พบผลลัพธ์ทั้งหมด 651 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8224/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตค่าธรรมเนียมศาลเมื่ออุทธรณ์ประเด็นข้อกฎหมายที่ไม่กระทบถึงการชำระหนี้ตามคำพิพากษา
ตามอุทธรณ์ของจำเลยเป็นการโต้แย้งว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 เพราะไม่ได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นไว้แล้วและขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าว เพื่อให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป โดยจำเลยมิได้ขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดี อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 และขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้น ย่อมมีผลโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพราะจะทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นสิ้นผลบังคับไปในตัว แม้จำเลยเลือกที่จะไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นทุกประเด็นรวมถึงประเด็นที่เกี่ยวกับการชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นสิทธิของจำเลยที่อาจกระทำได้โดยชอบ แต่การที่จำเลยอุทธรณ์เช่นนี้ย่อมมีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 และกรณีเป็นเพียงการวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนพร้อมอุทธรณ์ตามกฎหมาย หาใช่การชำระค่าฤชาธรรมเนียมหรือการชำระหนี้ตามคำพิพากษาไม่
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 และขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้น ย่อมมีผลโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพราะจะทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นสิ้นผลบังคับไปในตัว แม้จำเลยเลือกที่จะไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นทุกประเด็นรวมถึงประเด็นที่เกี่ยวกับการชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นสิทธิของจำเลยที่อาจกระทำได้โดยชอบ แต่การที่จำเลยอุทธรณ์เช่นนี้ย่อมมีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 และกรณีเป็นเพียงการวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนพร้อมอุทธรณ์ตามกฎหมาย หาใช่การชำระค่าฤชาธรรมเนียมหรือการชำระหนี้ตามคำพิพากษาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6740/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจฟ้องและหนังสือมอบอำนาจเฉพาะการ: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 หากหนังสือมอบอำนาจไม่ได้ระบุ
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์มีข้อความว่า บริษัทไอบีเอ็มประเทศไทย จำกัด โดยนายพงศ์ศักดิ์ ตัณสถิตย์ ขอมอบอำนาจให้ นาย ว. เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนในกิจการดังต่อไปนี้ คือ ข้อ 1. ให้มีอำนาจดำเนินคดีแพ่ง อาญา และคดีล้มละลายกับบริษัทโรงแรมรอยัลเลควิล จำกัด ข้อ 2. ฟ้องคดีในเรื่อง ข้อหา ฐานความผิด กับบุคคลดังกล่าว ข้อ 1. ต่อศาลทั่วราชอาณาจักร? ข้อความตามที่ระบุดังกล่าวเป็นเรื่องโจทก์มอบอำนาจเฉพาะการมิใช่มอบอำนาจทั่วไปและระบุให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น นาย ว. ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจแต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 2 การที่ทนายโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วยจึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจหรือทำนอกเหนือขอบอำนาจที่โจทก์มอบหมายไว้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3135/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เพื่อขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ และขอบเขตการได้รับชำระหนี้
