั้งแต่วันที่21 มกราคม 2529 หนี้ต้นเงินกู้จำนวน 7,000,000 บาท จึงระงับไปส่วนดอกเบี้ยในต้นเงินจำนวน 7,000,000 บาท อัตราร้อยละ 15ต่อปีตามสัญญากู้นั้น ลูกหนี้ที่ 1 ไม่เคยชำระแก่เจ้าหนี้เลยลูกหนี้ที่ 1 จึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ในต้นเงินจำนวน7,000,000 บาท นับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2528 ซึ่งเป็นวันกู้จนถึงวันที่เจ้าหนีได้รับชำระหนี้ต้นเงินกู้คืนคือวันที่21 มกราคม 2529 ส่วนดอกเบี้ยภายหลังจากนั้นจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 100 เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิได้รับเพราะหนี้ต้นเงินกู้ได้ระงับไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารกู้เงินปลอม สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แม้จำเลยยอมรับการกู้จริง
โจทก์กรอกข้อความลงในหนังสือกู้และสัญญาค้ำประกันซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้กู้และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเพียงแต่ลงลายมือชื่อให้โจทก์ไว้ผิดไปจากความจริงโดยจำเลยทั้งสองมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยหนังสือสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันจึงเป็นเอกสารปลอม แม้จำเลยทั้งสองจะเบิกความยอมรับว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้เงินโจทก์ไปทั้งสิ้นจำนวน 50,000 บาท จำเลยที่ 2 ได้ค้ำประกันให้โจทก์ไว้ 5,000 บาทก็ตามโจทก์ก็มิอาจอาศัยหนังสือสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานฟ้องร้องบังคับให้จำเลยทั้งสองใช้เงินตามจำนวนที่กู้และค้ำประกันจริงได้ ถือได้ว่าการกู้เงินและค้ำประกันไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3279/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำแนะนำการกู้เงินไม่ใช่การฉ้อโกง หากกู้ไม่ได้เป็นเพียงผิดสัญญา
การที่จำเลยแนะนำโจทก์ร่วมว่า ในการขอกู้เงินจากธนาคารจะต้องเป็นลูกค้าของธนาคารโดยนำเงินไปฝากธนาคารไว้ก่อน เป็นคำแนะนำตามปกติธรรมดาทั่วไป เมื่อโจทก์ร่วมได้มอบเงินให้จำเลยไปดำเนินการ จำเลยก็ได้ติดต่อขอกู้เงินจากธนาคารให้โจทก์ร่วมแต่มีเหตุขัดข้องจึงกู้เงินไม่ได้ แม้จำเลยจะไม่ได้นำเงินที่โจทก์ร่วมมอบให้ไปฝากไว้กับธนาคารก็ตาม ก็หาใช่ข้อสาระสำคัญที่จะถือว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์ร่วมอันจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น.
of 11