คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขัดคำสั่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4820/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน: การกระทำเดิมย่อมระงับการฟ้อง ส่วนการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งใหม่เป็นความผิดใหม่
ความผิดฐานบุกรุกและความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทนั้น ศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีเสร็จเด็ด ขาดไปแล้วในคดีก่อน เมื่อที่ดินสาธารณประโยชน์ที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดคดีนี้เป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับในคดีก่อน ซึ่งจำเลยได้เข้ายึดถือและครอบครองที่ดินดังกล่าวตลอดมา ตั้งแต่ก่อนถูกฟ้องคดีก่อนและยังไม่ได้ออกไปจำเลยไม่ได้กระทำการอันใดขึ้นใหม่ แม้วันเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดคดีนี้จะเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยทราบแล้วว่าที่ดินที่จำเลยยึดถือและครอบครองอยู่เป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันก็ตาม เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยในการกระทำเดิม ซึ่งมีคำพิพากษาเสร็จเด็ด ขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(4) ส่วนข้อหาฐานขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้น เห็นว่า แม้คำสั่งของนายอำเภอที่สั่งให้จำเลยเลิกการบุกรุกที่ดินที่พิพาทจะเป็นคำสั่งเรื่องเดียวกันกับคำสั่งฉบับแรกก็ตาม แต่เป็นคำสั่งฉบับใหม่ซึ่งได้มีคำสั่งหลังจากศาลพิพากษาในคดีก่อนว่าที่พิพาทเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันแล้ว เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งใหม่นี้อีก การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดใหม่ ฟ้องของโจทก์ในข้อหาฐานขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน - การบุกรุก - ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน - เหตุผลเชื่อว่ามีสิทธิครอบครอง
การที่ศาลจะมีอำนาจสั่งให้บุคคลใดออกไปจากที่ดินของรัฐนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาว่าบุคคลดังกล่าวได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ แล้ว เมื่อที่พิพาทยังไม่อาจฟังได้แน่ชัดว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์ และจำเลยยึดถือครอบครองอยู่โดยเชื่อว่าตนมีสิทธิครอบครองต่อจากบิดา จึงไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลไม่อาจสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทได้ การที่จำเลยไม่ยอมออกจากที่พิพาทตามคำสั่งของนายอำเภอ เพราะเชื่อว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันกับที่วินิจฉัยมาแล้วว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 แม้ปัญหานี้ยุติแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดมั่วสุมก่อความวุ่นวายและขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน: พิจารณาความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
ป.อ. มาตรา 216 มุ่งประสงค์ลงโทษผู้ที่ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ไม่ยอมเลิกการมั่วสุมกันเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 ซึ่งเป็นการกระทำที่ยังไม่ถึงขั้นที่ผู้กระทำได้ลงมือใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ หรือทำให้เกิดความวุ่นวายอันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 ดังนั้นมาตรา 216 จึงเป็นความผิดต่างหากอีกบทหนึ่ง ด้วยเหตุนี้หากเจ้าพนักงานได้มีคำสั่งให้เลิกแล้ว แต่ผู้กระทำไม่เลิกตามคำสั่งของเจ้าพนักงานและได้กระทำต่อไปจนเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 ผู้กระทำก็ย่อมมีความผิดทั้งมาตรา215 และ 216 อันเป็นกรรมเดียวที่เกิดจากการมั่วสุมและไม่เลิกตามคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งเป็นเจตนาเดียวกัน จึงต้องลงโทษตามมาตรา 216 ซึ่งเป็นบทหนัก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดมั่วสุมและขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน: ลงโทษทั้งความผิดฐานมั่วสุมและขัดคำสั่งได้
