คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีแรงงานจำกัดเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ไม่อาจรับรองอุทธรณ์ข้อเท็จจริง แม้มีบทบัญญัติ ป.วิ.พ. ที่อาจใช้ได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 54 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงานได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายโดยการพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานได้วินิจฉัยมาตามมาตรา 56 วรรคสอง เป็นการบัญญัติเกี่ยวกับการอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้มาใช้บังคับ แม้ตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ จะบัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับด้วย ก็ต้องเป็นกรณีที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ด้วย เมื่อคดีแรงงานให้อุทธรณ์ได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายจึงไม่อาจมีการรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ทั้งการที่ผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณาคดีจะรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัว และอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(คำสั่งคำร้อง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1657/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาต้องส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ บัญญัติหลักเกณฑ์ในการอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยให้ยื่นคำร้องขอนุญาตต่อศาลชั้นต้นพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์และส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และคำร้องแก่จำเลยอุทธรณ์แล้ว หากไม่มีคู่ความฝ่ายอื่นยื่นอุทธรณ์และจำเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ ก็ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำร้องนั้นว่าจะอนุญาตหรือไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นให้เป็นที่สุด ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์ จึงไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำฟ้องของโจทก์เพราะเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น หาเป็นข้อยกเว้นให้ไม่ต้องส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์แต่อย่างใด คำสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6510/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามข่มขืนกระทำชำเรา: การลงมือกระทำความผิดแต่ไม่สำเร็จ และอำนาจศาลในการวินิจฉัยข้อกฎหมาย
ผู้เสียหายเบิกความว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย แต่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักฐานทางวิชาการที่ น่าเชื่อถือและเชื่อได้ว่าจำเลยยังมิได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย การที่จำเลยพาผู้เสียหายเข้าไปในโรงแรมแล้วกอดปล้ำ ผู้เสียหาย ถอดเสื้อผ้าของผู้เสียหายออกเพื่อจะข่มขืนกระทำชำเราโดยมีเจตนาจะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย อวัยวะเพศของจำเลยคงจะเสียดสีกับอวัยวะเพศของผู้เสียหายจนทำให้เกิดรอยแดงด้านนอกของอวัยวะเพศของผู้เสียหายและหากอวัยวะเพศของจำเลยล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายเยื่อพรหมจารีของผู้เสียหายคงต้องมีร่องรอยฉีกขาด การกระทำของจำเลยเป็นเพียงการลงมือกระทำความผิด แต่กระทำไปไม่ตลอดหรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล จึงเป็นเพียงความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย
ปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จหรืออยู่ในขั้นพยายามกระทำความผิดเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น การอ้างเหตุผลเรื่องการเจรจาถือเป็นข้อเท็จจริง
การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ จะต้องเป็นการอุทธรณ์เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น ปรากฏตามอุทธรณ์ของโจทก์ข้อ 3 ว่าเหตุผลข้อหนึ่งที่โจทก์จำเป็นต้องนำคดีนี้ขึ้นสู่ศาลโดยมิได้ผ่านขบวนการอนุญาโตตุลาการเพราะโจทก์พยายามจัดให้มีการเจรจาเพื่อหาข้อยุติข้อพิพาทแล้วแต่จำเลยไม่ประสงค์จะให้มีการเจรจา คู่ความจึงนำคดีมาฟ้องโดยไม่ผ่านขั้นตอนการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธีก่อนเข้าสู่ขบวนการอนุญาโตตุลาการอุทธรณ์ข้อ 4 ว่า จำเลยมีโอกาสยกข้อต่อสู้เรื่องข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการมาตั้งแต่ขณะยื่นคำให้การแล้ว คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยจึงฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180อุทธรณ์ทั้งสองข้อดังกล่าวของโจทก์เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ชอบที่จะดำเนินการส่งอุทธรณ์ของโจทก์ไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาต่อไปที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ที่ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4012/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต้องมีปัญหาข้อกฎหมายที่ชัดเจน หากมีข้อเท็จจริงต้องวินิจฉัยก่อน การอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่า ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันรับผิดชดใช้เงินค่าเบี้ยประกันภัยจำนวน 13,172 บาท ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ และขอให้พิพากษาให้จำเลยที่ 3ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีอย่างเป็นหนี้ร่วมด้วย แต่โจทก์บรรยายฟ้องโดยมิได้แยกส่วนที่เป็นเบี้ยประกันภัยออกต่างหาก และศาลชั้นต้นพิพากษาไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ชี้สองสถานไว้ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 1,976,386.78 บาทพร้อมดอกเบี้ยต่อโจทก์ เมื่อมีปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องวินิจฉัยก่อนว่าจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ชดใช้นั้นรวมเบี้ยประกันแล้วหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3563/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรที่ดิน, ภาระจำยอม, การจดทะเบียน, และการยกเว้นการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่ชัดแจ้งในชั้นอุทธรณ์