ก่อนยื่นคำขอรับชำระหนี้คดีนี้เจ้าหนี้ได้ฟ้องบริษัท ส. และลูกหนี้เป็นจำเลยในข้อหาผิดสัญญาซื้อขาย รับสภาพหนี้ และใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ โดยฟ้องว่า บริษัท ส. ผิดสัญญาไม่ชำระค่าสินค้าให้เจ้าหนี้ ซึ่งต่อมาบริษัท ส. ได้ทำสัญญารับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ว่าเป็นหนี้ค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยเป็นเงิน 38,065,534.81 บาท และขอผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน แต่ก็ผิดนัดชำระหนี้และปรากฏว่าก่อนหน้านี้ลูกหนี้ได้ว่าจ้างบริษัท ส. ดังกล่าว ก่อสร้างและติดตั้งระบบภายในอาคารของลูกหนี้ โดยมีการส่งมอบงานแก่ลูกหนี้ 3 งวด รวมทั้งสิ้น 76 ครั้ง คิดเป็นเงิน 127,000,000 บาท และบริษัท ส. รับสมอ้างว่าได้รับค่าจ้างจำนวนดังกล่าวไปจากลูกหนี้แล้วซึ่งไม่เป็นความจริง เจ้าหนี้จึงแจ้งให้บริษัท ส. ใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องลูกหนี้ให้ชำระหนี้ดังกล่าวเพื่อจะได้นำมาชำระหนี้ค่าสินค้าแก่เจ้าหนี้ แต่บริษัท ส. เพิกเฉยทำให้เจ้าหนี้เสียหายและเสียประโยชน์ ขอให้บังคับบริษัท ส. และลูกหนี้ร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินจำนวน 38,065,534.81 บาท พร้อมดอกเบี้ย บริษัท ส. และลูกหนี้ให้การต่อสู้คดี แต่ระหว่างการพิจารณาคดีลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการและศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะลูกหนี้ชั่วคราว และต่อมาได้พิพากษาให้บริษัท ส. ชำระหนี้ดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ คดีถึงที่สุด ดังนี้ การที่เจ้าหนี้ได้ฟ้องบริษัท ส. และลูกหนี้เป็นจำเลยในคดีแพ่งแทนการขอให้ศาลออกหมายเรียกให้บริษัท ส. เข้ามาในคดีในการใช้สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้ ก็ถือได้ว่าเจ้าหนี้ได้ดำเนินการตาม ป.พ.พ. มาตรา 234 ที่มุ่งหมายให้ลูกหนี้เข้ามาในคดีเพื่อรักษาสิทธิของตนแล้ว และการที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการในนามตนเองแทนบริษัท ส. เป็นกระบวนการที่สืบเนื่องมาจากการที่เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องของบริษัท ส. ซึ่งเป็นลูกหนี้นั่นเอง เมื่อบริษัท ส. ไม่มีทรัพย์สินที่เจ้าหนี้จะบังคับมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ และบริษัท ส. ก็มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ด้วย จึงเป็นกรณีที่บริษัท ส. เพิกเฉยไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้เจ้าหนี้เสียประโยชน์ เจ้าหนี้จึงใช้สิทธิเรียกร้องของบริษัท ส. ในนามตนเองขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้ตามจำนวนหนี้ที่บริษัท ส. เป็นหนี้เจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหลังวันชี้สองสถาน: เหตุผลความจำเป็นและขอบเขตการอนุญาต
สาระสำคัญของการเรียกร้องเงินทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์เพิ่มขึ้นต้องอาศัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเนื้อที่ของที่ดินที่ถูกต้องแน่นอนสำหรับคำนวณเป็นทุนทรัพย์ที่จะเรียกร้อง โจทก์ยื่นฟ้องคดีภายในกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายบังคับโดยยังไม่ทราบจำนวนเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนที่แน่นอน แม้โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งจากจำเลยที่ 1 ว่าได้รังวัดที่ดินแล้วมีเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้น แต่ตามคำให้การของจำเลยทั้งสามก็ให้การว่าโจทก์ยังโต้แย้งคัดค้านการรังวัดครั้งดังกล่าวว่าไม่ถูกต้องจึงเป็นการไม่แน่นอนว่าเนื้อที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนจำนวนเท่าใด โจทก์และจำเลยยังโต้แย้งจำนวนเนื้อที่กันอยู่ จำเลยจึงยังมิได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนที่เหลือแก่โจทก์ เมื่อโจทก์เพิ่งทราบและยอมรับว่าที่ดินสองแปลงของโจทก์ มีเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้น 113 ตารางวา และ 92 ตารางวา ตามที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ไปรังวัดที่ดินกันใหม่ภายหลังจากวันชี้สองสถานตามที่โจทก์ฎีกา กรณีเช่นนี้ ถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 จึงชอบที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขต 'ส่วนที่เหลือ' ตาม พ.ร.บ.เวนคืน และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติม นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด
คำว่า "ส่วนที่เหลือ" ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสาม จะต้องพิจารณาจากที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนแปลงนั้น ๆ เป็นหลัก โดยที่ดินแปลงนั้น ๆ ไม่ได้ถูกเวนคืนทั้งหมด ส่วนที่ไม่ถูกเวนคืนจึงจะถือว่าเป็นส่วนที่เหลือจากการเวนคืนตามความหมายของบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนที่ดินของโจทก์แปลงที่ไม่มีส่วนใดถูกเวนคืนเลย แม้จะปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ติดต่อเป็นผืนเดียวกันกับที่ดินของโจทก์แปลงที่ถูกเวนคืนที่มีส่วนที่เหลือจากการเวนคืนก็ตาม ก็ไม่มีผลทำให้ที่ดินแปลงที่ไม่มีส่วนใดถูกเวนคืนเลยกลายเป็นที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนตามบทบัญญัติดังกล่าวไปได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินแปลงที่ไม่มีส่วนใดถูกเวนคืนเลยโดยอ้างว่าที่ดินมีราคาลดลงเนื่องจากการเวนคืน
