พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้า: การนำเข้าสมุดเช็คจากต่างประเทศถือเป็นการขายสินค้า ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าประเภทธนาคาร ได้สั่งสมุดเช็คจากประเทศอังกฤษเข้ามาในประเทศไทย เพื่อใช้ในกิจการของโจทก์ โดยมอบให้ลูกค้าที่เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารโจทก์ใช้สั่งจ่ายเงินสมุดเช็คนั้นเป็นสินค้าอย่างหนึ่งตามประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2504 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทมาตรา 79 ทวิ (1) การนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก) โดยมิใช่นำมาขายหรือผลิตเพื่อขายและสินค้าเหล่านั้นมิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร ถือว่าเป็นการขายสินค้า สมุดเช็คที่โจทก์สั่งเข้ามามีราคาถึงสามแสนบาทเศษ มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้ตามปกติและตามสมควร โจทก์ย่อมเป็นผู้ประกอบการค้าสินค้าสมุดเช็คซึ่งตาม ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 3) ให้ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขายสินค้าในวันนำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อคำนวณมูลค่าของสินค้าเป็นรายรับในการที่จะประเมินภาษีการค้า โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าตามมูลค่าของสมุดเช็คซึ่งคำนวณได้ดังกล่าวในประเภทการค้า 1 การขายของ รายการที่ประกอบการค้าการขายสินค้าชนิด 1 (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้าสมุดเช็ค: การนำเข้าเพื่อใช้ในกิจการธนาคาร ถือเป็นการขายสินค้าต้องเสียภาษี
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าประเภทธนาคาร ได้สั่งสมุดเช็คจากประเทศอังกฤษเข้ามาในประเทศไทย เพื่อใช้ในกิจการของโจทก์ โดยมอบให้ลูกค้าที่เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารโจทก์ใช้สั่งจ่ายเงิน สมุดเช็คนั้นเป็นสินค้าอย่างหนึ่งตามประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทมาตรา 79 ทวิ(1) การนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) โดยมิใช่นำมาขายหรือผลิตเพื่อขายและสินค้าเหล่านั้นมิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร ถือว่าเป็นการขายสินค้า สมุดเช็คที่โจทก์สั่งเข้ามามีราคาถึงสามแสนบาทเศษ มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้ตามปกติและตามสมควร โจทก์ย่อมเป็นผู้ประกอบการค้าสินค้าสมุดเช็ค ซึ่งตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 3) ให้ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขายสินค้าในวันนำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อคำนวณมูลค่าของสินค้าเป็นรายรับในการที่จะประเมินภาษีการค้า โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าตามมูลค่าของสมุดเช็คซึ่งคำนวณได้ดังกล่าวในประเภทการค้า 1 การขายของ รายการที่ประกอบการค้า การขายสินค้าชนิด 1(ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดจากการขายสินค้าให้ลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ แม้มีการบังคับคดีกับลูกหนี้ไปแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขายผลิตภัณฑ์ของโจทก์ให้แก่ลูกค้าโดยรู้ว่าลูกค้าไม่สามารถชำระหนี้ได้ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับชำระหนี้ และโจทก์ได้ยื่นฟ้องลูกค้าจนศาลได้พิพากษาให้ลูกค้าชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้น เห็นว่าตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนพิพาทจากลูกค้า โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดต่อโจทก์ได้เสมอ การฟ้องจำเลยไม่จำเป็นต้องรอให้การบังคับคดีกับลูกค้านั้นเสร็จสิ้นเสียก่อน การที่โจทก์ฟ้องลูกค้าก่อนและบังคับคดีได้เท่าใด มีผลเพียงว่าโจทก์จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายในส่วนนั้นจากจำเลยซ้ำอีกไม่ได้เท่านั้น
ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้วพิพากษาคดี โจทก์ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งงดสืบพยาน จึงอุทธรณ์ในประเด็นนี้ไม่ได้แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าห้ามศาลอุทธรณ์มิให้ ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานใหม่ให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสารสำคัญแห่งคดีจนสิ้นกระแสความและพิพากษาใหม่ด้วยอำนาจของศาลอุทธรณ์ในอันที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่นั้น เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ซึ่งมีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้
ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้วพิพากษาคดี โจทก์ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งงดสืบพยาน จึงอุทธรณ์ในประเด็นนี้ไม่ได้แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าห้ามศาลอุทธรณ์มิให้ ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานใหม่ให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสารสำคัญแห่งคดีจนสิ้นกระแสความและพิพากษาใหม่ด้วยอำนาจของศาลอุทธรณ์ในอันที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่นั้น เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ซึ่งมีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817-1818/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าฟิล์มภาพยนตร์เพื่อเช่าฉาย ถือเป็นการขายสินค้า ต้องเสียภาษีการค้าทั้งในฐานะผู้นำเข้าและผู้ให้เช่า
การนำสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร เข้ามาในราชอาณาจักร โดยมิใช่นำมาขายหรือผลิตเพื่อขายประมวลรัษฎากรมาตรา 79 ทวิ ให้ถือว่าเป็นการขายสินค้า และให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับ และให้ถือว่าผู้ที่นำสินค้านั้นเข้าในราชอาณาจักรเป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1
ฟิล์มภาพยนตร์ที่ถ่ายทำแล้วซึ่งโจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อให้เช่าฉายเสร็จแล้วส่งกลับไปนอกราชอาณาจักรนั้น เป็นสินค้าในประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า ที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร ทั้งมิใช่นำมาขายหรือผลิตเพื่อขาย จึงถือว่าโจทก์ผู้ที่นำฟิล์มภาพยนตร์เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นผู้ประกอบการค้าได้ขายฟิล์มภาพยนตร์ และให้ถือมูลค่าของฟิล์มภาพยนตร์นั้นเป็นรายรับตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79 ทวิ แม้โจทก์จะประกอบการค้าประเภทการค้า 5 การให้เช่าทรัพย์สินที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์และได้เสียภาษีการค้าในประเภทดังกล่าวถูกต้องแล้ว แต่ตามประมวลรัษฎากรซึ่งใช้บังคับขณะเกิดกรณีพิพาท ไม่มีบทยกเว้นให้โจทก์นำฟิล์มภาพยนตร์ที่ถ่ายทำแล้วเข้าในราชอาณาจักรเพื่อให้เช่าฉายได้โดยไม่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1(ก) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้า ประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) อีกด้วย
เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าในขณะเดียวกัน 2 ประเภทคือประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) และประเภทการค้า 5 โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าทั้งสองประเภท และไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน หากแต่เป็นการเสียภาษีแต่ละประเภทการค้าที่โจทก์ได้กระทำในฐานะผู้ประกอบการค้าให้ครบถ้วนตามประมวลรัษฎากร
(วรรค 2 วินิจฉัย โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17-18/2516)
