คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขาดทุน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทจำกัด ขาดทุนต่อเนื่อง และการตั้งผู้ชำระบัญชี
การขอให้ศาลสั่งเลิกบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1237นั้นมิได้กำหนดไว้ให้ต้องทำเป็นคำร้องขอโจทก์ทั้งเจ็ดจึงชอบที่จะขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่1โดยทำเป็นคำฟ้องได้และตามคำฟ้องจำเลยที่2ถึงที่4และที่6เป็นกรรมการจำเลยที่2ถึงที่7ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่1มากกว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้บริหารบริษัทจำเลยที่1ขาดทุนจนไม่มีทางหวังว่าจะฟื้นตัวได้จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1251มิได้มุ่งหมายให้ผู้ที่เป็นกรรมการของบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทเสมอไปไม่เพราะมีข้อยกเว้นไว้ว่าหากมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นผู้ชำระบัญชีของบริษัทก็จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับนั้นๆและหากกรรมการของบริษัทไม่อาจเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีได้ไม่ว่าด้วยประการใดๆและข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้กรณีย่อมต้องด้วยวรรคสองของมาตรา1251คือไม่มีผู้ชำระบัญชีผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีได้มิฉะนั้นบทบัญญัติมาตรา1251ย่อมไร้ผลเมื่อกรรมการของบริษัทจำเลยที่1ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมีเหตุไม่ลงรอยกันไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่1กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1251วรรคสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทจำกัดเนื่องจากขาดทุนต่อเนื่องและไม่มีทางฟื้นตัว รวมถึงการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
การขอให้ศาลสั่งเลิกบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1237นั้นมิได้กำหนดไว้ให้ต้องทำเป็นคำร้องขอโจทก์จึงชอบที่จะขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่1โดยทำเป็นคำฟ้องได้และตามคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยที่2ถึงที่4และที่6เป็นกรรมการจำเลยที่2ถึงที่7ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่1มากกว่าโจทก์ได้บริหารบริษัทจำเลยที่1ขาดทุนจนไม่มีทางหวังว่าจะพื้นตัวได้จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แล้ว โจทก์บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดว่าเหตุแห่งการขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่1เนื่องจากบริษัทจำเลยที่1ขาดทุนตั้งแต่ปี2528จนถึงปี2531รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ21,273,670.10บาทและไม่มีทางหวังว่าจะพื้นตัวได้ประเด็นในคดีจึงมีว่าบริษัทจำเลยที่1ดำเนินกิจการขาดทุนติดต่อกันเกินกว่า1ปีและไม่มีทางหวังจะพื้นตัวได้หรือไม่ส่วนที่อ้างมาในคำฟ้องตอนแรกว่าเป็นเพราะกรรมการฝ่ายจำเลยบริหารบริษัทจำเลยที่1ปราศจากความระมัดระวังไม่รอบคอบและไม่สุจริตนั้นเป็นเพียงเหตุผลประกอบเท่านั้นไม่ใช้เป็นประเด็นโดยตรงดังนี้ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าน่าเชื่อว่าฝ่ายโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่1ร่วมกับฝ่ายจำเลยกิจการของบริษัทจำเลยที่1คงไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จึงทำให้กิจการของบริษัทจำเลยที่1ขาดทุนติดต่อกันเป็นเวลา4ปีเศษนั้นจึงไม่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานนอกฟ้องและนอกประเด็น จำเลยที่1ที่3ที่4ที่6และที่7ฎีกาว่าบริษัทจำเลยที่1มีทรัพย์สินเป็นที่ดินมูลค่า1,000ล้านบาทการที่บริษัทจำเลยที่1ขาดทุนอยู่เป็นเงินเพียง26ล้านบาทเศษน่าจะแก้ไขได้หากได้รับความร่วมมือจากกรรมการฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถแต่กรรมการและผู้ถือหุ้นฝ่ายโจทก์นอกจากจะไม่ยอมใช้ความรู้ความสามารถเข้าช่วยเหลือบริษัทจำเลยที่1แล้วยังพยายามขัดขวางมิให้ฝ่ายจำเลยแก้ไขปัญหาได้และกลับปล่อยให้บริษัทจำเลยที่1ขาดทุนตอลดเวลานั้นฎีกาของจำเลยดังกล่าวนอกจากจะไม่ได้เสนอหนทางหรือวิธีการแก้ไขปัญหาขาดทุนของจำเลยที่1แล้วกลับเป็นการแสดงให้เห็นว่าไม่มีทางที่จะกลับพื้นตัวให้มีกำไรหรือระงับการขาดทุนต่อไปได้ดังนี้จึงสมควรให้เลิกบริษัทจำเลยที่1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1251มิได้มุ่งหมายที่จะให้ผู้ที่เป็นกรรมการของบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทเสมอไปไม่เพราะมีข้อยกเว้นไว้ว่าถ้าหากมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นผู้ชำระบัญชีของบริษัทก็จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับนั้นๆและถ้าหากกรรมการของบริษัทไม่อาจเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีได้ไม่ว่าด้วยประการใดๆและข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้กรณีย่อมต้องด้วยวรรคสองของมาตรา1251นี้คือไม่มีผู้ชำระบัญชีผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลผู้ชำระบัญชีได้มิฉะนั้นบทบัญญัติของมาตรา1251ย่อมไร้ผลไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่กรณีใดๆได้ กรรมการของบริษัทจำเลยที่1ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมีเหตุไม่ลงรอยกันไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้และไม่ปรากฎว่ามีข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่1กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและผู้จัดการมรดกของผู้ถือหุ้นจึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1251วรรคสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4727/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัท: พิจารณาจากทรัพย์สินและโอกาสในการฟื้นตัว
บริษัทผู้คัดค้านดำเนินกิจการสร้างศูนย์การค้าซึ่งในปีต้น ๆ ประสบการขาดทุนแต่ไม่มากนัก กิจการของผู้คัดค้านเจริญก้าวหน้าขึ้น มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินจำนวนมาก และมีเหตุผลให้น่าเชื่อว่าเมื่อผู้คัดค้านก่อสร้างศูนย์การค้าและโครงการอื่น ๆ เสร็จแล้วก็จะมีกำไร จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าการค้าของผู้คัดค้านทำไปมีแต่ขาดทุนอย่างเดียว และไม่มีทางหวังว่าจะกลับฟื้นตัวได้ กรณีไม่มีเหตุจะเลิกบริษัทผู้คัดค้านตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1237 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4727/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัท: พิจารณาจากทรัพย์สินและศักยภาพในการทำกำไร แม้ขาดทุนในระยะแรก
บริษัทผู้คัดค้านดำเนินกิจการสร้างศูนย์การค้าซึ่งในปีต้น ๆประสบการขาดทุนแต่ไม่มากนัก กิจการของผู้คัดค้านเจริญก้าวหน้าขึ้น มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินจำนวนมาก และมีเหตุผลให้น่าเชื่อว่าเมื่อผู้คัดค้านก่อสร้างศูนย์การค้าและโครงการอื่น ๆ เสร็จแล้วก็จะมีกำไร จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าการค้าของผู้คัดค้านทำไปมีแต่ขาดทุนอย่างเดียว และไม่มีทางหวังว่าจะกลับฟื้นตัวได้ กรณีไม่มีเหตุจะเลิกบริษัทผู้คัดค้านตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1237(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3644/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องสอดคดีของหุ้นส่วนลงทุนก่อสร้างอาคาร เมื่อผลคำพิพากษาอาจทำให้ขาดทุน
เมื่อโจทก์ฟ้องอ้างว่าได้เข้าหุ้นก่อสร้างอาคารร่วมกับผู้ร้องแล้ว หากโจทก์จะบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่ผู้เช่าในอัตราที่ต่ำกว่าค่าหุ้นที่ผู้ร้องลงทุนไป เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนการเช่าตามฟ้อง ผู้ร้องต้องขาดทุน ผลของคำพิพากษาย่อมกระทบต่อสิทธิหรือส่วนได้เสียของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงได้ชื่อว่ามีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) ผู้ร้องชอบที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญขาดทุน เลิกห้าง-ชำระบัญชี: ศาลสั่งบังคับรับผิดได้ แม้ยังมิได้ชำระบัญชี
การที่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเป็นจำเลยให้รับผิดในส่วนที่ขาดทุน โดยที่ยังไม่มีการเลิกห้างและชำระบัญชีนั้น แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะมิได้มีคำขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ แต่เมื่อตาม คำฟ้องมีคำขอให้บังคับจำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนครึ่งหนึ่งพร้อมด้วย ดอกเบี้ยแสดงให้เห็นความประสงค์ของโจทก์ว่าต้องการให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญด้วย ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าไม่มีตัวบุคคลที่จะช่วย ให้การประกอบกิจการของห้างหุ้นส่วนดำเนินต่อไปได้ อีกแล้ว ถือว่ามีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรง คงอยู่ต่อไปได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(3)ศาลย่อมสั่งให้ห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นเลิกกันได้
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันแล้ว จะต้อง มีการชำระบัญชีกันก่อนเพื่อทราบกำไรขาดทุน แต่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนไม่มีเจ้าหนี้ไม่มี คงมีแต่ เพียงลูกหนี้ที่ไม่สามารถติดตาม เรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ ส่วนที่ขาดทุนคือเงินทดรองซื้อ สินค้า ดังนั้น การที่จะให้ไปดำเนินการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อนย่อมไม่เป็นประโยชน์ แม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนโดย มิได้ขอให้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ศาลก็ย่อมพิพากษาบังคับให้จำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนได้โดย มิต้องให้มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญและการบังคับชำระหนี้ขาดทุนโดยไม่ต้องชำระบัญชี
