พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการขาดสิทธิฟ้องร้องเมื่อเกิน 1 ปี
จำเลยให้การว่าที่นาที่สวนเป็นของจำเลยได้มาโดยรับมรดกจากบิดามารดา บิดาตายมาประมาณ 16 ปีแล้ว จำเลยครอบครองแต่ผู้เดียวตลอดมา เป็นคำให้การที่แสดงข้อต่อสู้ถึงสิทธิครอบครองและสิทธิฟ้องร้องแล้ว ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375
จำเลยครอบครองที่พิพาทมาแต่ฝ่ายเดียว เมื่อจำเลยตกลงทำบันทึกแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ การครอบครองของจำเลยจึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ด้วย แต่ภายหลังจำเลยได้ขอถอนการยกให้ดังกล่าว ถือได้ว่า จำเลยได้ครอบครองเพื่อตนแต่นั้นมา โจทก์เพิ่งมาฟ้องคดีเมื่อพ้นหนึ่งปี ย่อมขาดสิทธิฟ้องร้อง
จำเลยครอบครองที่พิพาทมาแต่ฝ่ายเดียว เมื่อจำเลยตกลงทำบันทึกแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ การครอบครองของจำเลยจึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ด้วย แต่ภายหลังจำเลยได้ขอถอนการยกให้ดังกล่าว ถือได้ว่า จำเลยได้ครอบครองเพื่อตนแต่นั้นมา โจทก์เพิ่งมาฟ้องคดีเมื่อพ้นหนึ่งปี ย่อมขาดสิทธิฟ้องร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694-1695/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความครอบครองปรปักษ์และการขาดสิทธิในที่ดิน: ศาลยืนตามศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้อง
จำเลยแย่งการครอบครองที่มือเปล่าจากโจทก์กว่า 1 ปีเมื่อโจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่พิพาท แต่โจทก์ไม่มีสิทธิเพราะโจทก์ขาดสิทธิเสียแล้ว ถึงแม้โจทก์จะคัดค้านว่าจำเลยไม่อ้างอายุความขึ้นต่อสู้ ศาลก็ยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินสวนมะพร้าวไร้หนังสือสำคัญ: ครอบครองนาน 9 ปี 10 เดือน จึงขาดสิทธิ
ที่ดินสวนมะพร้าว ซึ่งเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่อันเจ้าของมีสิทธิตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่ 42 +ละทิ้งไปเสียข้านานถึง 9 ปี 10 ปี จึงจะขาดสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความครอบครองปรปักษ์ & การขาดสิทธิในที่ดิน กรณีบ้านที่สวน
ที่บ้านที่สวนไม่มีหนังสือสำคัญนั้นจะต้องละทิ้งเป็นเวลานาน 9 -10 ปี จึงจะขาดสิทธิตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่ 42 ( อ้างฎีกาที่ 5/2495)
ซื้อที่ดินมือเปล่าจากผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของ ครองครองมาเจ้าของรู้ว่าถูกแบ่งครอบครองแล้ว ไม่ฟ้องใน 1 ปี ขาดอายุความ
ซื้อที่ดินมือเปล่าจากผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของ ครองครองมาเจ้าของรู้ว่าถูกแบ่งครอบครองแล้ว ไม่ฟ้องใน 1 ปี ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวชโดยเจตนาสละภรรยาและทรัพย์สิน ทำให้ขาดสิทธิในทรัพย์สินที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย
สามีบวช 19 พรรษา ถือว่ามีเจตนาสละภรรยาและบุตร จึงขาดสิทธิในทรัพย์สิน ภรรยาจึงมีสิทธิแบ่งทรัพย์ให้บุตรตามลำพัง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิในที่ดินโดยหนังสือยกกรรมสิทธิและการครอบครองเกิน 1 ปี ทำให้เจ้าของที่ดินขาดสิทธิ
เจ้าของที่นามือเปล่าทำหนังสือยกกรรมสิทธิที่นานั้นให้แก่ผู้รับดังนี้ ย่อมถือว่าเจ้าของได้สละสิทธิให้ผู้รับเข้าครอบครองเมื่อเกิน 1 ปีเจ้าของย่อมขาดสิทธิในที่รายนั้น, อ้างฎีกาที่ 1023/2480
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละเจตนาครอบครองที่ดิน: หากเจ้าของที่ดินมือเปล่าละทิ้งที่ดินและไม่ได้กลับมาเกี่ยวข้องเกิน 1 ปี ย่อมขาดสิทธิในที่ดินนั้น
