คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขอบเขตคำขอ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172-1175/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำขอขับไล่: ศาลพิพากษาขับไล่เฉพาะที่ดิน ไม่เกินคำขอเดิมที่รวมทั้งที่ดินและโรงเรือน
ฟ้องขอให้ขับไล่ออกจากที่ดินและโรงเรือนซึ่งสร้างอยู่บนที่ดินนั้น ศาลพิพากษาให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินแต่ประการเดียว ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นส่วนและผลกระทบต่อความเป็นหุ้นส่วน รวมถึงขอบเขตคำขอในฟ้อง
เมื่อหุ้นส่วนบางคนตายผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่ได้รับโอนหุ้นและยินยอมให้ผู้ถือหุ้นใหม่รับโอนหุ้นสืบต่อๆ กันมาโดยความยินยอมจนถึงโจทก์จำเลยดังนี้ หุ้นส่วนนั้นยังคงมีอยู่ต่อไปมิได้เลิกจากกัน
โจทก์บรรยายในฟ้องว่า เมื่อทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนแล้วหุ้นส่วนได้สร้างโรงมหรสพขึ้นบนที่พิพาทและได้ประกอบกิจการมหรสพติดต่อตลอดมาจนบัดนี้ และในคำขอท้ายฟ้องเขียนว่า ที่พิพาทดังกล่าวในฟ้องเป็นของหุ้นส่วน มิใช่ของจำเลยผู้เดียว ดังนี้คำขอท้ายฟ้องดังกล่าวย่อมหมายถึงโรงมหรสพดังกล่าวในฟ้องด้วยที่ศาลพิพากษารวมถึงโรงมหรสพด้วยจึงไม่ใช่พิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำขอของอัยการและผู้เสียหายในการอุทธรณ์โทษอาญา: ศาลฎีกาพิจารณาจากคำขอให้ลงโทษหนักได้
อัยการและผู้เสียหายต่างอุทธรณ์ด้วยกัน โดยผู้เสียหายขอให้ศาลอุทธรณ์อย่ารอการลงโทษแก่จำเลย อัยการขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษให้หนักขึ้น ดังนี้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตามคำขอของอัยการได้ ไม่เป็นการเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำขอในคดีบุกรุก: ศาลพิจารณาตามแผนที่พิพาท แม้เนื้อที่ต่างจากฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยไม่ให้เกี่ยวข้องในที่ของโจทก์ ซึ่งจำเลยบุกรุกเข้ามา กว้าง 1 วา ยาวประมาณ 3 เส้น ครั้นเมื่อเจ้าพนักงานไปทำแผนที่โจทก์นำชี้ที่ที่จำเลยบุกรุกเข้ามาตามในวงเส้นสีแดง ซึ่งกว้างเพียง 3 ศอก ยาว 3 เส้น 3 วา 2 ศอกเกินที่กล่าวในฟ้องไป 3 วา 2 ศอก ดังนี้ ก็ต้องถือว่า โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ของโจทก์ตามในวงเส้นสีแดงแห่งแผนที่พิพาทนั้นเอง ศาลพิพากษาห้ามจำเลยไม่ให้เกี่ยวข้องในที่พิพาทภายในวงเส้นสีแดงแห่งแผนที่พิพาทได้ ไม่เป็นการเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำขอในคดีแสดงกรรมสิทธิ์: ศาลต้องตัดสินตามที่โจทก์ขอเท่านั้น แม้จะมีส่วนเกินที่ไม่ได้ระบุในคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าที่ดินหมายเลข 2 ตามแผนที่ท้ายฟ้องเป็นของโจทก์ ทางพิจารณาได้ความว่า ที่ที่โจทก์ขอตามฟ้องเป็นของโจทก์ และปรากฏว่าโจทก์ปลูกห้องแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ของจำเลย 2 ศอก ศาลก็ควรพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามที่โจทก์ขอมาเท่านั้น ที่ 2 ศอก ที่เกินมานี้ไม่มีประเด็นขึ้นมาในคดี ศาลหาควรวินิจฉัยถึงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการเพิ่มโทษทางอาญา: ศาลเพิ่มโทษได้ตามเกณฑ์ที่น้อยกว่าคำขอ หากไม่เกินกรอบคำขอเดิม
อย่างไรเรียกว่าตัดสินไม่เกินคำขอ ฟ้องให้เพิ่มโทษตามม. 74 แต่ทางพิจารณาไม่เข้ามาตรานี้ แต่เข้ามาตรา 73 ศาลเพิ่มโทษ ตามมาตรา 73 ได้ ตามนัยฎีกาที่ 787/68

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7381/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกและการฟ้องบังคับให้เพิกถอนคำคัดค้านการขอออกโฉนด: ประเด็นการแย่งการครอบครองและขอบเขตคำขอ
แม้จำเลยชนะคดีในศาลชั้นต้นก็ตาม แต่จำเลยก็ยังมีสิทธิที่จะตั้งประเด็นส่วนที่จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาในคำแก้อุทธรณ์ได้ ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนาย ต. ซึ่งจำเลยก็ได้โต้แย้งแก้อุทธรณ์ไว้ในข้อ 2 ว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของนาย ต. ไม่อาจนำไปแบ่งปันให้แก่ทายาท ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ตั้งประเด็นในการวินิจฉัยชี้ขาดว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนาย ต. หรือไม่ กับฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนาย ต. จึงชอบแล้ว
จำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินเป็นมรดกของนาย ต. ซึ่งตกทอดแก่ทายาทและจำเลยแย่งการครอบครองจากทายาทอื่นจนได้สิทธิการครอบครองแล้วแต่อย่างใด หากแต่ให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของนาย ต. ไม่อาจนำไปแบ่งปันแก่ทายาทได้ เพราะนาย ต. ยกให้นาย อ. บิดาจำเลยตั้งแต่นาย ต. มีชีวิตอยู่ เท่ากับอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของนาย อ. และตกทอดมายังจำเลย โดยนาย อ. และจำเลยมิได้แย่งการครอบครองมาจากผู้ใด คดีจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ไม่อาจแย่งการครอบครองในที่ดินซึ่งตนเองมีสิทธิครอบครองหรือเป็นเจ้าของได้ แม้ภายหลังโจทก์มีหนังสือแจ้งให้ทายาทและนาย อ. ไปตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกของนาย ต. นาย อ. ได้มีหนังสือไปถึงโจทก์ว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของนาย ต. ที่จะต้องนำไปแบ่งปันแก่ทายาท ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 เพราะจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของนาย ต. การโต้แย้งตามหนังสือของนาย อ. ดังกล่าวจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองเช่นกัน ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ฟ้องเกิน 2 ปี นับแต่จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเอาคืนการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
of 2