พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร
จำเลยเป็นเจ้าของอาคารที่ได้ปลูกสร้างมาก่อนข้อบัญญัติกรุงเทพ-มหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ออกใช้บังคับโดยมีแนวอาคารและระยะขัดกับข้อบัญญัติดังกล่าว ต่อมาจำเลยได้ขออนุญาตต่อโจทก์เมื่อวันที่ 18มีนาคม 2530 เพื่อทำการซ่อมแซมอาคารดังกล่าวโจทก์อนุญาต หลังจากนั้นจำเลยได้ทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารนอกเหนือไปจากแบบแปลนที่ได้ขออนุญาตไว้ โดยต่อเติมด้านหลังอาคารซึ่งเดิมเป็นชั้นเดียวให้เป็นสองชั้น และมีชั้นดาดฟ้าด้วยการสร้างฐานราก เสาตอหม้อ คานคอดิน คานชั้นสอง คานรับดาดฟ้า หลังคา ขยายพื้นชั้นสองขนาดประมาณ 24.86 ตารางเมตร ต่อเติมพื้นชั้นดาดฟ้าขนาดประมาณ 18.48ตารางเมตร เพิ่มหลังคามุมห้องบันได สร้างผนังอิฐกั้นห้องชั้นสอง ซึ่งการดัดแปลงต่อเติมดังกล่าวได้สร้างปิดทางเดินด้านหลังอาคาร สภาพและลักษณะของการต่อเติมและขยายอาคารของจำเลยดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมหรือดัดแปลงเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม แต่เป็นการดัดแปลงอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 22 เดิม,31 เดิม และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522ข้อ 30, 76, 83 และเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อ-บัญญัติได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าก่อนกำหนดเวลายื่นรายการขัดต่อกฎหมาย ประเมินภาษีย้อนหลังมิใช่ล่วงหน้า
กำหนดเวลายื่นรายการเพื่อเสียภาษีการค้านั้น ประมวลรัษฎากรมาตรา 84,85 ทวิ และมาตรา 86 ได้กำหนดไว้ว่า ผู้ประกอบการค้าจะต้องยื่นแบบแสดงรายการทุกเดือนภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษี และต้องยื่นตามแบบที่อธิบดีกำหนดไม่ว่าจะมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าหรือไม่ก็ตาม หากมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าก็ให้ยื่นชำระพร้อมกับยื่นรายการภายในกำหนดเวลาดังกล่าว กำหนดเวลายื่นรายการนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้เฉพาะเมื่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลานั้นออกไปตามมาตรา 3 อัฎฐ ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ในปี 2527 และ 2528 ได้มีประกาศให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลายื่นรายการเพื่อเสียภาษีการค้าออกไปกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในเดือนใดของปี 2527 และ 2528ดังกล่าว จึงถึงกำหนดเวลายื่นรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปไม่ว่าจะมีรายรับหรือไม่ก็ตาม เมื่อการประเมินภาษีตามมาตรา 18 ทวิเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีตั้งแต่ยังไม่ถึงกำหนดเวลายื่นรายการดังนั้น การที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินภาษีการค้าดอกเบี้ยค้างรับที่โจทก์ยังไม่ได้รับเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2531 โดยประเมินเป็นภาษีการค้าสำหรับเดือนธันวาคม 2526 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2528จึงเป็นการประเมินหลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี 2527 และ 2528 ไปแล้ว และเป็นการประเมินย้อนหลังมิใช่ประเมินล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ เป็นการประเมินที่ขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าล่วงหน้าขัดต่อกฎหมาย หากประเมินหลังกำหนดเวลายื่นรายการ
กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีการค้านั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 17 วรรคแรก,84 วรรคแรก,85 ทวิ,86 ได้กำหนดไว้แน่นอน ทั้งนี้ไม่ว่าผู้ประกอบการค้าจะมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าหรือไม่ก็ตาม ก็จะต้องยื่นแบบแสดงรายการทุกเดือนภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษีและต้องยื่นตามแบบที่อธิบดีกำหนด หากมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าก็ให้ยื่นชำระพร้อมกับยื่นรายการภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเช่นกันกำหนดเวลายื่นรายการนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้เฉพาะเมื่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลานั้นออกไป ตามมาตรา 3 อัฏฐ เมื่อไม่ปรากฏว่าในปี 2528 ได้มีประกาศให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในเดือนใดของปี 2528ดังกล่าวจึงถึงกำหนดเวลายื่นรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปไม่ว่าจะมีรายรับเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตามกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี 2528 นั้น จึงถึงกำหนดแล้วก่อนเจ้าพนักงานประเมินของ จำเลยจะประเมินภาษีการค้าโจทก์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2531 กำหนดเวลายื่นรายการหาได้ขยายมาจนถึงปี 2531 ไม่ และตามมาตรา 18 ทวิ วรรคแรกให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ ทั้งมาตรา 18 ทวิ วรรคสอง ยังบัญญัติให้ภาษีที่ประเมินเรียกเก็บดังกล่าว ให้ถือเป็นเครดิตของผู้ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษีอีกด้วย ซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นการประเมินเรียกเก็บล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ ดังนั้นการประเมินภาษีตามมาตรา 18 ทวิ จึงต้องเป็นการประเมินสำหรับเดือนหรือปีภาษีที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลายื่นรายการเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินภาษีการค้าดอกเบี้ยค้างรับที่ปรากฏในงบดุลสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2528ของโจทก์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2531 โดยมิได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าเป็นการประเมินภาษีการค้าของเดือน และปีภาษีใด จึงถือได้ว่าเป็นการประเมินภาษีการค้าของเดือนธันวาคม 2528 และเป็นการประเมินหลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี 2528 ไปแล้ว เป็นการประเมินย้อนหลังมิใช่ประเมินล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ จึงเป็นการประเมินที่ขัดต่อมาตรา 18 ทวิ โดยชัดแจ้ง กรณีเช่นนี้หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์ยังไม่ได้รับดอกเบี้ยกำหนดเวลายื่นรายการจึงหาได้มีอยู่ก่อนการประเมินอันจะเป็นผลให้การประเมินภาษีกรณีนี้เป็นการประเมินก่อนกำหนดเวลายื่นรายการไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารผิดแบบและขัดต่อข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลยืนรื้อถอนได้ แม้มีความมั่นคง
ตามแผนผังและแบบแปลนที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ซ่อมแซมและดัดแปลงอาคารพิพาทได้ระบุให้ใช้โครงสร้างเดิมซึ่งเป็นไม้แต่จำเลยกลับรื้ออาคารหลังเดิมทั้งหมดแล้วก่อสร้างใหม่ทั้งหลังโดยใช้โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาบ้านก็ก่อสร้างขึ้นใหม่ทุกต้นพร้อมกับขยายความกว้างของตัวอาคารออกไปอีก จึงเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 และเป็นการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นตามแบบแปลนที่จำเลยให้วิศวกรเขียนขึ้นใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 21 อีกด้วยและแนวอาคารด้านทิศเหนือและทิศใต้ห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะไม่ถึงด้านละ 3 เมตร เป็นการขัด ต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 72วรรคแรก หากจะให้แนวอาคารร่นระยะห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะด้านทิศเหนือกับด้านทิศใต้เข้ามาให้ได้ด้านละ 3 เมตร ที่ดินของจำเลยจะเหลือความยาวสำหรับก่อสร้างอาคารเพียง 6.80 เมตรเท่านั้นเมื่อที่ดินจำเลยมีเนื้อที่ไม่พอที่จะขออนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใหม่ได้ ทั้งอาคารที่จำเลยก่อสร้างใหม่นี้เป็นอาคารที่พักอาศัยไม่มีที่ว่างเหลือ 30 ใน 100 ส่วน ของพื้นที่เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวข้อ 76 อาคารของจำเลยจึงไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารดังกล่าวแม้จะมีความมั่นคงแข็งแรงก็ถือได้ว่ามีเหตุผลสมควรจะต้องรื้อถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการยื่นคำร้องเลิกมูลนิธิ และเหตุขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการปกครองท้องที่ตามความแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 97 ดำรงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนมีอำนาจอนุญาตให้มูลนิธิที่ได้รับอนุญาตแล้วจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตลอดจนมีอำนาจออกกฎกระทรวงและดูแลมูลนิธิทั้งหลายให้ปฏิบัติตามกฎหมายและตราสารจัดตั้งมูลนิธินั้น ๆ แต่หาได้มีส่วนได้เสียโดยตรงกับมูลนิธิไม่ จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 93 ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเลิกมูลนิธิ
การที่มูลนิธิผู้คัดค้านที่ 1 ร่วมกันกับพวกทำหนังสือกราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ และทรงรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นการอาจเอื้อมไม่บังควรอย่างยิ่งและเป็นที่ระคายเคืองต่อเบื้อง ยุคลบาท น่าจะเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอันอาจจะมีผลทำให้ประชาชนที่รู้ข้อความในหนังสือดังกล่าวเดินขบวนในแง่ไม่เห็นด้วย จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งพนักงานอัยการชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้เลิกมูลนิธิได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 93 (1) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติโดยเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีอำนาจของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 มาตรา 14 จึงย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตที่ให้แก่สมาคมหรือองค์กร ใดซึ่งรวมถึงมูลนิธิด้วยได้