เจ้าของที่นามือเปล่าโอน++เจ้าหนี้เป็นการตีใช้หนี้แล้วออกจากที่นั้นไปเกิน 1 ปีแล้วย่อมขาดสิทธิในที่ดินนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9821/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาต้องแจ้งภายใน 8 วันนับจากวันที่ทราบข้อเท็จจริงที่ทำให้เสียหาย มิฉะนั้นขาดสิทธิอ้าง
คำร้องของจำเลยฉบับลงวันที่ 28 มกราคม 2557 ที่ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 บัญญัติให้คู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจยกขึ้นกล่าวอ้างได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวอ้างว่า เจ้าหน้าที่ศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้จำเลยไม่ชอบเพราะบ้านของจำเลยซึ่งเป็นภูมิลำเนาตามฟ้องยังไม่ได้รื้อถอนและจำเลยพักอาศัยอยู่ที่บ้านดังกล่าวตลอดมา อันเป็นการยกข้ออ้างที่ทำให้จำเลยไม่ทราบว่าศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ออกหมายจับจำเลยและอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่การที่จำเลยเพิ่งทราบเรื่องดังกล่าว จำเลยก็ชอบที่จะยกข้อคัดค้านในเรื่องผิดระเบียบดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างภายในเวลาไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นด้วย ข้อเท็จจริงตามคำร้องปรากฏว่าเมื่อประมาณต้นเดือนธันวาคม 2556 จำเลยทราบจากเจ้าหน้าที่เรือนจำจังหวัดภูเก็ตว่า จำเลยแพ้คดีโดยศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำพิพากษาตั้งแต่ต้นปี 2556 และต่อมาประมาณต้นเดือนมกราคม 2557 จำเลยให้ทนายความติดตามรายละเอียดของสำนวนคดีจึงทราบว่า การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้จำเลยไม่ชอบ จึงฟังได้ว่าจำเลยได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างในเรื่องผิดระเบียบตามคำร้องดังกล่าวของจำเลยจากทนายความตั้งแต่ประมาณต้นเดือนมกราคม 2557 แล้ว เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่อ้างว่าผิดระเบียบเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2557 จึงช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นแล้ว จำเลยย่อมหมดสิทธิยกขึ้นอ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับกับการขาดสิทธิเรียกร้องชำระหนี้ ผู้ค้ำประกัน/จำนองสิทธิไล่เบี้ยเมื่อชำระหนี้หรือบังคับจำนอง
ข้อตกลงซื้อขายหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ข้อ 3 วรรคแรก มีข้อความว่า "ผู้ขายตกลงเป็นผู้ค้ำประกันหนี้สินของบริษัท ก. มีวงเงินค้ำประกัน 350,000,000 บาท ต่อไปจนถึงวันที่ 3 เมษายน 2534... และภายในวันที่ 3 เมษายน 2534 เช่นกัน ผู้ซื้อจะดำเนินการให้ธนาคารปลดผู้ขาย ส. และ ว. ออกจากเป็นผู้ค้ำประกัน และปลดจำนองทรัพย์สินซึ่งจำนองประกันหนี้สินของบริษัท ก. ทั้งหมด" วรรคสอง มีข้อความว่า "ถ้าหากล่วงเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้ซื้อไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ ผู้ซื้อและบริษัท ก. ตกลงจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้ขายเดือนละ 1,000,000 บาท ทุกๆ เดือนจนกว่าผู้ขายจะหลุดพ้นจากความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง" ซึ่งหมายความว่า โจทก์ที่ 1 จะมีสิทธิเรียกค่าตอบแทนรายเดือนต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อหุ้นจากโจทก์ที่ 1 ไม่สามารถดำเนินการปลดโจทก์ที่ 1 จากการเป็นผู้ค้ำประกันและปลดโจทก์ทั้งสามจากการเป็นผู้จำนองให้สำเร็จได้อันเป็นการผิดข้อตกลงแล้วเท่านั้น ค่าตอบแทนรายเดือนจึงเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ทั้งตามข้อตกลงดังกล่าวก็มิได้ระบุว่า หากจำเลยที่ 2 ไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ภายเวลาที่กำหนดแล้ว ยังจะต้องดำเนินการเช่นนั้นอีกต่อไปจนสำเร็จ จึงเป็นเรื่องที่สัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 380 วรรคแรก ซึ่งหากเจ้าหนี้แสดงต่อลูกหนี้ว่าจะเรียกเอาเบี้ยปรับแล้ว ก็เป็นอันขาดสิทธิเรียกร้องชำระหนี้อีกต่อไป
