คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขาดนัดยื่นคำให้การ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7235/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ภูมิลำเนา การขาดนัดยื่นคำให้การ และการเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานเดินหมายได้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ภูมิลำเนาของจำเลยทั้งห้าตามหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด และตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ทั้งนี้หนังสือรับรองและ แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรดังกล่าวเป็นหลักฐานเบื้องต้นของทางราชการที่แสดงว่าจำเลยทั้งห้ามีถิ่นอยู่อันเป็นภูมิลำเนา ณ ที่นั้น จำเลยทั้งห้าจึงมีหน้าที่นำสืบว่าได้ย้ายจากภูมิลำเนาตามหลักฐานดังกล่าวแต่พยานหลักฐานจำเลยทั้งห้าฟังไม่ได้ว่าได้ย้ายจากภูมิลำเนาตามหลักฐานดังกล่าวไปแล้ว จึงต้องฟังว่าจำเลยทั้งห้ายังคงมีภูมิลำเนาอยู่ตามหนังสือรับรองและแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งห้า ณ ภูมิลำเนาดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบ เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดถือว่าจำเลยทั้งห้าขาดนัดยื่นคำให้การ
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 5 ยังมีภูมิลำเนาที่แน่นอนตามสถานที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลจะส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นปิดประกาศหน้าศาลแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 โดยไม่ได้ส่งหมายโดยวิธีธรรมดาก่อนจึงไม่ชอบ จะถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 5 ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วยังไม่ได้ ทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นกรณีมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ชอบที่จะต้องเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
การส่งหมายเรียกให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นั้นไม่พบจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงทำการปิดหมายไว้ เมื่อถึงวันนัดจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มาศาล จึงเป็นกรณีมิอาจติดต่อส่งหมายให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยวิธีธรรมดาได้ ที่ศาลชั้นต้นปิดประกาศแจ้งวันนัดสืบพยานให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่หน้าศาลจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 79 แล้ว เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์จึงเป็นการจงใจขาดนัดพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7040/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและการประวิงคดี ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
ตามคำร้องของจำเลยอ้างว่า ทนายจำเลยได้รับการแต่งตั้งเป็นทนายความเรื่องนี้ก่อนวันครบกำหนดยื่นคำให้การเพียงหนึ่งวันจึงไม่สามารถยื่นคำให้การภายในกำหนด ถือได้ว่าจำเลยได้แสดงเหตุให้ปรากฏแล้วว่า จำเลยมิได้ยื่นคำให้การเพราะเหตุใดแต่ตัวจำเลยกลับเพิ่งแต่งตั้งทนายความเมื่อพ้นระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคหนึ่ง แล้ว มิใช่แต่งตั้งทนายก่อนวันครบกำหนดยื่นคำให้การเพียงหนึ่งวันดังจำเลยอ้าง พฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่าตัวจำเลยไม่สนใจต่อการดำเนินคดี จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยทราบนัดสืบพยานครั้งแรกโดยชอบแล้วไม่มาศาลและมิได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี แต่ศาลอนุญาตให้เลื่อนคดีออกไปตามคำร้องของโจทก์และปิดหมายแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยก็มิได้ดำเนินการใด ๆ ทนายความของจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าตนติดว่าความที่ศาลอื่นในวันดังกล่าวทนายจำเลยกลับให้ตัวจำเลยนำคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การและคำร้องขอเลื่อนคดีมายื่นในวันนัด ซึ่งคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การก็มิได้แสดงเหตุให้ปรากฏ และก่อนหน้านี้จำเลยเคยยื่นคำร้องขออนุญาตขยายระยะเวลายื่นคำให้การมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่อนุญาต พฤติการณ์ของจำเลยส่อไปในทางประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4156/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีข้อยุ่งยาก การขาดนัดยื่นคำให้การเมื่อมีการเลื่อนคดี ศาลต้องกำหนดวันนัดแก้ข้อหาใหม่
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องคดีนี้เป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยากซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (เดิม) ประกอบมาตรา 193 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสามและวรรคสี่ (เดิม) บัญญัติถึงกรณีที่จะถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การนั้น คือ กรณีที่จำเลยมาศาลตามวันที่กำหนดในหมายเรียกแต่ไม่ยอมให้การโดยศาลไม่ต้องมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแต่ประการใด แต่คดีนี้ในวันนัดแก้ข้อหาและนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าว ทนายจำเลยได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วถือได้ว่าเป็นการเลื่อนทั้งคดีซึ่งหมายถึงการให้การแก้ข้อหาและสืบพยานโจทก์ด้วย มิใช่กรณีที่จำเลยมาศาลแต่ไม่ยอมให้การ และศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่ยอมให้เลื่อนเวลา