การที่มูลนิธิผู้คัดค้านที่ 1 ร่วมกันกับพวกทำหนังสือกราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ และทรงรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นการอาจเอื้อมไม่บังควรอย่างยิ่งและเป็นที่ระคายเคืองต่อเบื้อง ยุคลบาท น่าจะเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอันอาจจะมีผลทำให้ประชาชนที่รู้ข้อความในหนังสือดังกล่าวเดินขบวนในแง่ไม่เห็นด้วย จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งพนักงานอัยการชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้เลิกมูลนิธิได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 93 (1) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติโดยเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีอำนาจของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 มาตรา 14 จึงย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตที่ให้แก่สมาคมหรือองค์กร ใดซึ่งรวมถึงมูลนิธิด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21-23/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงานที่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ไม่มีผลบังคับใช้ และลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานโดยกำหนดว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์เมื่อใดก็ได้และโจทก์จะไม่เรียกร้องอย่างใดๆเอากับจำเลยนั้นเป็นเพียงข้อสัญญาซึ่งให้สิทธิจำเลยที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเท่านั้นมิได้หมายความว่าโจทก์สละสิทธิไม่เรียกร้องเงินซึ่งพึงจะได้รับตามกฎหมาย ค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46บังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างซึ่งประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับอย่างกฎหมายโจทก์กับจำเลยจะตกลงทำสัญญาจ้างแรงงานโดยมีข้อตกลงใดๆอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศฉบับดังกล่าวหาได้ไม่การที่โจทก์กับจำเลยตกลงกันโดยกำหนดให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยย่อมเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46ไม่มีผลใช้บังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1870/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้คิดดอกเบี้ยทบต้นขัดต่อกฎหมาย แม้มีข้อตกลงในสัญญา
สัญญากู้เงินข้อ 2 ระบุไว้ความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จะส่งชำระดอกเบี้ยภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน ไม่ให้ผิดนัด ถ้าผิดนัดยอมให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้น ถือเป็นเงินต้นแล้วคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ทบดอกเบี้ยเข้าแล้วนี้ต่อไปทุกคราว ตามอัตราและกำหนดชำระที่กล่าวแล้ว นั้น เป็นข้อตกลงที่ให้ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือน หากผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระเดือนใด ผู้ให้กู้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าปีหนึ่งก่อน ข้อตกลงเฉพาะที่ให้คิดดอกเบี้ยทบต้นดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคแรก ตกเป็นโมฆะ
โจทก์ผู้ให้กู้มีวัตถุประสงค์รับฝากเงินและให้กู้ยืมเงิน สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ผู้กู้ เป็นสัญญากู้เงินกันตามธรรมดาโดยจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เพียงฝ่ายเดียว ไม่มีหนี้สินอะไรที่จะหักกลบลบกันแม้โจทก์จะทำทะเบียนสัญญากู้เงินไว้ทะเบียนดังกล่าวก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นเพียงเพื่อประสงค์จะทราบว่า จำเลยที่ 1กู้เงินไปเมื่อใด จำนวนเท่าใด ผ่อนชำระดอกเบี้ยและเงินต้นแล้วเพียงใดกับยังค้างชำระอีกเท่าใด มิใช่เป็นการตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1จึงมิใช่เป็นเรื่องบัญชีเดินสะพัดหรือการค้าขายอย่างอื่นทำนองบัญชีเดินสะพัด โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655วรรคสอง ไม่ได้
โจทก์ผู้ให้กู้มีวัตถุประสงค์รับฝากเงินและให้กู้ยืมเงิน สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ผู้กู้ เป็นสัญญากู้เงินกันตามธรรมดาโดยจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เพียงฝ่ายเดียว ไม่มีหนี้สินอะไรที่จะหักกลบลบกันแม้โจทก์จะทำทะเบียนสัญญากู้เงินไว้ทะเบียนดังกล่าวก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นเพียงเพื่อประสงค์จะทราบว่า จำเลยที่ 1กู้เงินไปเมื่อใด จำนวนเท่าใด ผ่อนชำระดอกเบี้ยและเงินต้นแล้วเพียงใดกับยังค้างชำระอีกเท่าใด มิใช่เป็นการตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1จึงมิใช่เป็นเรื่องบัญชีเดินสะพัดหรือการค้าขายอย่างอื่นทำนองบัญชีเดินสะพัด โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655วรรคสอง ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวในฟ้อง ถือเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้ร่วมกับพวกกลั่นแกล้งจับกุมผู้เสียหายกล่าวหาว่าผู้เสียหายกับพวกลักรถจักรยานยนต์ของญาติจำเลยได้ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายทำทีว่าจะจับกุมผู้เสียหายส่งพนักงานสอบสวนแต่แล้วได้ร่วมกันกรรโชกทรัพย์โดยเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายโจทก์มิได้กล่าวในฟ้องและประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในเรื่องจำเลยทราบว่าพวกของจำเลยทำร้ายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายแก่กายแล้วไม่แจ้งให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทราบที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157 