ผู้ถูกเวนคืนที่ดินจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนอย่างไร เพียงใดนั้น จะต้องเป็นไปตามที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 บัญญัติไว้เท่านั้น แต่ตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวหาได้มีบทบัญญัติให้ทางราชการจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายเนื่องจากโจทก์จะต้องซื้อที่ดินข้างเคียงเพื่อทำเป็นทางออกให้แก่ที่ดินของโจทก์สู่ถนนสาธารณะตามที่โจทก์กล่าวอ้างไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์
ผู้ถูกเวนคืนที่ดินจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนอย่างไร เพียงใดนั้น จะต้องเป็นไปตามที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 บัญญัติไว้เท่านั้น แต่ตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวหาได้มีบทบัญญัติให้ทางราชการจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายเนื่องจากโจทก์จะต้องซื้อที่ดินข้างเคียงเพื่อทำเป็นทางออกให้แก่ที่ดินของโจทก์สู่ถนนสาธารณะตามที่โจทก์กล่าวอ้างไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12088/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตมาตรา 20 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์: ข้อตกลงสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องเท่านั้น
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 นั้น หมายถึงเฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องเท่านั้น นายจ้างจึงสามารถทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างใหม่ให้ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มิได้เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องได้ เมื่อประกาศของจำเลยได้ประกาศจ่ายค่าเที่ยวแก่ลูกจ้างผู้ขับรถบรรทุกหัวลากแต่ฝ่ายเดียว แล้วมีการถือปฏิบัติจ่ายค่าเที่ยวเรื่อยมาจนกลายเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยาย ก็ไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้อง ดังนั้น จำเลยจึงสามารถทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างที่เข้าทำงานใหม่ โดยตกลงยกเว้นสิทธิประโยชน์บางส่วนตามประกาศได้ ไม่ขัดต่อ มาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงค่าปรับในสัญญาจ้างแรงงาน และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ข้อตกลงที่ลูกจ้างจะชดใช้ค่าเสียหายและค่าปรับให้แก่นายจ้างในกรณีที่ลูกจ้างก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง เป็นข้อตกลงในทางแพ่งโดยทั่วไปซึ่งนายจ้างและลูกจ้างสามารถทำข้อตกลงดังกล่าวได้ และค่าปรับก็มีลักษณะเช่นเดียวกับเบี้ยปรับคือเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า หากสูงเกินส่วนศาลก็ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายพร้อมค่าปรับจำนวน 5 เท่า ของราคาทรัพย์หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่โจทก์ผู้เป็นนายจ้าง จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ
แม้สัญญาค้ำประกันหมาย จ. 5 จะระบุว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทุกประการก็ตาม แต่ความรับผิดดังกล่าวหมายถึงความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานให้แก่โจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างแรงงานหมาย จ. 3 เท่านั้น ส่วนข้อตกลงตามหนังสือแนบท้ายสัญญาจ้างหมาย จ. 4 ซึ่งจำเลยที่ 1 ตกลงจะชดใช้ค่าปรับอีกส่วนหนึ่งจำนวน 5 เท่าของค่าเสียหายแก่โจทก์ เพิ่งจัดทำขึ้นภายหลังจากจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหมาย จ. 5 แล้ว โดยจำเลยที่ 2 มิได้ลงชื่อให้ความยินยอมด้วย ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดชำระค่าปรับจำนวน 5 เท่า แก่โจทก์
