คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขัดขวาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8938/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขอุปสรรคการดำเนินธุรกิจ: ศาลตั้งผู้แทนชั่วคราวเมื่อกรรมการขัดขวางการลงลายมือชื่อ
ข้อบังคับของบริษัท ซ. กำหนดให้ ส. ลงลายมือชื่อร่วมกับผู้ร้องและประทับตราสำคัญของบริษัทจึงมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้ แต่ ส. ขัดขวางและทำการเป็นปฏิปักษ์ไม่ยอมลงลายมือชื่อร่วมกับผู้ร้องในกิจการที่ต้องกระทำในนามบริษัท ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนชั่วคราวของบริษัท โดยให้ผู้ร้องแต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทมีอำนาจกระทำการแทนบริษัท เพื่อแก้ไขอุปสรรคและข้อขัดข้องของบริษัทมิให้เกิดความเสียหาย ดังนี้ แม้คำร้องขอของผู้ร้องจะไม่ใช่กรณีตำแหน่งผู้แทนของบริษัทว่างลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 73 แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีนี้ได้ ทั้งไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในกรณีนี้จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสอง ซึ่งได้แก่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 73 ศาลจึงสามารถตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนชั่วคราวตามบทกฎหมายดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7160/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารขัดผังเมืองรวม การยกกฎกระทรวงใช้บังคับย้อนหลัง และสิทธิในการรื้อถอนอาคาร
ตามวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยได้ก่อสร้างอาคาร คอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น รวม 4 คูหา ในที่ดินของจำเลย โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างเพราะอาคารที่จำเลยก่อสร้างอยู่ในบริเวณที่จะขยายถนนอันเป็นเขตที่ให้ใช้ผังเมืองรวมบังคับตามกฎกระทรวงฉบับที่ 41(พ.ศ. 2531) ออกตามความใน พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2531 และมีระยะเวลาใช้บังคับ 5 ปี แม้ในระหว่างพิจารณา ของศาลชั้นต้น กฎกระทรวง ฉบับที่ 41 (พ.ศ. 2531) ซึ่งมีระยะเวลาใช้บังคับ 5 ปี จะสิ้นผลใช้บังคับไป แต่ใน ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 323(พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ใช้บังคับอีก มีกำหนด 5 ปีโดยกำหนดไว้ในข้อ 2 ว่า ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่ตำบล อำเภอและจังหวัด ภายในแนวเขตตามแผนที่ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ซึ่งตามรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวได้กำหนดบริเวณถนนที่จะก่อสร้างใหม่ และถนนเดิมที่จะขยายเขตทางตรงกับที่กำหนดไว้ในรายการประกอบแผนผัง แสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวงฉบับที่ 41(พ.ศ. 2531) ตามฟ้อง ศาลฎีกาจึงชอบที่จะยกกฎกระทรวงฉบับนี้ขึ้นปรับใช้แก่คดีนี้ได้ ดังนั้นเมื่อการก่อสร้างอาคารตามฟ้องของจำเลยต้องห้ามตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 323(พ.ศ. 2540) และฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4305/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นและการขัดขวางการปรับปรุงทาง กรณีที่ดินไม่มีทางออก
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 5400 มี ส.และ อ.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ต่อมาโจทก์ และ ร. กับพวกได้ซื้อในส่วนของ อ.โดยจดทะเบียนลงชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธ์รวมในโฉนดกับพวก แต่มิได้มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินต่อมา ร.ได้ฟ้องเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมขอให้แบ่งแยกโฉนด แล้วมีการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอมให้แบ่งที่ดินดังกล่าวเป็น3 แปลง คือแปลงโฉนดเลขที่ 94774, 94775 และ 5400 โดยไม่มีการตกลงให้กันส่วนเป็นถนนให้แต่ละแปลงออกสู่ถนนสาธารณะ ต่อมาได้มีการจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นเหตุให้ที่ดินแปลงโฉนดเลขที่94775 และ 5400 ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม และเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางบนที่ดินแปลงที่แบ่งแยกไปโดยมีทางออกสู่ถนนสาธารณะโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 เมื่อทางพิพาทอยู่บนที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่ดินเลขที่ 94774ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินของโจทก์