ในข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยทราบว่าพวกของจำเลยทำร้ายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายแก่กายแล้วไม่แจ้งเหตุให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทราบจึงเป็นการพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวในฟ้องและเป็นการลงโทษในเรื่องที่โจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยอุทธรณ์ว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือไม่กลับนำข้อเท็จจริงอีกตอนหนึ่งที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในฟ้องมาฟังลงโทษจำเลยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงมิชอบเพราะเป็นการพิพากษาในเรื่องที่โจทก์จำเลยมิได้อุทธรณ์ส่วนการจะนำข้อเท็จจริงอย่างอื่นซึ่งโจทก์มิได้อุทธรณ์มาฟังให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยนั้นก็เป็นการไม่ชอบอีกเช่นกันไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ศาลฎีกาจึงพิพากษากลับให้ยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติเจ้าหนี้ไม่ให้ล้มละลายขัดต่อกฎหมายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลชอบที่ห้ามการปฏิบัติมติดังกล่าว
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 31และ61 เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้วให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อปรึกษาว่าจะควรยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้หรือควรขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และเมื่อการประนอมหนี้ไม่ได้รับ ความเห็นชอบ ก็ให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายแสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้จะต้องลงมติไปในทางใดทางหนึ่ง คือถ้าไม่ยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้ก็ต้องขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย เจ้าหนี้จะลงมติไม่ให้ลูกหนี้ล้มละลายทั้งที่ลูกหนี้ไม่ขอประนอมหนี้หาได้ไม่
ลูกหนี้ไม่ขอประนอมหนี้แต่เจ้าหนี้ลงมติไม่ให้ลูกหนี้ล้มละลาย เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่ามติของที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นตามมาตรา 36 ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมติที่ขัดต่อกฎหมายนั้นได้
เหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 14 นั้นเป็นข้อที่ศาลจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คือเมื่อ มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลก็ไม่สั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดโดยพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ แต่เมื่อศาลได้สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วคำสั่งนั้นผูกพันลูกหนี้อยู่และอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ด้วย เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิจะอ้างมาตรา 14 มาเป็นเหตุขอให้พิพากษายกฟ้องหรือ ยกคำร้องขอให้ล้มละลายในชั้นนี้ได้
ลูกหนี้ไม่ขอประนอมหนี้แต่เจ้าหนี้ลงมติไม่ให้ลูกหนี้ล้มละลาย เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่ามติของที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นตามมาตรา 36 ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมติที่ขัดต่อกฎหมายนั้นได้
เหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 14 นั้นเป็นข้อที่ศาลจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คือเมื่อ มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลก็ไม่สั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดโดยพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ แต่เมื่อศาลได้สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วคำสั่งนั้นผูกพันลูกหนี้อยู่และอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ด้วย เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิจะอ้างมาตรา 14 มาเป็นเหตุขอให้พิพากษายกฟ้องหรือ ยกคำร้องขอให้ล้มละลายในชั้นนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสมรสหญิงต่างด้าว: คำสั่งภายในกระทรวงมหาดไทยขัดต่อกฎหมายจดทะเบียนครอบครัว
ผู้ร้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยได้ไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสกับนางสาว ด. บุคคลสัญชาติญวนซึ่งเกิดในประเทศไทย บิดามารดาของนางสาว ด. อพยพเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายอำเภอเห็นว่านางสาว ด. มีเชื้อชาติสัญชาติญวน ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนมีแต่บัตรคนญวนอพยพ จึงไม่รับจดทะเบียนสมรสให้ โดยถือปฏิบัติตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย แต่คำสั่งของกระทรวงมหาดไทยก็มิได้อาศัยอำนาจตามกฎหมายฉบับใดอันจะใช้บังคับเป็นกฎหมายแก่บุคคลทั่วไป นายอำเภอซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายให้รับจดทะเบียนสมรสแก่ผู้ร้องและนางสาว ด. จะอ้างคำสั่งดังกล่าวเพื่อไม่ยอมปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายที่ตนมีอยู่หาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 720/2505)