พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีอาญาต้องกระทำก่อนสิ้นกำหนด หากเลยกำหนดแม้มีเหตุเชื่อถือคำบอกเล่าเจ้าหน้าที่ก็ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 นั้น จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดระยะเวลาอุทธรณ์เว้นแต่กรณีมีเหตุสุดวิสัย
ทนายจำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 9 สิงหาคม 2545 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มีกำหนด 30 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปถึงวันที่ 6 กันยายน 2545 ดังนั้น การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 12 กันยายน 2545 จึงเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มีกำหนด 30 วันต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 9 สิงหาคม 2545 โดยมีหมายเหตุท้ายคำร้องว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอถือว่าทราบแล้ว" พร้อมทั้งลงลายมือชื่อทนายจำเลยผู้ร้องไว้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันกับที่จำเลยยื่นคำร้องขอว่า อนุญาตให้ขยายเวลาถึงวันที่ 6 กันยายน 2545 ย่อมถือได้ว่าทนายจำเลยผู้ร้องทราบคำสั่งศาลในวันที่ยื่นคำร้องแล้ว ข้อที่อ้างว่าจำเลยเชื่อถือคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ศาลว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 12 กันยายน 2545 ทำให้ไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลาดังกล่าว ถือเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง มิใช่มีเหตุสุดวิสัย
ทนายจำเลยป่วยเจ็บเพราะเกิดอุบัติเหตุทำให้สมองกระเทือนต้องพักรักษาตัวโดยไม่ปรากฏว่ามีอาการถึงขนาดที่จะทำให้ไม่สามารถทำคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มายื่นได้ทันก่อนสิ้นระยะเวลา จึงไม่ถือเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย
ทนายจำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 9 สิงหาคม 2545 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มีกำหนด 30 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปถึงวันที่ 6 กันยายน 2545 ดังนั้น การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 12 กันยายน 2545 จึงเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มีกำหนด 30 วันต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 9 สิงหาคม 2545 โดยมีหมายเหตุท้ายคำร้องว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอถือว่าทราบแล้ว" พร้อมทั้งลงลายมือชื่อทนายจำเลยผู้ร้องไว้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันกับที่จำเลยยื่นคำร้องขอว่า อนุญาตให้ขยายเวลาถึงวันที่ 6 กันยายน 2545 ย่อมถือได้ว่าทนายจำเลยผู้ร้องทราบคำสั่งศาลในวันที่ยื่นคำร้องแล้ว ข้อที่อ้างว่าจำเลยเชื่อถือคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ศาลว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 12 กันยายน 2545 ทำให้ไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลาดังกล่าว ถือเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง มิใช่มีเหตุสุดวิสัย
ทนายจำเลยป่วยเจ็บเพราะเกิดอุบัติเหตุทำให้สมองกระเทือนต้องพักรักษาตัวโดยไม่ปรากฏว่ามีอาการถึงขนาดที่จะทำให้ไม่สามารถทำคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มายื่นได้ทันก่อนสิ้นระยะเวลา จึงไม่ถือเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5730/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์หลังพ้นกำหนด: เหตุสุดวิสัย vs. ความประมาทเลินเล่อของทนาย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟัง เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2547 ครบกำหนดอุทธรณ์วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 ในวันครบกำหนดอุทธรณ์จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป 30 วัน ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 19 มีนาคม 2547 ต่อมาวันที่ 22 มีนาคม 2547 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาที่จะอุทธรณ์แล้ว จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์พร้อมยื่นอุทธรณ์อ้างเหตุว่าเป็นความผิดของทนายความที่ไม่ได้ติดตามดูสำนวนให้จำเลย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเห็นควรอนุญาตให้ตามขอ และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย กรณีของจำเลยดังกล่าวเป็นกรณีที่ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายหลังจากที่กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดแล้ว ซึ่งจำเลยจะขอขยายระยะเวลาได้เฉพาะในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 การที่ทนายจำเลยไม่ได้ติดตามดูสำนวนให้จำเลยเป็นความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลย ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วได้ ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลย เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 22 มีนาคม 2547 จึงเกินกำหนดระยะเวลาขยายระยะเวลาอุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลยและที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยก็ไม่ชอบเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิจารณาขยายระยะเวลาวางหลักประกันการทุเลาการบังคับ และสิทธิในการฎีกา
คดีสืบเนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากที่ดินพิพาทกับให้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 อุทธรณ์และขอทุเลาการบังคับ ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทุเลาการบังคับโดยให้จำเลยที่ 1 วางเงินประกันค่าเสียหายภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่จำเลยที่ 1 ขอขยายระยะเวลาวางเงิน ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้ คดีที่จำเลยที่ 1 ขอทุเลาการบังคับอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การขอขยายระยะเวลาวางหลักประกันเป็นเรื่องต่อเนื่องกับคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่สั่งเกี่ยวกับการขอทุเลาการบังคับของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะ เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลา จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057-3058/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีแรงงาน ศาลต้องพิจารณาเหตุผลและความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาความคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 มิได้กำหนดให้คู่ความต้องยื่นคำร้องย่นหรือขยายระยะเวลาต่อศาลแรงงานก่อนสิ้นสุดระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ แม้ระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางจะสิ้นสุดไปแล้ว จำเลยก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานกลางได้ ส่วนศาลแรงงานกลางจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์หรือไม่ ก็ต้องพิจารณาถึงความจำเป็นหรือเหตุอันจำเป็นของจำเลยว่ามีจริงหรือไม่และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์เนื่องจากไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษา ศาลฎีกาอนุญาตตามเหตุผลพิเศษ
สำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะใช้ในการเรียงอุทธรณ์เพราะผู้เรียงอุทธรณ์จะต้องตรวจดูข้อความในคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อหาข้อโต้แย้งทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นวินิจฉัย มิฉะนั้นอาจไม่เป็นคำฟ้องอุทธรณ์ตามกฎหมาย ดังนั้น การที่โจทก์ยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ศาลชอบที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7640/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการขยายระยะเวลายื่นฎีกา: พิจารณาจากเหตุผลและความสมเหตุสมผล
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 นั้น ศาลจะขยายระยะเวลาให้ตามคำร้องหรือไม่เป็นดุลพินิจที่จะพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป และจะอนุญาตขยายระยะเวลาให้เท่าใดก็ได้ ตามเหตุผลที่เห็นสมควรโดยไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งอนุญาตขยายระยะเวลานั้นโดยชัดแจ้ง การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้โจทก์ แสดงว่าศาลชั้นต้นเห็นว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้ตามเหตุที่โจทก์ระบุในคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6542/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีพฤติการณ์พิเศษ การไม่รอฟังคำสั่งศาลชั้นต้นถือเป็นความบกพร่องของทนาย
ในวันที่ 14 กันยายน 2544 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดอุทธรณ์ ทนายจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 1 เดือน แล้วไม่รอฟังคำสั่งว่าศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาให้เพียงถึงวันที่ 21 กันยายน 2544 มิใช่ระยะเวลา 1 เดือนตามที่ขออันเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยที่ 1 กรณีไม่มีพฤติการณ์พิเศษ และการที่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นอุทธรณ์หรือยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายในกำหนดวันที่ 21 กันยายน 2544 ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ดังกล่าว แต่กลับมายื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเพื่อให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ 1 เดือน เมื่อภายหลังระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์ได้หมดสิ้นไปแล้ว โดยจำเลยที่ 1 มิได้อ้างเหตุสุดวิสัยไว้ด้วย จึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6513/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ ทำให้คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ถึงที่สุด แม้ศาลจะพิจารณาเรื่องขยายระยะเวลาอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ โดยยกคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นพร้อมกับยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของจำเลยว่า รอไว้สั่งเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาคำร้องขอขยายระยะเวลาเสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงจะพิจารณาสั่ง ต่อมาศาลอุทธรณ์ยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย หากจำเลยประสงค์จะให้มีการรับอุทธรณ์ไว้พิจารณา จำเลยก็ชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่าได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ และปัญหาเรื่องขอขยายระยะเวลายังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เพื่อให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะมีผลให้คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นไม่เป็นที่สุด แต่จำเลยก็มิได้กระทำ กรณีจึงมีผลให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์นั้นเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 และมาตรา 198 ทวิ ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4944/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นฎีกาต้องมีเหตุพิเศษ มิใช่ความบกพร่องของทนายความ
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบกับ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลมีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยซึ่งศาลจะขยายระยะเวลาให้ตามคำร้องหรือไม่เป็นดุลพินิจที่จะพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2545 ต่อมาจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาติดต่อกันรวม 3 ครั้ง โดยทุกครั้งจะอ้างเหตุผลทำนองเดียวกันว่า ทนายความจำเลยที่ 1 จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดของคำพยานและเอกสารในสำนวน รวมทั้งต้องทำคำฟ้องอุทธรณ์และฎีกาในคดีอื่นอีกหลายสำนวน จึงไม่อาจจัดทำคำฟ้องฎีกาได้ทัน ทั้ง ๆ ที่คดีมีข้อเท็จจริงไม่สลับซับซ้อน กรณีนับได้ว่าเป็นความผิดพลาดบกพร่องของทนายความจำเลยที่ 1 เอง หาใช่พฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้แก่จำเลยที่ 1 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในกรณีพิเศษ: ศาลชั้นต้นมีอำนาจอนุญาต และคำสั่งศาลชั้นต้นผูกพันคู่ความ
หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ฉบับแรกของโจทก์ร่วม เพราะเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์ร่วมจึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ โดยอ้างเหตุว่ากำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการขอให้อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาในกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยว่าเหตุการณ์ตามคำร้องดังกล่าวมีพฤติการณ์พิเศษที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาที่ในการยื่นอุทธรณ์ได้ และได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ออกไปตามคำร้องของโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นการปฏิบัติไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจศาลชั้นต้นในการดำเนินการอนุญาตเช่นนั้นได้ เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นในปัญหาดังกล่าว ประเด็นปัญหาดังกล่าวจึงต้องยุติไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยลำพังได้ ดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นภายในกำหนดระยะเวลา ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะต้องรับไว้วินิจฉัย