คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ของหมั้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมั้นและการสมรส: เหตุผลสำคัญในการไม่จดทะเบียนสมรสและการคืนของหมั้น
โจทก์เป็นโรคจิตประสาทอย่างอ่อน มีอาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ สามารถรักษาให้หายได้ และผู้ที่เป็นโรคนี้สามารถแต่งงานได้ จำเลยเคยพาโจทก์ออกไปเที่ยวนอกบ้านทั้งในเวลาก่อนและหลังหมั้นและกว่าโจทก์จำเลยจะแต่งงานกันก็เป็นเวลาภายหลังหมั้นถึง 5 เดือนเศษ เมื่อจำเลยแต่งงานและอยู่กินกับโจทก์เป็นเวลา 3 เดือนเศษแล้วจำเลยปฏิเสธไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเหตุที่ไม่มีการสมรสนั้นมีเหตุผลสำคัญอันเกิดแต่โจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องคืนของหมั้น
โจทก์ฟ้องเรียกของหมั้นที่จำเลยเก็บไว้จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะคดีขาดอายุความตามกฎหมาย โดยมิได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความมาด้วยนั้นเป็นคำให้การที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นในเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมั้นและการรับผิดในสัญญาหมั้น: ต้องมีของหมั้นตามประเพณี จึงจะถือเป็นการหมั้นตามกฎหมาย
การหมั้นและจะเรียกว่าหมั้นก็ต่อเมื่อฝ่ายชายนำของหมั้นไปมอบให้ฝ่ายหญิง อันเป็นเรื่องที่เข้าใจกันตามธรรมดาและตามประเพณี เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นฝ่ายนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 โดยที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ เช่นนี้ เมื่อฝ่ายชายเพียงแต่ตกลงว่าจะสมรสโดยไม่มีการหมั้น ดังนี้ จึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรอง หากไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงไว้ จะเรียกค่าทดแทนหาได้ไม่
การที่ไม่มีประเพณีท้องถิ่นว่าจะต้องมีของหมั้น มิใช่เหตุจะพึงยกขึ้นลบล้างบทกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมั้นตามประเพณีและกฎหมาย การเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดสัญญาหมั้นต้องมีการมอบของหมั้น
การหมั้นและจะเรียกว่าหมั้นก็ต่อเมื่อฝ่ายชายนำของหมั้นไปมอบให้ฝ่ายหญิง อันเป็นเรื่องที่เข้าใจกันตามธรรมดาและตามประเพณีเมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นฝ่ายนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 โดยที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ เช่นนี้เมื่อฝ่ายชายเพียงแต่ตกลงว่าจะสมรสโดยไม่มีการหมั้นดังนี้ จึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรองหากไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงไว้จะเรียกค่าทดแทนหาได้ไม่
การที่ไม่มีประเพณีท้องถิ่นว่าจะต้องมีของหมั้น มิใช่เหตุอันจะพึงยกขึ้นลบล้างบทกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ที่ไม่ใช่ของหมั้น: ไม่มีมูลหนี้, สัญญาหมั้นเป็นโมฆะ, ไม่สามารถฟ้องเรียกเงินได้
จำเลยขอหมั้นน้องสาวโจทก์เพื่อให้แต่งงานกับบุตรจำเลย แต่จำเลยไม่มีเงินจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ยึดถือไว้ และโจทก์จำเลยตกลงกันว่าถ้าจำเลยปลูกเรือนหอ โจทก์จะลดเงินกู้ให้บ้างตามราคาของเรือนหอ ต่อมาจำเลยไม่ปลูกเรือนหอและบุตรจำเลยไม่ยอมแต่งงานกับน้องสาวโจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ สัญญากู้ดังกล่าวนี้เป็นเพียงสัญญาจะให้ทรัพย์สินเป็นของหมั้นกันในวันข้างหน้า ยังไม่ได้มีการมอบทรัพย์สินให้แก่กันอย่างแท้จริง เจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาก็มิได้มุ่งต่อการให้สัญญากู้ตกเป็นของอีกฝ่ายหนึ่งในสภาพของหมั้น และไม่มีความประสงค์ให้ตกเป็นสิทธิแก่หญิงเมื่อสมรสแล้ว ในกรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่ามีการให้ของหมั้นกันตามกฎหมาย โจทก์จะฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้หาได้ไม่ เพราะสัญญากู้รายนี้ไม่มีมูลหนี้เดิมอันจะมีผลทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะให้ของหมั้นยังไม่สมบูรณ์ ไม่ถือเป็นมูลหนี้ที่บังคับได้
