พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่และการวินิจฉัยคดี: จำเป็นต้องพิสูจน์เหตุผลของการขาดงาน
คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่สามวันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ เมื่อศาลสอบโจทก์ โจทก์เพียงแต่แถลงรับว่าโจทก์ขาดงานเป็นเวลาสามวันติดต่อกันโดยมิได้แจ้งหรือยื่นใบลาต่อจำเลย ไม่ได้แถลงรับว่าการที่โจทก์ขาดงานนั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร คดีจึงยังมีปัญหาต้องวินิจฉัยอีกว่า การที่โจทก์ขาดงานนั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ คำแถลงรับของโจทก์ดังกล่าวยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีได้ ที่ศาลแรงงานกลางสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่สามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางปฏิบัติไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาเห็นควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาคดีใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่: ศาลต้องพิจารณาเหตุผลประกอบการวินิจฉัย ไม่สามารถวินิจฉัยจากข้อเท็จจริงเพียงการขาดงาน
คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่สามวันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควรหรือไม่ การที่โจทก์แถลงรับว่าโจทก์ขาดงานเป็นเวลาสามวันติดต่อกันโดยมิได้แจ้งหรือยื่นใบลาต่อจำเลยนั้นคดีจึงยังมีปัญหาต้องวินิจฉัยอีกว่า การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่นั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควรหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่โจทก์แถลงรับดังกล่าว จึงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีได้ ดังนี้การที่ศาลแรงงานกลางสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ติดต่อกันสามวันโดยไม่มีเหตุสมควรจึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางปฏิบัติไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดงานเนื่องจากรับราชการทหาร ไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควร
การที่ลูกจ้างขาดงานเป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อ กัน จะเป็นการละทิ้งหน้าที่โดย ไม่มีเหตุสมควรหรือไม่ ต้อง พิจารณาถึง เหตุที่ทำให้ลูกจ้างนั้นไม่ได้มาทำงานว่ามีเหตุสมควรหรือไม่ เพียงใดไม่ใช่ว่าเมื่อลูกจ้างไม่มาทำงานโดย ฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเรื่องการลาแล้ว จะเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควรเสมอไป โจทก์ละทิ้งหน้าที่เกิน 3 วันทำงานติดต่อ กันเนื่องจากไปรับราชการทหารตาม กฎหมาย ไม่ใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดย ไม่มีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ โดย ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4782-4784/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเท็จเพื่อกลับเข้าทำงานหลังปิดงานสหภาพ และการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเนื่องจากขาดงาน
การที่โจทก์ได้แจ้งต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างขอกลับเข้าทำงานตามปกติในระหว่างที่จำเลยปิดงานเฉพาะลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานโดยรับรองว่าตนไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน และจำเลยตกลงรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมเช่นเดียวกับสมาชิกสหภาพแรงงานที่ไม่ได้ถูกปิดงาน ครั้นโจทก์เข้าทำงานตามปกติแล้วได้ขาดงานติดต่อกันเกินกว่าสามวันโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้จำเลยทราบ ดังนี้ เป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47 (4) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย โจทก์จะอ้าง ว่าความจริงโจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน แต่แจ้งเท็จเพื่อ ต้องการทำงานและได้ค่าจ้าง จึงมีสิทธิไม่เข้าทำงานในระหว่างปิดงานไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4782-4784/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่แจ้งเท็จเรื่องสถานะสมาชิกสหภาพแรงงาน แล้วขาดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควร นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่โจทก์ได้แจ้งต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างขอกลับเข้าทำงานตามปกติในระหว่างที่จำเลยปิดงานเฉพาะลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานโดยรับรองว่าตนไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน และจำเลยตกลงรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมเช่นเดียวกับสมาชิกสหภาพแรงงานที่ไม่ได้ถูกปิดงาน ครั้นโจทก์เข้าทำงานตามปกติแล้วได้ขาดงานติดต่อกันเกินกว่าสามวันโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้จำเลยทราบ ดังนี้ เป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4)จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย โจทก์จะอ้าง ว่าความจริงโจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน แต่แจ้งเท็จเพื่อ ต้องการทำงานและได้ค่าจ้าง จึงมีสิทธิไม่เข้าทำงานในระหว่างปิดงานไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4460-4462/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงานตามสิทธิและผลต่อการพิจารณาขึ้นค่าจ้าง นายจ้างมิอาจถือเป็นการขาดงานได้
ในระหว่างนัดหยุดงานลูกจ้างย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างเพราะมิได้ปฏิบัติงานให้แก่นายจ้าง แต่ก็ไม่ถือว่าลูกจ้างที่นัดหยุดงานตามสิทธิที่ตนมีอยู่ตามกฎหมายนั้นได้ขาดงานตามหลักเกณฑ์ของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะยกมาเป็นเหตุที่จะพิจารณาไม่ขึ้นค่าจ้างให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่ได้ อย่างไรก็ตามการให้บำเหน็จความดีความชอบโดยการขึ้นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างนั้นเป็นสิทธิของนายจ้าง ซึ่งจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่นายจ้างได้กำหนดไว้ ในชั้นนี้จึงไม่อาจบังคับจำเลยขึ้นค่าจ้างให้แก่โจทก์ได้โดยชอบที่จะบังคับเพียงให้จำเลยพิจารณาความดีความชอบของโจทก์เสียใหม่ตามที่เห็นสมควรต่อไปโดยมิให้ถือว่าการนัดหยุดงานของโจทก์เป็นการขาดงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัย: การรวมการขาดงานหลายครั้งเพื่อพิจารณาไล่ออกเป็นไปตามระเบียบ
ระเบียบบริษัท ฯ จำเลยว่าด้วยการลาได้กำหนดไว้ว่าพนักงานที่ขาดงานในรอบปีจะได้รับโทษทางวินัยตามลำดับ คือ ขาดงานครั้งแรกจะถูกตัดเงินเดือนร้อยละ 5 ขาดงานครั้งที่ 2 ถูกตัดเงินเดือนร้อยละ 6 ขาดงานครั้งที่ 3 ถ้าได้ขาดงานมาแล้วในครั้งที่ 1 ที่ 2 รวมกับครั้งที่ 3 เกินกว่า 10 วันให้ลงโทษไล่ออกฐานมีพฤติการณ์แสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบคำสั่งและข้อบังคับของบริษัท ฯ ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัท ฯ ขาดงาน 3 ครั้ง โดยครั้งแรกขาดงานรวม 7 วัน ครั้งที่ 2 ขาดงานรวม 1 วันครั้งที่ 3 ขาดงานรวม 6 วัน โจทก์ขาดงานทั้งสามครั้งรวม 14 วัน ต้องด้วยระเบียบข้อบังคับของบริษัท ฯ การที่บริษัท ฯ ไล่โจทก์ออกจากงาน จึงเป็นการลงโทษที่ถูกต้องตามระเบียบนั้นแล้ว หาจำเป็นต้องลงโทษตามขั้นตอนตั้งแต่การขาดงานครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ก่อนไม่ เพราะการขาดงานในครั้งที่ 1 และที่ 2 นั้น ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ก็ทำรายงานเพื่อพิจารณาโทษของโจทก์อยู่แล้วซึ่งต้องใช้เวลาบ้าง ทั้งโจทก์ขาดงานในระยะที่ใกล้เคียงกัน บริษัท ฯ จึงนำการขาดงานทั้งสามครั้งมารวมพิจารณาลงโทษได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยขัดกับระเบียบหรือไม่: การรวมการขาดงานหลายครั้งเพื่อลงโทษไล่ออก