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม นั้น ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ เมื่อปรากฏว่าสภาพถนนลูกรังที่มีและใช้อยู่ในขณะพิพาทขนาดกว้าง 5 เมตร ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าทางพิพาทกว้างประมาณ 5 เมตรพอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์แล้ว หาจำต้องมีไหล่ทางข้างละ 1 เมตรไม่
เมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยโดยอำนาจของกฎหมายแล้ว จำเลยก็ไม่จำต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
แม้ทางพิพาทจะตกเป็นทางจำเป็นตามกฎหมาย แต่กรรมสิทธิ์ที่จะครอบครองดูแลทางพิพาทก็ยังเป็นของจำเลย การที่มีผู้นำดินลูกรังมากองในทางพิพาท แม้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม บัญญัติให้สิทธิผู้มีสิทธิจะผ่านทางถ้าจำเป็นสามารถสร้างถนนผ่านทางได้ โดยจำเลยไม่มีสิทธิขัดขวางการปรับปรุงบำรุงรักษาทางพิพาทนั้น ก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติถึงวิธีทำทางผ่านจะต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็น ทั้งต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดด้วย ดังนั้น การนำดินลูกรังมากองในทางพิพาทเป็นจำนวนมากพอสมควรโดยมิได้บอกกล่าวให้จำเลยทราบ อาจมีการฉวยโอกาสเกลี่ยดินลูกรังขยายทับหน้าดินริมทางเพื่อให้สภาพผิวถนนลูกรังกว้างขึ้น จำเลยจึงมีสิทธิขัดขวางได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4950/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจค้นจับกุมโดยไม่มีหมาย และขัดขวางการปฏิบัติงานเจ้าพนักงาน กรณีฉุกเฉิน
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ไม่ได้กระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยอ้างเหตุพยานโจทก์ ที่นำสืบมาฟังไม่ได้ว่าอาวุธปืนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ใช้ยิงได้หรือไม่จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นอาวุธปืนตามกฎหมายจำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดนั้น ปัญหาว่าอาวุธปืนใช้ยิงได้หรือไม่ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ปัญหาตามที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยอ้างเหตุว่าขณะที่เจ้าพนักงานเข้าตรวจค้นและจับกุมพวกลักลอบเล่นการพนันนั้น เจ้าพนักงานตำรวจไม่มีหมายค้นและหมายจับ จึงไม่อาจตรวจค้นและจับกุมได้ จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจับกุมไม่เป็นความผิด แม้ปัญหานี้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ที่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ป.อ.มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
ในขณะเข้าตรวจค้นและจับกุมผู้ต้องหาลักลอบเล่นการพนันเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีหมายค้นและหมายจับ แต่เห็นว่าการเล่นการพนันเป็นการกระทำผิดซึ่งหน้าหากไม่เข้าตรวจค้นและจับกุมทันทีตามที่พลเมืองดีแจ้ง ผู้ต้องหาอาจหลบหนีไปได้เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง จึงตรวจค้นในเวลากลางคืนได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตาม ป.วิ.อ.มาตรา 92 (2) ประกอบด้วยมาตรา 96 (2) การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นการตรวจค้นและจับกุมผู้เล่นการพนันโดยชอบด้วยกฎหมายการที่จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจับกุมโดยใช้มือดึงผู้เล่นการพนันให้ออกไป จึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 138 วรรคหนึ่ง
การปรับบทความผิดและลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดถึงจำเลยที่ 2ด้วยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4950/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจค้นจับกุมและการขัดขวางเจ้าพนักงาน: เหตุฉุกเฉิน, อำนาจตรวจค้น, ความผิดฐานขัดขวาง
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ไม่ได้กระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยอ้างเหตุพยานโจทก์ที่นำสืบมาฟังไม่ได้ว่าอาวุธปืนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ใช้ยิงได้หรือไม่จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นอาวุธปืนตามกฎหมาย จำเลยที่ 1จึงไม่มีความผิดนั้น ปัญหาว่าอาวุธปืนใช้ยิงได้หรือไม่เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ปัญหาตามที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยอ้างเหตุว่าขณะที่เจ้าพนักงานเข้าตรวจค้นและจับกุมพวกลักลอบเล่นการพนันนั้นเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีหมายค้นและหมายจับ จึงไม่อาจตรวจค้นและจับกุมได้ จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจับกุมไม่เป็นความผิด