จำเลยขอหมั้นน้องสาวโจทก์เพื่อให้แต่งงานกับบุตรจำเลย แต่จำเลยไม่มีเงิน จึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ยึดถือไว้และโจทก์จำเลยตกลงกันว่าถ้าจำเลยปลูกเรือนหอ โจทก์จะลดเงินกู้ให้บ้างตามราคาของเรือนหอ ต่อมาจำเลยไม่ปลูกเรือนหอและบุตรจำเลยไม่ยอมแต่งงานกับน้องสาวโจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ สัญญากู้ดังกล่าวนี้เป็นเพียงสัญญาจะให้ทรัพย์สินเป็นของหมั้นกันในวันข้างหน้า ยังไม่ได้มีการมอบทรัพย์สินให้แก่กันอย่างแท้จริง เจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาก็มิได้มุ่งต่อการให้ สัญญากู้ตกเป็นของอีกฝ่ายหนึ่งในสภาพของหมั้นและไม่มีความประสงค์ให้ตกเป็นสิทธิแก่หญิงเมื่อสมรสแล้วในกรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่ามีการให้ของหมั้นกันตามกฎหมาย โจทก์จะฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้หาได้ไม่ เพราะสัญญากู้รายนี้ไม่มีมูลหนี้เดิมอันจะมีผลทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย: สิทธิเรียกร้องของหมั้นและค่าใช้จ่ายตามประเพณี
ชายหญิงทำพิธีสมรสกันตามประเพณีแล้ว แต่ฝ่ายหญิงกลับไม่ยอมจดทะเบียนสมรสทำให้การสมรสไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ดังนี้ ชายย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกของหมั้นคืนจากหญิงได้ ส่วนค่าทดแทนเช่นค่าใช้จ่ายที่ต้องทำตามประเพณีนั้นแม้การสมรสจะมิได้สำเร็จไปโดยชอบ แต่เมื่อชายได้หลับนอนกับหญิงตามประเพณีแล้ว ค่าใช้จ่ายที่ต้องทำตามประเพณีจึงไม่ใช่ค่าเสียหายอันควรคิดเอาแก่กัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ของหมั้นยังไม่สมบูรณ์-สัญญาต่างตอบแทนไม่เป็นผลเมื่อไม่สมรส: สิทธิเรียกร้องที่นา
พ่อแม่ฝ่ายชายทำสัญญายกที่นา 10 ไร่ โดยแบ่งออกจากนาแปลงใหญ่มีโฉนดแล้วแต่ยังไม่ได้มอบหมายแบ่งแยกออกเป็นส่วนสัดให้เป็นของหมั้นแก่หญิง ต่อมาหญิงชายได้แต่งงานอยู่กินด้วยกันที่บ้านชายไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน นาที่ยกให้ก็ยังไม่ได้มอบหมายให้กันอย่างแท้จริง ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่านา 10 ไร่นี้เป็นของหมั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 หญิงจะฟ้องเรียกนา 10 ไร่นี้ในฐานเป็นของหมั้นไม่ได้ หากจะถือว่าเป็นสัญญาให้ที่มีการตอบแทน จุดประสงค์ของผู้ให้ก็เพื่อให้คู่สมรสได้ใช้สร้อยทำกินด้วยกันเป็นสำคัญ เมื่อหญิงกับชายไม่ได้สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว และบัดนี้ยังแยกไม่ได้อยู่กินด้วยกันอีก ก็นับว่าไม่เป็นไปตามความประสงค์ของผู้ให้ จึงไม่มีเหตุที่หญิงจะเรียกร้องเอานานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาไม่จดทะเบียนสมรส สินสอด/ของหมั้นไม่ผูกพัน คดีนี้เรียกคืนไม่ได้
ชายหญิงได้แต่งงานอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา มาช้านานจนกระทั่งมีบุตรโดยต่างฝ่ายต่างสมัครใจที่จะไม่ไปจดทะเบียนสมรสนั้น ถือได้ว่าชายหญิงมีเจตนาเพียงแต่ทำพิธีแต่งงานตามประเพณีและอยู่กินฉันสามีภริยาเท่านั้น มิได้ถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นสำคัญมาแต่แรก เมื่อกรณีเป็นดั่งนี้ ทรัพย์ที่ที่ได้ให้กันโดยเรียกว่า เป็นของหมั้นก็ดี การให้เงินอันเรียกว่าสินสอดก็ดี หาได้ให้ในฐานะเป็นของหมั้นและสินสอดไม่ ฉะนั้นแม้จะถือว่ามิได้มีการสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ฝ่ายชายก็เรียกเงินและทรัพย์ที่ให้ไว้ดังกล่าวคืนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิชายคู่หมั้น สิทธิแก่หญิงเมื่อสมรสได้ แม้ของหมั้นเป็นของผู้อื่น
ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิของชายคู่หมั้น แม้จะเป็นของคนอื่นก็อาจเป็นของหมั้นและตกเป็นกรรมสิทธิแก่หญิงในเมื่อสมรสแล้วได้ ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1436 ก็ใช้คำว่า ฝ่ายชาย มิได้ใช้คำว่า ชาย เฉย ๆ
พ.สามีจำเลยกับจำเลยได้ไปทำการหมั้นโจทก์ให้แก่ จ. ซึ่งเป็นบุตรของ พ. โดยใช้แหวนเป็นของหมั้น แหวนนี้จะเป็นเพียงจำเลยให้ยืม โดย พ.ทราบด้วยหรือไม่ทราบก็ตาม เมื่อปรากฎว่าทางฝ่ายโจทก์และบิดามารดาโจทก์หาได้ทราบความข้อนี้ด้วยไม่ จึงจะเอาข้อตกลงระหว่าง จ.กับจำเลยตลอดจนความไม่รู้ของ พ.หากเป็นความจริง ไปผูกมัดโจทก์ไม่ได้.
