พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้น พ.ร.บ.ขนส่งทางบก: รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 12 ที่นั่ง ไม่ต้องขออนุญาตประกอบการขนส่ง
การที่จำเลยนำรถยนต์ตู้มาแล่นรับส่งคนโดยสารเพื่อสินจ้างอันมีลักษณะเป็นการประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่บริษัทขนส่ง จำกัด ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งประจำทางนั้น เมื่อปรากฏว่ารถยนต์ของจำเลยดังกล่าวเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินสิบสองคน ซึ่งมีพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 5(2) บัญญัติไว้ว่าเป็นรถยนต์ที่ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รถยนต์ส่วนบุคคลที่ไม่เข้าข่ายรถโดยสารประจำทาง ไม่ผิดตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก
การที่จำเลยนำรถยนต์ตู้มาแล่นรับส่งคนโดยสารเพื่อสินจ้างอันมีลักษณะเป็นการประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่บริษัทขนส่งจำกัดได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งประจำทางนั้นเมื่อปรากฏว่ารถยนต์ของจำเลยดังกล่าวเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินสิบสองคนซึ่งมีพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ.2522มาตรา5(2)บัญญัติไว้ว่าเป็นรถยนต์ที่ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ.2522มาตรา23.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2922/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจยึดรถของกลางในคดีขนส่งทางบก: การปฏิบัติหน้าที่โดยชอบของพนักงานสอบสวน
การดำเนินคดีในความผิดฐานร่วมกันได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง กระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวหรือคล้ายกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง หรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 นั้นรถยนต์ของกลางย่อมเป็นหลักฐานสำคัญแห่งองค์ความผิดที่จะทำให้ทราบข้อเท็จจริงตลอดจนพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาและเพื่อที่จะรู้ตัวผู้ร่วมกระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดพนักงานสอบสวนมีอำนาจที่จะยึดรถยนต์ของกลางไว้เป็นพยานหลักฐานประกอบคดีได้จนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 ประกอบกับมาตรา 85
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2922/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจยึดรถของกลางในคดีขนส่งทางบก: การปฏิบัติหน้าที่ชอบด้วยกฎหมาย
การดำเนินคดีในความผิดฐานร่วมกันได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางกระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวหรือคล้ายกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางหรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 นั้นรถยนต์ของกลางย่อมเป็นหลักฐานสำคัญแห่งองค์ความผิดที่จะทำให้ทราบข้อเท็จจริงตลอดจนพฤติการณ์ต่างๆอันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาและเพื่อที่จะรู้ตัวผู้ร่วมกระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดพนักงานสอบสวนมีอำนาจที่จะยึดรถยนต์ของกลางไว้เป็นพยานหลักฐานประกอบคดีได้จนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 ประกอบกับมาตรา 85
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3389/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับในความผิดตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก ต้องปรับตามตัวบุคคล ไม่รวมกัน
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก มาตรา 40 และมาตรา 138 ที่โจทก์ฟ้องไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษปรับไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31 มาใช้บังคับ โดยต้องปรับจำเลยทั้งสามเรียงตามรายตัวบุคคลไป จะปรับจำเลยทั้งสามรวมกันไม่ได้
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1339/2506)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1339/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานใช้รถผิดประเภทกับการแย่งผลประโยชน์การขนส่งทางบก ถือเป็นความผิดต่างกรรมกัน
จำเลยที่ 1 ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถโดยสาร จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้รถผิดประเภท โดยใช้รถยนต์ซึ่งจดทะเบียนประเภทรถโดยสารไม่ประจำทางมา รับจ้างขนส่งคนโดยสาร โดยเก็บค่าโดยสารเป็นรายคน อันมีลักษณะเช่นเดียวหรือคล้ายกับ ผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง และมีลักษณะเป็นการ แย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน คือผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 27 วรรคสาม 128 กระทงหนึ่ง และตามมาตรา 40, 138 อีกกระทงหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4500-4541/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลาในงานขนส่งทางบก: การจ่ายค่าจ้างตามผลงาน ถือเป็นการจ่ายค่าล่วงเวลาครบถ้วนแล้ว