แม้ปัญหานี้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ที่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ในขณะเข้าตรวจค้นและจับกุมผู้ต้องหาลักลอบเล่นการพนันเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีหมายค้นและหมายจับ แต่เห็นว่าการเล่นการพนันเป็นการกระทำผิดซึ่งหน้าหากไม่เข้าตรวจค้นและจับกุมทันทีตามที่พลเมืองดีแจ้ง ผู้ต้องหาอาจหลบหนีไปได้เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง จึงตรวจค้นในเวลากลางคืนได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 92(2) ประกอบด้วยมาตรา 96(2) การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นการตรวจค้นและจับกุมผู้เล่นการพนันโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจับกุมโดยใช้มือดึงผู้เล่นการพนันให้ออกไป จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคหนึ่ง การปรับบทความผิดและลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดถึงจำเลยที่ 2 ด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่าที่แท้จริงเกินสี่พันบาท ไม่ขัดขวางสิทธิอุทธรณ์คดีขับไล่
โจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตามหนังสือสัญญาเช่ามีข้อความเกี่ยวกับค่าเช่าว่าค่าเช่าเดือนละ1,000บาทและผู้เช่าชำระเงินกินเปล่าแล้วเมื่อเงินกินเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ชำระกันล่วงหน้าจึงต้องนำมาคำนวณเฉลี่ยรวมเป็นค่าเช่าด้วยเงินกินเปล่ามีจำนวน2,000,000บาทกำหนดเวลาเช่า11ปี6เดือนคิดเป็นค่าเช่าเฉลี่ยเดือนละ14,492.75บาทเมื่อรวมกับค่าเช่าปกติเดือนละ1,000บาทจึงเป็นค่าเช่าเดือนละ15,492.75บาทในขณะยื่นคำฟ้องซึ่งเป็นค่าเช่าที่เกินเดือนละสี่พันบาทจึงไม่ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสอง ปัญหาว่าเงินกินเปล่าหรือค่าเช่าล่วงหน้าเป็นเงินจำนวน250,000บาทตามที่ระบุในสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องหรือเป็นจำนวนเงิน2,000,000บาทตามที่จำเลยอ้างกรณีก็ไม่ต้องห้ามที่จะนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเช่าตามมาตรา94(ข)เพราะข้อโต้เถียงเรื่องค่าเช่ามิใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีจึงมิใช่กรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ภาษีและการขยายเวลา: คำสั่งไม่อนุมัติขยายเวลาอุทธรณ์เป็นการขัดขวางสิทธิ
การอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ ป.รัษฎากร มาตรา 30 บัญญัติไว้ให้สิทธิแก่ผู้รับการประเมินที่จะอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว ผู้รับการประเมินก็มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อศาลได้อีกภายในกำหนด 30 วัน นับแต่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ซึ่งคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวนั้น ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 7 (1) แต่ผู้รับการประเมินจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดไว้เช่นว่านั้น และได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดคำคัดค้านและคำอุทธรณ์นั้นเสร็จแล้ว ดังที่มาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 บัญญัติไว้ สำหรับกรณีที่ผู้รับการประเมินมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาในการอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 แห่งป.รัษฎากรได้นั้น มาตรา 3 อัฏฐ ก็ได้บัญญัติว่า เมื่ออธิบดี (กรมสรรพากร)พิจารณาเห็นเป็นการสมควรจะให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีก็ได้ วิธีการดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่ผู้รับการประเมินจะต้องปฏิบัติโดยถูกต้องเพื่อการที่จะได้รับการพิจารณาและพิพากษาคดีจากศาลภาษีอากรกลางได้ ดังนั้น กรณีที่ผู้รับการประเมินมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาการอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาในการยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้หากอธิบดีกรมสรรพากรพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้รับการประเมินมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาการอุทธรณ์การประเมินได้ ตามป.รัษฎากร มาตรา 30 แต่กลับสั่งไม่อนุมัติให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปแก่ผู้รับการประเมินตามความจำเป็นแก่กรณี เป็นการขัดขวางมิให้ผู้รับการประเมินได้รับสิทธิในการพิจารณาอุทธรณ์จากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และสิทธิในการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้ ย่อมเห็นได้ว่าคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้รับการประเมินจึงมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ศาลภาษีอากรเพิกถอนคำสั่งอันไม่ชอบด้วยกฎหมายของอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวได้ เพื่อให้ศาลภาษีอากรแก้ไขคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรเสียใหม่ให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของ ป.