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้โจทก์ ซึ่งเป็นฝ่ายชนะนั้น โจทก์อาจฎีกาได้ตามมาตรา 168 ป.ม.วิ.แพ่ง แต่โจทก์ไม่ได้ฎีกา เป็นแต่เพียงแถลงมาในคำแก้ฎีกานั้นย่อมไม่ได้ แต่เนื่องจากเวลาพิพากษาศาลฎีกามีอำนาจสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงของศาลล่างด้วย โดยอาศัยอำนาจนี้ ศาลฎีกาอาจวินิจฉัยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ให้ได้ในเมื่อเห็นสมควร
เมื่อพ้นกำหนดยื่นคำแก้อุทธรณ์ตามมาตรา 237 วรรคต้น ป.ม.วิ.แพ่งแล้วจำเลยจะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่ได้ จะยื่นได้ก็แต่ในฐานะคำแถลงการณ์ตามมาตรา 246,186 วรรค 2 ป.ม.วิ.แพ่ง หากยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดและศาลรับไว้ก็รับไว้ในฐานะเป็นคำแถลงการณ์เท่านั้น ซึ่งมีผลว่าจำเลยจะตั้งประเด็นในศาลอุทธรณ์ไม่ได้เพราะเป็นแต่เพียงคำแถลงการณ์ ไม่ใช่คำแก้อุทธรณ์ซึ่งเป็นคำคู่ความที่จำเลยอาจตั้งประเด็นไว้
การยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดอันถือได้ว่าเป็นการยื่นคำแถลงการณ์นี้ ก็ถือได้ว่าทนายของจำเลยอุทธรณ์ได้ว่าคดีในชั้นศาลอุทธรณ์เหมือนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิ์ชายคู่หมั้น การหมั้นสมบูรณ์เมื่อสมรสแล้ว
ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของชายคู่หมั้น แม้จะเป็นของคนอื่นก็อาจเป็นของหมั้นและตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่หญิงในเมื่อสมรสแล้วได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 ก็ใช้คำว่า ฝ่ายชาย มิได้ใช้คำว่า ชายเฉยๆ
พ.สามีจำเลยกับจำเลยได้ไปทำการหมั้นโจทก์ให้แก่จ.ซึ่งเป็นบุตรของ พ. โดยใช้แหวนเป็นของหมั้น แหวนนี้จะเป็นเพียงจำเลยให้ยืมโดย พ. ทราบด้วยหรือไม่ทราบก็ตาม เมื่อปรากฏว่าทางฝ่ายโจทก์และบิดามารดาโจทก์หาได้ทราบความข้อนี้ด้วยไม่ จึงจะเอาข้อตกลงระหว่าง จ. กับจำเลยตลอดจนความไม่รู้ของ พ. หากเป็นความจริงไปผูกมัดโจทก์ไม่ได้
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะนั้น โจทก์อาจฎีกาได้ตามมาตรา168 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่โจทก์ไม่ได้ฎีกา เป็นแต่เพียงแถลงมาในคำแก้ฎีกานั้นย่อมไม่ได้ แต่เนื่องจากเวลาพิพากษาศาลฎีกามีอำนาจสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงของศาลล่างด้วยโดยอาศัยอำนาจนี้ ศาลฎีกาอาจวินิจฉัยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ให้ได้ในเมื่อเห็นสมควร
เมื่อพ้นกำหนดยื่นคำแก้อุทธรณ์ตามมาตรา 237 วรรคต้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว จำเลยจะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่ได้ จะยื่นได้ก็แต่ในฐานะคำแถลงการณ์ตามมาตรา246,186 วรรคสอง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ก็รับไว้หากยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดและศาลรับไว้ในฐานะเป็นคำแถลงการณ์เท่านั้น ซึ่งมีผลว่าจำเลยจะตั้งประเด็นในศาลอุทธรณ์ไม่ได้ เพราะเป็นแต่เพียงคำแถลงการณ์ ไม่ใช่คำแก้อุทธรณ์ซึ่งเป็นคำคู่ความที่จำเลยอาจตั้งประเด็นได้
การยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดอันถือได้ว่าเป็นการยื่นคำแถลงการณ์นี้ ก็ถือได้ว่าทนายของจำเลยอุทธรณ์ได้ว่าคดีในชั้นศาลอุทธรณ์เหมือนกัน
of 3