คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขอกันส่วน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอกันส่วนหนี้เมื่อไม่ได้เป็นหนี้ร่วม และมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี
หนี้เงินกู้ที่ ป. ก่อขึ้นระหว่างผู้ร้องกับ ป. มิได้เป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย มิใช่หนี้ร่วมผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมในบ้านพิพาท (ซึ่งถูกบังคับคดีขายทอดตลาด) อยู่ครึ่งหนึ่ง ชอบที่จะขอกันส่วนได้ของคนครึ่งหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4963/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสินสมรส: การจำนองและขายที่ดินหลังหย่า ทำให้ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วน
จำเลยที่ 3 นำที่ดินโฉนดเลขที่ 16985 ไปจำนองเป็นประกันหนี้แก่ธนาคาร ท. โดยผู้ร้องลงชื่อเป็นพยานในการทำนิติกรรม แสดงให้เห็นถึงผู้ร้องได้ทราบดีแล้วว่าจำเลยที่ 3 จะนำสินสมรสไปจำนองเป็นประกันหนี้ การทำนิติกรรมของจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส หนี้ที่เกิดขึ้นจึงเป็นหนี้ร่วมที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นระหว่างสมรสเนื่องจากเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 ส่วนการที่จำเลยที่ 3 ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 16985 ให้จำเลยที่ 1 ก็เป็นการขายให้แก่นิติบุคคลซึ่งมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการ และการที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินไปจำนองโจทก์ จำเลยที่ 3 ก็ยังคงเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 อยู่ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 ทำนิติกรรมทั้งหลายเกี่ยวข้องกับที่ดินโฉนดเลขที่ 16985 จึงเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส ถือได้ว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันระหว่างจำเลยที่ 3 กับผู้ร้องตามมาตรา 1490 เช่นกัน นอกจากนี้ หลังจากที่ผู้ร้องหย่ากับจำเลยที่ 3 แล้ว ก็ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องติดใจในสินสมรส คือโฉนดที่ดินเลขที่ 16985 แต่ประการใด โดยปล่อยให้เวลาล่วงเลยเป็นเวลา 11 ปีเศษ ผู้ร้องเพิ่งมายื่นขอกันส่วน ดังนั้น เมื่อหนี้ระหว่างจำเลยที่ 3 กับผู้ร้องเป็นหนี้ร่วมแล้วผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7632/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คู่ความในชั้นขอกันส่วน: จำเลยไม่ต้องเข้าเป็นคู่ความแทนเมื่อถึงแก่ความตาย
คู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล ซึ่งในชั้นขอกันส่วน คู่ความคือ ผู้ร้องทั้งสองกับโจทก์ผู้ซึ่งยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดี ส่วนจำเลยทั้งสองนั้นหาได้เป็นคู่ความในชั้นขอกันส่วนไม่ คู่ความคงมีเฉพาะผู้ร้องกับโจทก์เท่านั้น ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายไปก่อนวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ก็มิใช่กรณีที่จะต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาออกไป จนกว่าจะมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7632/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คู่ความในชั้นขอกันส่วน: จำเลยไม่ต้องมีผู้แทนเมื่อเสียชีวิต
คู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1(11) หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลซึ่งในชั้นร้องขอกันส่วน คู่ความ คือผู้ร้องทั้งสองกับโจทก์ผู้ซึ่งยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดี ส่วนจำเลยทั้งสองนั้นหาได้เป็นคู่ความในชั้นขอกันส่วนไม่ คู่ความคงมีเฉพาะผู้ร้องกับโจทก์เท่านั้น ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายไปก่อนวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ก็มิใช่กรณีที่จะขอให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาออกไปจนกว่าจะมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3049/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอกันส่วนในคดีบังคับคดี: ที่ดินที่ตกเป็นของโจทก์จากการซื้อฝาก ไม่ใช่ทรัพย์สินลูกหนี้
จำเลยขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทต่อโจทก์ กรรมสิทธิ์จึงตกไปยังโจทก์ ไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา การที่โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ไถ่ที่ดินและบ้านพิพาทภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยแล้ว โจทก์ขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้จัดการให้โจทก์เข้าครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท เป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดไว้ มิใช่เป็นการบังคับคดีหรือบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่เข้าเกณฑ์ที่ผู้ร้องจะขอกันส่วนที่ดินพิพาทในคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของผู้ร้องกับจำเลยร่วมกัน แต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลย ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย
of 2