ให้จำเลยยื่นคำให้การและดำเนินการพิจารณาต่อไปตามที่กฎหมายกำหนดแต่ประการใด ศาลชั้นต้นจึงควรกำหนด วันนัดให้จำเลยแก้ข้อหาใหม่ การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ จำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การแต่อย่างใด แม้การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การและศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งยกคำร้องก็ตาม ก็หามีผลให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การให้กลับเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4156/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีข้อยุ่งยาก การขาดนัดยื่นคำให้การ และผลของการอนุญาตเลื่อนคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 196 วรรคสองประกอบมาตรา 193 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสามและวรรคสี่เดิมกรณีที่จะถือว่าจำเลยในคดีไม่มีข้อยุ่งยากขาดนัดยื่นคำให้การ คือกรณีที่จำเลยมาศาลตามวันที่กำหนดในหมายเรียกแต่ไม่ยอมให้การโดยศาลไม่ต้องมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแต่ประการใดแต่คดีนี้ในวันนัดแก้ข้อหาและนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าว ทนายจำเลยได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วถือได้ว่าเป็นการเลื่อนทั้งคดีซึ่งหมายถึงการให้การแก้ข้อหาและสืบพยานโจทก์ด้วย มิใช่กรณีที่จำเลยมาศาลแต่ไม่ยอมให้การ และศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่ยอมให้เลื่อนเวลาให้จำเลยยื่นคำให้การและดำเนินการพิจารณาต่อไปตามที่กฎหมายกำหนดแต่ประการใด ศาลชั้นต้นจึงควรกำหนดวันนัดให้จำเลยแก้ข้อหาใหม่การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ จำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การแต่อย่างใดแม้การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การและศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งยกคำร้องก็ตาม ก็หามีผลให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การกลับเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8888/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การ: การส่งหมายเรียกโดยชอบด้วยกฎหมายและการขอพิจารณาใหม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคหนึ่งและวรรคสาม (เดิม) การที่จำเลยอ้างว่าไม่ทราบว่าถูกฟ้องเป็นคดีนี้เป็นเหตุหนึ่งที่จำเลยจะร้องขอให้พิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 (เดิม) เท่านั้น หาใช่เหตุที่จำเลยจะขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งไปโดยชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6628/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การ, ความรับผิดในสัญญาซื้อขาย, และการกำหนดค่าฤชาธรรมเนียม
แม้อาคารสินธร ชั้นที่ 8 ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทจำเลยเป็นที่ตั้งของบริษัทอื่นด้วย ใช้ประตูเข้าเดียวกัน เข้าประตูไปแล้วจะมีเคาน์เตอร์ตั้งอยู่ หากมีการส่งเอกสารมาถึงจำเลยและบริษัทอื่น พนักงานที่เคาน์เตอร์จะรับไว้แล้วนำไปให้บริษัทที่เกี่ยวข้องก็ตาม แต่เมื่อเจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีปิดหมาย ณ ห้องเลขที่ 130 ถึง 132 ชั้นที่ 8 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยแล้ว การที่พนักงานเคาน์เตอร์ไม่นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปให้จำเลยเป็นเรื่องการจัดการภายในของจำเลยเอง จำเลยจะยกเป็นข้ออ้างว่าไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การหาได้ไม่ ถือว่าจำเลยจงใจไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนด จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทจึงคงมีตามประเด็นตามคำฟ้อง จำเลยไม่มีสิทธิอ้างข้อเท็จจริงเป็นประเด็นขึ้นมาใหม่ มีสิทธิเพียงสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์เพื่อหักล้างพยานหลักฐานโจทก์เท่านั้น ฎีกาของจำเลยเมื่อไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาท ถือได้ว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เบี้ยปรับที่ศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ก็ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 161 บัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลในการกำหนดความรับผิดเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเบี้ยปรับตามสัญญา การที่ศาลใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ดำเนินคดีโดยไม่สุจริต ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากจำเลยไม่ยื่นคำให้การ และโจทก์มิได้ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลมีสิทธิไม่คืนค่าธรรมเนียม
จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด แต่โจทก์มิได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นให้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความโดยไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์ กรณีเช่นว่านี้ เมื่อ ป.วิ.พ.มาตรา 132 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องนั้น และให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควรนั้นตามบทบัญญัติของมาตรานี้ไม่ได้กำหนดให้ศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมเหมือนอย่างบทบัญญัติตามมาตรา 151 แห่ง ป.วิ.พ. แม้ตามมาตรา 132 จะมีข้อความว่าให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควรก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะสั่งกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่มิใช่บังคับให้ศาลต้องสั่ง และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 วรรคหนึ่ง และวรรคสองเช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกำหนดระเบียบให้คืนค่าฤชาธรรมเนียมเหมือนอย่างการคืนค่าธรรมเนียมตามมาตรา 151 ที่กล่าวข้างต้น ส่วนการที่โจทก์อ้างมาในฎีกาว่าศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมให้แก่โจทก์ตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการนั้น ระเบียบดังกล่าวเป็นแต่เพียงการแนะนำแนวทางปฏิบัติให้คืนค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 151 วรรคสอง เฉพาะกรณีเมื่อได้มีการถอนคำฟ้องหรือเมื่อคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความเท่านั้น ดังนั้นจึงชอบที่ศาลจะไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3995/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การเนื่องจากความเข้าใจผิดและข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อย
ฎีกาจำเลยที่ว่า จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การแต่เนื่องจากจำเลยไม่ทราบขั้นตอนการดำเนินคดีในศาลจึงหลงเชื่อคำหลอกลวงของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่ต้องยื่นคำให้การแต่ต้องไปศาลทุกครั้งตามที่ศาลนัด โจทก์จะไม่ดำเนินการใด ๆต่อจำเลย จำเลยจึงไม่ได้ยื่นคำให้การ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดยื่นคำให้การ, บอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย, เบี้ยปรับ, หลักประกันสัญญา: สิทธิและขอบเขตการบังคับใช้
จำเลยทั้งสองได้รับสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้ทำคำให้การแก้คดียื่นต่อศาลโดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเองเมื่อวันที่31 กรกฎาคม 2535 ซึ่งหมายเรียกดังกล่าวระบุให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหมาย จำเลยที่ 2 สำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงย่อมอ่านและเข้าใจข้อความในหมายเรียกได้ดีว่าจำเลยทั้งสองต้องยื่นคำให้การต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหมายเรียกนั้นแต่จำเลยทั้งสองก็ไม่ได้ยื่นคำให้การภายในเวลาที่กำหนด จนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 27 สิงหาคม 2535 ขอให้ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การและศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามที่โจทก์ขอเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2535 จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ข้ออ้างของจำเลยทั้งสองที่ว่าไม่เคยถูกฟ้องคดีแพ่งมาก่อนและไม่ทราบกระบวนพิจารณาทางกฎหมาย เข้าใจว่าคงเป็นเช่นเดียวกับคดีอาญาซึ่งจำเลยทั้งสองเคยถูกฟ้องและได้ไปหาทนายความก่อนวันที่ศาลนัดเพียง2 ถึง 3 วันก็ได้นั้น ไม่เป็นเหตุผลให้รับฟังได้
แม้ได้ความจากเอกสารการตรวจรับงานและการจ่ายเงินว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ยึดถือระยะเวลาการทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาเป็นสาระสำคัญก็ตาม แต่หลังจากครบกำหนด 300 วัน ตามสัญญา โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาพอสมควรแล้ว ซึ่งเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่อาจก่อสร้างให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาดังกล่าว โจทก์จึงย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 387
โจทก์ได้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ผ.ก่อสร้างบ้านต่อจากจำเลยที่ 1ซึ่งก่อสร้างไว้ไม่แล้วเสร็จ โดยตกลงค่าจ้างเป็นเงินจำนวน 3,916,901 บาทและโจทก์ต้องเสียค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากการที่ต้องจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ผ.ทำการก่อสร้างบ้านต่อจากที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จเป็นเงิน 1,816,901 บาทจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดใช้เงินค่าจ้างที่โจทก์ต้องเสียเพิ่มขึ้นดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามที่ได้สัญญาไว้ แต่โดยที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์เป็นเงินเพียง 900,000 บาท และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสียค่าจ้างเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์เพียง 900,000 บาท
คดีนี้จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าโจทก์จ้างจำเลยที่ 1 ทำงานนอกสัญญาจ้างเดิมโดยให้ก่อสร้างรั้วป้อมยามกับศาลาพักร้อนและโจทก์ค้างชำระค่าจ้างดังกล่าวเป็นเงิน 624,000 บาทเศษ ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจหักเงินจำนวนดังกล่าวให้จำเลยได้นั้น เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ขอหักกลบลบหนี้จำนวนดังกล่าวไว้ จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยทั้งสองจะขอหักกลบลบหนี้ได้เช่นนั้น ศาลไม่มีอำนาจหักเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยได้
เบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 เป็นเรื่องลูกหนี้สัญญาแก่เจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ก็ดี หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรก็ดี เมื่อลูกหนี้ผิดนัดก็ให้ริบเบี้ยปรับ ข้อกำหนดตามสัญญาข้อ 3ที่ว่าถ้าจำเลยผู้รับเหมาเพิ่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดวันแล้วเสร็จตามสัญญา แต่โจทก์ผู้ว่าจ้างมิได้บอกเลิกสัญญาจำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับเป็นรายวันวันละ 5,000บาท มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าเป็นเบี้ยปรับตามบทกฎหมายที่กล่าวข้างต้นในกรณีจำเลยไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรแยกไว้ชัดแจ้งเป็นส่วนหนึ่งต่างหากแล้ว ส่วนการที่หนังสือสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคาร ข้อ 5มีข้อความว่า ในวันทำสัญญานี้จำเลยได้นำหลักประกันเป็นจำนวนเงิน 500,000 บาทมีกำหนดเวลาค้ำประกันตั้งแต่วันที่สัญญานี้มีผลบังคับใช้จนกว่าจำเลยจะพ้นความรับผิดชอบตามสัญญามามอบให้ผู้ว่าจ้างยึดถือไว้เป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา ถ้าระยะเวลาการก่อสร้างต้องล่าช้ากว่ากำหนดเป็นเหตุให้ระยะเวลาต้องยืดออกไปด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม หรือมีเหตุให้จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาเพิ่มขึ้น จำเลยสัญญาว่าจะต่ออายุหนังสือค้ำประกันออกไปหรือเพิ่มจำนวนเงินที่ค้ำประกันให้เพียงพอกับความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น โดยจะนำมามอบให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่โจทก์เรียกร้อง และวรรคสองระบุว่า หนังสือค้ำประกันที่จำเลยนำมามอบให้โจทก์ยึดถือไว้ตามวรรคแรก โจทก์จะคืนให้เมื่อจำเลยได้มอบงานซึ่งเสร็จสมบูรณ์ให้แก่โจทก์และนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารเพื่อเป็นประกันความชำรุดบกพร่องของอาคารที่สร้างขึ้นตามข้อ 22 มามอบให้โจทก์แล้ว และข้อ 21 ระบุว่า เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยยอมให้โจทก์ดำเนินการตามข้อ 21.1 คือริบหลักประกันดังกล่าวในสัญญาข้อ 5 เช่นนี้ ข้อสัญญาเกี่ยวกับหลักประกันดังกล่าวแสดงว่า โจทก์และจำเลยทั้งสองประสงค์ให้มีการวางหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 5เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยทั้งสอง แต่ในที่สุดจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้นำหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันมาวางเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์สัญญาข้อ 5 และข้อ 21.1 ในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่โจทก์และจำเลยทั้งสองได้ทำขึ้นและปฏิบัติต่อกันเช่นที่กล่าวมานี้จึงเป็นเพียงให้มีการวางหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาซึ่งโจทก์อาจมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเช่นที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 3 เท่านั้น หาใช่เป็นข้อสัญญาเพื่อกำหนดเบี้ยปรับขึ้นใหม่ไม่ และกรณีนี้เมื่อไม่มีการวางหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 5และ ข้อ 21.1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดใช้เงินจำนวน500,000 บาท ให้แก่โจทก์
(วรรคห้าวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2539)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4247/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การ, สัญญาประนีประนอมยอมความ, และผลของการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับสินสมรส
กรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 199วรรคหนึ่ง ให้โอกาสจำเลยขออนุญาตยื่นคำให้การได้โดยมิได้กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนไว้ เพียงแต่กำหนดว่าจำเลยจะต้องมาศาลเมื่อเริ่มต้นสืบพยาน หรือแจ้งให้ศาลทราบก่อนเริ่มสืบพยานถึงเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นคำให้การ ซึ่งจำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การก่อนวันสืบพยานโจทก์อันเป็นวันเริ่มต้นสืบพยาน จำเลยย่อมมีสิทธิทำได้โดยชอบ แม้ว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยจะเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายก็ตาม
เมื่อจำเลยเพิ่งทราบเรื่องที่ถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25ตุลาคม 2536 ประกอบกับจำเลยได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การต่อศาลในวันที่ 26 ตุลาคม 2536 หลังจากทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องเพียง 1 วัน เท่านั้นพฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
ในวันนัดชี้สองสถาน โจทก์และจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่าหลังจากจดทะเบียนหย่าแล้วโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยมีข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งตรงกับทรัพย์สินที่โจทก์อ้างว่าเป็นสินสมรสตามฟ้อง เมื่อข้อแถลงดังกล่าวให้ข้อเท็จจริงซึ่งมีสาระสำคัญเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้แล้วโดยไม่ต้องทำการสืบพยานโจทก์จำเลยอีก ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยได้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงที่เกี่ยวกับเรื่องบุตรและสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลย โดยโจทก์จำเลยประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับสินสมรสที่มีอยู่หรือที่จะมีขึ้นต่อไปภายหน้าให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850จึงเป็นผลให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับสินสมรสซึ่งโจทก์ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป โจทก์คงได้สิทธิใหม่ตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวตามมาตรา 852 เท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์สินอีก
of 8