ตามระเบียบของจำเลยมีความว่าพนักงานที่ขาดงานในรอบปีจักต้องรับโทษทางวินัย คือ ขาดงานครั้งแรกตัดเงินเดือนร้อยละ 5 ขาดงานครั้งที่ 2 ตัดเงินเดือนร้อยละ 6 ขาดงานครั้งที่ 3 ถ้า ได้ขาดงานมาแล้วในครั้งที่ 1 และ 2 รวมกับครั้งที่ 3 แล้วเกิน 10 วัน ให้ลงโทษไล่ออกฯ โจทก์ขาดงานครั้งแรก 7 วัน ครั้งที่ 2 จำนวน 1 วันครั้งที่ 3 จำนวน 6 วันรวม 3 ครั้ง ขาดงาน 14 วัน ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ได้ทำรายงานเพื่อพิจารณาโทษการขาดงานครั้งที่ 1 และ 2อยู่แล้ว แต่โจทก์ขาดงานแต่ละครั้งในระยะใกล้เคียงกัน จำเลยยังไม่ทันมีคำสั่งลงโทษตามขั้นตอน โจทก์ก็มาขาดงานครั้งที่ 3 จำเลยจึงนำมารวมพิจารณาลงโทษโดยรวมการขาดงานของโจทก์ทั้งสามครั้งแล้วลงโทษไล่ออกได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานขาดงาน บริษัทฯ มีสิทธิเลิกจ้างได้หากรวมวันลาเกินเกณฑ์ที่ระบุในข้อบังคับ
ระเบียบบริษัท ฯ จำเลยว่าด้วยการลาได้กำหนดไว้ว่าพนักงานที่ขาดงานในรอบปีจะได้รับโทษทางวินัยตามลำดับ คือ ขาดงานครั้งแรกจะถูกตัดเงินเดือนร้อยละ 5 ขาดงานครั้งที่ 2 ถูกตัดเงินเดือนร้อยละ 6 ขาดงานครั้งที่ 3 ถ้าได้ขาดงานมาแล้วในครั้งที่ 1 ที่ 2 รวมกับครั้งที่ 3 เกินกว่า 10 วันให้ลงโทษไล่ออกฐานมีพฤติการณ์แสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบคำสั่งและข้อบังคับของบริษัท ฯ ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัท ฯ ขาดงาน 3 ครั้ง โดยครั้งแรกขาดงานรวม 7 วัน ครั้งที่ 2ขาดงานรวม 1 วันครั้งที่ 3 ขาดงานรวม 6 วัน โจทก์ขาดงานทั้งสามครั้งรวม 14 วัน ต้องด้วยระเบียบข้อบังคับของบริษัท ฯ การที่บริษัท ฯ ไล่โจทก์ออกจากงาน จึงเป็นการลงโทษที่ถูกต้องตามระเบียบนั้นแล้ว หาจำเป็นต้องลงโทษตามขั้นตอนตั้งแต่การขาดงานครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ก่อนไม่ เพราะการขาดงานในครั้งที่1 และที่ 2 นั้น ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ก็ทำรายงานเพื่อพิจารณาโทษของโจทก์อยู่แล้วซึ่งต้องใช้เวลาบ้าง ทั้งโจทก์ขาดงานในระยะที่ใกล้เคียงกัน บริษัท ฯ จึงนำการขาดงานทั้งสามครั้งมารวมพิจารณาลงโทษได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเหตุผลความจำเป็น หากลูกจ้างมีเหตุผลอันสมควรในการขาดงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน เนื่องจากในวันแรกบุตรของโจทก์ป่วยมากจำเป็นที่โจทก์ต้องคอยดูแล ส่วนอีกสองวันต่อมานั้นปรากฏว่าฝนตกมาก น้ำท่วมถนนสายที่โจทก์จะต้องเดินทางไปทำงานและโทรศัพท์เสียหายมาก โจทก์อยู่ไกลจากสถานที่ทำงาน ไม่สามารถเดินทางไปทำงานและแจ้งให้จำเลยทราบทางโทรศัพท์ได้ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเนื่องจากมีเหตุจำเป็น ถือได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุอันสมควรมิใช่การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
เมื่อโจทก์มาทำงานแล้วได้ทราบว่า ผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีคำสั่งให้โจทก์ไปพบ แต่โจทก์ไม่ยอมไปพบนั้น แม้จะเป็นการขัดคำสั่งของนายจ้างก็ตาม แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือแล้ว จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่
เมื่อโจทก์มาทำงานแล้วได้ทราบว่า ผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีคำสั่งให้โจทก์ไปพบ แต่โจทก์ไม่ยอมไปพบนั้น แม้จะเป็นการขัดคำสั่งของนายจ้างก็ตาม แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือแล้ว จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่