แม้สัญญาค้ำประกันหมาย จ. 5 จะระบุว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทุกประการก็ตาม แต่ความรับผิดดังกล่าวหมายถึงความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานให้แก่โจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างแรงงานหมาย จ. 3 เท่านั้น ส่วนข้อตกลงตามหนังสือแนบท้ายสัญญาจ้างหมาย จ. 4 ซึ่งจำเลยที่ 1 ตกลงจะชดใช้ค่าปรับอีกส่วนหนึ่งจำนวน 5 เท่าของค่าเสียหายแก่โจทก์ เพิ่งจัดทำขึ้นภายหลังจากจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหมาย จ. 5 แล้ว โดยจำเลยที่ 2 มิได้ลงชื่อให้ความยินยอมด้วย ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดชำระค่าปรับจำนวน 5 เท่า แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6500/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำและทุนทรัพย์: ศาลฎีกาวินิจฉัยการฟ้องครอบครองที่ดินซ้ำหรือไม่ พิจารณาจากขอบเขตที่ดินพิพาทและมูลค่า
คดีก่อนจำเลยฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินเนื้อที่ 25 ตารางวา ซึ่งมีบ้านปลูกอยู่โจทก์ให้การต่อสู้อ้างสิทธิครอบครองและศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินเนื้อที่ 25 ตารางวา คดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อขอแสดงสิทธิครอบครองในที่ดินเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทในคดีก่อนด้วย ดังนี้ ในคดีก่อนย่อมไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินพิพาทส่วนที่นอกเหนือจากเนื้อที่ 25 ตารางวา ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนอกเหนือจากเนื้อที่ 25 ตารางวา ที่พิพาทกันในคดีก่อนจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฎีกาของพนักงานอัยการ: กรณีศาลอุทธรณ์ให้รอการลงโทษ มิใช่ปล่อยตัว
พระราชบัญญัติพนักงานอัยการฯ มาตรา 11(7) บัญญัติว่า ในคดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษบุคคลใดโดยลำพัง ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ปล่อยผู้นั้น เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะฎีกาก็ได้ คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกผู้ถูกกล่าวหาว่าประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล เป็นการละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) และมาตรา 33 ให้ลงโทษจำคุกและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้รอการลงโทษ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีหนังสือขอให้พนักงานอัยการยื่นฎีกาขอให้ลงโทษผู้ถูกกล่าวหาตามคำสั่งศาลชั้นต้นนั้นพนักงานอัยการจะฎีกาได้เฉพาะในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาให้ปล่อยผู้ถูกกล่าวหาเท่านั้นแต่คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้รอการลงโทษไว้ มิใช่เป็นการปล่อยผู้ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด กรณีไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติพนักงานอัยการฯ มาตรา 11(7) พนักงานอัยการจึงฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1432/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: การบังคับใช้คำพิพากษาเฉพาะโจทก์ที่อุทธรณ์เมื่อหนี้ของแต่ละโจทก์แยกจากกันได้
โจทก์ทั้งสามต่างฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ลูกจ้าง กับจำเลยที่ 2 นายจ้าง ให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม และยกฟ้องจำเลยที่ 2 โจทก์ที่ 1 แต่ผู้เดียวอุทธรณ์ ขอให้จำเลยที่ 2 นายจ้างร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่อุทธรณ์ คดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสามต่างใช้สิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกัน รับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์แต่ละคนจะได้รับ แม้จะฟ้องรวมกันมาแต่หนี้ของโจทก์แต่ละคนสามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ที่ 1 อุทธรณ์เพียงผู้เดียว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่มีผลไปถึงคดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษา ให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ทั้งที่คดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ยุติไปแล้วจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ศาลฎีกายกฎีกาของจำเลยที่ 2 ซึ่งได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา จึงไม่มีค่าขึ้นศาล ชั้นฎีกาที่จะต้องคืนให้
ศาลฎีกายกฎีกาของจำเลยที่ 2 ซึ่งได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา จึงไม่มีค่าขึ้นศาล ชั้นฎีกาที่จะต้องคืนให้