คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อกล่าวหา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อกล่าวหายักยอกทรัพย์แตกต่างจากข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ ศาลไม่สามารถลงโทษได้
จำเลยไม่ได้เบิกเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยคนไข้นอกจากบัญชีเงินฝากของโรงพยาบาลซึ่งเป็นเงินงบประมาณแผ่นดิน แล้วเบียดบังไปดังที่โจทก์กล่าวมาในฟ้อง แต่จำเลยเบียดบังเงินสดอันเป็นรายได้ของโรงพยาบาลที่ได้รับมาในวันเกิดเหตุ ซึ่งไม่ใช่เงินที่เบิกมาจากเงินงบประมาณแผ่นดินของโรงพยาบาลเงินที่จำเลยเบียดบังไปเป็นเงินคนละจำนวนกับที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกไปข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอกเงินดังกล่าวได้ตามป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4180/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายอาญา มาตรา 158(5) เหตุขาดรายละเอียดผู้รับโอนทรัพย์ ทำให้จำเลยไม่เข้าใจข้อกล่าวหา
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา แต่กล่าวถึงเรื่องการยักย้ายทรัพย์เพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้เพียงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2ร่วมกันโอนขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยมิได้กล่าวว่าได้โอนขายไปให้แก่ผู้ใด เอกสารท้ายฟ้องก็ไม่มีไม่อาจทราบได้ว่าใครเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาท จึงเป็นคำฟ้องที่ขาดข้อเท็จจริง และรายละเอียดที่เกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างทั้งสอง แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ และแม้จะไม่มีฝ่ายใดฎีกาถึงจำเลยที่ 1 แต่ปัญหาคำฟ้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นี้ เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องรับโทษได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานอกฟ้องนอกประเด็น: โจทก์เปลี่ยนฐานข้อกล่าวหาในชั้นฎีกา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ร่วมกันแทนกันว่าจ้างโจทก์ทำเต็นท์ จอดรถยนต์ มิได้ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตัวการไม่เปิดเผยชื่อว่าจ้างโจทก์ และศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดประเด็นว่าจำเลยทั้งสองว่าจ้างโจทก์ทำเต็นท์ จอดรถตามฟ้องหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตัวการไม่เปิดเผยชื่อว่าจ้างโจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 มิได้ว่าจ้างโจทก์ โจทก์มิได้ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ได้ว่าจ้างโจทก์ตามฟ้อง แต่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตัวการไม่เปิดเผยชื่อว่าจ้างโจทก์ เป็นการฎีกานอกฟ้องนอกประเด็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่จัดการมรดกตามกฎหมาย แต่ศาลต้องไต่สวนเมื่อมีข้อกล่าวหาการจัดการที่ไม่ถูกต้อง
ผู้จัดการมรดกอาจกระทำการตามหน้าที่ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาท
คำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้จัดการมรดกไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและจัดการแบ่งปันมรดกไม่ถูกต้อง เมื่อปรากฏจากบัญชีเครือญาติว่าเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรม 9 คน แต่ผู้จัดการมรดกแถลงรับต่อศาลว่าแบ่งมรดกให้ทายาทเพียง 8 คน โดยไม่แจ้งเหตุผลว่าเหตุใดจึงไม่แบ่งมรดกให้แก่ทายาทอีกคนหนึ่งศาลต้องไต่สวนให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การจัดการมรดกถูกต้องและเป็นการละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวน ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเบิกความเท็จไม่ชอบ เหตุคำฟ้องไม่ระบุรายละเอียดข้อกล่าวหาและข้อความเท็จในคดีก่อน
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานเบิกความเท็จ ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์แม้ระบุเลขคดีและชื่อคู่ความของคดีที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยเบิกความเท็จ แต่ไม่ได้ระบุว่าคดีดังกล่าวมีข้อกล่าวหากันอย่างไร และข้อความที่อ้างว่าเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร อันเป็นเหตุให้โจทก์ถูกศาลลงโทษ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีไม่ชอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 158(5).(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5899/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งต้องชัดเจนเฉพาะเจาะจงข้อกล่าวหา หากคลุมเครือศาลไม่รับพิจารณา
การพิจารณาคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522มาตรา 79 ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงต้องตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172วรรคสองด้วย คำร้อง ของ ผู้ร้องอ้างเหตุคัดค้านการเลือกตั้งว่า กรรมการตรวจคะแนนลงคะแนนเอง ลงชื่อแทนผู้มีสิทธิลงคะแนนที่ไม่มาใช้สิทธิไม่จดหมายเลขกับสถานที่ออกบัตรประจำตัวประชาชนในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งและที่จดไว้ก็ไม่ตรงกับความจริง การนับคะแนนของคณะกรรมการทุกหน่วยเลือกตั้งไม่ตรงต่อความเป็นจริงที่ปรากฏในบัตรเลือกตั้งโดยอ่านบัตรเลือกตั้งหมายเลขของผู้ร้องเป็นหมายเลขอื่นทำให้คะแนนของผู้ร้องลดลงคณะกรรมการตรวจคะแนนทุกหน่วยเลือกตั้งกรอกคะแนนลงในแบบรายงานแสดงผลของการนับคะแนนไม่ตรงกับความเป็นจริงและไม่ตรงกับคะแนนที่อ่านได้โดยลดคะแนนของผู้ร้องแล้วเพิ่มคะแนนให้แก่ผู้สมัครหมายเลขอื่นและนายอำเภอในเขตเลือกตั้งซึ่งมีหน้าที่รวมคะแนนจากรายงานแสดงผลของการนับคะแนน