การที่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเป็นจำเลยให้รับผิดในส่วนที่ขาดทุน โดยที่ยังไม่มีการเลิกห้างและชำระบัญชีนั้น แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะมิได้มีคำขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ แต่เมื่อตาม คำฟ้องมีคำขอให้บังคับจำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนครึ่งหนึ่งพร้อมด้วย ดอกเบี้ยแสดงให้เห็นความประสงค์ของโจทก์ว่าต้องการให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญด้วย ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าไม่มีตัวบุคคลที่จะช่วย ให้การประกอบกิจการของห้างหุ้นส่วนดำเนินต่อไปได้ อีกแล้ว ถือว่ามีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรง คงอยู่ต่อไปได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(3)ศาลย่อมสั่งให้ห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นเลิกกันได้ เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันแล้ว จะต้อง มีการชำระบัญชีกันก่อนเพื่อทราบกำไรขาดทุน แต่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนไม่มีเจ้าหนี้ไม่มี คงมีแต่ เพียงลูกหนี้ที่ไม่สามารถติดตาม เรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ ส่วนที่ขาดทุนคือเงินทดรองซื้อ สินค้า ดังนั้น การที่จะให้ไปดำเนินการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อนย่อมไม่เป็นประโยชน์ แม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนโดย มิได้ขอให้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ศาลก็ย่อมพิพากษาบังคับให้จำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนได้โดย มิต้องให้มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับการประเมินภาษีแล้วถือเป็นอันยุติ แม้จะอ้างภายหลังว่ามีขาดทุนสะสมก็ฟังไม่ได้
โจทก์ยอมรับผลการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่เรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่มจากโจทก์สำหรับปี 2516 และ 2517 โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้าน และโจทก์ได้ชำระเงินตามที่เจ้าพนักงานประเมินให้แก่จำเลยแล้ว ย่อมถือได้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวชอบแล้ว และเป็นอันยุติ โจทก์จะรื้อฟื้นขึ้นมาโต้เถียงเป็นอย่างอื่นอีกโดยอ้างว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์หาได้ไม่ ดังนี้จึงฟังไม่ได้ว่ายังมียอดขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปี 2518 ค้างอยู่อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391-394/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากขาดทุนและการหักเงินบำเหน็จด้วยค่าชดเชย ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะประสพการขาดทุนจำนวนมากติดต่อกันแม้ไม่ได้ประกาศให้ทราบล่วงหน้าก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว. ตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยเงินบำเหน็จฯยอดเงินที่พนักงานจะได้รับคือยอดเงินที่คำนวณตามหลักเกณฑ์ลบด้วยเงินทุกชนิดที่จำเลยต้องจ่ายให้พนักงานตามกฎหมายก่อนเงินบำเหน็จของโจทก์จึงต้องถูกลบด้วยค่าชดเชยซึ่งเป็นเงินที่จำเลยต้องจ่ายตามกฎหมายเมื่อค่าชดเชยมีจำนวนสูงกว่าเงินบำเหน็จโจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จอีก.(ที่มา-ส่งเสิรมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจยังใช้ได้แม้กรรมการลาออก การเลิกจ้างที่เป็นธรรมเมื่อบริษัทขาดทุน
การที่ อ. กับ จ. กรรมการบริษัทจำเลยลงชื่อมอบอำนาจให้ ถ.ดำเนินคดีแทนบริษัทจำเลย เป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทจำเลยจึงเป็นการกระทำของบริษัทจำเลย แม้ต่อมา อ. จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยไป หนังสือมอบอำนาจฉบับนั้นก็หาระงับไปไม่ ถ. จึงยังมีอำนาจที่จะมอบอำนาจให้ ส. ต่อสู้คดีแทนจำเลยโดยทำคำให้การยื่นต่อศาลได้
จำเลยประสบภาวะการขาดทุนมาก มีความจำเป็นเพียงพอต้องเลิกจ้างลูกจ้าง และจำเลยได้ใช้หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกว่าจะเลิกจ้างผู้ใดก่อนอย่างสมเหตุผล การที่โจทก์เป็นผู้ต้องถูกเลิกจ้างเพราะลากิจ ลาป่วยและมาทำงานสายมากจะถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อลูกจ้างบางคนมิได้ เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว
of 5