หลังจากพ้นกำหนดวันที่ 3 เมษายน 2534 โจทก์ที่ยอมรับเอาค่าตอบแทนของเดือนพฤษภาคม 2534 และต่อมาโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าตอบแทนที่ยังค้างชำระสำหรับเดือนต่อไป ถือว่าโจทก์ที่ 1 แสดงต่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วว่าจะเรียกเอาเบี้ยปรับ สทิธิเรียกร้องของโจทก์ที่ 1 ที่จะบังคับให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ดำเนินการปลดโจทก์ที่ 1 จากการเป็นผู้ค้ำประกันและปลดโจทก์ทั้งสามจากการเป็นผู้จำนองย่อมเป็นอันขาดไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 380 วรรคแรก
สิทธิของผู้ค้ำประกันที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ย่อมจะเกิดมีขึ้นต่อเมื่อผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนลูกหนี้แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 ส่วนสิทธิของผู้จำนองทรัพย์สินของตนเพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระตาม มาตรา 724 บัญญัติให้ผู้จำนองที่เข้าชำระหนี้เสียเองแทนลูกหนี้เพื่อจะปัดป้องมิให้ต้องบังคับจำนองชอบที่จะได้รับเงินใช้คืนจากลูกหนี้ตามจำนวนที่ได้ชำระไป และถ้าว่าต้องบังคับจำนอง ผู้จำนองก็ชอบที่จะได้รับเงินใช้คืนจากลูกหนี้ตามจำนวนซึ่งผู้รับจำนองจะได้รับใช้หนี้จากการบังคับจำนอง ดังนั้น โจทก์ทั้งสามจะไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับว่าโจทก์ทั้งสามเข้าชำระหนี้เสียเองแทนจำเลยที่ 1 หรือมีการบังคับจำนองทรัพย์สินที่จำนองแล้วหรือไม่ เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่ได้เข้าชำระหนี้ให้แก่ธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 หรือธนาคารได้บังคับจำนองแล้ว สิทธิไล่เบี้ยของโจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันและโจทก์ทั้งสามในฐานะผู้จำนองจึงยังไม่เกิดขึ้น
หลังจากพ้นกำหนดวันที่ 3 เมษายน 2534 โจทก์ที่ยอมรับเอาค่าตอบแทนของเดือนพฤษภาคม 2534 และต่อมาโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าตอบแทนที่ยังค้างชำระสำหรับเดือนต่อไป ถือว่าโจทก์ที่ 1 แสดงต่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วว่าจะเรียกเอาเบี้ยปรับ สทิธิเรียกร้องของโจทก์ที่ 1 ที่จะบังคับให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ดำเนินการปลดโจทก์ที่ 1 จากการเป็นผู้ค้ำประกันและปลดโจทก์ทั้งสามจากการเป็นผู้จำนองย่อมเป็นอันขาดไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 380 วรรคแรก
สิทธิของผู้ค้ำประกันที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ย่อมจะเกิดมีขึ้นต่อเมื่อผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนลูกหนี้แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 ส่วนสิทธิของผู้จำนองทรัพย์สินของตนเพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระตาม มาตรา 724 บัญญัติให้ผู้จำนองที่เข้าชำระหนี้เสียเองแทนลูกหนี้เพื่อจะปัดป้องมิให้ต้องบังคับจำนองชอบที่จะได้รับเงินใช้คืนจากลูกหนี้ตามจำนวนที่ได้ชำระไป และถ้าว่าต้องบังคับจำนอง ผู้จำนองก็ชอบที่จะได้รับเงินใช้คืนจากลูกหนี้ตามจำนวนซึ่งผู้รับจำนองจะได้รับใช้หนี้จากการบังคับจำนอง ดังนั้น โจทก์ทั้งสามจะไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับว่าโจทก์ทั้งสามเข้าชำระหนี้เสียเองแทนจำเลยที่ 1 หรือมีการบังคับจำนองทรัพย์สินที่จำนองแล้วหรือไม่ เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่ได้เข้าชำระหนี้ให้แก่ธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 หรือธนาคารได้บังคับจำนองแล้ว สิทธิไล่เบี้ยของโจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันและโจทก์ทั้งสามในฐานะผู้จำนองจึงยังไม่เกิดขึ้น