รวมคะแนนของผู้ร้องผิดไปจากความจริงโดยลดคะแนนของผู้ร้องลงและบวกคะแนนเพิ่มให้แก่ผู้สมัครหมายเลขอื่นนั้นเป็นคำร้องที่เคลือบคลุม เพราะไม่อาจทราบได้ว่าเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง กรรมการตรวจคะแนนหรือเจ้าหน้าที่คะแนนผู้ใด ของหน่วยเลือกตั้งที่เท่าใด ของอำเภอใดเป็นผู้กระทำเช่นนั้นและที่อ้างว่ากรรมการตรวจคะแนนและนายอำเภอในเขตเลือกตั้งรวมคะแนนผิดไปจากความจริงนั้น ความจริงมีจำนวนเท่าใดก็ไม่ปรากฏ ผู้ร้องเพียงแต่กล่าวอ้างคลุม ๆ มาทุกหน่วยเลือกตั้งและส่อแสดงว่าเป็นการคาดคะเนเอาเอง จึงเป็นคำกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่พอที่จะทำให้ผู้คัดค้านเข้าใจข้อหาได้ดีไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานในคดีแรงงาน: ศาลต้องเปิดโอกาสให้คู่ความนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ข้อกล่าวหา
คดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง โดยอ้างว่าผู้คัดค้านกระทำการทุจริตต่อหน้าที่การงานอันเป็นความผิดร้ายแรงนั้น เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านยังให้การต่อสู้อยู่ว่าไม่เคยทุจริตต่อหน้าที่ศาลแรงงานจะสั่งงดสืบพยานผู้ร้องโดยนำคำให้การของพยานชั้นสอบสวน ความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนตลอดจนความเห็นแย้งมาวินิจฉัยว่าการกระทำของผู้คัดค้านมิใช่เป็นกรณีที่ร้ายแรงถึงขนาดเลิกจ้างหาได้ไม่ เพราะไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้รับรองถึงความมีอยู่ ความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าว ถือว่าเป็นเอกสารที่ผู้ร้องส่งศาลโดยไม่มีพยานบุคคลประกอบ ไม่มีผู้รับรอง ชอบที่จะดำเนินการสืบพยานในประเด็นแห่งคดีต่อไป.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4669/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความกล่าวหาผู้อื่น ต้องมีเจตนาแจ้งความเท็จ ไม่ใช่เพียงข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อน
จำเลยเป็นเกษตรอำเภอทราบจากผู้ใต้บังคับบัญชาว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ช่วยเกษตรจังหวัดได้ไปรื้อค้นสำนักงานและโต๊ะ ทำงานของจำเลยขณะจำเลยไม่อยู่ ปรากฏว่าเงินที่จำเลยเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะ ทำงานสูญหายไป จำเลยย่อมมีเหตุที่จะสงสัยว่าโจทก์อาจเป็นคนร้ายลักเงินไปจึงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์บุกรุกสำนักงานและลักทรัพย์โดยแจ้งรายละเอียดและพฤติการณ์ของโจทก์ พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจำเลยทราบเรื่องจากผู้ใด ดังนี้ แม้จะได้ความว่าโจทก์ไปตรวจราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยไม่มีพยานหลักฐานว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172และที่จำเลยทำบันทึกถึงนายอำเภอมีข้อความทำนองเดียวกับที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 179 การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งแกล้งแจ้งข้อความให้ผิดไปจากความจริง การที่แจ้งข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อนไปจะถือว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเสมอไปหาได้ไม่ เช่นเดียวกับการตั้งข้อหาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งข้อหาตามข้อกล่าวหาของผู้แจ้งความเสมอไปเช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้างในการสอบสวนข้อกล่าวหา
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า หากมีผู้ร้องเรียน เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพนักงานจำเลย ให้จำเลยสืบสวน เบื้องต้นว่ากรณีมีมูลความจริงหรือไม่ถ้ามีมูลให้ตั้ง คณะกรรมการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหา และถ้าผู้ถูกกล่าวหาปฏิเสธก็ ต้องติดต่อให้ผู้กล่าวหามาให้การสอบสวนเพิ่มเติม หากมิได้ ดำเนินการดั่งกล่าวให้ยกประโยชน์ให้ผู้ถูกกล่าวหา โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำการทุจริตในการจำหน่ายตั๋วโดยสาร จำเลยจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนโจทก์คณะกรรมการได้ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยติดต่อผู้กล่าวหาแล้ว โจทก์ ผู้ถูกกล่าวหาจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการค้าดังกล่าวต้องเป็นกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนมิได้ดำเนินการให้ผู้กล่าวหามาให้การเลยส่วนการที่ผู้กล่าวหาไม่ยินยอมมาให้การนั้น คณะกรรมการก็ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐาน อื่นเท่าที่ปรากฏอยู่ต่อไปว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหานั้นหรือไม่ โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์ตาม ข้อตกลงดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2722/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเช็ค – ตัวแทน vs. ตัวการ, อายุความ, และการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดข้อกล่าวหา
โจทก์มิได้โอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่เช็คนั้นให้แก่สามีโจทก์ หากเป็นเพียงฝากเช็คพิพาทให้สามีโจทก์ นำเข้าบัญชีธนาคารเพื่อ เรียกเก็บเงินถือว่าสามีโจทก์เป็นตัวแทนของโจทก์ เมื่อธนาคาร ปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ซึ่งเป็นตัวการจึงยังเป็นผู้เสียหายและ มีอำนาจฟ้อง
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริง ที่กล่าวในฟ้องในรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่กระทำความผิดและ จำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
of 12