ปัญหาข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่คู่ความติดใจจะยกขึ้นว่ากล่าวไม่ว่าในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกา ไม่ว่าจะเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ คู่ความต้องกล่าวมาโดยชัดแจ้งในอุทธรณ์หรือฎีกา เพื่อศาลจะได้ทราบรายละเอียดว่าคู่ความติดใจอุทธรณ์หรือฎีกาโต้แย้งปัญหาใดได้โดยชัดแจ้ง เมื่อจำเลยกล่าวอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่วินิจฉัยได้ เพราะไม่เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
ในชั้นยื่นคำร้องขอแบ่งแยกที่ดิน ก.ได้ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานแทนจำเลยว่า จำเลยทราบแล้วว่าการจัดแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยติดต่อกัน 10 แปลงขึ้นไปเพื่อจำหน่ายโดยมีค่าตอบแทน โดยมีการให้คำมั่นโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะต่าง ๆ หรือปรับปรุงที่นั้น ๆ ให้เป็นที่อยู่อาศัย ประกอบการพาณิชย์หรืออุตสาหกรรมเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ซึ่งผู้จัดสรรจะต้องได้รับอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวเสียก่อนจึงจะดำเนินการได้ การที่จำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินและจัดแบ่งที่ดินแปลงพิพาทเป็นถนนก็เพื่อประโยชน์ในการขายที่ดินของตน ถนนที่จัดแบ่งดังกล่าวเป็นสาธารณูปโภคเพื่อการขาย ตกเป็นภาระจำยอมสำหรับโจทก์ผู้ซื้อที่ดินที่จำเลย แบ่งแยกขายตามความหมายของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 แล้ว จำเลยไม่มีสิทธิปิดกั้นมิให้โจทก์ผู้ซื้อที่ดินที่จำเลยแบ่งขายได้ใช้สอย
ไม่มีกฎหมายใดห้ามการจดทะเบียนภาระจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ทั้งการที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1391
ภาระจำยอมนั้นเกิดได้โดยทางนิติกรรม โดยกฎหมาย หรือโดยอายุความจากการใช้ได้ทั้งสามทาง การที่โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นภาระจำยอมตามกฎหมายและโดยอายุความจากการใช้ หาเป็นคำฟ้องเคลือบคลุมไม่การที่จำเลยเข้าใจคำฟ้องและต่อสู้คดีการได้มาซึ่งภาระจำยอมของโจทก์ทั้งสองทางเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2961/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอเรื่องการริบของกลาง และอำนาจศาลฎีกาในการแก้ไขปัญหาข้อกฎหมาย
จำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯแล้วจำเลยยังทำร้ายผู้เสียหายและชักหรือแสดงอาวุธในการวิวาทต่อสู้แต่เจ้าพนักงานตำรวจไม่สามารถยึดอาวุธปืนที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดมาเป็นของกลาง และโจทก์มิได้มีคำขอให้ริบอาวุธปืนการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบอาวุธปืนซึ่งมีไว้เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่งและศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไข ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2629/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาที่ไม่ชอบ และอำนาจศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวเนื่องกับความสงบเรียบร้อย
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายจำเลยแถลงรับว่าเป็นหนี้โจทก์จริงตามฟ้อง คู่ความประสงค์จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความแต่ขอเลื่อนไปเจรจาในรายละเอียดอีกครั้ง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือฟังคำพิพากษาก็เพราะเห็นว่าถ้าคู่ความไม่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็พิพากษาคดีไปได้โดยไม่ต้องมีการสืบพยาน วันที่เลื่อนมาจึงไม่ใช่วันนัดสืบพยานโจทก์ เมื่อทนายจำเลยไม่มาศาล แต่ศาลชั้นต้นกำหนดเอาเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันนั้นเอง แล้วมีคำสั่งให้จำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจำเลยไม่ทราบล่วงหน้า เป็นการพิจารณาโดยขาดนัดที่ไม่ชอบและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นโดยให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7816/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานขับรถประมาท จำเลยต้องรับผิดตามที่ฟ้องเท่านั้น ศาลฎีกายกประเด็นความผิดอื่นที่ไม่ได้บรรยาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 ซึ่งหมายถึงมาตรา 160 วรรคสามด้วยนั้น คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทอันเป็นความผิดตามมาตรา 43 (4) ซึ่งต้องลงโทษตามมาตรา 157 เท่านั้น โจทก์มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 43 (1) (2) (5) หรือ (8) อันจะต้องลงโทษตามมาตรา 160 วรรคสามด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 160 วรรคสาม ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระ เนื่องจากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงยุติแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็น จำคุก 8 เดือน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อ ชำระค่ามัดจำในการซื้อที่ดินจากโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้รับ ชำระหนี้ตามเช็คฉบับอื่น ๆ ที่จำเลยสั่งจ่ายให้จำนวน 4 ฉบับ และได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยแล้ว จึงเป็นการออกเช็คเพื่อเป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงมิใช่เป็นการออกให้เพื่อเป็นการค้ำประกันการชำระหนี้โจทก์ร่วมในฐานะผู้ทรงจึงเป็นผู้เสียหายที่จะร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว ดังนี้ปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงเช็คหรือไม่ เป็นผู้เสียหายหรือไม่ และจำเลยจะต้องรับผิดในทางอาญาหรือไม่ จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็น สาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
of 26