พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนตัวทนาย, การชี้สองสถานโดยผู้พิพากษาคนเดียว และการดำเนินการตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร
คำร้องขอถอนตัวของทนายโจทก์ไม่ปรากฏว่าทนายโจทก์ได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้วหรือหาตัวความไม่พบ จึงเป็นคำร้องขอถอนตนจากการตั้งแต่งให้เป็นทนายความที่ไม่ชอบ ไม่มีเหตุที่ศาลต้องอนุญาตให้ทนายถอนตัว และศาลไม่มีหน้าที่คอยระวังความเสียหายให้โจทก์จากการกระทำที่ไม่ชอบของทนายความที่โจทก์เป็นผู้แต่งตั้งการสั่งคำร้องดังกล่าวเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณานอกจากการนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี ที่ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรคนใดคนหนึ่งมีอำนาจกระทำ หรือออกคำสั่งได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 16 แม้ทนายของคู่ความหรือตัวความไม่มาศาลในวันชี้สองสถาน ศาลก็ทำการชี้สองสถานไปได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 13 โดยไม่จำต้องเลื่อนการชี้สองสถาน ศาลภาษีอากรกลางนำรายงานกระบวนพิจารณาการชี้สองสถานมาอ่านให้คู่ความฟังที่หน้าห้องโดยมิได้ขึ้นนั่งพิจารณาบนบัลลังก์เป็นการชอบตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 20 ที่กำหนดไว้ว่าศาลอาจมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณาคดี ณ สถานที่ใด หรือในวันเวลาใด ๆ ก็ได้ ตามที่เห็นสมควร ในการชี้สองสถาน ศาลไม่จำต้องสอบถามคู่ความเสมอไปเกี่ยวกับข้ออ้างข้อเถียงว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้างข้อเถียงนั้นอย่างไร หากเป็นข้อที่คู่ความโต้แย้งกันในคำฟ้องและคำให้การโดยตรงอยู่แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2951/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ: การคุ้มครองตามอนุสัญญาเบอร์น และข้อกำหนดในการฟ้องคดี
คดีความผิดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าวีดีทัศน์ของโจทก์ตามฟ้อง เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายเมืองฮ่องกงซึ่งประเทศอังกฤษภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมทำ ณ กรุงเบอร์น นำเมืองฮ่องกง ซึ่งเป็นอาณานิคมของตนเข้าผูกพันตามอนุสัญญาดังกล่าว และประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยแต่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าวด้วย และถ้อยคำที่โจทก์บรรยายในฟ้องว่า ทั้งประเทศไทยและเมืองฮ่องกงต่างได้ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งกันและกันรวมถึงงานภาพยนตร์วีดีทัศน์ด้วย ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวจึงได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมายไทยนั้น ก็ไม่อาจแปลไปได้ว่า กฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญา ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าวีดีทัศน์ตามฟ้องมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญา ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6129/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแรงงานมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่ยื่นฝ่าฝืนข้อกำหนด หากเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและเกี่ยวข้องกับประเด็นสำคัญในคดี
กรณีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ศาลแรงงานมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานซึ่งยื่นฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 88 ได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 87(2) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3964/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินและการบังคับใช้ข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย
สิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกำหนดใช้เงินเมื่อทวงถาม เริ่มนับตั้งแต่เมื่อเจ้าหนี้ทวงถาม เจ้าหนี้มาขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันทวงถามซึ่งตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1001 และต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (1)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจากประชาชน การชำระคืน วงเงินขั้นต่ำ และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมหรือเงินให้กู้ยืมของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ฉบับลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 54 (7)แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522ที่กำหนดให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ออกเอกสารการกู้ยืมเงินที่มีกำหนดเวลาจ่ายคืนไม่ต่ำกว่าสามปีให้แก่ผู้ให้กู้ และต้องมีข้อกำหนดไม่ให้ไถ่ถอนก่อนกำหนดเวลาไว้ด้วยนั้น เป็นข้อกำหนดให้บริษัทเครดิต-ฟองซิเอร์ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจากประชาชนโดยเฉพาะ หาได้บังคับในการกู้ยืมเงินจากบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ด้วยกันโดยมีการออกตั๋วสัญญาใช้เงินไม่
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจากประชาชน การชำระคืน วงเงินขั้นต่ำ และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมหรือเงินให้กู้ยืมของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ฉบับลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 54 (7)แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522ที่กำหนดให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ออกเอกสารการกู้ยืมเงินที่มีกำหนดเวลาจ่ายคืนไม่ต่ำกว่าสามปีให้แก่ผู้ให้กู้ และต้องมีข้อกำหนดไม่ให้ไถ่ถอนก่อนกำหนดเวลาไว้ด้วยนั้น เป็นข้อกำหนดให้บริษัทเครดิต-ฟองซิเอร์ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจากประชาชนโดยเฉพาะ หาได้บังคับในการกู้ยืมเงินจากบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ด้วยกันโดยมีการออกตั๋วสัญญาใช้เงินไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากเจ้าหนี้มีประกันเป็นหนี้ไม่มีประกัน ส่งผลต่อข้อกำหนดการฟ้องคดีล้มละลาย