กิจการของจำเลยและงานที่โจทก์ทั้งสี่สิบสองทำเป็นงานขนส่งทางบก การจ้างแรงงานระหว่างจำเลยกับโจทก์ทั้งสี่สิบสองจึงต้องอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 22 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ด้วยเหตุที่งานขนส่งทางบกมีสภาพการจ้างและลักษณะการทำงานแตกต่างกับการจ้างแรงงานทั่วไป งานขนส่งทางบกเป็นงานที่ต้องให้เกิดความปลอดภัยไม่เฉพาะแก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะ แต่เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารและผู้ใช้รถใช้ถนนด้วย ซึ่งตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ 2 กำหนดว่า "ให้นายจ้างกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดการทำงานปกติของลูกจ้างในงานขนส่งทางบกวันหนึ่งไม่เกินแปดชั่วโมง" และข้อ 3 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า "ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะทำงานล่วงเวลาเว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากลูกจ้าง" และวรรคสอง กำหนดว่า "ในกรณีที่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างตามวรรคหนึ่งแล้ว นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้วันหนึ่งไม่เกินสองชั่วโมง เว้นแต่มีความจำเป็นอันเกิดจากเหตุสุดวิสัย อุบัติเหตุ หรือปัญหาการจราจร" อันเป็นการกำหนดเวลาทำงานของลูกจ้างในงานขนส่งทางบกวันหนึ่งไม่เกิน 8 ชั่วโมง และห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา เว้นแต่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากลูกจ้าง โดยจะทำงานล่วงเวลาได้วันหนึ่งไม่เกิน 2 ชั่วโมงเท่านั้น ดังนั้น การที่จำเลยกับโจทก์ทั้งสี่สิบสองตกลงกำหนดเวลาทำงานกันวันละ 24 ชั่วโมง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ในข้อ 2 และข้อ 3 ดังกล่าว แต่อย่างไรก็ดี แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความตามที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาว่า โจทก์ทั้งสี่สิบสองทำงานเกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมง โดยทำงานล่วงเวลาวันหนึ่งเกินกว่า 2 ชั่วโมง อันเป็นการทำงานล่วงเวลาเกินกำหนดเวลาทำงานล่วงเวลาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ทั้งสี่สิบสองทำงานล่วงเวลาดังกล่าวไปแล้ว โจทก์ทั้งสี่สิบสองย่อมมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ 6 ที่กำหนดว่า "ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างในงานขนส่งทางบกทำงานล่วงเวลา ในวันทำงานและทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ เว้นแต่นายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างดังกล่าว" ซึ่งการจ่ายค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ตามข้อ 6 ดังกล่าว คงกำหนดไว้เฉพาะการจ่ายค่าตอบแทนที่คำนวณจากค่าจ้างตามระยะเวลา มิได้มีการกำหนดถึงการจ่ายค่าตอบแทนที่คำนวณจากค่าจ้างตามผลงานแต่ละหน่วยที่ลูกจ้างทำได้ แม้โจทก์ทั้งสี่สิบสองจะได้รับค่าจ้างจากการขับขี่ยานพาหนะตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย แต่ก็ย่อมมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้เช่นเดียวกับหลักการที่กำหนดไว้ในข้อ 6 เช่นเดียวกัน จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาแก่โจทก์ทั้งสี่สิบสองเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่โจทก์ทั้งสี่สิบสองทำได้ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า ในวันและเวลาทำงานปกติ โจทก์ทั้งสี่สิบสองได้รับค่าจ้างโดยคำนวณตามผลงานที่ทำได้คือเป็นเงินร้อยละ 12 ของรายได้จากการขับรถรับส่งผู้โดยสารทั้งเดือน และกรณีที่จำเลยให้โจทก์ทั้งสี่สิบสองทำงานล่วงเวลาในวันทำงานและทำงานล่วงเวลาในวันหยุด โจทก์ทั้งสี่สิบสองก็จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานสำหรับการทำงานดังกล่าวเป็นเงินร้อยละ 12 ของรายได้จากการขับรถรับส่งผู้โดยสารเช่นเดียวกัน จึงเป็นกรณีที่จำเลยได้จ่ายค่าตอบแทนสำหรับการทำงานล่วงเวลาในวันทำงานและทำงานล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่โจทก์ทั้งสี่สิบสองครบถ้วนแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันทำงานและทำงานในวันหยุดให้แก่โจทก์ทั้งสี่สิบสองอีก