ตาม ป.อ. มาตรา 216 มุ่งประสงค์ลงโทษผู้ที่ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ไม่ยอมเลิกการมั่วสุมเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 ซึ่งการมั่วสุมนั้นยังไม่ถึงขั้นลงมือกระทำการอันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 หากต่อมาผู้กระทำยังมั่วสุมต่อและได้กระทำการจนเป็นความสำเร็จตามมาตรา 215 ผู้กระทำย่อมมีความผิดทั้งมาตรา 215 และ 216เป็นการกระทำผิดกรรมเดียวจากเจตนาเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด ม.215-216 ป.อาญา: การมั่วสุมขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจนเกิดความวุ่นวาย ถือเป็นกรรมเดียว
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216 มุ่งประสงค์ลงโทษผู้ที่ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ไม่ยอมเลิกการมั่วสุมเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 ซึ่งเป็นการกระทำที่ยังไม่ถึงขั้นลงมือใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญ หรือทำให้เกิดความวุ่นวายอันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215หากเจ้าพนักงานมีคำสั่งให้เลิกแล้วผู้กระทำไม่ยอมเลิกและได้กระทำการต่อไปจนเป็นความสำเร็จตามมาตรา 215 ผู้กระทำย่อมมีความผิดทั้งมาตรา 215 และ 216 อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวเพราะเป็นเจตนาเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด ม.215 และ ม.216 ประมวลกฎหมายอาญา: การมั่วสุมและขัดคำสั่งเจ้าพนักงานเป็นกรรมเดียว
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216 มุ่งประสงค์ลงโทษผู้ที่ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ไม่ยอมเลิกการมั่วสุมกันเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 ซึ่งเป็นการกระทำที่ยังไม่ถึงขึ้นที่ผู้กระทำได้ลงมือใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ หรือทำให้เกิดความวุ่นวายอันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 ดังนั้น มาตรา 216 จึงเป็นความผิดต่างหากอีกบทหนึ่งหากเจ้าพนักงานได้มีคำสั่งให้เลิกแล้ว แต่ผู้กระทำไม่เลิกตามคำสั่งของเจ้าพนักงานและได้กระทำการต่อไปจนเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 ผู้กระทำก็ย่อมมีความผิดทั้งตามมาตรา 215 และมาตรา 216 อันเป็นกรรมเดียวกัน
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า ข้อ (1) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2529 เวลากลางวัน จำเลยทั้งสี่กับพวกร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองและร่วมกันใช้ก้อนอิฐ ก้อนหิน และวัตถุของแข็งเป็นอาวุธขว้างปาประทุษร้ายเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองจังหวัดภูเก็ต ในขณะที่ทำการห้ามปรามมิให้มีการขว้างปาทำลายศาลาประชาคมกับขว้างปาเผาทำลายโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน และ โรงงานไทยแลนด์แทนทาลั่ม อินดัสตรี จำกัด ข้อ (2) เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองจังหวัดภูเก็ตสั่งให้จำเลยทั้งสี่กับพวกที่มั่วสุมเพื่อกระทำผิดตามฟ้องข้อ (1) ให้เลิกไป แต่จำเลยกับพวกดังกล่าวไม่ยอมเลิก ดังนี้ ตามฟ้องข้อ (1) เป็นการบรรยายฟ้องในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 ส่วนฟ้อง ข้อ 2 เป็นการบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216 ซึ่งตามฟ้องข้อ (2) นี้มีความหมายเพียงว่า เจ้าพนักงานได้มีคำสั่งให้เลิกในขณะที่จำเลยกับพวกกำลังมั่วสุมกันเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 เท่านั้น ข้อความตามฟ้องข้อ (2) มิได้มีความหมายว่า ในขณะที่เจ้าพนักงานได้มีคำสั่งให้เลิกนั้น จำเลยกับพวกได้ลงมือกระทำการครบถ้วนตามฟ้องข้อ (1) อันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 แล้ว ดังนั้น การที่จำเลยได้กระทำการต่อไปตามฟ้องข้อ (1) โดยไม่เลิกตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน จำเลยย่อมมีความผิดตามมาตรา 215 อีกบทหนึ่ง อันเป็นกรรมเดียวกับความผิดตามมาตรา 216 ตามฟ้องข้อ (2) และต้องลงโทษตามมาตรา 216 อันเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทะเลาะกับภริยาในที่ทำงาน ไม่ถือเป็นการประพฤติชั่วร้ายแรง หรือจงใจขัดคำสั่งนายจ้าง