การฟ้องคดีล้มละลายในกรณีที่โจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกัน ปัญหาว่าโจทก์ต้องปฏิบัติตามมาตรา 10(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกเป็นประเด็นต่อสู้ไว้ เพิ่งมีประเด็นขึ้นในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ โจทก์ออกเงินชำระหนี้ค่าซื้อหุ้นในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยเมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าซื้อหุ้น โจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นดังกล่าวที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ไว้ได้จนกว่าจะได้รับเงินที่ค้างชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 819 ดังนี้โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันเพราะเป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงเหนือใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์ของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 6 แต่เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยยอมให้โจทก์มีสิทธิขายใบหุ้นที่โจทก์ยึดหน่วงไว้เพื่อชำระหนี้โจทก์ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้มีประกันเดิมจึงระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่ต้องบอกกล่าวในฟ้องตามที่ระบุไว้ในมาตรา 10(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3313/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(7) กรณีไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา
ฎีกาจำเลยไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา มีแต่ลายมือชื่อของทนายจำเลยลงไว้ในฐานะเป็นผู้เรียงและผู้พิมพ์เท่านั้น ทั้งรูปคดีไม่มีเหตุสมควรที่จะส่งฎีกากลับคืนไปให้จำเลยลงลายมือชื่อ ฎีกาจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(7) ประกอบด้วย มาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการปฏิบัติตามข้อกำหนดก่อนฟ้องคดี: ศาลมีอำนาจไม่รับฟ้องหากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 60วรรคสี่ ที่กำหนดว่า ถ้านายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดชำระตามคำสั่งของอธิบดีจึงจะฟ้องคดีได้นั้น เป็นข้อกฎหมายที่บังคับให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องปฏิบัติเสียก่อน จึงจะฟ้องคดีได้ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์อันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ดังนี้แม้มิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นพิพาทแห่งคดี ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางโดยมิได้วางเงินต่อศาลก่อนตามที่กฎหมายกำหนดในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 60 วรรคสี่ เมื่อความข้อนี้ปรากฏในภายหลังศาลแรงงานกลางจึงมีคำสั่งใหม่ให้เพิกถอนคำสั่งเป็นไม่รับฟ้องโจทก์ดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 31 แม้คำสั่งศาลดังกล่าวจะเพิกถอนคำสั่งเดิม เมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้โจทก์วางเงินและยื่นฟ้องได้สิ้นสุดลงแล้วและทำให้โจทก์หมดสิทธิ์ ยื่นฟ้องใหม่ก็ตาม แต่การที่โจทก์หมดสิทธิ์ ยื่นฟ้องใหม่นั้น มิใช่เพราะการเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องของศาลแรงงานฯ โดยตรง หากแตก เกิดจากความบกพร่องของโจทก์เองที่ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎหมายซึ่งได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งแล้ว ดังนี้โจทก์จะยกเอาความบกพร่องของโจทก์มาอ้างเพื่อให้ศาลขยายกำหนดระยะเวลาการยื่นฟ้องออกไปหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3153/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประพฤติตนไม่เรียบร้อยในศาลและการละเมิดอำนาจศาล: ศาลมีอำนาจลงโทษทันทีโดยไม่ต้องออกข้อกำหนด
โจทก์อุทธรณ์มีข้อความว่า ศาลกระทำการอันไม่เป็นธรรมเข้าข้างฝ่ายจำเลยทั้ง ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องมีข้อความเช่นนี้ในอุทธรณ์แสดงว่าโจทก์กล่าวไว้โดยเจตนาดูหมิ่นเสียดสีศาล เมื่อเอามายื่นต่อศาลถือได้ว่าประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล เป็นการกระทำละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1)แล้ว ศาลย่อมมีอำนาจสั่งลงโทษได้ทันที โดยไม่จำต้องออกข้อกำหนดตามมาตรา 30 ก่อน ดังเช่นเรื่องการรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาลและศาลไม่จำต้องสั่งให้โจทก์แก้ไขอุทธรณ์นั้นก่อนตามมาตรา 18แม้ศาลจะมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขและโจทก์ทำอุทธรณ์ฉบับใหม่มายื่นต่อศาลแล้ว ก็เป็นเพียงแสดงว่าโจทก์รู้สึกผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายหาใช่การกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลยังมิได้เกิดขึ้นไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อกำหนดการระบุข้อเท็จจริงในอุทธรณ์: ข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นอุทธรณ์เท่านั้นที่ต้องระบุ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 บัญญัติว่าอุทธรณ์ทุกฉบับต้องระบุข้อเท็จจริงโดยย่อนั้น หมายความถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความยกขึ้นอุทธรณ์ ดังนี้ การที่อุทธรณ์ของจำเลยมิได้กล่าวถึงทางพิจารณาที่โจทก์จำเลยนำสืบ จึงหาได้ขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าวไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2975/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกจ่ายเงินค่าใช้สอยและกรรมสิทธิ์ในเงิน กรณีไม่มีข้อกำหนดการใช้จ่ายชัดเจน ไม่ถือเป็นยักยอก
เงินค่าใช้สอยที่จำเลยเบิกไปจากโจทก์ จำเลยมีสิทธิครอบครองใช้จ่ายได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องขออนุมัติจากโจทก์ ทั้งโจทก์มิได้กำหนดการจ่ายไว้เป็นที่แน่นอน สุดแล้วแต่จำเลยจะเห็นสมควรใช้จ่ายอย่างใด แล้วนำหลักฐานมาหักหนี้ในทางบัญชีกับโจทก์ในภายหลัง กรรมสิทธิ์ในเงินดังกล่าวจึงตกเป็นของจำเลยตั้งแต่ขณะที่ได้รับไปจากโจทก์ หาใช่จำเลยครอบครองเงินดังกล่าวไว้แทนโจทก์ หากจำเลยไม่มีหลักฐานมาหักหนี้หรือมีเงินเหลือแล้วไม่ส่งคืน โจทก์ชอบที่จะเรียกร้องทางแพ่งเอาแก่จำเลย กรณีไม่มีมูลเป็นความผิดทางอาญาฐานยักยอก