รัษฎากรมาตรา 3 อัฏฐ ต่อไป โดยถือว่าคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร มิฉะนั้นผู้รับการประเมินย่อมไม่มีทางที่จะได้รับสิทธิตามที่ ป.รัษฎากร มาตรา 3 อัฏฐ และมาตรา 30 บัญญัติไว้นั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6434/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องเรียนที่จงใจขัดขวางการก่อสร้างและละเมิดสิทธิของผู้อื่น ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิที่โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามรับผิดฐานละเมิด โดยบรรยายมาในคำฟ้องชัดแจ้งแล้วว่า การร้องเรียนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการจงใจทำละเมิดและกลั่นแกล้งโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหายและมีเจตนาไม่ให้โจทก์ทำการก่อสร้างอาคารได้ตามปกติทำให้การก่อสร้างล่าช้ากว่ากำหนด อีกทั้งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และบริวารได้พูดจาข่มขู่บุคคลภายนอกที่มาติดต่อขอรับโอนสิทธิการเช่าจากโจทก์ว่า หากรับโอนสิทธิการเช่าไปก็จะมีความเดือดร้อนเพราะจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยังมีข้อพิพาทกับโจทก์อยู่ ทำให้อาคารที่โจทก์สร้างขึ้น 4 หลัง มีผู้รับโอนสิทธิการเช่าเพียงหลังเดียว ส่วนอีก 3 หลัง ไม่มีผู้ใดกล้าเช่าช่วงหรือรับโอนสิทธิการเช่า ดังนี้ การกระทำตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4556/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องซ้ำหนี้ที่เคยมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดแล้ว ถือเป็นการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม
หนี้ที่ผู้ร้องเรียกให้ผู้คัดค้านชำระเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1ในคดีนี้ กับหนี้ที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้คัดค้านไม่ได้เป็นหนี้ลูกหนี้ที่ 1ในอีกคดีหนึ่งนั้น เป็นหนี้รายเดียวกัน คือ เป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ผู้คัดค้านออกให้ลูกหนี้ที่ 1 ในการกู้ยืมเงินและคดีมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกันว่าผู้คัดค้านจะต้องชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับดังกล่าวหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าคดีที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้คัดค้านไม่ได้เป็นลูกหนี้ที่ 1 ถึงที่สุดแล้วโดยศาลฎีกาได้วินิจฉัยเกี่ยวกับหนี้รายนี้ว่า ลูกหนี้ที่ 1 ได้ตกลงไม่เรียกร้องให้ผู้คัดค้านชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแล้วไม่ว่ากรณีใด ๆ การที่ผู้ร้องมาร้องเป็นคดีนี้จึงเป็นการรื้อร้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นการร้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 ประกอบกับ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5916/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม: สิทธิการใช้ทางและขอบเขตการขัดขวางการใช้ทาง รวมถึงการฟ้องจำเลยที่ 2 ผู้ดูแลผลประโยชน์
บันทึกข้อตกลงเรื่องภารจำยอมมีข้อความระบุให้ที่ดินของจำเลยที่ 1 ตกอยู่ในบังคับภารจำยอมเรื่องทางเดิน ทางรถเต็มทั้งแปลงของโฉนดที่ดินของโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยหลายแปลง ที่ดินด้านหน้าที่ติดถนนก็ปลูกตึกแถวตลอดแนวเต็มเนื้อที่ และโจทก์จะดำเนินการก่อสร้างด้านในหลังตึกแถวดังกล่าวโดยทำถนนคอนกรีตไปจดแนวเขตที่ดินของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยทั้งสองไม่ยอมรื้อหลักหินและตัดต้นไม้เล็ก ๆ ที่ขึ้นตามแนวเขตออกและยังมีสิ่งกีดขวางอื่น ๆ อีก จึงเป็นการขัดขวางการใช้ทางภารจำยอมของโจทก์ ที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าการจดทะเบียนภารจำยอมนั้นเป็นการยอมให้ใช้เดินและใช้รถตามถนนในสภาพที่อยู่เดิมไม่ใช่ยอมให้โจทก์เชื่อมถนนของโจทก์ จำเลยเข้าด้วยกันขัดกับข้อตกลงภารจำยอมจึงฟังไม่ได้ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ดินของจำเลยที่ 1ขัดขวางมิให้โจทก์ทำถนนมาเชื่อมกับถนนภารจำยอม เป็นการละเมิดโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการไม่ได้ ใช้ทางภารจำยอมและจากที่บุคคลภายนอกบอกเลิกสัญญาไม่ยอมซื้อที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายไม่น้อยกว่า600,000 บาท เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนแล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
of 17