ลูกจ้างมีเรื่องด่าและทำร้ายภริยาของลูกจ้างในสถานที่ทำการของนายจ้าง การที่ลูกจ้างไม่ยอมเชื่อฟังและแสดงกิริยาไม่เคารพผู้บังคับบัญชาก็เนื่องจากการทะเลาะกับภริยาอันเป็นเรื่องส่วนตัวที่เกิดจากความหึงหวงเพราะภริยาไม่กลับบ้านและลูกจ้างไม่พอใจที่มีผู้อื่นมาห้ามปราม การกระทำดังนี้ยังไม่ถึงกับเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และไม่เป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรงที่นายจ้างจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ส่วนการที่ผู้บังคับบัญชาห้ามปรามลูกจ้างนั้นก็ไม่ใช่เป็นคำสั่งที่มีกิจจะลักษณะแต่อย่างใด คงมีความประสงค์เพียงให้ลูกจ้างกับภริยาเลิกทะเลาะวิวาทกันเท่านั้นการที่ลูกจ้างไม่เชื่อฟังจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันจะเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเตือนนายจ้าง: การไม่ลงชื่อรับทราบคำเตือนไม่ใช่การขัดคำสั่ง หากนายจ้างแจ้งคำเตือนด้วยวิธีอื่น
เมื่อนายจ้างออกคำเตือนเป็นหนังสือแก่ลูกจ้างแล้วประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้กำหนดวิธีการแจ้งคำเตือนให้ลูกจ้างทราบ การให้ลูกจ้างลงชื่อทราบคำเตือนมิใช่วิธีการอย่างเดียวสำหรับการแจ้งคำเตือน นายจ้างอาจใช้วิธีการอย่างอื่นแทนได้ เช่น การแจ้งด้วยวาจาหรือปิดประกาศให้ทราบ ดังนั้นการที่ลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อรับทราบคำเตือนเป็นหนังสือตามที่นายจ้างสั่ง จึงไม่เป็นความผิดฐานขัดคำสั่งนายจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3704/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานขัดคำสั่งนายจ้าง กรณีสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและลูกจ้างทราบคำสั่ง
จำเลยประกอบกิจการสถานบริการบังกะโลมีคำสั่งมิให้พนักงานหยุดงานในวันที่ 5,6,7 เมษายนเพราะจำเลยมีความประสงค์จัดการแสดงอาหารและบริการของจำเลย เพื่อเรียกร้องความสนใจแก่ผู้ใช้บริการหรือลูกค้า จึงสั่งให้พนักงานจัดแสดงอาหารตกแต่งสถานที่และประดับไฟ ให้สวยงามกว่าปกติ การแสดงดังกล่าวย่อมมีความสำคัญ ต่อกิจการของจำเลย การที่โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องไฟฟ้า อันเกี่ยวข้องกับการแสดงโดยตรง หยุดงานหรือไม่มาทำงาน ในวันที่ 6,7 โดยไม่แจ้งให้จำเลยทราบย่อมมีผลกระทบกระเทือน ต่อกิจการของจำเลยโดยตรง ถือว่าโจทก์ขัดคำสั่งของจำเลย เป็นความผิดกรณีที่ร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดย ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากขัดคำสั่งย้ายงาน และขอบเขตโทษทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับ
ข้อบังคับการทำงานของจำเลยกำหนดโทษทางวินัยไว้ 2 สถานคือสถานเบาและสถานหนัก ข้อ 18 ก. เป็นโทษสถานเบาซึ่งกำหนดข้อห้ามในเรื่องไม่มีความสำคัญ ข้อ 18 ก.23 กำหนดว่าละเลยไม่เอาใจใส่ต่อประกาศและคำสั่งต่าง ๆ ของโรงแรม จึงหมายความว่าเป็นเรื่องที่จำเลยออกประกาศหรือคำสั่งใด ๆ ที่กำหนดถึงการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องที่ไม่มีความสำคัญนัก จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่พนักงานขายจัดเลี้ยง การที่โจทก์ขัดขืนไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อจำเลยได้ ซึ่งมิใช่เป็นความผิดเล็กน้อยอันจะพึงได้รับโทษสถานเบา เมื่อระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยมิได้กำหนดความผิดในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ กรณีต้องปรับด้วยบทกฎหมายที่มีอยู่คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 เมื่อโจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยผู้เป็นนายจ้างจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกล่าวล่วงหน้า
คำว่าค่าฤชาธรรมเนียมตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน หมายความรวมถึงค่าทนายความด้วย คู่ความจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระ
of 7