ฟิล์มภาพยนตร์ที่ถ่ายทำแล้วซึ่งโจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อให้เช่าฉายเสร็จแล้วส่งกลับไปนอกราชอาณาจักรนั้น เป็นสินค้าในประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า ที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร ทั้งมิใช่นำมาขายหรือผลิตเพื่อขาย จึงถือว่าโจทก์ผู้ที่นำฟิล์มภาพยนตร์เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นผู้ประกอบการค้าได้ขายฟิล์มภาพยนตร์ และให้ถือมูลค่าของฟิล์มภาพยนตร์นั้นเป็นรายรับตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79 ทวิ แม้โจทก์จะประกอบการค้าประเภทการค้า 5 การให้เช่าทรัพย์สินที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์และได้เสียภาษีการค้าในประเภทดังกล่าวถูกต้องแล้ว แต่ตามประมวลรัษฎากรซึ่งใช้บังคับขณะเกิดกรณีพิพาท ไม่มีบทยกเว้นให้โจทก์นำฟิล์มภาพยนตร์ที่ถ่ายทำแล้วเข้าในราชอาณาจักรเพื่อให้เช่าฉายได้โดยไม่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1(ก) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้า ประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) อีกด้วย
เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าในขณะเดียวกัน 2 ประเภทคือประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) และประเภทการค้า 5 โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าทั้งสองประเภท และไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน หากแต่เป็นการเสียภาษีแต่ละประเภทการค้าที่โจทก์ได้กระทำในฐานะผู้ประกอบการค้าให้ครบถ้วนตามประมวลรัษฎากร
(วรรค 2 วินิจฉัย โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17-18/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกขายสินค้าเกินราคาไม่เป็นความผิด หากไม่มีการขายจริง และประกาศควบคุมราคาห้ามเฉพาะการขาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบอกขายข้าวสารเกินราคา เป็นการฝ่าฝืนประกาศข้าหลวงประจำจังหวัด แต่ประกาศที่โจทก์อ้างเป็นแต่ห้ามการขายเกินราคา มิได้ห้ามการบอกขาย และการบอกขายยังไม่เป็นการกระทำถึงขั้นพยายามขาย คดีไม่มีทางลงโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกใบรับเงินจากการขายสินค้าแบบผ่อนชำระ: จำเลยไม่มีหน้าที่ออกใบรับทุกครั้งที่รับเงิน หากไม่ใช่การขายผ่อนที่มีเงื่อนไข
เจ้าของโรงค้าซึ่งเสียภาษีโรงค้าได้ขายของราคา 18 บาท ผู้ซื้อได้ผ่อนใช้ไปคราวแรก 15 บาท ผู้ขายได้เขียนใบรับและปิดอากรแสตมป์ไว้แล้ว ตั้งใจว่าเมื่อชำระเงินครบจึงจะให้ใบรับ ดังนี้ จำเลยจึงยังไม่มีผิด.
(อ้างฎีกาที่ 235/2484)
(อ้างฎีกาที่ 235/2484)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกใบรับเงิน: ไม่ต้องออกใบรับทุกครั้ง หากขายสินค้าไม่ใช่การผ่อนชำระเป็นงวด
เจ้าของโรงค้าซึ่งเสียภาษีโรงค้าได้ขายของราคา 18 บาทผู้ซื้อได้ผ่อนใช้ไปคราวแรก 15 บาท ผู้ขายได้เขียนใบรับและปิดอากรแสตมป์ไว้แล้ว ตั้งใจว่าเมื่อชำระเงินครบจึงจะให้ใบรับ ดังนี้ จำเลยจึงยังไม่มีผิด (อ้างฎีกาที่ 235/2484)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสินค้าโดยตรงของเจ้าของ ไม่ถือเป็นความผิด
จำเลยเป็นคนต่างด้าวขายถ่านของตนเองโดยไม่ได้ทำการรับจ้างผู้ใดเช่นนี้ ไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานขายสินค้าโดยใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นโดยทุจริต จำเป็นต้องระบุเจตนาของผู้กระทำความผิดในฟ้อง
ความผิดมาตรา 138 นั้น ถเาในฟ้องของโจทก์ไม่ระบุว่าจำเลยรู้อยู่ว่าเป็นของให้ชื่อหรือเครื่องหมายในทางทุจจริตแล้ว ก็ไม่ครบองค์ความผิดฟ้องที่ลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 142/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสินค้าแถมรางวัลที่มีลักษณะเสี่ยงโชค ถือเป็นการพนันผิดกฎหมาย
การขายของโดยวิธีสอดธนบัตร์เป็นเงินรางวัลไว้ในของนั้นเพื่อผู้ที่ซื้อของจะได้มีโอกาศถูกได้
เงินที่สอดไว้ในซองนั้นแต่ราคาของที่ขายนั้นสูงกว่าราคาตามท้องตลาดดังนี้ ดังนี้ต้องถือเป็นการพะนันเสี่ยงโชคมีได้มีเสียระหว่างผู้ซื้อแลผู้ขายเป็นความผิด
เงินที่สอดไว้ในซองนั้นแต่ราคาของที่ขายนั้นสูงกว่าราคาตามท้องตลาดดังนี้ ดังนี้ต้องถือเป็นการพะนันเสี่ยงโชคมีได้มีเสียระหว่างผู้ซื้อแลผู้ขายเป็นความผิด